Loading…
Transcript

สมรรถนะที่ต้องพร้อมก่อนไปป.1

รากฐานของชีวิต

ร่างกาย

แสดงความแข็งแรง และการประสานการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และ

มัดเล็ก

สิ่งที่มุ่งหวัง

สามารถใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น การเห็น การได้ยิน การใช้ กายสัมผัสเป็นเครื่องมือ

ในการเคลื่อนไหว

แสดงความแข็งแรงและความทนทานของ

ร่างกาย

ใช้ทักษะทางร่างกายในการช่วยเหลือและดูแลตนเองได้

บททดสอบของร่างกาย

ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

  • วิ่งแบบก้าวกระโดด
  • เดินต่อเท้าถอยหลังเป็นเส้นตรง โดยไม่กางแขน
  • วาดรูปสามเหลี่ยม และ สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดตามรูปตัวอย่างได้
  • วาดรูปคนที่มีส่วนประกอบ ๖ ส่วนได้ ( ส่วนของใบหน้า 6 ส่วน และมีลำตัว แขน ขา นิ้วมือ)
  • ใช้กรรไกรตัดกระดาษตามรอยเส้นโค้ง หรือ รูปร่างอิสระได้

  • พับกระดาษเป็นรูปต่าง ๆ ด้วยตัวเอง
  • จัดวางสิ่งของหรือวัสดุซ้อน หรือต่อให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามตัวอย่างที่ตั้งให้ดูโดยการวางซ้อนเป็นบันได 4 ชั้น
  • สามารถวิ่งติดต่อกันในระยะทาง 400-500 เมตร
  • ใช้ช้อนส้อมกินอาหารได้
  • ล้างมือหลังเข้าห้องน้ำและก่อนกินอาหารได้โดยไม่ต้องเตือน

น้ำหล่อเลี้ยงชีวิต

จิตใจ

อารมณ์

สิ่งที่มุ่งหวัง

  • เด็กสามารถแสดงทัศนะในการมี

ปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ และเพื่อนวัยเดียวกัน

  • เด็กแสดงความตระหนักรู้ว่าพฤติกรรมมีผลกระทบต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม
  • เด็กตระหนักเห็นคุณค่า และยอมรับนับถือความเหมือนและความ

แตกต่างของแต่ละบุคคล

KEY

RESULTS

  • เด็กสามารถรับรู้เกี่ยวกับตนเองและตระหนักรู้ว่าตนเองขอบหรือไม่ชอบอะไร
  • เด็กปฏิบัติตามกฎระเบียบ กิจวัตรประจำวัน และสามารถควบคุมอารมณ์ได้ตามสมควร
  • เด็กแสดงความเชื่อมั่นในความสามารถของตน

ตัวชี้วัด

  • รู้จักต่อรองและประนีประนอมกับเพื่อน

เมื่อมีข้อขัดแย้งกัน

  • เสนอตัวช่วยเหลือผู้ใหญ่หรือเพื่อนวัย

เดียวกัน

  • มีส่วนร่วมกับผู้ใหญ่หรือเพื่อนในการ

ตัดสินใจ หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่อง

ต่าง ๆ

  • รู้จักปรับน้ำเสียงและความดังตาม

สถานการณ์ต่าง ๆ

  • ถ่ายทอดข้อความที่ได้รับจากอีกคนหนึ่ง

ไปยังอีกคนหนึ่งได้ถูกต้อง

กระบวนการคิด

ขับเคลื่อนชีวิตด้วยปัญญาตื่นรู้

สิ่งที่มุ่งหวัง

  • แสดงความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุและผล
  • การคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถเปรียบเทียบ แยกแยะความ เหมือน ความแตกต่าง และประเมินประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาได้
  • สามารถจดจ่อกับการทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ
  • สามารถแสดงพฤติกรรมอยากรู้ อยากทดลอง โดยการมอง การฟัง การถาม จับต้องและลงมือทำเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต

ตัวชี้วัด

  • บอกเล่าได้ว่าเมื่อวานนี้ทำอะไรที่โรงเรียนหรือที่บ้าน
  • ใช้คำว่า เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้ ได้อย่างถูกต้อง
  • บอกชื่อหรือประเภท คน สัตว์ สิ่งของ พืช เช่น ผู้ใหญ่ คนแก่ สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า ผัก ผลไม้
  • เปรียบเทียบความแตกต่างที่เกิดจากการกระทำต่างกันกับสิ่งเดียวกัน เช่น ข้าวสาร ข้าวสวย ไข่ต้ม ไข่เจียว ไข่ตุ๋น
  • บอกได้ว่าเรื่องที่ฟังหรือเห็นจะจบอย่างไรโดยใช้เหตุผลประกอบ

  • บอกได้ว่าของบางอย่างใช้แทนกันได้
  • บอกความคิดเห็นของตนเกี่ยวกับสภาพและลักษณะที่พบ
  • แก้ปัญหาได้หลายวิธีและรู้จักเลือกวิธีการที่เหมาะสม
  • มีความตั้งใจจดจ่อและทำกิจกรรมได้นานต่อเนื่อง 15-20 นาทีหรือทำจนเสร็จ

ทักษะกำกับตนเอง

"

ก่อนเด็กจะเรียนเขียนอ่านได้ดี เด็กต้องมีการกำกับตัวเองให้ดีเสียก่อน

"

Self-Regulation = Inhibitory control

“การกำกับตนเองสู่เป้าหมาย (Self-Directed Executive Functions) เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการเติบโตของลูก การพัฒนา

ทักษะความสามารถ EF ในด้านนี้จะเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้ใหญ่

เปิดโอกาสให้เด็กเป็นผู้กำหนดการกระทำด้วยตนเอง”

งานวิจัยพบว่า....

ความสามารถในการกำกับตนเองในช่วงปฐมวัยมีความสำคัญต่อความพร้อมในการเรียนมากกว่า IQ หรือทักษะในเรื่องคณิตศาสตร์หรือการอ่านเสียอีก และเกี่ยวข้องกัน

อย่างมากกับความสำเร็จในการเรียนในอนาคต เด็กที่พัฒนา EF มาดีจะมีความสามารถ

ในการกำกับเป้าหมายตนเอง เห็นได้ชัดในเด็กที่ดูแลตนเองได้ สามารถทำงานจนเสร็จ

ลุล่วงท่ามกลางความวุ่นวายโกลาหล

การควบคุมกำกับตนเองจะเกิดขึ้นได้เมื่อ...

1. เด็กมีพื้นฐานความสัมพันธ์ภายในบ้านที่ดี เขาสามารถวางใจในสภาพแวดล้อมได้

พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูมีเวลาคุณภาพให้กับเด็ก ได้แก่ เล่น อ่านนิทาน ทำงานบ้านและการ

สัมผัสทางร่างกาย กอด หอม และอื่น ๆ

2. เด็กสามารถควบคุมร่างกายของตนเองได้ เช่น เด็กสามารถวางแผน

การเคลื่อนไหวร่างกาย ได้แก่ ลุก ยืนเดิน นั่่ง นอน ด้วยตนเอง เด็กควบคุม

การขับถ่ายได้แล้ว และเด็กสามารถพูดสื่อสารบอกความต้องการของตนเอง

ให้กับผู้อื่นได้รับรู้

1. ให้เด็กช่วยเหลือตนเองในสิ่งที่เขาควรจะทำได้ตามวัยของเขา เช่น ตื่นนอน ล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว กินข้าว ใส่รองเท้า จัดกระเป๋าไปโรงเรียนเอง เป็นต้น เพื่อให้เขารู้จักควบคุมกำกับตนเองให้ทำหน้าที่ของตนจนสำเร็จลุล่วง ถึงแม้จะทำได้ไม่ดี ไม่สะอาด ไม่เรียบร้อย ไม่เป็นไร ผู้ใหญ่ช่วยสอนย้ำรอบสองได้ สิ่งสำคัญต้องปล่อยให้เขาได้ทำ

ด้วยตนเอง ลดการช่วยเหลือในสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเองแล้ว ไม่อุ้ม ถ้าเขาเดินได้แล้ว ไม่ทำให้ เมื่อเขาเคยทำได้มาก่อน ผู้ใหญ่ควรให้กำลังใจ และรอคอยอย่างอดทน

2. มอบหมายงานส่วนรวมหรืองานบ้าน

ให้เด็กรับผิดชอบ งานบ้าน ควรเหมาะสมตามวัยของเด็ก เช่น จัดโต๊ะอาหาร แยกเศษอาหาร

และล้างจานของตนเองหลังกินข้าว

เสร็จ รดน้ำต้นไม้ ให้อาหาร

สัตว์เลี้ยง และอื่น ๆ

3. เมื่อเด็กอยากได้สิ่งใด ให้นำมาเป็นเป้าหมาย ให้เขาพยายามเพื่อไปให้ถึง

เป้าหมายด้วยตัวเขาเอง ควรให้เด็กได้มีการคิด วางแผน หรือเพิ่มอุปสรรคก่อนที่

จะได้รับสิ่งที่ต้องการ เพราะการได้สิ่งใดมาโดยง่าย อาจจะทำให้เด็กไม่เห็น

คุณค่าของสิ่งนั้น ถ้าเขาได้ของมาด้วยความพยายามของตนเอง เขาต้องอดทน อดกลั้น ควบคุม กำกับตนเอง กว่าจะได้อะไรมาสักอย่างหนึ่งต้องผ่านความ

ยากลำบาก เขาจะเกิดความภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก

"คนธรรมดาจะกลายเป็นคนพิเศษได้ก็ต่อเมื่อ

พวกเขามุมานะโดยไม่ปริปากบ่น ไม่ถอดใจยอมแพ้และพยายามทำทุกวันให้ดีที่

สุดอยู่เสมอ"

"คนธรรมดาที่ไม่ธรรมดาเหล่านี้จะสามารถ

ทำความฝันให้กลายเป็๋นความจริงด้วยการ

ลงมือทำไปทีละขั้นทุกวันโดยไม่มองหาทางลัด"

4. การทำตารางเวลาที่บ้าน และการมีกติกาภายในครอบครัวที่ชัดเจนช่วยให้

เด็กเรียนรู้การควบคุมกำกับตนเองว่า “เวลาไหนเขาควรทำอะไร และในหนึ่ง

วันเขาต้องทำอะไรบ้าง” เพราะเด็กที่รู้ตารางเวลา และเคารพกติกา (ทุกคนในบ้านทำเหมือนกัน) เขาจะเรียนรู้ คุณค่าของเวลา และการกำกับตนเอง

ให้ทำทุกอย่างให้เสร็จทันเวลา เขาต้องยับยั้งชั่งใจทำงานบ้าน และการบ้านก่อนไป

เล่นได้

5. ให้เด็กได้เล่นอย่างเด็ก ๆ ได้วิ่งเล่นปล่อยพลัง เล่นทราย เล่นน้ำ เล่นกับเรา เล่นอย่างเพียงพอ และเหมาะสม ข้อนี้ดูจะตรงกันข้ามกับการควบคุมและกำกับ

ตนเอง แต่เชื่อเถอะเด็กที่ได้เล่นอย่างเพียงพอ จะสามารถควบคุมกำกับตนเอง

ได้ดีขึ้น เพราะเด็กเป็นวัยที่มีพลังมากมาย พวกเขาไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและมีพลัง

เหลือเฟือที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา