Introducing
Your new presentation assistant.
Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.
Trending searches
องค์ประกอบและหน้าที่ของระบบโทรคมนาคม
ระบบโทรคมนาคม (Telecommunications) หมายถึง การสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบ สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในอดีตระบบโทรคมนาคม ให้บริการ ในรูปแบบของสัญญาณเสียง ผ่านโทรศัพท์ ที่เรียกว่าสัญญาณในระบบแอนะล็อก (Analog Signal) แต่ในปัจจุบันสัญญาณโทรคมนาคมกำลังจะกลายเป็นการถ่ายทอดสัญญาณในระบบดิจิตัล (Digital Signal) โดยองค์ประกอบและหน้าที่ของระบบโทรคมนาคม มีรายละเอียดดังนี้
องค์ประกอบของระบบเครือข่าย
ระบบโทรคมนาคม ( Telecommunications Systems) คือระบบที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จำนวนหนึ่งที่สามารถ ทำงาน ร่วมกันและถูกจัดไว้สำหรับการสื่อสารข้อมูลจากสถานที่แห่งหนึ่งไป ยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งสามารถถ่ายทอดข้อความ ภาพกราฟฟิก เสียงสนทนา และวิดีทัศน์ได้มีรายละเอียดของโครงสร้างส่วนประกอบดังนี้
1. เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือเปลี่ยนปริมาณใดให้เป็นไฟฟ้า (Transducer) เช่น โทรศัพท์ หรือไมโครโฟน
2. เครื่องเทอร์มินอลสำหรับการรับข้อมูลหรือแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์
3. อุปกรณ์ประมวลผลการสื่อสาร (Transmitter) ทำหน้าที่แปรรูปสัญญาณไฟฟ้าให้เหมาะสมกับช่องสัญญาณ เช่น โมเด็ม (MODEM) มัลติเพล็กเซอร์ (multiplexer) แอมพลิไฟเออร์ (Amplifier) ดำเนินการได้ทั้งรับและส่งข้อมูล
4. ช่องทางสื่อสาร (Transmission Channel) หมายถึงการเชื่อมต่อรูปแบบใดๆ เช่น สายโทรศัพท์ ใยแก้วนำแสง สายโคแอกเซียล หรือแม้แต่การสื่อสารแบบไร้สาย
5.ซอฟท์แวร์การสื่อสารซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมการ รับส่งข้อมูลและอำนวยความสะดวกในการสื่อสาร
ทำหน้าที่ในการส่งและรับข้อมูลระหว่างจุดสองจุด ได้แก่ ผู้ส่งข่าวสาร (Sender) และ ผู้รับข่าวสาร (Receiver) จะดำเนินการจัดการลำเลียงข้อมูลผ่านเส้นทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด จัดการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่จะส่งและรับเข้ามา สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าใจได้ตรงกัน ซึ่งที่กล่าวมานี้ส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวจัดการ ในระบบโทรคมนาคมส่วนใหญ่ใช้อุปกรณ์ในการรับส่งข้อมูลข่าวสารต่างชนิด ต่างยี่ห้อกัน แต่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้เพราะใช้ชุดคำสั่งมาตรฐานชุดเดียวกัน กฎเกณฑ์มาตรฐานในการสื่อสารนี้เราเรียกว่า “โปรโตคอล (Protocol)” อุปกรณ์แต่ละชนิดในเครือข่ายเดียวกันต้องใช้โปรโตคอลอย่างเดียวกัน จึงจะสามารถสื่อสารถึงกันและกันได้ หน้าที่พื้นฐานของโปรโตคอล คือ การทำความรู้จักกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่อยู่ในเส้นทางการถ่ายทอดข้อมูล การตกลงเงื่อนไขในการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การแก้ไขปัญหาข้อมูลที่เกิดการผิดพลาดในขณะที่ส่งออกไปและการแก้ปัญหาการสื่อสารขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นโปรโตคอลที่รู้จักกันมาก ได้แก่ โปรโตคอลในระบบเครือข่ายอินเตอร์เนต เช่น Internet Protocal ; TCP/IP , IP Address ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
การสื่อสารโทรคมนาคมจะถูกขยายเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนของการสื่อสาร เช่น การเชื่อมโยงระหว่างศูนย์ควบคุมคอมพิวเตอร์ วิทยุ โทรศัพท์ และการสื่อสารดาวเทียม เป็นต้น ชนิดของการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์แบ่งออกได้ตามลักษณะการติดต่อถึงกันได้หลายลักษณะดังนี้
1. ระหว่างบุคคลถึงบุคคล ข่าวสารและข้อมูลส่งติดต่อกันผ่านสัญญาณเสียงปกติโดยใช้โทรศัพท์หรือวิทยุ ถูกเรียกว่าการสื่อสารด้วยเสียง
2. ระหว่างระบบคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบนอก
ในระบบนี้คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ ซึ่งเป็นรูปแบบของการติดต่อกันตามปกติ เครื่องพิมพ์จะอ่านข้อมูลและหาข้อมูล
3. ระหว่างคอมพิวเตอร์ถึงคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์ทำเป็นสำนักงานพิมพ์ออนไลน์ โดยคอมพิวเตอร์สำนักงานหลักการจัดส่งข้อมูลของหนังสือพิมพ์ไปให้คอมพิวเตอร์ท้องถิ่น ผู้ใช้เพียงแค่เปิดอินเตอร์เน็ตตามข้อมูลที่ทางสำนักงานหลักส่งมา
4. ระบบกระจาย
เป็นระบบที่ใช้งานเฉพาะมีกล่องข้อมูลที่ฉลาดสามารถจัดการเบื้องต้นกับข่าวสาร โดยกล่องข้อมูลจะส่งข่าวสารที่สำคัญไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์กลาง
5. การสื่อสารภายในคอมพิวเตอร์
การสื่อสารลักษณะนี้มีความจำเป็นมาก ในการส่งผ่านข้อมูลจากส่วนหนึ่งของระบบไปยังอีกส่วนอื่นๆ หรือภายในโครงสร้างเดียวกัน
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
ในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารต่างๆ จำเป็นต้องเกี่ยวกับระบบสื่อสารทั้งสิ้น ในการสื่อสารนั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารให้ไปอยู่ในรูปรหัสสัญญาณ ทางไฟฟ้า จึงสามารถส่งผ่านข้อมูลข่าวสารไปตามตัวสื่อกลางต่างๆได้ ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้า มีลักษณะสัญญาณไฟฟ้า 2 ลักษณะ คือสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) และสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal)
อุปกรณ์การสื่อสาร ทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ส่งและรับข้อมูลโดยผ่านทางสื่อกลาง สัญญาณที่ส่งออกไปอาจอยู่ในรูปแบบดิจิตอลหรืออนาล็อก โดยขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารและเชื่อมต่อ
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายมีหลายแบบด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์บ้าน การเชื่อมต่อผ่านเคเบิลทีวี การเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายใช้สายและไร้สาย ซึ่งจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สนับสนุนในการเชื่อมต่อ ในแต่ละแบบอุปกรณ์การสื่อสารประเภทต่างๆที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน
1. โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่แปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาล็อกและแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อให้ข้อมูลส่งผ่านทางสายโทรศัพท์ได้ โมเด็มมีหลายประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้งานดังนี้
โมเด็มแบบหมุนโทรศัพท์ (Dial-up Modem)
ดิจิตอลโมเด็ม (Digital Modem)
2. การ์ดแลน (LAN Card)
เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับสายตัวนำสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับและส่งข้อมูลกับระบบเครือข่ายได้ ในอดีตเป็นอุปกรณ์เสริมที่ใช้ต่อเพิ่มเข้ากับเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์
3. ฮับ (Hub)
เป็นอุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหรือเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องเข้าด้วยกันข้อมูลที่รับส่งผ่านครับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยังทุกสถานีต่ออยู่บนทับนั้นดังนั้นชุดสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมดแต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น
4. สวิตซ์ (Switch)
เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหรือคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างคือ การรับส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ตัวหนึ่งจะไม่กระจายไปยังทุกจุด ทั้งนี้เพราะสวิตซ์จะรับส่งข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใด
5. อุปกรณ์จัดเส้นทาง (Router)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานในการเชื่อมโยงของเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันหรือเชื่อมโยงอุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงมีเส้นทางเข้าออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง อุปกรณ์ปลายทางอุปกรณ์จัดเส้นทาง ที่เหมาะสมให้ เพื่อนำส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายต่างๆไปยังอุปกรณ์ปลายทางตามที่ระบุไว้
6. จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless Access Point)
ทำหน้าที่คล้ายกับฮับ 2 เครือข่ายแบบใช้สาย เพื่อใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์แบบไร้สาย ดึงข้อมูลจะถูกส่งผ่านทางคลื่นวิทยุความถี่สูง โดยจะต้องใช้งานร่วมกับการ์ดแลนไร้สายที่ตั้งอยู่กับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ เช่น เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
1. ระบบทางเดียว (Simplex System)
2. ระบบสองทางเต็มรูปแบบ (Full Duplex System)
3. ระบบสองทางครึ่งรูปแบบ (Haft Duplex System)
เป็นการส่งข้อมูลได้ในทิศทางเดียวจากปลายด้านหนึ่งไปยังที่อื่น
หรือเรียกสั้นๆว่าแบบสองทาง เป็นการส่งข้อมูลเชื่อมต่อ ถึงกันได้ในสอง ทิศทางพร้อมพร้อมกันในแต่ละ ปลายทางประกอบ ด้วยเครื่องส่งและเครื่องรับ และสามารถ
ใช้งาน ได้พร้อมกัน
ในการเชื่อมต่อแบบสองทางครึ่งรูปแบบนั้นปายแต่ละด้านสามารถส่งข้อมูลได้แต่ต้องเป็นด้านใดด้านหนึ่งในเวลานั้นที่ปลายทั้งสองด้านสามารถส่งหรือรับข่าวสารได้เหมือนกัน โดยการเชื่อมต่อระหว่างปลายทางทั้งสองต้องแบ่งเวลากัน
นาย ธีระเดช วิเศษโชค
รหัส 6037020001 สออ.2