Loading…
Transcript

ผู้จัดทำ

นางสาวธัศนันท์ ถิระพานิช มัธยมศึกษาปีที่๖/๒ เลขที่ ๑๔

เสนอ

คุณครูที่ปรึกษา

คุณครูนิตยา เปี่ยมแสง

แหล่งที่มา

การวิจักษ์วรรณคดี. (8 กุมภาพันธ์ 2559) site.google.

หลักการวิจักษ์วรรณคดี. (8 กุมภาพันธ์ 2559) thaigoodview.

THE END

ผู้จัดทำ

นางสาวธัศนันท์ ถิระพานิช มัธยมศึกษาปี่ที่๖/๒ เลขที่ ๑๔

เสนอ

คุณครูนิตยา เปี่ยมแสง

กราบขอบพระคุณท่านผู้ชมทุกๆท่าน

๕. พิจารณาว่าผู้แต่งใช้กลวิธีใดในการแต่งคำประพันธ์ สามารถค้นหาจากการสร้างสรรค์ของกวีดังนี้

๕.๑ การใช้บรรยายโวหาร คือการใช้คำอธิบายเรื่องราวรายละเอียดให้เข้าใจตามลำดับเหตุการณ์

๕.๒ การใช้พรรณนาโวหาร คือ การอธิบายความหมายโดยสอดแทรกอารมณ์ความรู้สึก หรือ ให้รายละเอียด

อย่างลึกซึ้งของผู้แต่งลงไปในเรื่องนั้นๆ ทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจคล้อยตามไปกับบทประพันธ์

๕.๓ การใช้เทศนาโวหาร คือ การกล่าวสั่งสอนอย่างมีเหตุผลประกอบ

๕.๔ การใช้สาธกโวหาร คือ การยกตัวอย่างหรือเรื่องราวมาประกอบเพื่อเพิ่มรายละเอียด หรือ ส่งที่

น่ารู้น่าสนใจลงไปในอความทำให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น

๕.๕ การใช้อุปมาโวหาร คือ โวหารที่กล่าวเปรียบเทียบ มักใช้คู่กับอุปไมย

อุปมาเป็นสิ่งที่ยกข้อความมาเปรียบ ส่วนนอุุปไมย คือ ข้อความที่เปรียบกับสิ่งอื่นให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

๖. พิจารณาความงามและความไพเราะของภาษา คือ พิจารณาการเลือกใช้คำ การสรรคำและการจัดวางคำที่เลือกสรรแล้วให้ต่อเนื่องไพเราะเหมาะสมได้จังหวะถูกต้องตามโครงสร้างภาษา

ก่่อให้เกิดความรู้สึก อารมณ์และเห็นภาพพจน์

หลักการวิจักษ์วรรณคดี

๑. อ่านอย่างพินิจพิจารณา คือ การอ่านโดยใช้การวิเคราะห์ อ่านตั้งแต่ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง คำนำ คำนิยม สารบัญ ไปจนถึงเนื้อหา

และบรรณานุกรม รวมถึงประวัติของผู้เขียนซึ่งจะทำให้เข้าใจเนื้อหา มูลเหตุของการแต่ง แรงบันดาลในฝนการแต่งและ

สิ่งที่แฝงเน้นภายในหนังสือ

๒. ค้นหาความหมายพื้นฐาน ความหมายพื้นฐานคือความหมายตามตัวอักษร ผู้อ่านสามารถค้นหาได้จากข้อควาามที่่ผู้แต่งได้

แฝงเร้นเอาไว้โ ดยแลกเปลี่ยนกับผู้รู้หรือผู้ที่อ่านวรรณคดีเรื่องเดียวกันแล้วจัดลำดับใจความสำคัญของเรื่องว่า

ใคร ทำอะไร ที่ไหน ผลเป็นอย่างไร

๓. รับรู้อารมณ์ของบทประพันธ์ คือการพยายามรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้เขียนที่สอดแทรกลงไปในบทประพันธ์นั้น

ถ้าผู้อ่านรับรู้อารมณ์ความรู้สึกตามเจตนาของผู้ส่งสาร เมื่ออ่านออกเสียงหรืออ่านทำนองเสนาะจะทำให้บทประพันธ์นั้นมี

ความไพเราะมากขึ้น

๔. การค้นหาความหมายของบทประพันธ์ มีหลักการดังนี้

๔.๑ ค้นหาความหมายตามตัวหนังสือ

๔.๒ ค้นหาความหมายแฝง ความหมายแฝงคือ ความหมายที่ต้องตีความซึ่งผู้แต่งใช้สัญลักษณ์เพื่อเสนอสารอันเป็น

ความหลักของผู้แต่ง

๔.๓ ค้นหาข้อคิดที่เป็นประโยชน์ในตัวบทวรรณคดี

การวิจักษ์วรรณคดี

2. สารคดี คืองานประพันธ์ที่ให้ความรู้หรือความคิดเห็นที่เป็นสารประโยชน์ ผู้แต่งเจตนาให้ผู้อ่านใช้สติปัญญามากกว่าจะให้ใช้อารมณ์ แต่ถึงกระนั้นผู้แต่ง

ที่มีฝีมือในการประพันธ์อาจใช้สำนวนภาษา และกลวิธีในการนำเสนอความรู้

ความคิดได้อย่างดียิ่่ง จึงสร้างความสำเริงอารมณ์ให้ผู้อ่านได้ด้วย

เช่น เรื่องไตรภูมิพระร่วง

สารคดีอาจแต่งด้วยบทร้อยกรองก็ได้

เช่น คัมภีร์ฉันทศาสตร์ในตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ เป็นต้น

จำแนกวรรณคดีตามเนื้อหาได้เป็นประเภทบันเทิงคดีและสารคดี

บันเทิงคดี คือเรื่องแต่งโดยมุ่งหมายจะให้กระทบอารมณ์ผู้อ่าน เพื่อให้เกิดความสำเริงอารมณ์ แต่ก็แฝงไว้ด้วยสาระด้วย

บันเทิงคดีมีรูปแบบต่างๆกันแต่ที่รู้จักกันมากคือ บทมหรสพ เรื่องเล่า บทพรรณนา

บันเทิงคดีที่เป็นบทมหรสพ คือ วรรณคดีที่แต่งขึ้นใช้เป็นบทแสดงมหรสพประเภทต่างๆ

เช่น บทพากย์โขน บทพากย์หนังใหญ่ บทละคร

บันเทิงคดีประเภทเรื่องเล่า คือ เรื่องแต่งประเภทนิยายนิทาน มีการบรรยายเรื่องราว เหตุการณ์ และพฤติการณ์ มีตัวละคร ฉากเวลาสถานที่ เช่น นิทานอีสป พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน ลิลิตพระลอ

บันเทิงคดีประเภทบทพรรณนา เป็นวรรณคดีประเภทรำพันหรือพรรณนาอารมณ์หรือความประทับใจที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นนิราศ บทเพลงหรือบทพรรณนาที่มีการบรรยายสลับกัน เช่น ลิลิตตะเลงพ่าย บทกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

ร้อยแก้ว คือคำประพันธ์ที่ไม่กำหนดบังคับฉันทลักษณ์ แต่จะใช้บ้างก็ได้

เพื่อเพิ่มความไพเราะ นอกจากนั้นยังมีการสรรคำใช้เพื่อให้เกิดความสละสลวย

ไพเราะ เหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมาย เช่นเดียวกับร้อยกรอง

ร้อยแก้วมักใช้กับเรื่องที่ต้องการเล่าเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง เช่น นิทานเวตาล

หัวใจชายหนุ่ม สามก๊ก หรือเรื่องที่ต้องการ ให้ความรู้หรือเสนอความคิดเห็น

เช่น

เรื่องไตรภูมิพระร่วง โคลนติดล้อ

การอ่านวรรณคดีร้อยแก้วจึงควรพิจารณาถ้อยคำ ภาษาและการดำเนินเรื่อง

เป็นสำคัญ

รูปแบบของวรรณคดีกำหนดได้ทางหนึ่งจากบทประเภทของคำประพันธ์ซึ่งแบ่งเป็นร้อยกรองและร้อยแก้ว

คือ การเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งจนตระหนักในคุณค่าของวรรณคดีเรื่องหนึ่งๆ ว่ามีข้อดีเด่นอย่างไร มีข้อด้อยอย่างไร เป็นต้น

ความตระหนักดังกล่าวย่อมนำไปสู่ความซาบซึ้งในคุณค่าทำให้เกิดความหวงแหน อยากจะรักษาไว้ให้ดำรงเป็นสมบัติของชาติต่อไป

ร้อยกรอง

คือ คำประพันธ์ที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์โดยเน้นจังหวะซึ่งเกิดจากการกำหนด

จำนวนพยางค์เป็นวรรค เป็นบาท หรือเป็นบท การสลับน้ำหนักของเสียงหนักเบา เรียกว่า ครู ลหุ

การกำหนดระดับเสียงโดยบังคับวรรณยุกต์ การผูกคำคล้องจองเรียกว่า สัมผัสต้น เป็นคำประพันธ์ที่ใช้

แต่งร้อยกรองได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย

วรรณคดีเรื่องหนึ่งๆ อาจใช้คำประพันธ์ชนิดเดียวเป็นหลัก

เช่น เรื่องอิเหนา เรื่องขุนช้างขุนแผน แต่งเป็นกลอน เรืองมหาเวสสันดรชาดกแต่งเป็นร่าย บางเรื่องใช้คำประพันธ์ตางชนิดระคนกัน เช่นเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย แต่งเป็นโคลง และร่าย เรียกว่าลิลิต

กาพย์เห่เรือ แต่งเป็นโคลงและกาพย์

เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์แต่งเป็นฉันท์และกาพย์ เรียก คำฉันท์

เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ ใช้จิตรปาทาฉันท์บรรยายภาพ

การวิจักษ์วรรณคดี

แนวทางการพิจารณารูปแบบวรรณคดี

รูปแบบคำประพันธ์ของวรรณคดี

หมายถึง ลักษณะร่วมของงานประพันธ์อันเป็นวิถีทางที่ผู้ประพันธ์เลือกใช้

ลักษณะคำประพันธ์แต่ละชนิด กวีจะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาได้ดังนี้

1.1 กาพย์ เป็นคำประพันธ์ที่กวีมักใช้แต่งเป็นทำนองเล่าเรื่อง

1.2 กลอน เป็นคำประพันธ์ที่กวีมักใช้แต่งเพื่อแสดงอารม์แสดงความคิดเห็นเล่าเรื่อง

หรือสะท้อนภาพสังคม

"กลอนนิราศ" กวีมักใช้กลอนแต่งเพื่อพรรณนาคร่ำครวญ

ถึงบุคคลอันเป็นที่รักขณะเดินทางไปยังสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง .

"กลอนนิทานหรือนิทานคำกลอน" เกิดจากการนำนิทานมาแต่ง

1.3 ร่าย เป็นลักษณะคำประพันธ์ที่ใช้แต่งเป็นเนื้อเรื่องตลอด

1.4 โคลง กวีนิยมแต่งโคลงเรื่อง โดยใช้โคลงแต่งทั้งเรื่อง

1.5 ฉันท์ เป็นคำประพันธ์ที่ได้แบบอย่างมาจากบาลี กวีมักเลือกใช้ฉันท์ให้เหมาะสม

กับลักษณะเนื้อเรื่อง