Loading…
Transcript

การจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการทั่วไป

Disability Sevice Center (DSC)

อำนาจหน้าที่ของศูนย์บริการคนพิการ

ทั้งนี้ คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ได้ออกระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ

ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับศูนย์บริการคนพิการ พ.ศ.๒๕๕๖

โดยระเบียบฯ ได้กำหนดประเภทศูนย์บริการคนพิการไว้ ๒ ประเภท ดังต่อไปนี้

อำนาจหน้าที่ของศูนย์บริการคนพิการทั่วไป

๑) ให้บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ และความช่วยเหลือตามที่คนพิการร้องขอ และตามที่หน่วยงานของรัฐกำหนด รวมทั้งการให้คำปรึกษาหรือช่วยดำเนินการเกี่ยวกับการขอใช้สิทธิประโยชน์แก่คนพิการ

๒) เรียกร้องแทนคนพิการให้ได้รับสิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการ หรือขอให้ขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการตามพระราชบัญญัตินี้

๓) ให้บริการความช่วยเหลือในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การฝึกอาชีพ และการจัดหางานให้แก่คนพิการ

๔) ให้บริการความช่วยเหลือคนพิการหรือผู้ที่มีแนวโน้มจะพิการให้ได้รับการดูแล รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพ หรือได้รับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตามความต้องการจำเป็นพิเศษเฉพาะบุคคล

๕) ประสานความช่วยเหลือกับหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเพื่อให้ความช่วยเหลือคนพิการตามประเภทความพิการ

๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการ,หรือสำนักงาน หรือศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัดมอบหมาย

๑) ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ได้แก่ ศูนย์บริการคนพิการที่จัดตั้งโดยองค์กรด้านคนพิการ

หรือองค์กรอื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานตามมาตรา ๖(๑๐)

ราชการส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้บริการแก่คนพิการในระดับพื้นที่

หรือตามประเภทความพิการ หรือให้บริการแก่คนพิการเป็นเฉพาะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

๒) ศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด ได้แก่ ศูนย์บริการคนพิการที่จัดตั้งโดยสำนักงานส่งเสริม

และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมสนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับการจัด

บริการของศูนย์บริการคนพิการทั่วไป และดำเนินการอื่นเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนา

คุณภาพชีวิตคนพิการภายในจังหวัด

อำนาจหน้าที่ของศูนย์บริการคนพิการ

ความเป็นมา

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐

และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๖ มาตรา ๒๐/๓ และมาตรา ๒๐/๔

กำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการ

เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

โดยราชการส่วนท้องถิ่นอาจจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการได้

โดยใช้งบประมาณของตนเอง

ขั้นตอนการยื่นคำขอจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการทั่วไป

การสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์บริการคนพิการทั่วไป

กระบวนการ

อปท.ที่จัดตั้ง

ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป

อปท.ที่ไม่ได้จัดตั้งศูนย์บริการ

คนพิการทั่วไป

อำนาจหน้าที่ของศูนย์บริการคนพิการ

-ไม่มี-

1. โครงสร้างองค์กร

ได้รับการสนับสนุนงบบริหารงาน

- ป้ายศูนย์บริการคนพิการ

- ค่าใช้จ่ายในการประชุม

คณะกรรมการฯ (เบิกตามจริง)

- ค่าวัสดุอุปกรณ์

- จัดทำประวัติรายบุคคล

ส่ง พมจ. พิจารณาเป็นรายไป

- จัดทำแผนงบประมาณ โครงการ ส่ง พมจ.

และ พก. พิจารณาพร้อม สนับสนุนงบประมาณ

ตามระเบียบ

- อปท. เบิกจ่ายตามระเบียบการคลัง/

จัดซื้อจัดจ้างอ้างตามระเบียบพัสดุ

๒. งานบริการด้านสังคมสงเคราะห์

- เงินสงเคราะห์คนพิการ

- กายอุปกรณ์ /รถโยก

- การปรับสภาพที่อยู่อาศัย

๑. ยื่นแบบคำร้องขอจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการทั่วไป (แบบ ศบ.๑-ท) พร้อมเอกสาร ดังนี้.-

๑.๑ รายชื่อกรรมการศูนย์บริการคนพิการทั่วไป (อย่างน้อย ๙ คน แต่ไม่เกิน ๑๕ คน)

จำนวน ๓ ชุด

วิธีการ

๑) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ประสงค์จัดตั้งศูนย์บริการคนพิการทั่วไป

พิจารณาคัดเลือกคณะกรรมการศูนย์ฯ

โดยให้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ

ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับศูนย์บริการคนพิการ พ.ศ.๒๕๕๖

๒) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์บริการคนพิการทั่วไป

(ตัวอย่างตามคำสั่งที่ส่งมาพร้อมนี้)

๓) นำคำสั่งแนบกับคำขอจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการทั่วไป

๑.๒ ร่างข้อบังคับหรือระเบียบของศูนย์บริการคนพิการทั่วไป จำนวน ๓ ชุด

๑.๓ แผนผังแสดงสถานที่ตั้งของศูนย์บริการคนพิการทั่วไป จำนวน ๓ ชุด

๑.๔ รูปถ่ายสถานที่จัดตั้งศูนย์บริการคนพิการทั่วไป จำนวน ๔ รูป

๒. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดน่าน ดำเนินการตรวจสอบเอกสาร หากไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ให้มีการแก้ไข ภายใน ๑๕ วัน

๓. ดำเนินการเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ลงนามออกใบอนุญาตตามแบบ ศบ.๒ ภายใน ๑๕ วัน

๔. พมจ. ส่งแบบ ศบ.๒ ให้ พก.

๕. พก. ดำเนินการจัดส่งงบบริหารให้ ศูนย์ฯ

- จัดทำประวัติรายบุคคล ส่ง พมจ.

พิจารณาเป็นรายไป

- พมจ. ส่งต่อสถานสงเคราะห์/สถานที่ฝึกอาชีพ

- แจ้ง อปท. เมื่อได้รับการตอบรับ

- มีอำนาจในการพิจารณา และประสานงานกับหน่วยงานให้บริการได้โดยตรง

- การประสานส่งต่อสถานสงเคราะห์

- การส่งฝึกอาชีพ

อำนาจหน้าที่ของศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด

๑) สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ และติดตามสภาพและปัญหาเกี่ยวกับคนพิการในเขตพื้นที่จังหวัด

๒) ประสาน คัดกรอง และส่งต่อคนพิการหรือผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะพิการให้แก่หน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้รับการดูแล รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสม

๓) ประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อนำนโยบายและยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติและจัดทำ

แผนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดรวมทั้งบูรณาการแผนดังกล่าวเข้ากับแผนพัฒนาจังหวัดหรือท้องถิ่น

๔) จัดทำทะเบียน ฐานข้อมูล และให้บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการภายในจังหวัด

๕) ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ดูแล และอำนวยความสะดวกด้านอาคาร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ยานพาหนะ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนบริการทางวิชาการแก่ศูนย์ องค์กรด้านคนพิการ หรือองค์กรอื่นใด เพื่อบริการแก่คนพิการให้ได้มาตรฐาน

๖) ให้บริการความช่วยเหลือเพื่อให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด เฉพาะในกรณีไม่มีศูนย์ให้บริการในเรื่องนั้นๆ

๗) ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และรายงานเกี่ยวกับการได้รับสิทธิประโยชน์ของคนพิการ รวมถึงดำเนินการเกี่ยวกับการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น ตามที่สำนักงานมอบหมาย

๘) ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายวิชาการและเลขานุการของคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัด รวมทั้งทำหน้าที่ตรวจเยี่ยม กลั่นกรองคำขอกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพและเงินสนับสนุนโครงการ

๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะกรรมหรือสำนักงานมอบหมาย

- เขียนโครงการ ขอสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริม

และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ต้องผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการส่งเสริม

และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัดน่าน

- เมื่อพิจารณาอนุมัติ จัดทำสัญญา และดำเนินงาน

ตามสัญญา และรายงานผล

๓.งานบริการด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

- การฝึกอาชีพสำหรับคนพิการ

- การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย

- บริการล่ามภาษามือ

- การสร้างความเข้มแข็งองค์กร

คนพิการในพื้นที่/สร้างแกนนำ

เครือข่ายคนพิการ

- การอบรมให้ความรู้ผู้ดูแลคนพิการ

- จัดทำแผนงบประมาณ โครงการ ส่ง พมจ.

และ พก. พิจารณาพร้อม สนับสนุนงบ

ประมาณตามระเบียบ

- อปท. เบิกจ่ายตามระเบียบการคลัง/จัดซื้อจัดจ้างอ้างตามระเบียบพัสดุ

ธารารัตน์ พึ่งแสง นักพัฒนาสังคม

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดน่าน

แบบคำร้องขอจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการทั่วไป

(ราชการส่วนท้องถิ่น/หน่วยงานภาครัฐ) แบบ ศบ.๑-ท

ร่างข้อบังคับการจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการ

เกณฑ์การสนับสนุนศูนย์บริการคนพิการทั่วไป

แบบรายชื่อคณะกรรมการดำเนินการศูนย์บริการคนพิการ

แผนที่และรูปถ่าย