Introducing 

Prezi AI.

Your new presentation assistant.

Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.

Loading…
Transcript

โคลงสีสุภาพ

เป็นโคลงชนิดหนึ่งที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด ด้วยเสน่ห์ของการบังคับวรรณยุกต์เอกโท

อันเป็นมรดกของภาษาไทยที่ลงตัวที่สุด

คำว่า สุภาพ หรือ เสาวภาพ หมายถึงคำที่มิได้มีรูปวรรณยุกต์

ลักษณะบังคับ

ตัวอย่าง

หนึ่งบทมี 30 คำ แบ่งเป็น 4 บาท

3 บาทแรกบาทละ 7 คำ บาทที่สี่ 9 คำ แต่ละบาทแบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 คำ วรรคหลัง 2 คำ

เว้นบาทสุดท้าย วรรคหลัง 4 คำ มีสร้อยได้ในบาทแรก บาทที่สาม

คำว่า "คำสุภาพ" ในระบบคำประพันธ์ประเภทกลอน

โคลง นั้น หมายถึง "คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ"

คำเอก โท ในบาทแรกของโคลงอาจสลับที่กันได้ และอนุโลมให้ใช้คำตายแทนคำเอก

ในที่ที่หาคำเอกไม่ได้ แต่ไม่นิยมใช้เอกโทษและโทโทษ

คำเอก

คำเอก คือ

พยางค์หรือคำที่ปรากฏรูปวรรณยุกต์เอก เช่นคำว่า แต่ ข่อย เฟื่อง ก่อ บ่าย ท่าน พี่ ช่วย บ่ คู่ อยู่ ฯลฯ

คำเอก รวมถึงการอนุโลมให้ใช้คำตายแทนได้ (คำตาย คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นและไม่มีตัวสะกด หรือคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กก แม่ กด แม่ กบ) เช่นคำว่า พระ ตราบ ออก ปะทะ จักร ขาด บัด ฯลฯ

คำเอก

คำโท คือ

พยางค์หรือคำที่ปรากฏรูปวรรณยุกต์โท เช่นคำว่า ค้ำ ข้อง ไซร้ ทั้ง รู้ ไท้ เพี้ยง ฯลฯ

คำโท

เอกโทษ คือ

คำที่มีความหมายและกำกับด้วยรูปวรรณยุกต์โท แต่มีความจำเป็นที่ต้องแปลงให้เป็นคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก แม้ว่าคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกที่ได้เปลี่ยนจากคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทแล้วนั้น ได้คำที่มีไม่มีความหมายแต่ยังคงให้มีความหมายเหมือนคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทกำกับอยู่เดิม เช่นคำว่า สิ้นเลือด แปลงเป็น ซิ่นเลือด ภพหล้า แปลงเป็น ภพล่า เป็นต้น

เอกโทษ

โทโทษ คือ

คำที่มีความหมายและกำกับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก แต่มีความจำเป็นที่ต้องแปลงให้เป็นคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท แม้ว่าคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทที่ได้เปลี่ยนจากคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกแล้ว นั้น ได้คำที่มีไม่มีความหมายแต่ยังคงให้มีความหมายเหมือนคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก กำกับอยู่เดิม เช่นคำว่า เล่าเรื่อง แปลงเป็น เหล้าเรื่อง ค่าจ้าง แปลงเป็น ข้าจ้าง เป็นต้น

โทโทษ

ถามข้อสงสัย

Learn more about creating dynamic, engaging presentations with Prezi