Introducing 

Prezi AI.

Your new presentation assistant.

Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.

Loading…
Transcript

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Cycle Power Plant)

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมเป็นการนำเอาเทคโนโลยีของ โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซและโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำมาใช้งานเป็นระบบร่วมกัน โดยการนำไอเสียจากโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ ซึ่งมีความร้อนสูงประมาณ 500องศาเซลเซียสไปผ่านหม้อน้ำ และถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำทำให้น้ำเดือดกลายเป็นไอเพื่อขับกังหันไอน้ำสำหรับผลิตพลังงานไฟฟ้าต่อไปโดยทั่วไปโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะประกอบด้วยเครื่องกังหันก๊าซ 1 – 4 เครื่องร่วมกับกังหันไอน้ำ 1 เครื่อง

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม

โรงไฟฟ้าจะนะ จ.สงขลา

ส่วนประ กอบที่สำคัญ

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ

  • เครื่องกังหันก๊าซ (เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ)
  • หม้อน้ำ
  • เครื่องกังหันไอน้ำ (เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ)

เครื่องกังหันก๊าซ

การทำงานของเครื่องกังหันก๊าซ โดยมีเครื่องอัดอากาศ (compressor ) ต่ออยู่บนเพลาเดียวกับชุดกังหัน และต่อตรงไปยังเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เมื่อเริ่มเดินเครื่อง อากาศจะถูกดูดจากภายนอกเข้าหาเครื่องอัดอากาศทางด้านล่าง ถูกอัดจนมีความดันและอุณหภูมิสูงขึ้น แล้วถูกส่งไปยังห้องเผาไหม้ ซึ่งใช้เชื้อเพลิงเป็นก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมัน จะถูกเผาไหม้และให้ความร้อนแก่อากาศ ก๊าซร้อนที่ออกจากห้องเผาไหม้ จะถูกส่งไปยังตัวกังหัน ทำให้กังหันหมุนเกิดงานขึ้น ไปขับเครื่องอัดอากาศและขณะเดียวกันก็ขับเครื่อง กำเนิดไฟฟ้าด้วย ความดันของก๊าซเมื่อผ่านตัวกังหันจะลดลงและผ่านออกมาที่บรรยากาศ

หม้อน้ำ

เครื่องกังหันไอน้ำ

กังหันไอน้ำจัดเป็นเครื่องกำเนิดกำเนิดกำลังงานกล จากพลังงานความร้อนชนิดหนึ่ง ในเครื่องกังหัน พลังงานเกิดการเปลี่ยนรูปสองครั้งคือ ขั้นแรกพลังงานความร้อนจากไอน้ำเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์โดยการบานตัวภายในช่องหรือหัวฉีด และผ่านออกไปในลักษณะที่เป็นลำไอน้ำที่มีความเร็วสูง พลังงานเหล่านี้ถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานกลโดยให้กระทบกับปีกกังหันที่มีมุมและส่วนโค้งพอดี ทำให้แรงกระแทกให้ปีกกังหันเหล่านี้ซึ่งอยู่บนเพลาหมุนไปได้ ตามทฤษฎีแรงกระแทกของไอน้ำที่กระทำต่อปีกกังหันนี้ถือว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม ของมวลไอน้ำที่ผ่านหัวฉีด

หลักการทำงน

  • เชื้อเพลิงก๊าซจะถูกส่งเข้าไปยังห้องเผาไหม้ของเครื่องกังหันก๊าซ โดยมีอากาศที่ถูกอัดด้วยความดันสูง 8-10 เท่าจากเครื่องอัดอากาศมาช่วยเผาไหม้ ทำให้เกิดการขยายตัวของก๊าซร้อนดันและอุณหภูมิสูงส่งเข้าไปขับดันกังหันก๊าซ ขับเคลื่อนและฉุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ต่ออยู่บนเพลาเดียวกัน
  • ก๊าซร้อนที่ขับดันกังหันก๊าซเสร็จจะถูกส่งออกไปยังห้องเผาไหม้อีกครั้งหนึ่ง และนำความร้อนนี้ไปต้มน้ำที่หม้อน้ำ
  • น้ำที่ถูกต้มจะกลายเป็นไอความดันสูงไปขับกังหันไอน้ำ เพื่อขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
  • ส่วนไอน้ำที่ขับดันกังหันไอน้ำแล้ว ส่วนที่ยังคงมีความดันสูงอยู่จะไหลผ่านวาล์วความดัน ได้ไอน้ำส่วนนี้ก็จะขับดันกังหันอีกครั้งหนึ่ง
  • ส่วนไอน้ำความดันลดลงก็จะถูกส่งเข้าไปยังเครื่องควบแน่น ซึ่งจะระบายความร้อนของไอน้ำด้วยน้ำ ไอน้ำจะถูกควบแน่นเป็นน้ำ ปั๊มส่งไปยังถังพักน้ำ เพื่อส่งไปต้มต่อไปยังหม้อต้มน้ำ

รูปหลักการทำ งาน

ข้อดี

  • ประหยัดค่าเชื้อเพลิงในหน่วยผลิตไฟฟ้ากังหัน ไอน้ำ
  • มีความเหมาะสมในการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า และเสริมความมั่นคงต่อระบบไฟฟ้า
  • สามารถออกแบบให้ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันเตา
  • ประสิทธิภาพรวมของโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ร่วมสูงถึง 50 % เปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนทั่วไปซึ่งมีค่าเพียง 40%

ข้อเสีย

  • ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมนั้นมีราคาสูง
  • กรณีใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสำรอง ทำให้เสียเงินตราในการนำเข้าจากต่างประเทศ
  • ในกรณีที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าบางแห่งมีสัญญาซื้อกับบริษัทต่างชาติ ทำให้เงินตรารั่วไหลออกนอกประเทศ

ข้อเสีย

สมาชิกในกลุ่ม

นาย มาร์รักษ์ มารักษา รหัส 107

นาย ชนกันต์ ช่วยสงค์ รหัส 089

นาย ฐิติวัสส์ จิตรเกลี้ยง รหัส 091

สมาชิกใน กลุ่ม

Learn more about creating dynamic, engaging presentations with Prezi