กิน เดิน นั่ง นอน นาฬิกา ชนบท
แบ่งออกเป็น 7 ชนิด
คำนาม
คำสรรพนาม
คำกริยา
คำวิเศษณ์
คำบุพบท
คำอุทาน
คำสันธาน
เป็นคำนามที่เป็นชื่อทั่วไป
เช่น เมฆ ฝน คน ต้นไม้ แมว
เป็นคำนามที่ใช้เรียกชื่อเฉพาะ
เช่น กรุงเทพมหานคร หัวหิน
ปากกาแดง ต้นมะม่วง โรงพยาบาลซานเปาโล
เป็นคำนามที่ใช้บอกลักษณะของคำสามานยนาม
แบ่งย่อยได้ดังนี้
บอกชนิด เช่น พระพุทธรูป 2 องค์ เลื่อย 2 ปื้น
ขลุ่ย 2 เลา
บอกอาการ เช่น พลู 2 จีบ ดอกไม้ 3 กำ ผ้า 7 พับ
บอกรูปร่าง เช่น รถ 1 คัน อิฐ 2 ก้อน ไม้ไผ่ 3 คำ
บอกหมวดหมู่ เช่น ฟืน 1 กอง เสิ้อ 3 ชุด
นก 2 ฝูง นักเรียน 4 คณะ
บอกจำนวนหรือมาตรา เช่น ตะเกียบ 2 คู่
น้ำ 3 ลิตร ขนม 20 ถุง
ซ้ำคำนามข้างหน้า เช่น คน 2 คน วัด 3 วัด
คะแนน 10 คะแนน
เช่น กองลูกเสือ ฝูงผึ้ง โขลงช้าง คณะนักเรียน
**ข้อสังเกต หากคำเหล่านี้ตามหลังคำนาม จะกลายเป็นลักษณนามทันที เช่น ลูกเสือ 2 กอง
ผึ้ง 2 ฝูง ช้าง 1 โขลง
- คือ คำนามที่เกิดจากคำกริยา หรือคำวิเศษณ์
ที่มีคำว่า 'การ' และ 'ความ' นำหน้า
- ใช้บ่งบอกสภาพ หรืออาการของสิงต่าง ๆ
'การ' มักนำหน้าคำกริยา เช่น การนั่ง การเดิน การกิน
'ความ' มักนำหน้าคำวิเศษณ์ หรือคำกริยาที่เกี่ยวกับ ความรู้สึก เช่น ความคิด ความรัก ความดี ความเข้าใจ
*** ข้อสังเกต*** ถ้า การ และ ความ นำหน้าคำนาม จะใช่อาการนาม เช่น การบ้าน การเมือง การไฟฟ้า
ความแพ่ง ความอาญา ความศึก
๑. อกรรมกริยา คือ กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับ เพราะมีใจความสมบูรณ์อยู่แล้ว เช่น
๒. สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ จึงจะได้ใจความที่สมบูรณ์ เช่น
๓. วิกตรรถกริยา คือ กริยาที่ต้องมีคำนาม คำสรรพนาม หรือ คำวิเศษณ์มาทำหน้าที่เป็น ส่วนเติมเต็มข้างท้ายจึงจะได้ใจความสมบูรณ์ ได้แก่คำว่า เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ ดุจ ประดุจ ราวกับ เพียงดัง เสมือน เช่น
(ตำรวจ เป็นส่วนเติมเต็มของคำกริยา เป็น)
(น้องเธอ เป็นส่วนเติมเต็มของคำกริยา คล้าย)
๔. กริยานุเคราะห์ คือ คำช่วยกริยาสำคัญในประโยค ให้ได้ใจความชัดเจนยิ่งขึ้น กริยาชนิดนี้ไม่มีก็ได้ โดยประโยคยังคงสื่อความหมายได้เหมือนเดิม ได้แก่คำว่า คง เคย กำลัง ต้อง ควร จะ อาจ ถูก เช่น
วันนี้ฝนน่าจะตก
แม่กำลังทำอาหาร
ดำถูกรถชน
ให้นักเรียนพิจารณาว่าประโยคต่อไปนี้ใช้คำกริยาชนิดใด
๑. ฝนตกแรงมาก
๒. เขาต้องมาแน่ถ้าเธออยู่ที่นี่
๓. นายแดงเป็นเหมือนญาติของฉัน
๔. เธอน่าจะซื้อบ้านหลังใหม่
๕. ครูลงโทษผู้ที่ทำความผิด
๖. น้ำไหลเบามาก
๗. นกบินต่ำเกินไป
๘. ภูเขาไฟระเบิด
๙. ลูกคือดวงใจของแม่
๑๐. เขาและเธอไปตลาด
คำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์เอง เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนขึ้น มักจะอยู่หลังคำที่นำมาขยาย
แบ่งออกเป็น ๑๐ ชนิด
๑. ลักษณวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกลักษณะ ของคำนั้น ๆ อาจบอกชนิดขนาด สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอาการ เช่น
ดอกมะลิมีกลิ่นหอม (บอกกลิ่น)
ปากกาสีดำตกอยู่ใต้โต๊ะ (บอกสี)
๒. กาลวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกเวลา เช้า สาย บ่าย โบราณ ปัจจุบัน อดีต อนาคต เช่น
เมื่อคืนนี้ลมพัดแรงมาก
เขาไปเรียนพิเศษทุกวัน
๓. สถานวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกสถานที่ ไกล ใกล้ บน ล่าง เหนือ ใต้ เช่น
เขาเป็นคนอีสาน
โรงเรียนของฉันอยู่ไกล
๔. ประมาณวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอก จำนวนนับ หนึ่ง สอง ที่หนึ่ง ที่สอง หรือบอกปริมาณ มาก น้อย จุ หมด อันลำ ทั้งหมด บาง บ้าง ต่าง เช่น
เขากินข้าวจุ
ฉันสอบได้ที่หนึ่ง
๕. ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อ แสดงความสงสัยหรือเป็นคำถามว่าใคร ทำไม ที่ไหน เท่าไร อะไร เช่น
คนไหนเรียนเก่ง
คุณชอบรับประทานอาหารประเภทใด
๖. นิยมวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อ บอกความแน่นอน ความชัดเจนว่าเป็นสิ่งนี้ สิ่งนั้น นี่ นั้น เอง แน่นอน เช่น
ฉันเองที่ทำแก้วแตก
พรุ่งนี้ผมจะไปหาคุณแน่นอน
¶ข้อสังเกตควรจำ¶
คำวิเศษณ์บอกความแน่นอนจะอยู่หลังคำขยาย แต่ถ้าทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมในประโยค จัดเป็นนิยมสรรพนาม เช่น
แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง (นิยมวิเศษณ์)
นี่คือแม่ของฉัน (นิยมสรรพนาม)
๗. อนิยมวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่น โดยไม่บอกกำหนดแน่นอนลงไปว่า เมื่อไร ที่ไหน อย่างไร ทำไม เช่น
เหตุใดเธอรีบกลับบ้าน
ฉันจำไม่ได้ว่าเขาชอบสีอะไร
¶ข้อสังเกตควรจำ¶ คำวิเศษณ์บอกความแน่นอนจะอยู่หลังคำขยายเท่านั้น แต่ถ้าทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมในประโยค จัดเป็นอนิยมสรรพนาม เช่น
เธอทำอะไร ๆ ย่อมรู้อยู่แก่ไจ (อนิยมวิเศษณ์)
อะไร ๆ ฉันก็กินได้ (อนิยมสรรพนาม)
๘. ประติชญาวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อ แสดงอาการรับรอง โต้ตอบ ขานรับ ว่า จ๊ะ จ๋า คะ เออ พะยะค่ะ เช่น
ท่านครับผมขอลาหยุด ๑ วัน
คุณคะเชิญทางนี้ค่ะ
๙. ประติเษธวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อ แสดงความไม่ยอมรับ ได้แก่คำว่า ไม่ ไม่ได้ ไม่ใช่ หามิได้ เช่น
หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ของฉัน
ผมไม่ต้องการไปเที่ยวกับคุณ
๑๐. ประพันธวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้เชื่อมคำอื่น โดยมีคำว่า ที่ ซึ่ง อัน ดังที่ เพื่อว่า อย่างที่ ชนิดที่ ที่ว่า คือ เพื่อว่า เช่น
จงทำอย่างที่ฉันสั่ง
เขากินชนิดที่ว่าคนอื่นไม่กล้ามอง
๑. บอกสถานที่ ได้แก่คำว่า ใต้ บน ริม ชิด ใกล้ ไกล ที่ นอก ใน เช่น
เสื้อสีขาวอยู่ในตู้เสื้อผ้า
เขาขายส้มตำอยู่ใกล้สถานีตำรวจ
๒. บอกเวลา ได้แก่คำว่า แต่ ตั้งแต่ ณ เมื่อ จน จนกระทั่ง เช่น
เขาอ่านหนังสือจนดึก
คุณพ่อไปทำงานแต่เช้า
๓. บอกความเป็นเจ้าของ ได้แก่คำว่า แห่ง ของ เช่น
เขาทำงานอยู่สถานีกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
เงินของฉันหาย
๔. คำบุพบทบอกที่มาหรือสาเหตุ ได้แก่คำว่า แต่ จาก กว่า เหตุ ตั้งแต่ เช่น
คุณแม่ซื้อผักมาจากตลาด
ชาวนาเดินมาตั้งแต่ที่นาถึงบ้าน
๕. คำบุพบทบอกฐานะเป็นผู้รับ ได้แก่คำว่า เพื่อ ต่อ แก่ แด่ เฉพาะ สำหรับ เช่น
ฉันทำทุกอย่างเพื่อแม่
เขาถวายปัจจัยแด่พระสงฆ์
๖. บอกอุปกรณ์ที่ใช้ หรือติดต่อกัน ได้แก่คำว่า โดย ด้วย อัน ตาม กับ เช่น
เขาเดินทางโดยสวัสดิภาพ
เขาทำตามคำสั่ง
๑. เชื่อมใจความคล้อยตามกัน ได้แก่คำว่า กับ และ ก็ ครั้ง...ก็ เมื่อ...ก็ พอ...ก็ เช่น
พอฝนหยุดตกกบเขียดก็ร้องส่งเสียงระงม
น้องกับพี่ไปโรงเรียน
๒. คำสันธานที่เชื่อมใจความขัดแย้งกัน ได้แก่คำว่า แต่ แต่ทว่า ถึง...ก็ แม้...ก็ เช่น
ถึงเขาจะยากจนแต่เขาก็มีความสุข
เขาวิ่งเร็วมากแต่ว่าไม่เหนื่อยเลย
๓. เชื่อมใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน ได้แก่คำว่า ดังนั้น เพราะฉะนั้น เพราะ...จึง ดังนั้น...จึง จึง ด้วย เหตุเพราะ ฉะนั้น เช่น
เพราะเขาขยันอ่านหนังสือ เขาจึงสอบผ่าน
เขาเกียจคร้านจึงสอบตก
๔. เชื่อมใจความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่คำว่า หรือ มิฉะนั้น ไม่...ก็ ไม่เช่นนั้น เช่น
เธอจะไปกับผมหรือไปกับเขา
คุณต้องเข้าห้องสอบก่อนเวลา ๙.๐๐ น. มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ในการสอบ
๑. อุทานบอกอาการ คือ คำที่บอกอารมณ์หรือ ความรู้สึกต่าง ๆ ของผู้พูด คำอุทานชนิดนี้มักอยู่หน้าประโยค และมี เครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! ) กำกับอยู่ท้ายคำอุทาน
เช่น นี่แน่ะ! เฮ้ย! โว้ย! โอย! โอ๊ย! ตูม! โครม! เปรี้ยง!
๒. อุทานเสริมบท คือ คำที่เสริมมาเพื่อให้เกิด ความสละสลวยขึ้น
หนังสือหนังหา
อาบน้ำอาบท่า
กินข้าวกินปลา
ต้นไม้ เพราะว่า กิน ทิศใต้ ฉัน
อาบน้ำอาบท่า แต่ว่า ที่หนึ่ง ครับ/ค่ะ
คำนาม/คำสรรพนาม
๑. คำนามทำหน้าที่เป็นประธาน
เช่น น้อยชอบวิ่งออกกำลังกายตอนเช้าๆ
๒. คำนามทำหน้าที่เป็นกรรม
เช่น เขากำลังเขียนจดหมาย
๓. ทำหน้าที่ขยายคำนาม
เช่น แก้วน้องสาวของฉันเป็นคนเรียนเก่ง
คำกริยา
๑. กริยาทำหน้าที่เป็นตัวแสดงของประธาน
เช่น พ่อครัวปรุงอาหารจานเด็ด
๒. กริยาทำหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า เช่น
ตำรวจห้ามเล่นปืนฉีดน้ำ (ฉีดน้ำ ขยายคำว่า ปืน)
๓. คำกริยาทำหน้าที่เป็นประธานได้ เช่น
ตื่นนอนตอนเช้าทำให้ร่างกายสดชื่นแจ่มใส
คำวิเศษณ์
๑. คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า
เช่น บ้านสวยราคาไม่แพง
๒. คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า
เช่น ฉันเองเป็นคนบอกความจริงแก่เขา
๓. คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายคำกริยา
เช่น คนตื่นเช้ามักได้เปรียบคนอื่น
๔. คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายคำวิเศษณ์ด้วยกันเอง
เช่น นางสาวไทยคนนี้มีหน้าตาสวยมาก
คำบุพบท
๑. นำหน้าคำนาม
เช่น นักเรียนอยู่ในโรงเรียน
๒. นำหน้าคำสรรพนาม
เช่น ฉันจะไปกับเธอ
๓. นำหน้าคำกริยา
เช่น เขาหยุดพักทำงานเพื่อนอน
๔. นำหน้าคำวิเศษณ์
เช่น เธอต้องพูดไปตามจริง
๕. นำหน้าประโยค
เช่น ครูลบกระดานเพื่อลอกโจทย์ข้อใหม่
คำอุทาน
๑. ทำหน้าที่แสดงความรู้สึกของผู้พูด
เช่น โธ่ ! เธอคงหนาวมากนะ
๒. ทำหน้าที่เพิ่มน้ำหนักของคำ ซึ่งได้แก่คำอุทานเสริมบท
เช่น เมื่อไรลูกจะไปอาบน้ำอาบท่าเสียทีนะ
๓. ทำหน้าที่ประกอบข้อความในคำประพันธ์
เช่น กอ เอ๋ย กอไก่