Introducing 

Prezi AI.

Your new presentation assistant.

Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.

Loading…
Transcript

The romantic period

ดนตรียุคโรแมนติก

Romantic

What is Romantic?

คำว่า “โรแมนติก” ในทางดนตรีมักให้ความหมายว่า ลักษณะที่ตรงกันข้ามกับดนตรีคลาสสิก กล่าวคือ โรแมนติกจะเน้นที่เนื้อหา(Content) เน้นที่อารมณ์ (Emotionalism) และเป็นตัวแทนของอัตวิสัย (Subjectivity)

ความเป็นมาของดนตรียุคโรแมนติก

ยุคโรแมนติก (ค.ศ.1820-1910)

ในยุคนี้ใช้ดนตรีเป็นเครื่องแสดงออกของอารมณ์อย่างเต็มที่ ทุกๆ อารมณ์สามารถถ่ายทอดออกมา

ได้ด้วยเสียงดนตรีอย่างเห็นได้ชัด จะเน้นเนื้อหา ว่าดนตรีกำลังจะบอกเรื่องอะไร ให้อารมณ์อย่างไร เช่น แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ความเศร้าโศกเสียใจ หรือความกลัว

ด้านเสียงประสานก็มักจะใช้คอร์ดที่มีเสียงไม่กลมกลืน เช่น ดอร์ดโครมาติค (Chromatic Chord) หรือ คอร์ดที่มีระยะขั้นคู่เสียงกว้างมากขึ้นๆ

สำหรับบทเพลงที่คีตกวีได้พยายามถ่ายทอดเนื้อความมาจากคำประพันธ ์หรือบทร้อยกรอง (Poem) ต่างๆ แล้วพรรณนาสิ่งเหล่านี้ออกมาด้วยเสียงของดนตรีอย่างเหมาะสมนั้น จะเรียกบทเพลงแบบนี้ว่า ซิมโฟนิคโพเอ็ม (Symphonic Poem) ต่อมาภายหลังเรียกว่า โทนโพเอ็ม (Tone Poem)

ลักษณะของดนตรียุคโรแมนติก

ลักษณะของดนตรียุคโรเเมนติก

ดนตรียุคโรแมนติกมีลักษณะของแนวทำนองที่เต็มไปด้วยการบรรยาย ความรู้สึก มีแนวทำนองเด่นชัด ลักษณะการแบ่งวรรคตอนเพลงไม่ตายตัว การประสานเสียงได้พัฒนาต่อจากยุคคลาสสิกทำให้เกิดการคิดคอร์ดใหม่ๆ

ในยุคนี้ดนตรีบรรเลงและบทเพลงสำหรับเปียโนเป็นที่นิยมประพันธ์กันมากขึ้น ลักษณะของวงออร์เคสตราจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามแต่ผู้ประพันธ์เพลงจะกำหนด เพลงคฤหัสถ์หรือเพลงสำหรับชาวบ้านเป็นที่นิยมประพันธ์กันแต่เพลงโบสถ์ก็ยังคงมีการประพันธ์

อยู่เช่นกันในลักษณะของเพลงแมส ที่ใช้เพื่อประกอบศาสนพิธี และเพลงเรเควียม ที่ใช้ในพิธีศพ สำหรับบทเพลงอุปรากร และเพลงร้องก็มีพัฒนาการควบคู่ไป เนื้อร้องมีตั้งแต่การล้อการเมือง ความรัก ไปจนถึงเรื่องโศกนาฏกรรม

ลักษณะทั่วๆไป

ลักษณะทั่วๆไปของการดนตรียุคโรแมนติก

1. คีตกวีสมัยนี้มีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด

อย่างมีอิสระ

5. ลักษณะภายในองค์ประกอบของดนตรีโดยตรง

5.1 ทำนอง ลีลาและบรรยากาศของทำนองเน้นความรู้สึก และอารมณ์ของบุคคลมากขึ้นมีแนวเหมือนแนวสำหรับขับร้องมากขึ้น และความยาวของวลี (Phrase) ก็เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำกัด

5.2 การประสานเสียง โครงสร้างของคอร์ดและลำดับการใช้คอร์ด มีเสรีภาพมากขึ้นการใช้คอร์ด 7 คอร์ด 9 อย่างมีอิสระ และการย้ายบันไดเสียงแบบโครมาติค (Chromatic Modulation) มีบทบาทที่สำคัญ

5.3 ความสำคัญของเสียงหลัก (Tonality) หรือในคีย์ยังคงมีอยู่ แต่เริ่มคลุมเครือหรือเลือนลางไปบ้าง เนื่องจากบางครั้งมีการเปลี่ยนบันไดเสียงออกไปใช้บันไดเสียงที่ เป็นญาติห่างไกลบ้าง หรือ Chromatic Modulation

5.4 พื้นผิว ในสมัยนี้โฮโมโฟนียังคงมีความสำคัญมากกว่าเคาน์เตอร์พอยท์

5.5 ความดังเบาของเสียง (Dynamics) ในสมัยนี้ได้รับการเน้นให้ชัดเจนทั้งความดัง

และความเบาจนเป็นจุดเด่นจุดหนึ่ง

2. ใช้อารมณ์ และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน

3. ลักษณะที่เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธิชาตินิยม” (Nationalism)

4. ลักษณะที่ยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธินิยมเยอรมัน” (Germanism)

ผลงาน

ที่สำคัญ

ผลงานที่สำคัญของยุคโรเเมนติก

วงออร์เคสตราสมัยโรแมนติก ( Romantic Orchestra)

จากต้นสมัยบาโรกจนกระทั่งถึงปลายสมัยคลาสสิกผู้ประพันธ์เพลงต่าง ก็มีอิสระหลุดพ้นจากการครอบงำในด้านความคิดจึงส่งผลให้ผลงานที่แต่งขึ้น ในสมัยนี้มีความสวยสดงดงามทำให้พัฒนาการของวงออร์เคสตรามาถึงจุดที่ เป็นมาตรฐานเนื่องจากมีการใช้สีสันของเครื่องดนตรีที่แตกต่างกันมาใช้ในการ แต่งเพลงจึงมีความหลากหลาย นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มจำนวนเครื่องดนตรีเข้า ไปเพื่อรองรับความคิดดังกล่าวเพื่อคุณภาพของเสียงที่แสดงพลังอำนาจของวงออร์เคสตรา

อย่างแท้จริงจึงทำให้วงออร์เคสตราในสมัยนี้มีขนาดใหญ่

ประกอบด้วย

  • กลุ่มเครื่องสาย (String Instruments) ได้แก่ ไวโอลินที่หนึ่ง ไวโอลินที่สอง วิโอลา เชลโลและดับเบิลเบส
  • กลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments) ได้แก่ ฟลูต โอโบ คลาริเนตและบาสซูน
  • กลุ่มเครื่องทองเหลือง (Brass Instruments) ได้แก่ ทรัมเปต ทรอมโบน ทูบาและเฟรนช์ฮอร์น
  • กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ (Percussion Instruments) ได้แก่ กลองทิมปานี

Example

Classical Music from the Romantic Period

The Romantic Period

คีตกวีที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ ได้แก่

ลิสซต์

(Franz Liszt ค.ศ. 1811 - 1886)

ซีเบลิอุส

(Jean Sibelius ค.ศ. 1865 - 1957)

เม็นเดลโซห์น

(Felix Mendelssohn ค.ศ. 1809 - 1847)

โชแปง

(Frederic Chopin ค.ศ. 1810 - 1849)

The Romantic Period

คีตกวีที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ ได้แก่

ชูมานน์

(Robert Schumann ค.ศ. 1810 - 1856)

ไชคอฟสกี

(Peter Ilyich Tchaikovsky ค.ศ. 1846 - 1893)

วากเนอร์

(Richard Wagner ค.ศ. 1813 - 1883)

บรามส์

(Johannes Brahms ค.ศ. 1833 - 1897)

The Romantic Period

บทประพันธ์ที่สำคัญในยุคโรแมนติก

ประเภทซิมโฟนี (Symphony)

ประเภทอื่นๆ

ประเภทโซนาตา

(Sonata)

ประเภทบัลเลต์ (Ballet)

  • บทเพลงร้องและเพลงสำหรับเปียโน

Erlkonig - ชูเบิร์ต

Symphony No. 3

(Eroica)

เบโธเฟน

  • บทเพลงแมส

Piano Sonata in Bb minor

โชแปง

ประเภทคอนแชร์โต (Concerto)

Requiem - แบร์ลิออส

Cinderella Ballet

โปรโกเฟียฟ

Piano Concerto in B-flat minor

ไชคอฟสกี้

ประเภทโอเปร่า

(Opera)

ประเภทแชมเบอร์มิวสิค

(Chamber Misic)

ประเภทดนตรีบรรยายเรื่องราว (Program Music)

Romeo and Juliet - ไชคอฟสกี้

String Sextet in Bb Op.18

(Spring) - บราห์มส์

Madama Butterfly

ปุชชีนี (Puccini)

สมาชิกกลุ่ม

นางสาว ประภาศิริ ชุมนวล

ม.5/1 เลขที่ 8

นางสาว กฤตพร ลีตระกูล

ม.5/1 เลขที่ 4

นางสาว สุทธิดา เพชรชฎากุล

ม.5/1 เลขที่ 11

Learn more about creating dynamic, engaging presentations with Prezi