ดนตรีไทย
ถือว่าเป็นดนตรีของชาติไทยที่มีมาแต่โบราณและมีมาแตกต่างกันไป
เริ่มจากสมัยสุโขทัย ซึ่งมีแต่เพียงเครื่องสาย
ต่อมาสมัยอยุธยา เริ่มมีการแนะนำระนาดเข้ามาผสมวงและมีการเพิ่มเครื่องดนตรีต่างๆ เช่น ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเล็ก ระนาดทุ้มเล็ก เป็นต้น
ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อบ้านเมืองได้ผ่านพ้นจากภาวะศึกสงครามและได้มีการก่อสร้างเมืองให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น เกิดความสงบร่มเย็น
ศิลปวัฒนธรรมของชาติก็ได้รับการฟื้นฟูทะนุบำรุง และส่งเสริมให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยเฉพาะทางด้านดนตรีไทย ในสมัยนี้ได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเจริญขึ้นเป็นลำดับ
ในสมัยรัชกาลที่ 7
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสนพระทัยทางด้านดนตรีไทยมาก เช่น พระองค์ได้พระราชนิพนธ์เพลงไทยที่เพราะไว้ถึง 3 เพลง คือ เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง 3 ชั้น เพลงเขมรลอยองค์ (เถา) และเพลงราตรีประดับดาว (เถา)
พระองค์และพระราชินีได้โปรดให้ครูดนตรีเข้าไปถวายการสอนดนตรีในวังแต่เป็นที่น่าเสียดายที่ระยะเวลาแห่งการครองราชย์ของพระองค์ไม่นานเนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตยและพระองค์ทรงสละราชบัลลังก์
ในสมัยรัชกาลที่ 7 นี้ ก็ยังได้มีวงดนตรีประจำวัง เช่น วงวังบูรพา วงวังบางขุนพรหม วงวังบางคอแหลม และวงวังปลายเนิน เป็นต้น แต่ละวงก็ต่างขนขวายหาตรูดนตรีและนักดนตรีที่มีฝีมือเข้ามาประจำวงมีการฝึกซ้อมกันอยู่เนืองนิจ บางครั้งก็มีการประกวดประชันกันจึงทำให้ดนตรีไทยในสมัยนี้มีความจริญเฟื่องฟูมาก
ในสมัยรัชกาลที่ 8
ในสมัยรัชกาลที่ 8 ดนตรีไทยเริ่มซบเซาลงอาจกล่าวได้ว่า เป็นสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อที่ดนตรีเกือบจะถึงจุดจบ เนื่องจากรัฐบาลในสมัยหนึ่งมีนโยบายที่เรียกว่า “รัฐนิยม” ซึ่งนโยบายนี้ มีผลกระทบต่อดนตรีไทยด้วย คือมีการห้ามบรรเลงดนตรีไทย เพราะเห็นว่า ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ
แต่ก็ยังมีนักดนตรีอีกไม่น้อยที่ไม่ยอมทิ้งดนตรีไทย ยกตัวอย่างเช่น
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ
(ศร ศิลปะบรรเลง)
เพลงเอกของท่านที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 8 เช่น แสนคำนึงเถา กราวรำเถา แขกเงาะ และแขกชุมพล
ในสมัยรัชกาลที่ 9
สมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ดนตรีไทยมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งเนื่องจากพระองค์ทรงโปรดการดนตรีทุกประเภท
แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ที่ทรงพระปรีชาสามารถทางด้านดนตรีสากลถึงแก่พระราชนิพนธ์เพลงขึ้นไว้หลายเพลงแต่พระองค์ก็ทรงพระทัยในการดนตรีไทย
เป็นอันมาก
สมาชิกกลุ่มที่4
นายนราธร วอนเพียร ม.6/1 เลขที่ 3
นายพงศ์ปกรณ์ นิลบุตร ม.6/1 เลขที่ 7
นายพสิษฐ์ วิรุฬธนวงศ์ ม.6/2 เลขที่ 3
นางสาวจารุวรรณ วอนเพียร ม.6/1 เลขที่ 13
นางสาวณัฐกานต์ จันทุภา ม.6/2 เลขที่ 5
นางสาววริศรา จักรโชคอนันต์ ม.6/2 เลขที่ 6