Introducing 

Prezi AI.

Your new presentation assistant.

Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.

Loading…
Transcript

เพศภาวะ เพศวิถี และอัตลักษณ์ทางเพศ

ในมิติที่หลากหลาย

เพศภาวะ เพศวิถี และอัตลักษณ์ทางเพศในมิติที่หลากหลาย

ความหมายของเพศภาวะและ

เพศวิถี

เพศภาวะ เพศวิถี เชื่อโยงกับมิติเรื่องค่านิยมและบรรทัดฐานหรือระบบความคิด วิธีปฎิบัติที่เกี่ยวกับความปรารถนาการแสดงออกทางเพศ

ความคิดเกี่ยวกับคู่รักหรือคู่ชีวิตในอุดมคติที่เป็นการแสดงความหมายทางสังคม โดยมีความสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมที่กำหนดกับสร้างความหมายเกี่ยวกับเรื่องเพศ ได้แก่ ความปกติของการเป็นคนรักต่างเพศและความผิดปกติของการเป็นคนรักเพศเดียวกัน และอัตลักษ์ทางเพศมีความหลากหลายอย่างมากโดยจะเห็นได้จาก

ความปรารถนาหรือเพศสัมพันธ์รูปแบบต่างๆทั้งการมีเพศสัมพันธ์

เพียงคนเดียวหรือหลายคนการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและ

ไม่ปลอดภัย รักต่างวัย รักนอกสมรส เป็นต้น

ภาพประกอบ

ความหมายของเพศภาวะและ

เพศวิถี

ความแตกต่างระหว่างเพศทางสรีระร่างกาย โดยเป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนกับบริบททางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และความเชื่อระหว่างความเป็นผู้หญิงและเป็นผู้ชาย เป็นแบบแผนพฤติกรรมที่ถูกประกอบสร้างผ่านความรู้และเป็นเสมือนความคาดหวัง นำไปสู่แบบแผนความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างผู้ชายและผู้หญิงภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศและความเป็นความคาดหวังของสังคม

เพศภาวะ เพศวิถี เนื่องจากเป็นมิติที่เลื่อนไหล เปลี่ยนแปลงและแตกต่างไปตามบริบททางด้านสังคม วัฒนธรรม เวลา สถานที่ และองค์ประกอบอื่นๆที่มีอิทธิพลในการก่อรูปของความแตกต่างอย่างหลากหลายในสังคม

เพศภาวะ

เพศภาวะ (Gender) การประกอบสร้างความหมายให้กับความแตกต่างระหว่างเพศทางร่างกาย โดยเป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนกับบริบททางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และความเชื่อระหว่างความเป็นผู้หญิงและผู้ชาย เพศภาวะเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางสังคม ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและตามบริบททางวัฒนธรรม

ปัจจัยทางสรีระและชีววิทยา ทำให้เห็นความแตกต่างทางเพศด้านกายภาพระหว่างเพศชายและเพศหญิงตามลักษณะโครงสร้างของ

ร่างกายและอวัยวะเพศโดยเบื้องต้น ทำให้เพศชายและเพศหญิงมีความแตกต่างกันโดยธรรมชาติ อย่างไรก็ตามเพศภาวะหรือความเป็นหญิงชายไม่ได้ถูกกำหนดโดยปัจจัยทางชีวภาพ แต่ถูกกำหนดโดยปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม และผู้ชายถูกกำหนดความคาดหวังในแง่มุมเฉพาะต่างๆ และกำหนดก่อรูปความแต่งต่างไปตามความเชื่อ และมายาคติทางเพศ

ทั้งนี้ความเป็นพฤติกรรมที่ถูกเรียนรู้ทางสังคม ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมได้สร้างความเป็นเพศขึ้นโดยกำหนดว่าควรปฏิบัติอย่างไร ผู้หญิงและผู้ชายควรจะต้องมีหน้าที่อย่างไร การที่สังคมได้ประกอบสร้างความเป็นเพศขึ้น โดยให้ผู้หญิงมีคุณลักษณะบางอย่างและผู้ชายมีคุณลักษณะบางอย่างและเชื่อว่าเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วคุณลักษณะทางเพศนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงและแตกต่างจากบรรทัดฐานของสังคม

ได้ ความคิดยึดติดนั้นจึงนำไปสู่การกำหนดบทบาทหน้าที่

เมื่อความเป็นหญิงและชายถูกสร้างให้มีความแตกต่าง ทำให้ผู้หญิงตกอยู่ในสถานะที่ด้อยโอกาสกว่าผู้ชายทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม การมองเรื่องเพศในทางลบจึงมักจะเกี่ยวข้องกับความไม่เท่าเทียมและการรองรับการกดขี่ ทำให้กิจกรรมที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเพศของผู้ชายและผู้หญิงถูกมองเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อการกดขี่เอารัดเอาเปรียบทางเพศที่ผู้หญิงต้องตกเป็นผู้ถูกกระทำความรุนแรงในลักษณะต่างๆ

เพศวิถี

เพศวิถี (Sexuality) แบบแผนพฤติกรรมการปฏิบัติของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกามารมณ์และแรงปรารถนาจากส่วนลึกที่รวมถึงการแสดงออกของบุคคลนั้น เพศวิถีเป็นค่านิยมบรรทัดฐาน ระบบวิธีคิดและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความปรารถนาและการแสดงออกทางเพศนอกจากนี้ ยังรวมถึงความคิดเกี่ยวกับคู่รักหรือคู่ชีวิในอุดมคติที่เป็นการสร้างความหมายทางสังคม เพศวิถีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมที่กำหนดและสร้างความหมายเกี่ยวกับเรื่องเพศ ได้แก่ ความปกติของการเป็นคนรักต่างเพศและความคิดผิดปกติของการเป็นคนรักเพศเดียวกัน ผู้หญิงดีคือผู้หญิงที่อ่อนประสบการณ์ทางเพศหรือเป็นกุลสตรีเป็นต้น

เพศวิถีเป็นการแสดงออกทางเพศ ความปรารถนาทางเพศ และพฤติกรรมทางเพศซึ่งสังคมส่วนใหญ่ได้กำหนดรูปแบบของเพศวิถีผ่านปฏิบัติการทางวาทกรรมจารีต โดยกำหนดว่า เพศวิถีใดที่ต้องห้ามหรือไม่ควรปฏิบัติ ดังนั้น เพศวิถีจึงต้องมีลักษณะเป็นข้อห้าม ที่เกี่ยวข้องกับความอับอาย ไม่ควรแสดง การประกอบสร้างทางสังคมในเรื่องเพศวิถีเป็นเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการคิด พฤติกรรม และเงื่อนไขในเรื่องเพศซึ่งตีความและให้เหตุผลโดยระบบความหมายเชิงวัฒนธรรม

ทั้งนี้ ความหมายโดยนัยของเรื่องเพศวิถีในปัจจุบันไม่ได้เป็นแค่เพียงเรื่องของเพศชายและเพศหญิงเพศใด

เพศหนึ่งเท่านั้น แต่ยังมีเพศวิถีที่แตกต่างหลากหลายและผันแปรได้ในลักษณะต่างๆได้แก่

1.รักต่างเพศ (Heterosexual)

2.คนเปลี่ยนผ่านเพศ (Transgender)

3.คนที่มีเพศกำกวม (Intersex)

4.คนที่เปลี่ยนแปลงเพศ (Transexual)

5.คนที่มีอัตลักษณ์ทั้งสองเพศ (Bigender)

6.คนที่ทีเพศเป็นกลาง (Fa’afafine)

7.คนที่มีเพศผสมผสาน (Gender-Mixing Status)

8.คนที่มีเพศนอกกรอบ (Queer)

เพศวิถีในสังคมไทยมีความหลากหลายและลื่นไหลอย่างมาก โดยในปัจจุบันความหลากหลายทางเพศมีรูปแบบที่ลื่นไหลมากกว่าจะชี้ชัดหรือระบุนิยามได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะสังเกตได้จากการให้คำนิยามคำศัพท์ใหม่ๆของสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ เลสเบี้ยน ทอม ดี้ ทอมเกย์ เกย์คิง เกย์ควีน โบ๊ธ ไบ สามย่าน กะเทย อดัม แองจี้ เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายและความลื่นไหลแตกต่างได้อย่างชัดเจน จึงจำเป็นต้องเปิดมุมมองและการยอมรับความหลากหลายในเชิงบวก

มิติทางเพศกับการประกอบ

สร้างทางสังคม

มิติทางเพศกับการ

ประกอบสร้างทางสังคม

ระบบความคิดเชื่อเรื่องเพศซึ่งถูกประกอบสร้างทางสังคม เป็นกระบวนการทางสังคมวัฒนธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อจัดการกำกับควบคุมรวมทั้งส่งผลต่อการแสดงออกเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศ ความปรารถนา ความพึงพอใจในเรื่องเพศ การแสดงออกที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ การแต่งกาย ความสนใจทางเพศ และการสร้างจินตนาการที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ รวมถึงการออกกฎเกณฑ์ ระเบียบกฎหมายต่างๆที่มาควบคุมหรือกำกับดูแลเรื่องเพศของคนในสังคม

มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) ได้แสดงให้เห็นรูปแบบของการประกอบสร้างความคิด

เป็นจริงทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอำนาจและการ

ครอบงำความรู้รวมทั้งการปฏิบัติการ และทำให้เป็นเรื่องปัญหาทางการแพทย์ โดยเชื่อมโยงให้เห็นประเด็นเรื่องเพศภาวะและ

เพศวิถีและปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์ได้อย่างชัดเจน

แนวคิดของมิเชล ฟูโกต์ ที่พูดถึงเรื่องราวของความจริงได้สะท้อนให้เกิดความคิดว่าความจริงนั้นเป็นเพียงสิ่งประกอบสร้างเท่านั้น ซึ่งสร้างขึ้นมาโดยผู้ที่มีอำนาจกล่าวคือ ความจริงสามารถที่จะประกอบสร้างผ่านทางวาทกรรมที่กำหนดขึ้นได้

มิเชล ฟูโกต์ ได้เสนอแนวคิดเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีไว้ว่า ผู้หญิง ผู้ชายหรือบุคคลที่รักเพศเดียวกันจะถูกกำหนดความ

แตกต่างชัดเจนหรือถูกนิยามขอบเขตด้วยความรู้ทาง

ชีววิทยาและการแพทย์ว่าความเป็นเพศนั้นเป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่กำเนิดและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือทำให้แตกต่างจากบรรทัดฐานทางสังคมได้ความจริงที่นิยมเช่นนั้นก็จะกลายเป็นสิ่งที่มีอำนาจมาจำกัดหรือควบคุมให้ปฏิบัติไปตามที่ถูกทำให้เชื่อว่าเป็นจริงแล้วเมื่อยอมรับก็จะตก

อยู่ภายใต้อำนาจของวาทกรรมนั้นทันทีอิทธิพลของวาทกรรมถูกนำมาใช้ในการจัดการกับแบบแผนพฤติกรรม

ทางเพศของคนในสังคมจึงทำให้เพศกลายเป็นรูปแบบ

ของการประกอบสร้างทางสังคมที่ดำรงอยู่มาตั้งแต่ใน

ประวัติศาสตร์

ความหมายของอัตลักษณ์์

และอัตลักษณ์ทางเพศ

ความหมายของอัตลักษณ์และอัตลักษณ์ทางเพศ

อัตลักษณ์ (Identity) เป็นคำที่รากศัพท์มาจากคำว่า”อัต”หรือ”อตต”ที่แปลว่า

ตนหรือตัวเองและ “ลักษณ์”ที่แปลว่าลักษณะโดยคำว่า อัตลักษณ์ หมายถึงลักษณะของบุคคลซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของตัวตนที่ได้รับอิทธิพลมาจากบริบททางสังคมและวัฒนธรรม โดยลักษณะดังกล่าวจะมีความเฉพาะเจาะจงซึ่งอาจจะ

เหมือนหรือแตกต่างไปจากบุคคลอื่นหรือกลุ่มทางสังคม

อัตลักษณ์ของบุคคล (Individual Identity) จะมีลักษณะที่สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามการเวลาและ

โอกาสหรือตามบริบทและบทบาททางสังคม ได้แก่อัตลักษณ์ความเป็นแม่ อัตลักษณ์ความเป็นพ่อ อัตลักษณ์ตามสถานะทางเพศหรือเพศภาวะและ

อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์เป็นต้น ดังนั้นอัตลักษณ์จึงไม่ไดเหยุดนิ่งตายตัวแต่มีการเปลี่ยนแปลงลื่นไหลตลอดเวลาและอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตามบริบทของเวลาและสถานที่ที่เปลี่ยนไป

อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity) เป็นแบบแผนที่อธิบายให้เห็นเกี่ยวกับลักษณะของความเป็นชายหรือเป็นหญิง ซึ่งอาจแตกต่างกันหรือไม่ได้ และเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยสังคม ทั้งนี้โดยปกติแล้วทั้งเพศชายและเพศหญิงนั้นมีความ

แตกต่างกันทางด้านกายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยาด้านร่างกายรวมถึงพฤติกรรมทางจิตวิทยาสังคมและ

สัญชาตญาณแต่อัตลักษณ์ทางเพศของแต่ละบุคคลนั้น

ถูกกำหนดขึ้นโดยกรอบทางด้านวัฒนธรรมและ

ปฏิบัติการผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ซึ่งอาจจะสอดคล้องหรือแตกต่างไปจากเพศสรีระของตนเองและยังเกี่ยวข้องกับการแสดงออกซึ่งความพึงพอใจ

และการแสดงออกทางด้านเพศที่มีความหลากหลาย

ปัญหาความรุนแรงที่มีต่อเพศนอกกรอบ

บุคคลที่มีเพศนอกกรอบ (Queer) หมายถึง บุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างจากบรรทัดฐาน

ของสังคม และไม่นิยมตนว่ามีเพศวิถีแบบคนรักต่างเพศ แต่มีเพศวิถีที่หลากหลายได้แก่ หญิงรักหญิง ชายรักชาย ผู้ที่รักสองเพศและผู้ที่ข้ามเพศหรือหมายถึงคนที่มีความหลากหลายทางเพศโดยอธิบายถึงผู้ที่มีรสนิยมทางเพศ

การแสดงออกทางเพศที่นอกเหนือจากคนรักต่างเพศเท่านั้น

บุคคลที่มีเพศนอกกรอบต้องเผชิญกับปัญหาของการถูก

เลือกปฏิบัติลักษณะต่างๆได้แก่กฎหมายห้ามสมรสและ

สิทธิหรือสวัสดิการทางสังคมของคู่สมรสซึ่งไม่ถูกรองรับในกฎหมายการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากบุคคลภาค

รัฐและการปฏิเสธความช่วยเหลืออย่างไม่ไยดีและการถูกละเลยต่อการปกป้องด้านสิทธิมนุษย์ชนขั้นพื้นฐานใน

ลักษณะต่างๆเป็นต้น

มิติของอนามัยเจริญพันธุ์ในกลุ่มบุคคลที่มีเพศนอกกรอบยังได้รับอิทธิพลจากทัศนคติเชิงลบที่เหมารวมว่าเป็นพวกที่สำส่อนและเสี่ยงต่อการติดเชื่อ

ไวรัสเอชไอวี(HIV)และโรคเอดส์(AIDS)เป็นต้นทำให้เกิดการต่อต้าน

และรังเกียจบุคคลที่มีเพศนอกกรอบนอกจากนี้ในบริบทของความเชื่อทางศาสนายังพบว่ามีการตีตราให้เป็นคนบาปและกระทำผิดต่อพระเจ้าซึ่งการ

ประกอบสร้างความหมายเหล่านี้ได้ส่งผลต่อความปลอดภัยในชีวิตและ

จิตใจของบุคคลที่มีเพศนอกกรอบโดยอาจจะเห็นได้จากโทษประหารด้วย

การแขวนคอคนที่มีพฤติกรรมรักเพศเดียวกันในบางประเทศจนถึงปัจจุบัน อันเป็นการแสดงออกถึงความโหดร้ายป่าเถื่อนที่กระทำต่อผู้มีความหลาก

หลายทางเพศอย่างรุนแรง

นอกจากนี้ยังปรากฏรูปแบบของการละเมิดสิทธิ

มนุษยชนขั้นร้ายแรง ได้แก่ การทรมาน ขู่ฆ่า ซ้อม ลักพาตัว การตามคุกคาม การรุมข่มขืน การทำให้หายสาบสูญและฆาตกรรมบุคคลที่มีเพศนอก

กรอบและอาจมีการทิ้งร่างที่เสียชีวิตหรือบาดเจ็บไว้

บนถนน เพื่อประจานและข่มขู่ให้เกิดความเกรงกลัว โดยการกวาดล้างผู้มีความหลากหลายทางเพศทั่วโลก ซึ่งมักเป็นผลมาจากความรู้สึกเกลียดชังความหลากหลายทางเพศในระดับสูงสุดในบางประเทศ ได้แก่ อิรัก อิหร่าน มอริเตเนียน ซาอุดิอาระเบีย เยเมน ซูดาน โซมาเลีย และไนจีเรีย เป็นต้น

Learn more about creating dynamic, engaging presentations with Prezi