Introducing 

Prezi AI.

Your new presentation assistant.

Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.

Loading…
Transcript

บทละคร

ความหมายของละครและ

วรรณกรรมบทละคร

ความหมายของคำว่าละคร

ความหมายของคำว่าละคร

- พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525

ได้ให้ความหมายไว้ว่า ละครเป็นการเล่นจำพวกหนึ่ง ปกติตัวแสดงแต่งเครื่องมีบทบอกลำนำดังๆ มีท่ารำและมีทำเพลง มักแสดงเป็นเรื่องราวละครจำพวกนี้มีแตกต่างกันออกไปบ้างตามชนิดของละครนั้นๆ เช่นละครพูด ละครตลก การเล่นที่ใช้สัตว์แสดง เช่น ละครลิง ละครสัตว์

ความหมายของคำว่าละคร

- ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ได้กล่าวไว้ว่า

ละคร หมายถึง การเเสดงเพื่อให้เกิดความบันเทิงหรือสำเริงอารมณ์ที่เป็นเรื่องราวซึ่งสามารถนำ ไปเล่าต่อให้คนอื่นที่ไม่เห็นการแสดงนั้นทราบเรื่องราวได้ด้วย

- ประทิน พวงสำลี ได้กล่าว ไว้ดังนี้ การแสดงที่ผูกเป็นเรื่องมีเนื้อความเหตุการณ์เกี่ยวโยงเป็นตอนๆ ตามลำดับเรื่องประกอบด้วยดนตรี และบทร้องตามลักษณะและชนิดของละครนั้น

ความหมายของคำว่าละคร

- อริสโตเติล ปราชญ์ชาวกรีก กล่าวถึงละคร ไว้ว่า

ละครเป็นการเลียนแบบเรื่องราวการกระทำอย่างหนึ่ง หมายความว่า เป็นการสร้างเรื่องราวขึ้นมาใหม่โดยเสนอความคล้ายคลึงกับเรื่องราวการกระทำของเราในชีวิตจริง สิ่งนี้ทำให้ละครมิใช่เรื่องจริง ถึงแม้จะเป็นการจำลองเรื่องจริงมาแสดง ก็มิใช่เรื่องจริงโดยตลอด จะต้องผ่านการเลือกสรรแปรเปลี่ยนและเน้นความสำคัญให้ชัดเจนเพื่อที่จะสื่อเนื้อหาหรือความคิดออกมาได้อย่างสมบูรณ์

มุมมองที่แตกต่างและจุดเหมือนของแนวคิดเกี่ยวกับละครของไทยและตะวันตก

ตะวันตก มองว่าละครเป็นการเลียนแบบชีวิตจริง แต่ทำให้เรื่องราวกระชับและสันลง รวมทังเข้มข้นกว่าเรื่องจริงเพื่อสื่อความคิดให้แก่ผู้ชม อาจเสนอเรื่องความทุกข์ของตัวละคร และความสุขของตัวละคร ตามสภาพความเป็นจริงในสังคม

ไทย มองว่าละครเป็นการแสดงเรื่องราวเพื่อความรื่นรมย์ เมื่อเรื่องจบผู้ชมควรรู้สึกปลืมปิติ

จุดเหมือนคือละครต้องมีเนืิอเรื่องเป็นส่วนสำคัญโดยอาศัยตัว ละครในการถ่ายทอดเรื่องราวมาสู่ผู้ชม

ความหมายของบทละคร

บทละคร

หมายถึง วรรณกรรมที่เขียนขึนโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ใช้ในการแสดง ประกอบด้วย โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก บทเจรจาและถ่ายทอดเรื่องราวผ่านบทบาทหรือพฤติกรรม ของตัวละคร ต่อมาภายหลังจึงมีผู้นำกลวิธีีการเขียนบทละคร มาใช้เขียนบทละครขึนเพื่ออ่าน

ประวัติความเป็นมาของการละครไทย

การละครของไทยมีวิวัฒนาการมาจากการฟ้อนรำจนกระทั่งต่อมาได้รับอิทธิพลจากละครสันสกฤตของอินเดียซึ่งละครสันสกฤตมีจุดมุ่งหมายในการแสดงเพื่อ ให้เกิดความสนุกสนานรื่นรมย์แก่ผู้ชมจึงไม่นิยมแง่ร้ายของชีวิตและจะไม่แสดงให้เห็นเหตุการณ์ที่รุนแรงดังนันละครไทยแต่เดิมจึงเน้นลีลาท่านำที่งดงาม คนดูจะได้ชื่นชมกับตัวละครที่มีบุญญาบารมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์และ มีความประพฤติเป็นเลิศ และปลืมปิติกับเหตุการณ์ที่จบลงด้วยดีเสมอ

ประวัติความเป็นมาของการละครไทย

ในสมัยรัชกาลที่ 5

การละครไทยในสมัยรัชการที่ 5

ยุคนีเรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งการละครสมัยใหม่ของไทยนักเรียนไทย ได้ไปศึกษาวิทยาการสมัยใหม่จากตะวันตกและได้นำแบบแผนการละครแบบตะวันตกซึ่งมีลักษณะสมจริงมากกว่ามาปรับปรุงละครไทยแบบดังเดิมให้ทันสมัยยิ่งขึนโดยในชันต้นเป็นการปรับปรุงละครรำ แบบเดิมที่เชื่องช้า ยืดยาด ขาดความสมจริง ให้สอดคล้องกับยุคสมัย และรสนิยมของผู้ชมมากขึน

ละครที่ปรับปรุงขึนใหม่จากละครรำแบบไทยดังเดิมมี 2 ชนิดด้วยกัน คือ ละครดึกดำบรรพ์ และละครพันทาง

ประวัติความเป็นมาของละครดึกดำบรรพ์

ประวัติความเป็นมาของละครดึกดำบรรพ์ พ.ศ.2434 เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ เสด็จไปยุโรปและพอใจละครโอเปร่าของฝรั่งเมื่อเดินทางกลับมาจึงได้ปรับปรุง ละครรำแบบไทยเดิมที่ตัวละครรำตามบทโดยไม่ขับร้องมาเป็นทังร้องและรำเองเมื่อ ปรับปรุงการละครเป็นแบบใหม่แล้วเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ได้สร้างโรงละครขึนใหม่ให้ชื่อว่า โรงละครดึกดำบรรพ์ ทำให้ต่อมามีการเรียกละครแบบใหม่นีว่า ละครดึกดำบรรพ์ มีการจัดแสดงละครดึกดำบรรพ์ระหว่างพ.ศ. 2442-2452 หลังจากนันก็เลิกแสดงไป

ประวัติความเป็นมาของละครพันทาง

  • ละครพันทางเป็นละครที่เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงปรับปรุงขึ้นจากละครไทยแบบเดิมเช่นเดียวกับละครดึกดำบรรพ์ โดยนำแนวคิดเรื่องความสมจริงของละครแบบตะวันตกมาใช้ จึงมีการปรับปรุงเครื่องแต่งกาย ท่ารำ ทำนองเพลง สำเนียงพูดของตัวละครให้เป็นไปตามท้องเรื่อง คนดูจะได้ทราบได้ทันทีว่าตัวละครนั้นๆเป็นชนชาติใดบทละครพันทางจึงมักตัดเอาตอนที่มีตัวละครต่างชาติปะปนอยู่

ประวัติความเป็นมาของละครพันทาง (ต่อ)

  • เรื่องที่นำมาแสดงเป็นละครพันทาง ได้แก่ ราชาธิราช สามก๊ก ซุยถัง ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณีเป็นต้นเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงเป็นคนแรกที่ริเริ่มเปิดการแสดงละคร ประจำโรงและเก็บเงินคนดูโรงละครมีชื่อว่าปรินซ์เธียร์เตอร์มีกำหนดแสดงช่วงเดือนหงาย เดือนละ1สัปดาห์เรียกกันว่า วีกต่อมา ระยะหลังขยายระยะเวลาเป็น เดือนละ 2 สัปดาห์ แต่ก็เรียกว่า วีก ตามเดิม ต่อมาคำนี้เรียกว่า วิก
  • นอกจากนียังมีการนำละครตามแบบแผนตะวันตกเข้ามาปรับปรุงเป็นละครแบบใหม่ เกิดเป็นละครพูดละครร้องและละครสังคีตละครทั้งสามแบบนี้มีศิลปะในการแสดงที่แตกต่างจากละครแบบเก่าโดยสิ้นเชิง คือไม่มีการร่ายรำ

การละครแบบแผนตะวันตก

ละครพูด

ดำเนินเรื่องด้วยบทพูดของตัวละคร เน้นการแสดงให้สมจริง กิริยา ท่าทาง การแต่งกาย

บทพูด เป็นไปตามธรรมชาติ มีฉากประกอบตามท้องเรื่อง และมีการเปลี่ยนฉาก การแสดงละครพูดจัดขึนครังแรกใน พ.ศ.2415 เพื่อรับเสด็จรัชกาลที่ 5 นิวัติกลับพระนครจาก ประเทศอินเดีย

การละครแบบแผนตะวันตก

ละครร้อง

  • เป็นละครที่ใช้ศิลปะในการขับร้องเพื่อดำเนินเรื่องพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นพระบรมโอรสาธิราช ทรงดัดแปลงมาจากละครที่เรียกว่า Operatic Libretto ของตะวันตก ละครชนิดนีเป็นละครร้องล้วนๆ

  • การแสดงใช้การขับร้องบทกลอนเป็นทำนองต่าง ๆ โต้ตอบกัน ไม่มีคำพูดแบบสามัญ นอกจากละครร้องล้วนๆแล้วยังมีละครร้องสลับพูดซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงปรับปรุงขึนจากละครร้องแบบตะวันตกของมลายูที่เข้ามาแสดงในกรุงเทพ เมื่อ พ.ศ.2435

การละครแบบแผนตะวันตก

ละครสังคีต

เป็นละครที่ดำเนินเรื่องด้วยบทพูดและบทร้องอย่างมีความสำคัญทัดเทียมกัน จะตัดส่วนใดส่วนหนึ่งออกไม่ได้ เนือเรื่องจะขาดหายไป ผู้ให้กำเนิดการละครประเภทนี คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในสมัยรัชกาลที่ 6

การละครไทยในสมัยรัชการที่ 6

  • เป็นสมัยที่การละครของไทยรุ่งเรืองที่สุด เนื่องจาก รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านการละคร ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร ทรงแสดง และทรงกำกับเอง

  • ซึ่งนอกจากจะทรงใช้การละครเป็นเครื่องบันเทิงแล้วยังใช้ละครเป็นเครื่องมือด้านอื่นๆอีก ด้วย เช่น ให้การศึกษา ให้การอบรมศีลธรรมแก่ประชาชน รวมถึงหารายได้เพื่อพัฒนาบ้านเมือง

  • รัชกาลที่ 6 ทรงตั้งมหรสพขึ้นในกระทรวงวัง ให้มีหน้าที่รักษา ส่งเสริม และฟื้นฟูศิลปะทั้งด้านนาฏศิลป์และดนตรีไทย

  • ในรัชสมัยนี้มีเอกชนนำละครไปแสดงยังต่างประเทศถึง 2 แห่งด้วยกัน

1) ประเทศสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. 2467

2) ประเทศกัมพูชา (เขมร) ในสมัยพระเจ้าศรีสวัสดิ์มณีวงศ์

ในสมัยรัชกาลที่ 7

การละครไทยในสมัยรัชการที่ 7

  • ในสมัยนี้ประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1
  • ร.7 จึงโปรดเกล้าให้ยุบกรมมหรสพ
  • ทำให้ละครของไทยซบเซาลงมาก
  • แต่อย่างไรก็ดียังมีคณะละครของเอกชนเปิดการแสดงอยู่บ้าง

การละครไทยในสมัยรัชการที่ 7

  • คณะละครที่มีชื่อเสียงของยุคนี้ ได้แก่ คณะจันทโรภาส ซึ่งมี “พรานบูรพ์” (ดวงจันทร์ จันทรคณา) เป็นผู้เขียนบท
  • ละครของคณะนี้เป็นละครแบบใหม่ เรียกว่า ละครเพลง เป็นการปรับปรุงจากละครร้องในสมัยร.6 คือการปรับปรุงเพลงไทยที่มีการเอื้อนมาเป็นเพลงที่ไม่มีการเอื้อน
  • ผลงานที่เด่นที่สุดคือ จันทร์เจ้าขา ซึ่งเปิดแสดงถึง 49 ครั้ง

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

หลังการเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ. 2475

  • กรมศิลปากรได้รวบรวมศิลปิน โขน ละคร และนักดนตรีใหม่ขึ้นอีกครั้ง ตั้งเป็นกองในกรมศิลปากร
  • ขณะนั้นหลวงวิจิตรวาทการดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรอยู่ ได้ปรับปรุงการแสดงละครเป็นแบบละครพูด

  • แต่ได้แทรกการร้องเพลงทั้งเพลงไทยเดิมและสากลเข้าไป
  • ได้ปรับปรุงท่ารำให้เข้ากับเพลง
  • การแต่งกายแบบชีวิตจริง
  • ซึ่งละครแบบนี้มีลักษณะต่างจากละครที่มีอยู่เดิม คนจึงเรียกว่า " ละครหลวงวิจิตรวาทการ "
  • เรื่องที่นำมาแสดงส่วนใหญ่เป็นเรื่องประวัติศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายปลุกใจ
  • บทละครที่หลวงวิจิตรวาทการแต่งไว้มีหลายเรื่อง เช่น เลือดสุพรรณ เจ้าหญิงแสนหวี พระเจ้ากรุงธน อนุภพพ่อขุนรามคำแหง เป็นต้น

ในระหว่างสงครามโลกครังที่ 2 (พ.ศ. 2484-2488)

  • ในตอนแรกภาพยนตร์จากสหรัฐอเมริกาซึ่งนำเข้ามาฉายก่อนช่วงสงคราม ได้รับความนิยมจากชาวไทยเป็นอย่างมาก แต่ไม่สามารถนำมาฉายได้
  • แต่มีภาพยนตร์ของเยอรมันและญี่ปุ่นซึ่งคนไทยไม่นิยมดู ทำให้ละครเวทีประเภทชายจริงหญิงแท้ได้มีโอกาสเข้ามาสู่ความนิยมของประชาชนอีกครั้ง

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2484-2488)

  • พระนางลักษมีลาวัณย์ ทรงบุกเบิกละครชายจริงหญิงแท้ในนาม คณะปรีดาลัย
  • ได้เปิดการแสดงที่เวทีเฉลิมกรุงและประสบความสำเร็จอย่างมาก เรื่อง ถิ่นไทยงาม และ ศรอนงค์
  • ในเวลาเดียวกัน คณะศิวารมณ์ ก็ประสบความสำเร็จจากเรื่อง กากี และพันท้ายนรสิงห์ เป็นต้น

จาก พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา

จาก พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา

  • ภาพยนตร์จากสหรัฐอเมริกา ได้ทยอยเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้นตามลำดับ

  • ทำให้โรงมหรสพที่เคยเปิดให้มีการแสดงค่อยๆลดน้อยลงเหลือเพียง เฉลิมนคร และเฉลิมไทย (เปิดโรงเมื่อ พ.ศ. 2492) จน พ.ศ. 2495 ทั้งสองโรงก็ปิดการแสดงละคร

  • ละครทั้งหมดจึงไปเปิดการแสดงที่โรงศรีอยุธยาซึ่งเคยเป็นเวทีเก่าสมัยร.6 จนพ.ศ. 2497 การแสดงละครเวทีก็ล้มเลิกไป

  • ภาพยนตร์ไทยสีธรรมชาติ 16 ม.ม. ถือกำเนิดขึ้นในวงการบันเทิงไทย

พ.ศ. 2489 เมื่อสงครามสินสุดลง

  • ศาลาเฉลิมกรุงได้กลับฉายภาพยนตร์จากสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง

  • ทำให้คณะละครต้องย้ายไปแสดงที่เฉลิมนคร นาครเขษม และศรเยาวราช

ใน พ.ศ. 2489 เมื่อสงครามสิ้นสุดลง

หลังจาก 2498 เป็นต้นมา

  • ละครโทรทัศน์เริ่มเข้ามาสู่ความนิยมของคนไทยแทนที่ละครเวที และอยู่ต่อเนื่องไม่ขาดสาย

  • แม้แต่ภาพยนตร์ไทยที่พัฒนาจาก 16 ม.ม. มาเป็น 35 ม.ม. ก็ยังต่อสู้กับละครโทรทัศน์ไม่ได้

หลังจาก พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา

  • และในปัจจุบันก็มีการแสดงละครเวทีบ้างตามสถานศึกษาที่มีหลักสูตรด้านการแสดง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รูปแบบการแสดงละครเป็นแบบละครสมัยใหม่
  • มีนิสิตนักศึกษาเป็นผู้แสดง
  • ในระยะมีการแปลและดัดแปลงบทละครมาจากตะวันตก เช่น อวสานของเซลล์แมน

บทละครไทยแต่เดิมใช้ในการแสดงก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นได้นำมาจากวรรณคดีที่รู้จักกันดี และนิยมอ่านกันอยู่แล้ว เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา อุณรุท มาตัดตอนดัดแปลงให้เหมาะสมแก่การแสดง ในแต่ละครั้ง โดยคำนึงถึงเวลา โอกาสและสถานที่ที่ใช้ในการแสดงเป็นสำคัญ ละครไทยเดิมที่ใช้แสดงมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาถึง ต้นรัตนโกสินทร์ นั้นมี 3 แบบด้วยกันคือ ละครชาตรี ละครใน ละครนอก ซึ่งมีบทบาท ในการแสดงแตกต่างกันไปในแต่ละชนิด

สมัยก่อนรัชกาลที่ 5

2.การแบ่งประเภทของละครตะวันตก

1.การแบ่งประเภทของละครไทย

2.1 แบ่งตามแบบ มี 5 ประเภท คือ

1.1 ละครที่ปรับปรุงจากละครรำ

ของเดิมมี 2 ชนิดคือ

2.2 แบ่งตามท่วงทำนอง มี 8 แนว คือ

1.2 ละครที่นำแบบอย่างมาจาก

ตะวันตก มี 3 ชนิด คือ

ประเภท

ของละคร

7. แนวเอ็กซ์เปรสชันนิสต์

8. แนวแอบเสิร์ด

ละครพันทาง

- เป็นละครที่เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็งกุล)

- พัฒนามาจากละครรำของไทยโดยนำวิธีการแสดงแบบตะวันตกเข้ามาผสมผสาน

- มีการจัดฉากให้สมจริง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว จุดเด่นของละครพันทางอยู่ที่ลีลา การออกภาษา

- ผู้แต่งบทละครพันทางที่มีชื่อเสียงมากคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงแต่งเรื่อง พระลอ ราชาธิราช พระอภัยมณี

2. ละครพันทาง

ละครดึกดำบรรพ์

-เป็นละครผู้หญิงที่ปรับปรุงจากละครรำของเดิม และมโหรีดนตรีไทย

-โดยได้แนวคิดจากโอเปร่าตะวันตกผู้คิดแบบละครประเภทนี้ได้แก่ เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ เป็นผู้จัดกระบวนท่า และ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ออกแบบลำนำทำนองเพลง ทรงออกแบบฉากและกำกับการแสดงการแสดง แบ่งออก เป็นตอนๆ มีฉากประกอบ

-ตัวละครร้องเองส่วนใหญ่นิยมนำบทละครเก่าๆของไทยมาดัดแปลง เช่น สังข์ทอง คาวี อิเหนา

1. ละครดึกดำบรรพ์

ละครพูด

- เป็นละครที่ได้แบบอย่างละครฝรั่งที่เรียกว่า play ซึ่งเป็นการแสดงละครแบบพูด สนทนา และออกท่าทางประกอบให้สมจริง

-ในระยะแรกไม่มีดนตรีประกอบ ต่อมาภายหลังจึงนำดนตรีเข้ามาประกอบ

-เดิมใช้แต่ผู้ชาย แต่ภายหลังใช้ชายจริง หญิงแท้

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.ละครพูด

1) ละครพูดล้วนๆ

อาจแต่งเป็นร้อยแก้ว หรือร้อยกรองก็ได้ เช่น บทละครพูดร้อยแก้ว เรื่อง หัวใจนักรบ บทละครคำกลอน เรื่อง พระร่วง บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา

2) ละครพูดสลับลำ

- มีการขับร้องประกอบ

- ลำ ในที่นี้หมายถึง ลำนำคือ การขับร้อง

- แต่การร้องไม่ใช่ส่วนสำคัญของเรื่องเป็นการแทรก เพื่อเสริมความ หากจะตัดออกก็ได้ไม่เป็นไร

- ตัวอย่างเรื่อง เช่น ปล่อยแก่

ละครร้อง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1) ละครร้องล้วนๆ

-เป็นละครที่ใช้การขับร้องบทกลอนเป็นทำนองต่างๆ โต้ตอบกัน ไม่ใช้คำพูดสามัญ

-แต่งกายด้วยเครื่องน้อยหรือแต่งตามชีวิตจริง

-ตัวอย่างบทละครประเภทนี้ คือ สาวิตรี พระเกียรติรถ พระร่วง

2) ละครร้องสลับพูด

-เป็นละครร้องที่มีการพูดแทรก แต่บทพูดไม่ใช่ส่วนสำคัญ

-ละครชนิดนี้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงคิดดัดแลงมาจากละครมลายู -เรื่อง บังสาวัน พร้อมกับตั้งคณะละคร หลวงนฤมิตรขึ้น จัดแสดงที่โรงละครปรีดาลัย

-ตัวอย่างเช่น สาวเครือฟ้า ตุ๊กตายอดรัก แผ่นดินพระเจ้าสีป๊อมินทร์

2.ละครร้อง

ละครสังคีต

- เป็นละครที่ให้ความสำคัญกับบทร้องและบทพูดเท่าเทียมกัน

- จุดเด่นของละครสังคีต คือ ความไพเราะของเพลง

- ความงามที่เกิดจากความพร้อมเพรียงของผู้แสดง ฉากสวย เครื่องแต่งกายตามวัย

- เนื้อเรื่องมุ่งความสนุกตลก หรือ ล้อเลียนสังคม

- เครื่องดนตรีใช้ปี่พาทย์ไม้นวม

- ร.6 ทรงคิดละครชนิดนี้ขึ้น ทรงพระราชนิพนธ์ละครสังคีตไว้ 4 เรื่อง คือ

1. หนามยอกเอาหนามบ่ง

2. วิวาห์พระสมุทร

3. มิกาโด

4. วังตี่

3.ละครสังคีต

1. ละครโศกนาฏกรรม

ละครโศกนาฏกรรม

โศกนาฏกรรม (Tragedy) เป็นการนำปัญหาที่ลึกซึ้งของมนุษย์มาพิจารณาและพยายามแสวงหาคำตอบ

ดำเนินเรื่องอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา ไม่ใช่เหตุบังเอิญ วิถีทางของเรื่องจะต้อง สมเหตุสมผลและดูน่าเชื่อ

- เสนอเรื่องราวในแง่เคร่งเครียดมาก

- สนใจมองปัญหาที่ลึกซึ้งที่มนุษย์จะต้องประสบ เช่นจุดมุ่งหมายในชีวิต การต่อสู้ในการเลือกวิถีชีวิต

- จุดมุ่งหมายของโศกนาฏกรรมคือการนำไปสู่ภาวะความบริสุทธิ์ทางใจ เพราะในขณะที่ชม

ผู้ชมจะเกิดความรู้สึก 2 อย่าง คือ ความสงสารที่ตัวละครต้องประสบกับความทุกข์ และความกลัว

ว่าตัวเองจะต้องประสบกับความวิบัติเช่นนั้นบ้าง เป็นความรู้สึกที่นำตัวเองเข้าไปเปรียบเทียบ

กับชีวิตของตัวละครแต่เมื่อเหตุการณ์คลี่คลายในตอนจบ คนดูจะเกิดความกระจ่างในใจ

เข้าใจถึงสาเหตุ และเข้าใจชีวิตมนุษย์ดีขึ้น

ละครสุขนาฏกรรม

- เสนอเรื่องราวยังไม่เคร่งเครียดนัก

- มักออกมาในรูปของการล้อเลียน เสียดสี หรือสนุกกับตัวละครไปด้วย

- ลักษณะสำคัญคือต้องทำให้คนดูแยกความรู้สึกของตัวเองออกจากเหตุการณ์ นั่งมองเหตุการณ์นั้นเหมือนเป็นบุคคลภายนอกเพราะคนเราจะไม่สามารถหัวเราะให้กับ ความผิดปกติที่เราเห็นอกเห็นใจ เราจะขันเมื่อได้เห็นสิ่งผิดปกติวิสัยหากไม่ใช้อารมณ์ เข้าไปพัวพันอยู่ด้วย

2. ละครสุขนาฏกรรม

ละครเริงรมย์ หรือ เมดโลดรามา

- เสนอเรื่องราวอย่างเป็นจริงเป็นจัง แต่ไม่ลึกซึ้งนัก

- โลกของความดีและความชั่วจะอยู่แยกกันอย่างเห็นได้ชัด

- ลักษณะของตัวละครจะแบ่งเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายพระเอก และฝ่ายผู้ร้าย

เรื่องราวจะมีปมชวนให้ระทึกใจ เมโลดรามาสนใจการวางโครงเรื่องมากกว่าการวางนิสัยตัวละคร เรื่องราวจึงมักขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ โดยไม่ได้เกิดจากการตัดสินใจของตัวละครเอง ตัวละครจะเป็นเพียงตัวที่ทำให้เหตุการณ์เกิดขึ้นและผันแปรไป

3. ละครเริงรมย์

ละครหัสนาฏกรรม

เป็นละครสุขนาฏกรรมประเภทหนึ่ง เป็นสุขนาฏกรรมที่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์

- หัสนาฏกรรมจะประกอบด้วยเหตุการณ์และตัวละครที่เกินจริงอย่างชัดเจน

- เน้นที่การดำเนินเรื่องเป็นสำคัญกว่าการสร้างลักษณะนิสัยตัวละคร

- มีลักษณะของละครตลกเฮฮาในแบบของจำอวด

- นิยมใช้เหตุบังเอิญหรือเหตุการณ์แรงๆเน้นเรื่องตลกและวางมุกตลกเพื่อพยายาม เรียกเสียงหัวเราะอยู่เสมอโดยเป็นไปอย่างจงใจ เรียกร้องให้คนดูหัวเราะ

4. ละครหัสนาฏกรรม

ละครสมัยใหม่

เป็นละคนในแนวจริงจังที่ไม่อาจเรียกได้ว่าโศกนาฏกรรม แต่ก็ยังมีความลึกซึ้งเกินกว่าเมโลดรามา มักเป็นเรื่องชีวิตของคนทั่ว ๆ ไป อย่างที่เราจะพบเห็นได้ในปัจจุบันมีการพัฒนาลักษณะนิสัยตัวละครอย่าง ละเอียดรอบคอบ เสนอปัญหาทางสังคม จิตวิทยาหรือปรัชญา ที่คนในสมัยปัจจุบันกำลังเผชิญอยู่ บทละครสมัยใหม่มีลักษณะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้

5. ละครสมัยใหม่

ด้านจุดมุ่งหมาย

บทละครสมัยใหม่จะเขียนขึ้นเพื่อการสื่อสารหรือสื่อความคิด อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นความจริงเกี่ยวกับชีวิตจิตใจของมนุษย์ เพื่อให้ผู้ชมได้หยุดคิดมากกว่าจะต้องการให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครหรือเหตุการณ์ในเรื่อง

2. ด้านจุดมุ่งหมาย

ด้านแนวคิด

บทละครสมัยใหม่มักจะเสนอแนวคิดตามหลักปรัชญาอัตถิภาวะนิยม ที่ถือหลักว่ามนุษย์ควรมีสิทธิในการเลือกดำเนินชีวิตเอง ไม่ตกเป็นเครื่องมือของสิ่งใดทั้งสิ้น

4. ด้านแนวคิด

ด้านเนือหา

ละครสมัยใหม่จะสะท้อนให้เห็นความสับสนวุ่นวายของโลก ความว่างเปล่าไร้จุดหมายของชีวิตตลอดจนสภาพของคนใน สมัยปัจจุบันที่ต้องสูญเสียไปแล้วทั้งความทรงจำเกี่ยวกับอดีต และความฝันอันสูงส่งของอนาคต

5. ด้านเนือหา

ด้านรูปแบบการเขียน

ไม่นิยมสร้างโครงเรื่องให้แสดงความขัดแย้งเหมือน บทละครสมัยเก่า หรือไม่นิยมสร้างโครงเรื่องให้กระชับกลมกลืนกัน บางครั้งอาจจะไม่มีทั้งตอนขึ้นต้นหรือลงท้าย ไม่มีการดำเนินเรื่อง เพราะผู้แต่งเพียงหยิบยกสถานการณ์บางตอนมาเสนอให้เกิดแนวคิดเท่านั้น

1. ด้านรูปแบบ การเขียน

ด้านปรัชญาการละคร

บทละครสมัยใหม่ส่วนใหญ่จะยึดหลักปรัชญาแนวสัจนิยม ที่มีจุดมุ่งหมายในการแสดงปัญหาสังคมสะท้อนภาพ

ความเป็นจริงแห่งชีวิตที่สัมพันธ์กับชีวิตของคนร่วมสมัย

3. ด้านปรัชญาการละคร

1. แนวอุคมคติ

ชนิดและลักษณะของบทละครพูด

ได้รับความนิยมในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แต่มาซบเซาเมื่อสมัยสงครามโลกครังที่ 2 เพราะผู้คนหันมาสนใจภาพยนตร์ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่ ต่อมาได้มีการฟืนฟูการแสดงละครพูดอีกครังในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งปัจจุบันการแสดงละครพูดสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

ชนิดและลักษณะของบทละครพูด

บทละครเวที

(Play on Stage)

ละครเวที

1. เรื่องจะแบ่งออกเป็นตอน เป็นฉาก

- ผู้เขียนบทต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับฉากชัดเจน

- สถานที่

- เวลา

- เครื่องประกอบฉาก

- บรรยากาศ

2.ตัวละคร

- มีใครบ้าง

- ตัวละครเป็นใคร

- มีลักษณะอย่างไร (เพศ วัย บทบาท ฯลฯ)

- เครื่องแต่งกาย

- บุคลิกพิเศษของตัวละคร

3.บทสนทนา (องค์ประกอบหลักที่สำคัญของบทละคร)

- สื่อความหมาย

- อารมณ์

- บอกเหตุการณ์

- เผยบุคลิกตัวละคร

- สร้างบรรยากาศให้ดูสมจริง

4.เสียงที่ใช้ประกอบฉาก

เสียงดนตรีเพลงหรือเสียงประกอบต่างๆที่ทำให้การแสดงนั้น ดูสมจริง เช่น เสียงน้ำตก เสียงฝีเท้า เสียงลมพัด เสียงกรีดร้อง นอกจากเสียงนี้เพลงประกอบฉากก็สำคัญเนื่องจากจะส่งผล ต่ออารมณ์ของผู้ชมด้วย

บทละครวิทยุ (Play on Radio)

ละครวิทยุ

1.บทบรรยาย

- แทรกบทบรรยายสั้น ๆ เพื่อให้ดำเนินเรื่องกระชับ

-เล่าประวัติความเป็นมา

-เหตุการณ์หรือฉาก

- ไม่ควรมีบทบรรยายมากเกินไปเพราะจะกลายเป็น เรื่องเล่า

2.ตัวละคร

- ผู้แต่งต้องกำหนดให้ชัดเจน

-ตัวละครเป็นใคร

-ลักษณะพิเศษ

- ละครวิทยุจะใช้เสียงพูดของตัวละครเพื่อบ่งบอกลักษณะของตัวละคร เช่น

-เสียงก้าวร้าวของนักเลง

-เสียงสุขุมของผู้ดี

-เสียงสดใสของเด็ก

3.บทสนทนาของตัวละคร

-เขียนเหมือนกับบทละครเวที

-แทรกบทรำพึงรำพันของตัวละคร เพื่อให้ผู้ฟังนึกภาพตามไปด้วย

-มักกำกับเสียงของตัวละครไว้ในวงเล็บเพื่อให้ผู้แสดงทำเสียง สอดคล้อง กับกิริยาที่ควรจะเป็นในขณะนั้น

4.เสียงดนตรี

- เป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับละครวิทยุ

- เสริมบรรยากาศให้ผู้ฟัง

- ใช้เป็นเครื่องเปลี่ยนฉาก

- เปลี่ยนระยะเวลาระหว่างฉาก

- ใช้เพื่อคั่นเหตุการณ์

- ผู้แต่งควรระบุเสียงดนตรีไว้ให้พร้อมและสอดคล้องกับเหตุการณ์

5.เสียงประกอบการแสดง

- เสียงต่างที่ช่วยให้ผู้ฟังนึกภาพไปตามท้องเรื่อง เช่น

- เสียงคนคุยกัน

- เสียงสุนัขเห่า

- เสียงฟันดาบ

- ผู้แต่งควรระบุไว้ให้ชัดเจนว่าจะใช้ตอนใดบ้าง

ตัวอย่างละครวิทยุ

https://www.youtube.com/watch?v=zkUaT5Ea_q0&list=PL9EC8B9929B507DD1

บทละครวิทยุ เรื่อง รักของผีเสือ

แก่นของเรื่อง : รักไม่มีเงื่อนไข

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเสริมสร้างความสนุกสนาน และความบันเทิงใจแก่ผู้รับฟังทั่วไป 2. เพื่อเป็นการเสนอถึงมุมมองความรักในแง่ของการรักไม่มีเงื่อนไข

กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนทั่วไป

ผู้ประกาศ : ความรักมีอยู่หลากหลายรูปแบบด้วยกันนะคะ วันนีรายการของเราก็มีละครวิทยุเรื่องหนึ่งที่นำเสนอเกี่ยวกับมุมมองความรักที่ยอม เสียสละและทำทุกอย่างเพื่อคนที่เรารักค่ะ ความรักที่ว่านั่นก็คือ “การรักไม่มีเงื่อนไข”  แต่ไม่ว่าความรักของคุณผู้ฟังจะเป็นอย่างไรความรักก็คือสิ่งที่สวยงามเสมอ ถ้าคุณผู้ฟังรู้จักที่จะรักให้เป็น ความรักรักก็จะอยู่กับเราตราบนานเท่านานแน่นอนค่ะ

ฉากห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง

อัศวิน : นิดครับคุณหิวข้าวหรือยัง

วนิดา : นิดก็เริ่มหิวข้าวแล้วล่ะค่ะวิน นี่มันก็เที่ยงแล้วนี่นา แต่เอ .. วันนี้เราจะทานอะไรกันดีน๊าอัศวิน : แล้วนิดอยากทานอะไรล่ะครับ

วนิดา : อืม .. นิดอยากทานพิซซ่า เอ็มเค เคเอฟซี ซิสเลอร์ ฮาจิบัง ยาโยอิ เชสเตอร์กริล …. ฯลฯ

อัศวิน : เอ่อ นิด วินว่าถ้านิดทานหมดทุกอย่างที่พูดมานี่ นิดคงไม่ใช่นิดแล้วนะ แต่นิดจะกลายเป็นหมูแทน 55

วนิดา : แหม วินก็นิดก็แค่พูดเล่นเฉย ๆ ค่ะ เอาเป็นว่าวันนี้เราไปทานข้าวมันไก่ร้านประจำกันดีกว่า

อัศวิน : ครับ

F/I เสียงรถยนต์ขับออกไป แล้วไปหยุดที่ร้านข้าวมันไก่ F/U ฉากร้านอาหาร

วนิดา : มาทานข้าวมันไก่ที่นี่ทีไร คิดถึงบรรยากาศเก่า ๆ ของเราจังเลยค่ะวิน

อัศวิน : ครับ วันที่วินเจอนิดครั้งแรก วนิดา : วินจำได้ด้วยหรอคะ นิดคิดว่านิดจะจำอยู่คนเดียวซะอีก อัศวิน : แล้วมีเรื่องไหนของเราที่วินจำไม่ได้บ้างล่ะครับ เดี๋ยวทานเสร็จแล้ววินจะพานิดไปที่ ๆ นึง

วนิดา : ที่ไหนหรอคะ นิดชักจะตื่นเต้นแล้วสิ

อัศวิน : บอกก่อนก็ไม่เซอร์ไพรท์ น้องครับเก็บเงินด้วย

พนักงานร้านข้าวมันไก่ : แปดสิบบาทครับพี่

อัศวิน : ไม่ต้องทอนครับ

F/I เสียงลุกจากเก้าอี้ เสียงรถยนต์แล่นออกไปหยุดที่สวนสาธารณะF/U

ที่มา : http://chawisa-ect.blogspot.com/2010/10/normal-0-false-false-false.html

ตัวอย่างละครวิทยุ : https://www.youtube.com/watch?v=zkUaT5Ea_q0&list=PL9EC8B9929B507DD1

บทละครโทรทัศน์ (Play on T.V.)

ละครโทรทัศน์

เขียนขึ้นเพื่อใช้แสดงออกอากาศทางโทรทัศน์ มีลักษณะเฉพาะคือ

-การเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียง

-ภาพที่ผู้ชมเห็นมี ตัวละคร ฉาก และแสง

-เสียงมี 3 อย่างคือ

-เสียงพูดตัวละคร

-เสียงประกอบ

-เสียงเพลงประกอบ

หลักการเขียน ผู้แต่งจะต้องแบ่งกระดาษเป็น 2 ส่วน ดังนี้

-ส่วนซ้ายมือ เขียนเกี่ยวกับภาพ

-สิ่งที่ปรากฏในการแสดง

-อาการของผู้แสดง

-การจับภาพมุมต่างๆของกล้อง

-ต้องระบุให้ชัดเจน

-ส่วนขวามือ เขียนเกี่ยวกับเสียง

-บทพูดของตัวละคร

-เสียงประกอบ

-เสียงเพลงประกอบ

ละครโทรทัศน์ไม่มีการเปิดม่านและปิดม่าน แบบละครเวที แต่จะใช้การเริ่มถ่ายภาพ (เฟดอิน) และให้ภาพจางหายไป(เฟดเอาท์) แทน

ดังตัวอย่างต่อไปนี้

บทละครโทรทัศน์

ของคุณ วิม  อิทธิกุล

องค์ประกอบของบทละครพูด

บทละครพูดมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับบันเทิงคดีประเภทนวนิยาย และเรื่องสั ้น คือ ประกอบด้วย โครงเรื่อง ตัวละคร บทสนทนา และฉาก

แต่มีส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาคือ แสง สี เสียง ซึ่งถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง ที่จะช่วยสร้างบรรยากาศ อารมณ์ หรือการรับรู้ ให้แก่ผู้ชม แทนการบรรยายหรือพรรณนา

องค์ประกอบของ

บทละครพูด

ความคิด (แก่นของเรื่องหรือจุดหมายของเรื่อง) หมายถึง แง่คิดหรือความเห็นเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆในชีวิตที่ผู้เขียน ต้องการสื่อสารต่อผู้ชมและสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเรื่องจริง จากเรื่องราวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ ้นในละคร โดยการให้แง่คิดจะต้องกลมกลืนไปกับโครงเรื่องและ ลักษณะนิสัยของตัวละครและปล่อยให้ผู้ชมได้ขบคิด ด้วยตนเอง

ความคิด

โครงเรื่อง

โครงเรื่่่่อง หมายถึง การลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล และจุดมุ่งหมายปลายทาง การวางโครงเรื่่องก็คือ การวางแผนการกระทำของตัวละคร เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ว่ามีใครทำอะไร ด้วยจุดมุ่งหมายอะไร ภายใต้สภาพแวดล้อมเช่นไร พบอุปสรรคหรือไม่อย่างไร แก้ปัญหาหรือตัดสินใจอย่างไร และผลคืออะไร

การใช้ภาษา

การใช้ภาษา หมายถึง ศิลปะการถ่ายทอดเรื่องราวและความคิดของผู้แต่งออกมาทางคำพูดของตัวละครหรือบทเจรจา ซึ่งอาจเป็นบทร้อยแก้ว หรือร้อยกรองก็ได้

เนื่องจากบทละครนันเขียนขึนเพื่อแสดง บทบาทของตัวละครจึงไม่ได้อยู่ที่บทสนทนาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องประกอบไปด้วยการแสดงออกทางใบหน้า ท่าทาง และการเคลื่อนไหว การเขียนบทละครโดยเฉพาะบทละครเวทีและบทละครโทรทัศน์จึงต้องกำหนดสิ่งต่าง ๆ เหล่านี เพื่อให้นักแสดง ผู้กำกับการแสดง ผู้ออกแบบฉาก เวที หรือส่วนประกอบอื่น สามารถนำมาตีความหมายและแสดงออกเป็น " ภาพ "ได้อย่างมีศิลปะ

ภาพ

ตัวละครและลักษณะนิสัย

- ตัวละคร หมายถึง

ผู้กระทำ และผู้ที่ได้รับผลจากการกระทำ

- การวางลักษณะนิสัยตัวละคร คือ การกำหนดให้ตัวละครมีลักษณะนิสัยตามความเหมาะสมของเรื่องราวที่เสนอ

มี 2 แบบ คือ

1)ตัวละครที่มีลักษณะเป็นแบบตายตัว

2)ตัวละครที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงตามสภาพการณ์ที่แวดล้อม

เสียง มีผลต่อบรรยากาศอารมณ์ของตัวละครและปฏิกิริยาโต้ตอบจากผู้ชม ผู้แต่งจึงควรเลือกใช้ถ้อยคำที่ทำให้เกิดเสียง จังหวะ ลีลา และความสูงต่ำ ดังค่อย ตลอดจนการใช้เสียงต่าง ๆ ต้องสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่น ๆ ของบทละครได้อย่างดีด้วย

เสียง

แนวทางในการอ่านและประเมินค่า

ผู้อ่านใช้วิจารณญาณและจินตนาการในการพิจารณาว่าที่ตัวละครแสดงพฤติกรรมเช่นนั้น เพราะอะไรจึงต้องอ่านอย่างละเอียดและใช้ความคิดไตร่ตรองเพื่อค้นหาสาระข้อคิดที่ผู้แต่ง

ต้องการสื่อมา ยังผู้อ่าน ขณะเดียวกันก็ได้รับความเพลิดเพลินจากการอ่านไปพร้อมกันด้วย

แนวการอ่านและประเมินค่าบทละครพูด

วิเคราะห์ภาษา

ภาษานั้นให้"รส"แก่ผู้อ่านและผู้ฟังผู้แต่งบทละครต้องใช้ภาษาได้อย่างดี เช่นเดียวกับกวีที่เลือกใช้คำเพียงไม่กี่คำเรียบเรียงเข้าด้วยกันเพื่อให้ความหมายที่จะทำให้ผู้อ่านคิดไปได้อีกไกล

4.วิเคราะห์ภาษา

วิเคราะห์โครงเรื่อง

เป็นการวิเคราะห์ถึงลำดับเหตุการณ์ที่ผู้เขียนบทเลือกสรร และเรียบเรียงขึนมาเป็นบทละคร คงเลือกที่ลำดับไว้อย่างดีจะมีผลต่อการสร้างอารมณ์ให้ผู้ชมมาก ศิลปะการเขียนบทละครที่ดี จึงขึนอยู่กับความสามารถของผู้แต่งในการวางโครงเรื่องเป็นอย่างมาก ปัจจัยที่จะใช้ในการ วิเคราะห์โครงเรื่องของบทละคร มีดังนี

1.วิเคราะห์โครงเรื่อง

1.1 จุดเริ่มต้น

1.1 จุดเริ่มต้น

คือ ช่วงเวลาที่ผู้แต่งบทละครประเภทการในชีวิตตัวละคร มาเป็นตอนเปิดเรื่องสู่ผู้อ่านหรือผู้ชม

1.3 การเตรียมเรื่อง

1.3 การเตรียมเรื่อง

เป็นการทำให้คนดูพร้อมสำหรับพัฒนาการของเรื่อง

ในตอนต่อๆไป โดยจะทำให้คนดูเชื่อได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ ที่อาจผันแปรไปอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ เช่น อาจเป็นเรื่องราวดูน่าเชื่อและไม่กะทันหันจนเกินไป และสร้างปมให้ชวนติดตาม

1.2 การปูพืน

ทำให้ทราบว่าเรื่องมีความเป็นมาอย่างไร เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิหลังของเรื่องราวเท่าที่จำเป็น

1.2 การปูุพืน

1.6 จุดวิกฤต

คือ ช่วงเวลาที่ตัวละครต้องตัดสินใจเลือกเดิน ซึ่งจะมีผลเปลี่ยนแปลงชีวิตในทางใดทางหนึ่ง บางครังตัวละครเป็นคนเลือกทางเดินเอง บางครังก็ถูกสถานการณ์บีบให้เลือก

1.6 จุดวิกฤต

1.7 จุดยอด

ที่เราจะมักเรียกทับศัพท์ว่า " ไคลแมกซ์ " ก็มีได้หลายครัง แต่ความตึงเครียดมากที่สุด มักอยู่ตอนท้ายเรื่อง

1.7 จุดยอด

1.5 การค้นพบ

คือ ภาวะที่ตัวละครประสบกับสิ่งใหม่ ๆ ที่เปิดเผยให้ตัวละครได้รู้ซึ่งมักจะมีผลให้ตัวละครตัดสินใจ กระทำการใด ๆ ที่มีผลเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตัวเองไป

1.5 การค้นพบ

1.4 ความยุ่งยาก

คือ สิ่งที่ผู้แต่งนำมาใส่ไว้เพื่อหันเห หรือรบกวนสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในเรื่อง ทำให้เกิดความปั่นป่วนและตัวละครประสบปัญหาที่จะต้องแก้

1.4 ความยุ่งยาก

1.9 เอกภาพ

คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของละครในด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดเน้นหลักของบทละครแต่ละเรื่อง เป็นลักษณะที่แสดงว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเชื่อมโยงอยู่ด้วยกัน

1.9 เอกภาพ

1.8 การคลี่คลาย

ทำให้สถานการณ์ในละครกลับมาสู่ภาวะปกติครัง เป็นการเชื่อมโยงเรื่องราวเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ และจบเรื่องลงอย่างสมเหตุสมผลเป็นที่พอใจแก่ผู้ชม

1.8 การคลี่คลาย

วิเคราะห์เสียง

เสียง เสียงหมายถึง สิ่งที่คนดูได้ยินทั้งหมดในละคร

5.1 เสียงที่พูดออกมา การเปลี่ยนลักษณะของเสียง เช่น สูง - ต่ำ ช้า - เร็ว ค่อย - ดัง ฯลฯ จะทำให้ความหมายของบทเปลี่ยนไปได้จึงมีความสำคัญในการสร้างความหมาย ให้แก่บทพูด

5.2 เพลงและดนตรี ไหนว่าจะไม่มีอยู่ในละครทุกเรื่อง แต่ละครบางเรื่องก็ใช้เพลงและดนตรีสื่อความหมายและอารมณ์อย่างมาก

5.3 เสียงประกอบเรื่อง เสียงในลักษณะนี้ยังสร้างบรรยากาศและอารมณ์อย่างมาก อาจให้ความรู้สึกหวาดผวาหรืออารมณ์เหงาเปลี่ยวเป็นต้น

5.วิเคราะห์ เสียง

วิเคราะห์ความคิด

ความคิด คือ เนื้อหาสาระที่บทละครมุ่งจะให้แก่คนดู เป็นข้อสรุปที่เราได้จากบทละครทั้งเรื่อง

3.วิเคราะห์ความคิด

วิเคราะห์ภาพ

เนื่องจากบทละครเขียนขึ้นเพื่อใช้แสดง ฉะนั้นภาพจึงมีส่วนสำคัญมาก เท่า ๆ สิ่งที่ได้ยินหรือบางครั้งอาจจะมากกว่าการอ่านบทละครจึงควรเป็นการอ่าน ที่ต้องสร้างภาพในจินตนาการไปด้วยเพื่อที่จะให้ผลสมบูรณ์ตามความประสงค์ ของผู้แต่ง

6.วิเคราะห์ภาพ

วิเคราะห์ตัวละคร

้้

2.1 การวิเคราะห์ตัวละครอาจทำได้ 2 ลักษณะ คือ วิเคราะห์ประเภทของตัวละคร เป็นการพิจารณาลักษณะของตัวละครในบทละครนัน ๆ ว่าจัดอยู่ประเภทใดดังต่อไปนี

2.1.1 แบบสองมิติ คือ แสดงลักษณะด้านใดด้านหนึ่ง มีลักษณะตื่นและแบนเหมือนอยู่บนแผ่นกระดาษที่มีแต่ความยาวและความกว้างแต่ไม่มีความลึก

2.1.2 แบบสามมิติ คือแสดงลักษณะให้เห็นมากมายหลายด้านเหมือนคนจริงๆ มีความลึก แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิด จิตใจที่อยู่ข้างในการกระทำ

2.1.3 แบบตายตัว แสดงลักษณะนิสัยตามที่คนทั่วไปคาดหมายว่าคนประเภทนี้จะต้องเป็น เช่น แม่เลี้ยงใจร้าย เด็กสาวไร้เดียงสา พระเอกผู้กล้าหาญและเสียสละ

2.วิเคราะห์ตัวละคร

2.2 วิเคราะห์กลวิธีการสร้างตัวละคร

2.2.1 ทางลักษณะภายนอก หมายถึง รูปร่างหน้าตา เพศ อายุ

2.2.2 ทางสังคม หมายถึง ฐานะ อาชีพ ศาสนา ความเกี่ยวพันในครอบครัว

2.2.3 ทางจิตวิทยา หมายถึง นิสัยใจคอ ทัศนคติ ความมุ่งหมายในชีวิต ความชอบ ความเกลียด

2.2.4 ทางคุณธรรมหรือจริยธรรม มีละครเพียงบางเรื่องเท่านันที่แสดงลักษณะตัวละครทางด้านคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโศกนาฏกรรมเพราะเป็นละครประเภทที่สนใจและศึกษาความสำคัญของจริยธรรมของมนุษย์ยิ่งกว่าละครประเภทอื่น

Learn more about creating dynamic, engaging presentations with Prezi