Introducing
Your new presentation assistant.
Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.
Trending searches
การจัดการศึกษาตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย
เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ที่พัฒนามาจากความเชื่อว่า การเรียนการสอนนั้นไม่ใช่การถ่ายโอนข้อมูลความรู้จากผู้
สอนไปสู่ผู้เรียนการสอนในเด็กปฐมวัยจึงไม่ใช่การมองว่า
เด็กเป็นแก้วที่ว่างเปล่าที่ครูจะเทน้ำตามความต้องการของ ครูลงไปสู่เด็ก
แนวการสอนแบบเรกจิโอ เอมิเลีย
เกิดขึ้นที่เมือง เรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emelia)
ในประเทศอิตาลีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง
เมื่อผลของสงครามทำให้อาคารบ้านเรือนของเมืองเสียหายเกือบทั้งหมดแม่บ้านกลุ่มหนึ่งต้องการให้ลูกหลานของตัวเองได้เรียนหนังสือ จึงช่วยกันสร้างโรงเรียนและชักชวนให้ ลอริส มาลากุซซี (Loris Malaguzzi)ครูระดับมัธยมและนักการศึกษามาร่วมสอนเด็กเล็กที่โรงเรียนการเรียนการสอนในช่วงเวลานั้นอาศัยความร่วมมือของทุกส่วน คือ โรงเรียน เด็ก ครู ผู้ปกครอง ที่ช่วยกันทดลอง ปรับปรุง
มองว่าเด็กแต่ละคนเต็มไปด้วยพลัง
และความสามารถตั้งแต่แรกเกิดและมุ่งหวังที่
จะเป็นคนเก่งและคนดีเด็กมีวิถีของการเรียนรู้
เป็นไปตามระยะ ของพัฒนาการในแต่ละวัย เด็กมีความสามารถที่จะแสดงออกในทิศทางเพื่อที่จะสัมพันธ์และสื่อสารกับผู้อื่นรวมถึงสิ่งต่างๆ รอบตัว
ไม่มีการกําหนดเนื้อหาแน่นอนชัดเจน วิธีปฏิบัติคือแต่ละโรงเรียนใน Reggio Emilia จะรวบรวมรายชื่อหัวข้อโครงการที่คาดว่าจะสัมพันธ์กับความสนใจของเด็กโครงการที่เตรียมอยู่ในมือครูนั้นจะมีทั้งโครงการระยะสั้นและโครงการระยะยาว
การเรียนการสอนแบบเรกจิโอเอมีเลียเป็นการสอนที่เน้นผู้
เรียนเป็นสำคัญหรือการสอนที่เน้นเด็กเป็นฐาน โดยเด็กเองเป็นคนคิดหัวข้อโครงการที่ต้องการเรียนด้วย
ตัวเอง โดยมีขั้นตอนของการจัดการเรียนการสอนดังนี้
1. ขั้นเตรียม
2. ขั้นดำเนินการ
3. ขั้นสอน
4. การประเมินผล
สิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับการมองเห็น
ของเด็กและเกิดความรู้สึกต่อห้องเรียนเรียกได้ว่า สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเป็นครูคนที่สามของเด็ก สถานที่ในโรงเรียนเรกจิโอเอมิเลียต้องสวยงาม ครูต้องจัดบรรยากาศของห้องเรียนให้เหมาะกับการเรียน สิ่งแวดล้อมต่างๆต้องเหมาะกับการเรียน
บทบาทของครู ครูเป็นผู้มีบทบาทอย่างมากในการกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ด้วยการกระทำ
และสื่อให้ครูทราบด้วยงานศิลปะ บทบาทของครูดำเนินการมีดังนี้ 1.ครูเป็นผู้อำนวยการการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
2.ครูคือผู้สร้างบรรยากาศของการเรียน 3.ครูเป็นผู้มีส่วนร่วมกระทำตามแนวคิดของเด็กด้วยความเชื่อที่ว่าเด็กมี
ศักยภาพและ ความสามารถสูง
4.ครูคือผู้ใช้ศักยภาพความสามารถของครูในการประสานการค้นหา
ประสบการณ์ของเด็ก
5. ครูเป็นผู้ประเมินความคิดเห็นเด็ก ติดตาม ตั้งสมมุติฐานว่าต่อไปเด็กจะพบอะไร จะเกิดการเรียนรู้อะไร พร้อมสนับสนุนให้เด็กบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
6.ครูเป็นผู้จัดการเวลาและโอกาสให้เด็กในการจัดผลงาน และพร้อมที่นำผลงานเด็กมาเสนอเชิงศิลปะ