Introducing
Your new presentation assistant.
Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.
Trending searches
การสัมมนาผลงานการทดลองวิจัย
สาขาสัตวศาสตร์และประมง
ผลของการใช้รำเดือยใน อาหารต่อสมรรถนะ การเจริญเติบโตของ นกกระทาญี่ปุ่น
การประชุมวิชาการองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ภาคกลาง ครั้งที่ 42
ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยเพชรบุรี
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว
นางสาวพัชราภรณ์ วารีศรี
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รำเดือยในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต
ของนกกระทาญี่ปุ่น ใช้นกกระทาญี่ปุ่นเพศผู้ อายุ 2 สัปดาห์ จำนวน 240 ตัว สุ่มนกกระทาญี่ปุ่นออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 15 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์นกกระทาแต่ละกลุ่มได้รับ
ปลายเดือยในสูตรอาหาร 4 ระดับ คือ 0, 10, 15 และ 20 % ให้นกกระทาญี่ปุ่นได้รับอาหารและ
น้ำดื่มอย่างเต็มที่ ใช้เวลาเลี้ยง 4 สัปดาห์
ผลการศึกษาพบว่านกกระทาญี่ปุ่นที่ได้รับอาหารที่มีรำเดือยในสูตรอาหาร
มีสมรรถนะการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน น้ำหนักตัวที่เพิ่ม มีค่าเท่ากับ 106.49, 106.03, 107.83
และ108.27 กรัมต่อตัว ตามลำดับ ปริมาณอาหารที่กิน มีค่าเท่ากับ 434.85, 435.03, 432.08และ 428.32 กรัมต่อตัว ตามลำดับ ประสิทธิภาพ การใช้อาหาร มีค่าเท่ากับ 4.08, 4.10,4.01และ 3.96 ตามลำดับ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)
จากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าสามารถใช้รำเดือยเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตทดแทนใน สูตรอาหารนกกระทาเนื้อได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตนกกระทาเนื้อ
อาหารสัตว์นับว่าเป็นปัจจัยหลักของต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ปีกเนื่องจากต้นทุนค่าอาหาร
ในการผลิตสัตว์ปีกสูงถึง 80 % ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด เดือย (Job’s tear) เป็นธัญพืชตระกูล Gramineae เช่นเดียวกับข้าวโพด และข้าวฟ่าง เดือยในประเทศไทย มี 3 ประเภท ใช้ประโยชน์ในการทำเครื่องประดับ เดือย ขบเป็นอาหารขบเคี้ยว และเดือยการค้า เดือยมีคุณค่าทางโภชนาการสูงจึงนำมาใช้ประโยชน์เป็นอาหารมนุษย์อาหารสัตว์และนอกจากใช้
บริโภคโดยตรงแล้วเดือยซึ่งมีสรรพคุณทางยา ยันำมาทำเป็นสมุนไพรใช้รักษาโรคคน โรคสัตว์ เดือย มีขนาดเมล็ดเล็ก เปลือกแข็ง สีดำเป็นมัน เมื่อกะเทาะเปลือกออกจะเป็นเมล็ดแป้ง สีขาวนวลที่หุ้มด้วยเยื่อหุ้มเมล็ดสีเหลือง ส่วนของเยื่อหุ้มเมล็ดมีส่วนประกอบของไขมันสูง
ส่วนเมล็ดจะประกอบด้วยแป้งและเส้นใยสูง กระบวนการสี เดือย จะได้ลูกเดือยขัดขาว และปลายเดือย ร้อยละ 40 และ15 ดังนั้น หากเกษตรกรผสมอาหารสัตว์ใช้เองโดยใช้ปลาย เดือย พืชที่มีในท้องถิ่น
จะช่วยให้สามารถลดต้นทุนค่า อาหารได้มากในขณะที่คุณค่าทางโภชนะของสูตร อาหารยังคงเดิมสำหรับแนวทางในการลดต้นทุนค่า อาหารสัตว์ การใช้รำเดือยเป็น อาหารนกกระทาญี่ปุ่น จะเป็นการเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกรใน การลดต้นทุนการผลิตนกกระทาญี่ปุ่น
1. เปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของนกกระทาเนื้อ
2. เปรียบเทียบปริมาณการกินอาหารของนกกระทาเนื้อ
3. เปรียบเทียบอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวของนกกระทาเนื้อ
นกกระทาญี่ปุ่น หรือ นกคุ่มญี่ปุน (Japanese quail, Coturnix quail )
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coturnix coturnix japonica) อยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) มีรูปร่างลักษณะตัวอ้วนกลม ขนลายเป็นจุดกระๆ สีขาว สีทอง และ ขาวสลับดำ ปีกและหางสั้น มีความยาวทั้งตัวจรดหาง 20 เซนติเมตร นกกระทาญี่ปุ่นถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ด้วยการนำเนื้อและไข่มาบริโภค โดยนกกระทาญี่ปุ่นเป็นนกกระทาชนิดที่ได้รับความนิยม
ในการเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจมากที่สุดในหลายประเทศได้พัฒนาในด้านรูปแบบการเลี้ยง
และการแปรรูปผลิตภัณฑ์นกกระทาทั้งเนื้อและไข่เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะประเทศจีนและญี่ปุ่น (ประภากร, 2560) ในอดีตมีหลักฐานบันทึกไว้ว่า ชาวญี่ปุ่นได้นำนกกระทามาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงตั้งแต่ช่วง ศตวรรษที่ 12 เมื่อชาวญี่ปุ่นเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆได้นำนกกระทาไปด้วยจึงทำให้นกกระทาแพร่หลาย
ไปหลายประเทศโดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศจีน เกาหลี และไต้หวัน จากนั้นนกกระทาได้ถูกนำเข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ในงานวิจัยและทดลอง
ลูกเดือย (Job’s tears) เป็นจัดธัญพืชในพืชตระกูลหญ้าที่นิยมปลูกมากในภาคอีสาน เนื่องจากนิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภณัฑ์ได้หลากหลายอยู่ในวงศ์: Gramineae/Poaceae
ตระกูล : Andropogoneae สกุล : Coix
ลูกเดือยทางการค้าเป็นชนิดลูกเดือยที่ปลูกและนิยมรับประทานกัน ในปัจจุบันมีลักษณะเมล็ดคล้ายข้าวสาลีขนาดเมล็ด 8-12 มิลลิเมตร มีเปลือกบาง สีขาวขุ่นหรืออมสีน้ำตาลเมล็ดมีร่องตามแนวยาวแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
– ลูกเดือยข้าวเหนียว (Glutinous type) ลูกเดือยชนิดนี้มีลำต้น สีเขียวอมเหลืองและลำต้นเตี้ยกว่าลูกเดือยข้าวเจ้าเมล็ดมีลักษณะกลม ค่อนข้างป้อม และสั้นมีสีเทาอ่อน ซึ่งจะมีขนาดเมล็ดใหญ่กว่า เดือยข้าวเจ้าเปลือก เมล็ดบางและปริแตกง่ายกว่า เมล็ดเดือยข้าวเจ้า เมื่อต้มจะให้แป้งสุกที่เหนียวลื่น และเป็นเมือกคล้ายกับแป้งข้าวเหนียวเมล็ดลูกเดือยชนิดนี้ แตกหักง่ายขณะสีเปลือกแต่เป็นชนิดที่นิยมรับประทานมากที่สุด
– ลูกเดือยข้าวเจ้า (Nonglutinous type) ลูกเดือยชนิดนี้ลำต้น จะมีขนาดใหญ่กว่า เดือยข้าวเหนียวและมีนวลขาวปกคลุมลูกเดือยชนิดนี้มีรูปค่อนข้างยาวและมีขนาดผลเล็กเปลือก เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม เปลือกและเนื้อ เมล็ดค่อนข้างแข็งเมื่อต้มสุกกจะให้แป้งที่ไม่เหนียวและ
ไม่เป็นเมือกเหมือนชนิดแรกเมล็ดลูกเดือยชนิดนี้ไม่แตกหกัง่ายขณะสีเปลือก
ที่มา : จารุวรรณ (2550)
วิธีดำเนินการ
1. การเตรียมกรงทดลอง
ใช้กรงขังรวม แต่ละกรงมีรางอาหารและที่ให้น้ำที่นกกระทาสามารถกินได้ตลอดเวลา
2. การเตรียมสัตว์ทดลอง
ใช้นกกระทาสายญี่ปุ่นเพศผู้ อายุ 14วัน จำนวน 240ตัว
ทำการสุ่มนกกระทำให้ได้รับอาหารทดลอง 4 ทรีทเมนต์
3. การให้อาหารทดลอง
การเลี้ยงนกกระทำด้วยอาหารทั้ง 4 ทรีทเมนต์ วันละ 2 ครั้ง คือ เช้า 7.00 น.และ
เย็น 15.00 น. โดยให้นกกระทากินอาหารแบบเต็มที่ ใช้เวลาเลี้ยง 4 สัปดาห์
4. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
การศึกษาดำเนินการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized
design,CRD) แบ่งนกกระทาสายพันธุ์ญี่ปุ่นเพศผู้จำนวน 240 ตัว
โดยสุ่มแบ่งนกกระทาออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำๆ ละ 15 ตัว
แล้วจึงให้อาหารทดลองเป็นระยะเวลา 28 วัน
ทำการศึกษาผลของการใช้รำเดือยในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของ นกกระทาญี่ปุ่นโดยแบ่งบันทึกผลการทดลองจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือก่อนทำการทดลองและหลังทำการทดลองโดยในแต่ละระยะมีการบันทึกข้อมูล ดังนี้คือ
1. บันทึกการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัว โดยชั่งน้ำหนักนกกระทาแต่ละตัวเมื่อเริ่มต้นและ
สิ้นสุดการทดลอง แล้วนามาคำนวณเป็นน้ำหนักนกกระทาตัวที่เพิ่มขึ้น (body weight gain; BWG),
2. บันทึกปริมาณอาหารที่กิน โดยบันทึกปริมาณอาหารที่กิน 28 วัน ของทั้ง 3 ช่วง
ในแต่ละกลุ่มการทดลอง แล้วนำมาคำนวณเป็นปริมาณอาหารที่กินต่อตัวต่อวัน (feed intake; FI)
3. คำนวณหาประสิทธิภาพการใช้อาหาร (feed conversion ratio; FCR)
1. สัตว์ทดลอง
การทดลองการใช้รำเดือยในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของนกกระทาญี่ปุ่น ใช้นกกระทาสายพันธุ์ญี่ปุ่นเพศผู้ ที่อายุ 14 วัน ซึ่งมีน้ำหนักตัวและขนาดใกล้เคียงกันมีสุขภาพดี จำนวน 240 ตัว แบ่งออกเป็น 4 ทรีทเมนต์ ๆ ละ 4 ซ้ำๆ ละ 15 ตัว
2. อาหารทดลอง
นกกระทาทุกกลุ่มได้รับอาหารทดลองแต่ละกลุ่มมีระดับโปรตีน พลังงานใช้ประโยชน์ได้และโภชนะอื่นๆเท่ากัน โดยแบ่งอาหารทดลองออกเป็น 4 ทรีทเมนต์ ดังนี้
ทรีทเมนต์ที่ 1 (T1) อาหารกลุ่มควบคุม
ทรีทเมนต์ที่ 2 (T1) อาหารกลุ่มควบคุม + รำเดือยทดแทน 10 %
ทรีทเมนต์ที่ 3 (T1) อาหารกลุ่มควบคุม + รำเดือยทดแทน 15 %
ทรีทเมนต์ที่ 4 (T1) อาหารกลุ่มควบคุม + รำเดือยทดแทน 20 %
3. โรงเรือนและคอกทดลอง
เลี้ยงภายในโรงเรือนเลี้ยงนกกระทาในกรงแต่ละกรงมีรางอาหารและ
ที่ให้น้ำดื่มที่นกกระทาสามารถกินได้ตลอดเวลา
4. อุปกรณ์อื่น ๆ
4.1 เครื่องชั่งน้ำหนัก
4.2 เทอร์โมมิเตอร์สาหรับวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์
ตารางแสดง ผลการใช้รำเดือยในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของนกกระทาญี่ปุ่น
หมายเหตุ ทรีทเมนต์ที่ 1 (T1) อาหารควบคุม , ทรีทเมนต์ที่ 2 (T2) อาหารกลุ่มควบคุม ทดแทนรำเดือย 10% , ทรีทเมนต์ที่ 3 (T3) อาหารกลุ่มควบคุม ทดแทนรำเดือย 15% และทรีทเมนต์ที่ 4 (T4) อาหารกลุ่มควบคุม ทดแทนรำเดือย 20%
การศึกษาการใช้รำเดือยในอาหารนกกระทาญี่ปุ่นเพศผู้ พบว่า สามารถใช้รำเดือยในระดับ 20% ในสูตรอาหารโดยไม่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่ม
และปริมาณอาหารที่กิน
ดังนั้นจึงสามารถใช้รำเดือยเป็นวัตถุดิบอาหารนกกระทาญี่ปุ่นเพศผู้ได้
ข้อเสนอแนะ
ผู้ทดลองมีความเห็นว่าใช้รำเดือยทดแทนใน
อาหารนกควรเพิ่มอัตราในการทำการทดลองที่มากกว่า 20 %