Introducing 

Prezi AI.

Your new presentation assistant.

Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.

Loading…
Transcript

การใช้พจนานุกรม

พจนานุกรมไทย

พจนานุกรม

พจนานุกรม หมายถึง...

ความหมาย

ความหมาย

หนังสือสำหรับค้นความหมายของคำที่เรียงลำดับตามตัวอักษรโดยบอกเสียงอ่าน ชนิดของคำ และที่มาของคำไว้ด้วย

ประเภท

ประเภท

พจนานุกรมมีหลายประเภท เช่น

พจนานุกรมภาษาเดียว เป็นพจนานุกรมที่อธิบายคำต่าง ๆ ภาษาเดียว พจนานุกรมสองภาษา เป็นพจนานุกรมที่่อธิบายคำจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง

พจนานุกรมเฉพาะวิชา เป็นพจนานุกรมที่ให้ความหมายของคำศัพท์

แยกเป็นแขนงวิชาใดวิชาหนึ่ง เป็นต้น

วิธีการใช้

๑. การเรียงลำดับคำ

๑.๑

๑.๑ พยัญชนะเรียงตามลำดับตัวอักษร

โดยมี ฤ ฤๅ ลำดับไว้หลังตัว ร และ ฦ ฦๅ ลำดับไว้หลังตัว ล ดังนี้

๑.๒

๑.๒ การค้นหาคำใด ให้ดูพยัญชนะต้นเป็นหลัก

ตัวอย่าง

คำว่า เช้า ต้องเปิดที่หมวดอักษร ช

คำว่า ฤดู ต้องเปิดที่หมวดอักษร ฤ

๑.๓

๑.๓ คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรควบกล้ำ ให้ดูพยัญชนะต้นตัวแรก

ตัวอย่าง

คำว่า กลอง ต้องเปิดที่หมวดอักษร ก

คำว่า พริ้ง ต้องเปิดที่หมวดอักษร พ

๑.๔

๑.๔ คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรนำ ให้ดูพยัญชนะต้นตัวแรก

ตัวอย่าง

คำว่า ขยัน ต้องเปิดที่หมวดอักษร ข

คำว่า หนาว ต้องเปิดที่หมวดอักษร ห

๑.๕

๑.๕ คำที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกัน จะเรียงลำดับคำตามรูปพยัญชนะตัวที่อยู่ถัดไป

ตัวอย่าง

นก นง นพดล นรี

ขนง ขนพอง ขนม ขนสัตว์

๑.๖

๑.๖ สระเรียงลำดับไว้ตามรูปสระ ดังนี้

ตัวอย่าง

กะปิ กิโล แก้ม ไกล

ผ้า ผี เผา โผล่

๑.๗

๑.๗ การเรียงลำดับตามพยัญชนะไว้ก่อนสระ

ตัวอย่าง

บก บน บาน แบก

ชนก ชนะ ชนา ชนิด

๑.๘

๑.๘ คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์และคำที่มีรูปไม้ไต่คู้ จะลำดับไว้ก่อนคำที่มีรูปวรรณยุกต์

ตัวอย่าง

ไต ไต่ ไต้ ไต๋

เก็ง เก่ง เก้ง เก๋ง

วิธีการใช้

๒. การบอกเสียงอ่าน

๒.๑

๒.๑ คำบอกเสียงอ่านจะเขียนอยู่ในวงเล็บท้ายคำ

ตัวอย่าง

ปกติ [ปะกะติ, ปกกะติ]

โมฆกรรม [โมคะกำ]

๒.๒

๒.๒ คำควบกล้ำ จะมีเครื่องหมายพินทุ ( . ) กำกับไว้ใต้พยัญชนะต้นตัวหน้า

ตัวอย่าง

พร้อม [พฺร้อม]

กรีฑา [กฺรีฑา]

๒.๓

๒.๓ คำที่ใช้ ห เป็นอักษรนำ จะมีเครื่องหมายพินทุ ( . ) กำกับไว้ใต้ตัว ห

ตัวอย่าง

หนาว [หฺนาว]

ตงิด [ตะหฺงิด]

๒.๔

๒.๔ คำที่อ่านได้หลายแบบ จะมีเครื่องหมายพินทุ ( . ) กำกับไว้ใต้พยัญชนะสะกด

ตัวอย่าง

โหน [โหนฺ]

กำแหง [-แหงฺ]

๓. การบอกแหล่งที่ใช้ของคำ

วิธีการใช้

  • (กลอน) หมายถึง คําที่ใช้ในบทกลอน
  • (กฎ) หมายถึง คําที่ใช้ในกฎหมาย
  • (ถิ่น) หมายถึง คําที่ใช้ในภาษาถิ่น
  • (สํา) หมายถึง คําที่เป็นสํานวนไทย
  • (โบ) หมายถึง คําโบราณ
  • (แบบ) หมายถึง คำที่ใช้ในหนังสือ

๔. การบอกชนิดของคำ

วิธีการใช้

ใช้อักษรย่อ เพื่อบอกชนิดของคำตามหลักไวยากรณ์ ดังนี้

ชนิดของคำ

ชนิดของคำ

๕. การบอกที่มาของคำ

วิธีการใช้

ใช้อักษรย่อ เพื่อบอกที่มาของคำ โดยใส่ในวงเล็บ ดังนี้

ที่มาของคำ

๖. โครงสร้าง

โครงสร้าง

คำศัพท์ [คำแสดงเสียงอ่าน] (แหล่งที่ใช้)

ชนิดของคำ. นิยาม.(ที่มาของคำ).

ตัวอย่าง

ลุพธกะ [ลุบทะ-] (แบบ) น. นายพราน. (ส.; ป.ลุทฺทก).

หมายถึง คำว่า ลุพธกะ อ่านว่า ลุบ - ทะ -กะ เป็นคำที่ใช้

เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำนาม แปลว่า นายพราน

มาจากภาษาสันสกฤต ในบาลีจะใช้ว่า ลุทฺทก

ตัวอย่าง

Learn more about creating dynamic, engaging presentations with Prezi