ระบบราชการไทยในอดีตสู่
การปฏิรูประบบราชการไทย
ในปัจจุบัน
คือ การเปลี่ยนแปลง แต่มิใช่การเปลี่ยนแปลงแบบปกติ หรือแบบค่อยเป็นค่อยไป การปฏิรูปต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบที่เรียกว่าพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ คือการทำให้สิ่งที่เราเห็นว่าเป็นปัญหา ผิดไปจากสภาพที่เหมาะสม มาจัดรูปแบบใหม่ ดังนั้นการปฏิรูป จึงไม่ใช่ “การพัฒนา” ที่เป็นการทำสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น
ความหมายของการ
ปฏิรูประบบราชการ
ความหมายของการ
ปฏิรูประบบราชการ
การเปลี่ยนแปลงระบบราชการอย่างขนาน
ใหญ่ในทุกด้าน ตั้งแต่บทบาทหน้าที่ โครงสร้างหน่วยงาน โครงสร้างอำนาจหน้าที่ ระบบและวิธีทำงาน ระบบบริหารงาน กฎระเบียบ วัฒนธรรม ค่านิยม และอื่นๆอีกมากที่จะทำให้ระบบราชการเป็นระบบที่สร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เอื้อต่อการพัฒนาประเทศและสร้างความผาสุกให้แก่สังคมโดยรวม
ความสำคัญของการ
ปฏิรูประบบราชการ
ความสำคัญของการ
ปฏิรูประบบราชการ
การเปลี่ยนแปลงของโลกภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้การแข่งขันในเวทีโลกรุนแรงมากขึ้น สังคมเข้าสู่ยุคแห่งการเรียนรู้ กระแสแห่งประชาธิปไตยทำให้บทบาทของภาคประชาสังคม
มีบทบาทต่อการบริหารงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้น ระบบราชการไทยต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาการบริหาร
จัดการเพื่อเป็นองค์กรสมัยใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
1.เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
2.เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3.มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4.ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
5.มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ 6.ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบ
สนองความต้องการ
ปัญหาและอุปสรรคใน
การปฏิรูประบบราชการไทย
ความด้อยคุณภาพและปัญหาของระบบราชการ ยังอาจเป็นปัจจัยที่จะทำให้ไม่สามารถนำพาประเทศ
ออกจากวิกฤตได้ ดังนั้น การปฏิรูประบบราชการจึงเป็นงานที่มีความจำเป็นเร่งด่วน
สำหรับรัฐบาลและสังคมไทยในยุคนี้ เพราะหากไม่เร่งดำเนินการ ประเทศชาติและประชาชนคนไทยก็จะเสียโอกาส
ในการสร้างชาติให้เจริญรุ่งเรืองได้
ปัญหาและ
อุปสรรคใน
การปฏิรูประบบราชการไทย
การปฏิรูป
ระบบราชการครั้งท่ี่ 1
การปฏิรูป
ระบบราชการครั้งท่ี่ 1
การปฏิรูประบบราชการไทยมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทยาเป็นราชธานี สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991-2031) ได้ทรงริเริ่มให้มีการจัดระเบียบการปกครองแบบจตุสดมภ์
โดยแบ่งภารกิจของของราชการออกเป็น เวียง วัง คลัง และนา มีสมุหนายกและสมุหกลาโหมเป็นตำแหน่งหลักในการบริหารราชการ
แผ่นดินการบริหารราชการแผ่นดินในรูปแบบนี้ได้ใช้เรื่อยมาจนถึง
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในปีพ.ศ. 2427
การปฏิรูป
ระบบข้าราชการครั้งที่่ 2
การปฏิรูประบบราชการครั้งที่ 2 ของประเทศไทยเกิดขึ้น
เมื่อวันที่ 1 เมษายนพ.ศ. 2435 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 พระองค์ทรงได้ปฏิรูประบบราชการไทยอย่างขนานใหญ่
โดยทรงนำแนวคิดและแบบอย่างการบริหารราชการของ
ประเทศตะวันตกมาใช้ โดยยกเลิกระบบจตุสดมภ์สมุหนายก สมุหกลาโหม เพื่อลดความซ้ำซ้อนของงาน ยกเลิกรูปแบบเมืองลูกหลวง เมืองราชธานีและเมืองเจ้าพระยามหานคร และจัดระบบการบริหารราชการด้วยการแบ่งส่วนราชการออกเป็นกระทรวง ทบวง กรม เพื่อจัดโครงสร้างความสัมพันธ์ของส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เป็นระบบยิ่งขึ้น
การปฏิรูป
ระบบข้าราชการครั้งที่่ 2
การปฏิรูป
ระบบราชการครั้งที่ 3
การปฏิรูป
ระบบราชการครั้งที่ 3
การปฏิรูประบบราชการไทยครั้งที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2476 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 ได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบการ
บริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยามพ.ศ.2446 เพื่อวางโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน ภายใต้ระบอบการปกครองใหม่โดยแบ่งการ
บริหารราชการออกเป็นราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
การปฏิรูป
ระบบราชการครั้งที่ 4
การปฏิรูประบบราชการครั้งที่สี่เกิดขึ้นเมื่อ
ปีพ.ศ. 2545 การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ
วันที่ 19 มิถุนายนพ.ศ. 2544 มีการกำหนดนโยบายการปฏิรูประบบราชการโดย
อนุมัติระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูป
ระบบราชการเพื่อให้การปฏิรูประบบราชการบรรลุ
ผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยให้มีคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการหรือเรียกว่า ปรร. ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายก
รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน
กรรมการรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
เป็นรองประธานกรรมการ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการเป็นกรรมการและเลขานุการ
การปฏิรูป
ระบบราชการครั้งที่ 4
ด้วยวิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่ว่า ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยังยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะใช้โมเดลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ด้วยนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืน หรือที่เรารู้จักกันว่าไทยแลนด์ 4.0 หรือประเทศไทย 4.0 ดังนั้น ระบบราชการที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยน เพื่อสอดรับ และส่งเสริมไทยแลนด์ 4.0 จึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบราชการและข้าราชการซึ่ง
เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล
สามารถปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับทิศทาง
การบริหารของประเทศ
ไทยแลนด์ 4.0