Introducing 

Prezi AI.

Your new presentation assistant.

Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.

Loading…
Transcript

งบประมาณแผ่นดิน

และการสนับสนุนนโยบายสาธารณะ

งบประมาณแผ่นดินและ

การสนัับสนุนนโยบายสาธารณะ

ความสำคัญ

นโยบายการคลังและงบประมาณของรัฐบาลหรือองค์- กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ดังสังเกตว่า เมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้คนจะเรียกร้องหารัฐ เพื่อหาผู้นำในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้เครื่องมือที่มี คือ รายจ่ายและการจัดเก็บภาษี ซึ่งมีผลต่อระบบเศรษฐกิจ

มหภาค ต่อเศรษฐกิจเป็นรายสาขาหรือต่อประชาชน

กลุ่มต่างๆ ขึ้นอยู่กับการจัดสรรงบประมาณของรัฐหรือ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่าจะเน้นในเรื่องใด

ความสำคัญของงบประมาณ

ตัวชี้วัดที่สำคัญที่สะท้อนถึงบทบาทของรัฐ คือ

ขนาดรายจ่ายรัฐบาล

ความสำคัญ ของงบประมาณ

แสดงในรูปสัดส่วน รายจ่ายภาครัฐต่อผลิตภัณฑ์

มวลรวมประชาชาติ สะท้อนว่าภาครัฐในประเทศ นั้นๆมีบทบาทการแทรกแซงในระบบเศรษฐกิจ มากหรือน้อยเพียงไร สถิติของประเทศไทย สัดส่วนของรายจ่ายของรัฐบาลต่อ GDP เท่ากับ ประมาณร้อยละ 20 ซึ่งถือได้ว่าไม่สูงมากเมื่อ เปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่อย่างไร ก็ตาม ถือว่า รายจ่ายภาครัฐเป็นองค์ประกอบ สำคัญในบัญชีประชาชาติ

กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550

กฎหมาย รัฐธรรมนูญ

การกำหนดเป็นหลักการสำคัญว่า "...ให้มีกฎหมายการเงิน

การคลังของรัฐ เพื่อกำหนดกรอบวินัยการเงินการคลัง รวมถึง

หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการวางแผนการเงินระยะปานกลาง การจัดสรรรายได้ การกำหนดแนวทางในการจัดสรรงบ- ประมาณรายจ่ายแผ่นดิน การบริหารเงินและทรัพย์สิน การบัญชี กองทุนสาธารณะ การก่อหนี้หรือการดำเนินการที่ผูกทรัพย์สิน หรือภาระทางการเงินของรัฐ หลักเกณฑ์การกำหนดวงเงินสำรอง จ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นและการอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องใช้เป็นกรอบในการจัดหารายได้ กำกับการใช้จ่ายเงิน ตามหลักการรักษาเสถียรภาพพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีความเป็นธรรมในสังคม (มาตรา 167 วรรคสาม) เพื่อกำกับการใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อให้เกิดประโยชน์ ต่อประชาชนสูงสุด"

การจัดทำงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล (และงบของ อปท.) เป็นการจัดทำปีต่อปี คือ ฝ่ายบริหารต้องนำเสนอข้อความเห็นชอบจากฝ่ายรัฐสภา/สภาท้องถิ่น นอกจากนี้ต้องมี

การติดตามประเมิณผลเพราะถือว่าเป็น "เงินสาธารณะ"

เงินสาธารณะ

วงจรงบประมาณ

( Budget Cycle )

ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่

1.ขั้นตอนการเตรียมงบประมาณ

2.ขั้นออกเป็นข้อบัญญัติ

3.ขั้นบริหารและเบิกจ่ายงบประมาณ

4.ขั้นตรวจสอบและประเมินผล

วงจรงบประมาณ

  • สถาบันที่เกี่ยวกับงบประมาณประกอบด้วยหลายฝ่าย ได้แก่

ก.)รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารของ อปท.

ข.)รัฐสภาหรือสภาท้องถิ่น

ค.)สำนักตรวจเงินแผ่นดิน

ง.)หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรหรือให้การ

กำหนดงบประมาณแผ่นดิน

ปัจจุบัน

งบประมาณแผ่นดิน ถูกจัดสรร "กรม" ซึ่งกำหนนนิยามให้เป็นหน่วยงบประมาณที่ขอรับ งบประมาณแผ่นดิน เนื่องจากภารัฐเป็นระบบการจัดการ

ที่ซับซ้อน จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบบัญชีและการรายงาน

ข้อมูลเพื่อให้เห็นภาพรวมรายจ่ายของภาครัฐ

ในบัจจุบัน มีความพยายามที่จะรวบรวมให้ข้อมูลรายจ่าย

ภาครัฐเป็นปัจจุบันด้วยคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ต้องจัดทำ

ระบบบัญชีเพื่อจำแนกรายจ่ายออกตามแผนงาน ในยุคใหม่ ยังพยายามนำวิธีบริหารแผนใหม่ คือ หน่วยงานที่ใช้จ่ายเงินต้องรายงานผลลัพธ์ของการทำงานของหน่วยงานการประเมินผลสัมฤทธิ

ทบทวนทฤษฎีภาครัฐ

ทบทวน

ทฤษฎีภาครัฐ

จะต้องจัดตั้งมีรัฐบาล เพื่อทำหน้าที่ บริหารประเทศ ในปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ ในโลกยอมรับหลักการประชาธิปไตย โดยถือว่า ประชาชนเป็นใหญ่ อำนาจประชาธิปไตยเป็น ของปวงชน จำแนกอำนาจอธิปไตย ออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านการบริหาร ด้านนิติบัญญัติและด้านตุลาการ โดยยึดถือกฏหมายแม่บท (รัฐธรรมนูญ) รัฐบาล ใช้อำนาจบริหารผ่านงบประมาณแผ่นดิน สภานิติบัญญัติทำหน้าที่กำกับตรวจสอบรัฐบาล การตรา กฏหมายระเบียบและกติกาของสังคม ฝ่ายตุลาการนั้น มีความจำเป็นต้องแยกออกไว้ ให้เป็นอิสระ (เพื่อดำรงความ เป็นกลาง)

หน้าที่ของรัฐบาล

รัฐบาลมีบาทบาทสำคัญในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ ที่มีผลกระทบต่อประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม

หน้าที่ของรัฐบาล

งบประมาณแผ่นดินถูกจ่ายไปยังส่วนราชการ รัฐมีบทบาทสำคัญฐานะ "ผู้ซื้อรายใหญ่" ของประเทศ รัฐบาลเป็น "หน่วยจ้างงาน" รายใหญ่ ภาครัฐมี บทบาทสำคัญในการจัดสรรงบประมาณตามหลักการที่ควรจะเป็นภาครัฐดำเนินการจัดสรรเงินอย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด

การปกครอง

รัฐไทย ยึดถือการปกครองระบบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หลักประชาธิปไตย ประชาชนออกเสียงหรือให้ความเห็นชอบแก่ผู้บริหาร รัฐบาล (นายยกรัฐมนตรี) พร้อมกับเลือกผู้แทนราษฎร มาทำหน้าที่กำกับและตรวจสอบรัฐบาล รัฐธรรมนูญฯ ให้สิทธิและรับรองเสรีภาพของประชาชน ดังนั้น จึงต้องให้สิทธิการถอดถอนแก่ประชาชนด้วยเป็นการ สร้างกลไกเพื่อป้องกันการลุอำนาจ

การปกครอง

ภาระกิจของรัฐ

ตำราเศรษฐศาสตร์จำแนกภาระกิจของภาครัฐ

ออกเป็น 3 ภาระกิจที่สำคัญ ดังนี้

ประการแรก : หน้าที่กำกับดูแล เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจมหภาค

ประการแรก

ประการที่สอง : หน้าที่จัดสรรทรัพยากร ของประเทศให้เหมาะสมมีประสิทธิภาพ

ประการที่สอง

ประการที่สาม : หน้าที่การส่งเสริมให้

เกิดความเป็นธรรมในสังคมและ การกระจายรายได้

ประการที่สาม

เครื่องมือของนโยบายการคลัง

ได้แก ่ภาษีอากร งบประมาณ รัฐบาลสามารถ ใช้มาตรการภาษี ประกอบกับการจัดสรรรายจ่าย ของรััฐบาลเพื่อประโยชน์ของคนจน ผู้ด้อยโอกาส การทำเช่นนี้ หมายถึง รัฐบาลทำบทบาทการจ่ายโอน รายได้จากคนรวยช่วยคนจน เป็นส่วนหนึ่งในการ สร้างความเสมอภาคขึ้นในสังคม

เครื่องมือ

  • การกำหนดวงเงินงบประมาณ และการจัดสรรในสภาพเป็นจริง

อาจจะมีปัญหาความด้อยประสิทธิภาพ

เป็นปัญหาที่เรียกว่า "ความล้มเหลวของภาครัฐ" ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุ

การกำหนดงบประมาณ

อาทิเช่น...

อาทิเช่น

หนึ่ง : อคติของการจักทำงบประมาณของ พรรคการเมืองแบบประชานิยม เพราะพรรค การเมืองต่างมีความประสงค์จะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง การประกาศนโยบายมักเป็น

การเอาใจประชาชนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางเพราะเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศ

หนึ่ง

สอง : พลังล้อบบี้ของฝ่ายธุรกิจร่วม กับผู้มีอำนาจทางการเมืองและในราชการ เพื่อให้จัดทำโครงการลงทุน (ขนาดใหญ่) เพื่อสร้างสถานการณ์ผูกขาด

สอง

สาม: การคาดการณ์ลงทุนของภาครัฐ

แบบมีอคติ ความผิดพลาดของการลงทุน ภาครัฐเกิดการ อคติที่ต้องการให้ภาครัฐ ทำโครงการ โดยการำนวณอัตราผล- ตอบแทนที่สูงเกินจริง

สาม

บทบาทของรัฐสภาในการกำกับ และตรวจสอบรัฐบาล

บทบาทของรัฐสภา

ถึงแม่ว่ารัฐบาลมีความตั้งใจดีในการเข้ามาบริหาร ประเทศ แต่ข้อบกพร่องของรัฐก็เกิดขึ้นได้ เนื่องจาก ปัจจัย ทั้งที่เป็นปัจจัยที่ควบคุมได้และปัยจัยนอก ที่ควบคุมไม่ได้ มุมมองเช่นนี้ รัฐสภายิ่งมีบทบาทสำคัญ ในการกำกับและติดตามนโยบายการเงินการคลัง และงบประมาณของรัฐ ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่า การมีบทบาท ของรัฐสภา ให้คำปรึกษา - กำกับ - และติดตามรัฐบาล เป็นการทำงานตามหน้าที่ ด้วยเจตนาที่ดีต่อสังคมและ ส่วนรวม เพียงแต่มีมุมมองที่แตกต่างกัน

วิเคราะห์โครงสร้างการกำกับ และควบคุมเป็นสาธารณะ

โครงสร้าง

ผู้เชี่ยวชาญด้านงบประมาณของ IMF อธิบายและอ้างอิงประเภทของการกำกับควบคุมการใช้จ่ายภาครัฐได้ดังนี้

-การควบคุมเชิงนโยบาย

หนึ่ง

- การควบคุมกระบวนการ

สอง

- การควบคุมและกำกับ

สาม

- การควบคุมที่เน้นประสิทธิภาพ

สี่

Premchan เสนอคำอธิบายว่า ประสิทธิภาพของการกำกับควบคุมรายจ่ายรัฐ ว่าเข้มแข็งหรืออ่อนแอ ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายประการ อาทิเช่น ปัจจัยทางการเมือง ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยองค์กร ปัจจัยความสามารถใน การทำงาน เป็นต้น

Premchan

การจำแนกการควบคุม รายจ่ายภาครัฐเป็นหมวด ได้แก่

รายจ่ายภาครัฐ

(Source: A. Premchan,2000 Control of Public Money,p.28)

- รายจ่ายบุคลากร (Personnel Expenditure)

- รายจ่ายการซื้อสินค้าและบริการ (Purchase of Goods and Services)

- รายจ่ายชำระหนี้และดอกเบี้ย (Interest and Debt Repaymen)

- รายจ่ายเงินอุดหนุนของรัฐบาลให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน และอื่นๆ (Subsidies)

รายจ่าย

- รายจ่ายเเพื่อการพัฒนา (Development Expenditure)

- รายจ่ายป้องกันประเทศ (Defence Expenditure)

- รายจ่ายค่าก่อสร้าง (Construction)

- รายจ่ายบำนาญและสวัสดิการ (Pension Payments)

รายจ่าย

นวัตกรรมในการบริหารภาครัฐ

หลายประเทศได้นำหลักการการบริหารแนวใหม่ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารการเงินการคลังของรัฐ ที่เรียกกันว่า New Public Management หมายถึง การใช้แนวคิดทางการจัดการแบบเอกชนมาใช้ การกำหนดมาตรฐานของบริการภาครัฐ การวัดผลงาน ของหน่วยงานภาครัฐ การกำกับด้านผลผลิต/ผลลัพธ์ แทนการจัดงบประมาณที่เน้นปัจจัยนำเข้า การให้หน่วย งานย่อยในราชการมีอำนาจการตัดสินใจ

นวัตกรรมในการบริหารภาครัฐ

สำนักงาน กพร.เป็นหน่วยงานสำคัญของ ประเทศไทยในการพัฒนาระบบราชการ และสนับสนุนให้ใช้หลัก New Public Management มาบริหารราชการได้ผลักดัน ให้เกิด พ.ร.บ การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ในพ.ศ. 2546 ค้นหาตัวอย่างนวัตกรรมการ บริหารจัดการภาครัฐ พร้อมกับสนับสนุนให้ หน่วยงานอื่นๆ ทำตาม

กพร.

การแยกงบประมาณเพื่อการลงทุนของรัฐออกจากงบประมาณประจำ

งบประมาณ เพื่อการลงทุน

ในบางประเทศได้มีการจำแนกงบประมาณ เพื่อการลงทุนไว้ต่างหากจากการจัดงบประมาณ ประจำ เนื่องจากเหตุผลที่ว่าอายุของการลงทุน ในกรอบเวลาในการพิจารณา มักจะยาวเกินกว่า 1 ปี นอกจากนี้ทำให้การคำนวณภาระการชำระคืนหนี้ (ต่างประเทศ) ของแต่ละโครงการและผลรวม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหากระจุกตัวของการชำระหนี้ (Bunching Effects)

การตรวจสอบงบประมาณ (Budget Audit)

การตรวจสอบงบประมาณมีสองประเภท คือ การตรวจสอบภายใน กับการตรวจสอบภายนอก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการป้องกันการทุจริต คอรัปชั่น เช่น

การตรวจสอบงบประมาณ

• การตรวจสอบทางบัญชีโดยอิง หลักฐานทางบัญชี ตรวจงบทรัพย์สิน และหนี้สินของหน่วยงาน

• การตรวจสอบการใช้จริง ว่าสอด คล้องกับเกณฑ์ที่จัดสรร

• การตรวจสอบด้านการบริหาร หมายถึง การตรวจสอบหน่วยงานว่ามีการปฏิบัติ ตามระเบียบการใช้จ่ายการเก็บเงิน ปราศจากการทุจริต และความผิดปกติ

  • งบประมาณแผ่นดินของไทยและ สภาพสังคมไทยที่กำลังเปลี่ยนแปลง

งบประมาณ แผ่นดินของ ไทย

กระบวนการงบประมาณ แผ่นดิน ปัจจุบัน อาศัย พ.ร.บ. วิธีการงบ ประมาณแผ่นดิน พ.ศ.2502

บทบาทของรัฐสภาในกระบวนการงบประมาณ

บทบาทของ

รัฐสภา

P1: บทบาทการอนุมัติวงเงินงบประมาณ (Budget Approval) หมายถึง รัฐสภาทำหน้าที่ พิจารณาให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบ ทักท้วงหรือเสนอแนะปรับลดงบประมาณ บางรายการ

P2: การติดตามตรวจสอบการใช้จ่าย งบประมาณแผ่นดิน (Budget Audit)

ปัญหาและอุปสรรคการ

ทำงานของรัฐสภา

ประการแรก : รัฐสภาไทยมิได้มีบทบาทที่สำคัญใน ขั้นการเตรียมการงบประมาณ หมายถึง ขั้นการวิเคราะห์ ความเหมาะสมของการกำหนดวงเงิน งบประมาณแผ่นดิน ความจริงรัฐสภา ควรจะมีบทบาทในการกลั่นกรอง การให้คำปรึกษา มีการทักท้วงรัฐบาลจะเป็นประโยชน์ ต่อส่วนรวมมีผลทำให้เกิดความรอบคอบ

ปัญหาและอุปสรรคการทำงานของ

รัฐสภา

ประการที่สอง : รัฐสภาไทยมีข้อจำกัดทางด้าน ข่าวสารข้อมูลการใช้จ่ายของรัฐบาลและหน่วยงานที่รับงบประมาณ เนื่องจากไม่ได้รับรายงานข้อมูล โดยตรงจากหน่วยงาน (กรม)

ประการที่สาม : การเพิ่มขีดความสามารถ ของรัฐสภาในการวิเคราะห์งบประมาณ

นโยบายการเงินการคลัง โดยให้มีหน่วยงาน วิเคราะห์และติดตามงบประมาณในรัฐสภา

ประการที่สี่ : เพิ่มการวิจัยในภาคสนาม ที่เน้นการตรวจสอบและประเมินความคุ้มค่าของการใช้จ่ายของหน่วยงานรัฐ

ประการที่ห้า : การเพิ่มอำนาจให้สามารถ ขอเอกสารหรือเชิญให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความจริงอำนาจนี้มีอยู่แล้วแต่ที่ผ่านมาไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควรจากส่วนราชการหรือ หน่วยงานเนื่องจากมิได้ขึ้นตรงต่อรัฐสภา

ประการที่หก : รัฐบาลควรจะเร่งดำเนินการให้ ส่วนราชการทำการประเมินผลลัพธ์-พัฒนาตัวชี้วัด-พร้อมกับเปรียบเทียบกับคำ รับรองการปฏิบัติงานของหน่วยงาน

นวัตกรรมในการบริหารภาครัฐ

Learn more about creating dynamic, engaging presentations with Prezi