ม
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 1 (16) “เจ้าพนักงาน” หมายความว่า บุคคลซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นเจ้าพนักงานหรือได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ไม่ว่าเป็นประจำหรือครั้งคราว และไม่ว่าจะได้รับค่าตอบแทนหรือไม่
เจ้าพนักงาน ตามบทนิยามในมาตรา 1 (16) แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงมีหลักเกณฑ์ที่ควรจะต้องพิจารณา คือ
(1) เป็นบุคคลซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(2) เป็นบุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ไม่ว่าเป็นประจำหรือหรือครั้งคราว และ
(3) ไม่ว่าจะได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
1.1 ข้าราชการประจำ เช่น ข้าราชการพลเรือนในกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการต่างๆ ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ตุลาการศาลปกครอง ตุลาการศาลทหาร ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม รวมถึงพนักงานอัยการ เหล่านี้ เป็นเจ้าพนักงาน
1.2 ข้าราชการการเมือง เป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติข้าราชการการเมือง พ.ศ.2535 เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี นายกเทศมนตรี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และตำแหน่งในฝ่ายบริหารอื่นๆ
1.3 ลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการต่างๆ ไม่ว่าลูกจ้างประจำหรือชั่วคราว ตามปกติไม่ถือว่าเป็นเจ้าพนักงาน
ยกเว้นมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าให้เป็นเจ้าพนักงาน เช่น พนักงานเก็บเงินค่าผ่านทางด่วน เป็นเจ้าพนักงานของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ข้าราชการทั่วไปนั้นตามปกติถือว่าเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามอำนาจหน้าที่
ของตนเอง แต่ในบางครั้งอาจได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการอื่นด้วย โดยการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่อื่นนั้นผู้แต่งตั้งต้องมีอำนาจตามกฎหมายด้วย ซึ่งกรณีนี้ถือว่าผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นก็เป็นเจ้าพนักงานเช่นกัน แต่หากผู้แต่งตั้งไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่อื่น กรณีนี้ผู้ถูกแต่งตั้งไม่ถือว่าเป็นเจ้าพนักงาน
3. ไม่ว่าจะได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
การเป็นเจ้าพนักงานนี้ไม่ต้องคำนึงว่าจะได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ แม้ไม่มีค่าตอบแทนหากมีกฎหมายบัญญติหรือได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายให้ปฏิบัติราชการ ก็ถือเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายแล้ว
มาตรา 137 "ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
องค์ประกอบภายนอก
1. ผู้ใด
2. แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
3. แก่เจ้าพนักงาน
4. ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย
องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา
มาตรา137นี้เป็นการแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานโดยทั่วๆไปที่มีหน้าที่รับแจ้งไม่ว่าจะเป็นทางแพ่งหรือ ทางอาญาแต่ถ้าเป็นการแจ้งความเท็จเกี่ยวกับคดีอาญากฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะในมาตรา172 173 หรือ174 และถ้าพนักงานที่รับแจ้งก็ต้องเป็นบุคคลที่ระบุไว้เท่านั้นฉะนั้นมาตรา 137 ถือว่าเป็น บทบัญญัติทั่วไปส่วนมาตรา172173หรือ174นั้นถือเป็นบทบัญญัติเฉพาะศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ว่าถ้า การกระทำใดต้องด้วยมาตรา172หรือ173ที่บัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้วย่อมไม่เป็นความผิด ตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติโดยทั่วไปอีก (ฎีกาที่ 2249 / 2515)
ถ้อยคำที่ว่า "ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย" ก็เป็นองค์ประกอบภายนอกเช่นเดียวกันแต่เป็น"องค์ประกอบภายนอกซึ่งมิใช่ข้อเท็จจริง" จึงไม่อยู่ภายใต้มาตรา 59 วรรคสาม กล่าวคือ "เสียหาย" หรือไม่ ใช้ความรู้ความเข้าใจของวิญญูชนหรือบุคคลทั่วไป แม้ผู้กระทำจะเข้าใจว่า ข้อความเท็จที่ตนแจ้งแก่เจ้าพนักงานนั้นจะไม่ทำให้ผู้ใด "เสียหาย" เลย ผู้กระทำก็จะแก้ตัวไม่ได้หากวิญญูชนหรือบุคคลทั่วไปเห็นว่าทำให้ "เสียหาย" แล้ว ก็จะต้องถือว่าเสียหาย
ตรงกันข้าม หากวิญญูชนหรือบุคคลทั่วไป เห็นว่าไม่ "เสียหาย " แล้วผู้แจ้งความเท็จนั้น ก็ไม่มีความผิดเลย ถือว่าการกระทำของเขาขาด "องค์ประกอบภายนอก" ไปเลย แม้ผู้กระทำจะเข้าใจไปเองว่าข้อความเท็จที่ตนแจ้งนั้นจะทำให้ผู้อื่นหรือประชาชน"เสียหาย" ก็ตาม
"การแจ้งความ "ตามความหมายทั่วๆไป คือ การริเริ่มไปแจ้งแก่เจ้าพนักงานเอง เช่น ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน หรือ ไปแจ้งข้อความใดๆต่อพนักงานฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ที่ดิน ศุลกากร สรรพากร การแจ้งความอาจจะกระทำ เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ เช่น กรอกข้อความลงในแบบฟอร์มต่างๆ และยื่นส่งให้เจ้าพนักงาน ( ฎีกาที่ 274/2484 น. 14 ,ฎีกาที่ 513 /2499 น.338 )
ตอบ แจ้งแก่เจ้าพนักงาน เจ้าพนักงานผู้รับแจ้งความตามมาตรานี้ต้องเป็นผู้มีหน้าที่รับแจ้ง ข้อความและต้องกระทำการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายจึง ถือว่าเป็นเจ้าพนักงาน ดังนั้นความผิดต่อเจ้าพนักงานในหมวดนี้ต้องกระทำต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่มิฉะนั้นผู้กระทำไม่มีความผิด ฎีกาที่ 2413 /2521
นายแดงใช้ปืนยิงนายดำ นายแดงตกเป็นผู้ต้องหาและถูกสอบสวน นายแดงให้การเท็จแก่เจ้าพนักงานสอบสวนว่า ตอนนี้ได้ยิงนายดำแต่ผู้ที่ยิงคือนายเหลืองเช่นนี้นายแดงผิดฐาน " แจ้งความเท็จ "แก่เจ้าพนักงานหรือไม่
ตอบ การให้การดังกล่าว ของนายแดง เป็นการให้การปฏิเสธในฐานะผู้ต้องหา ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134/4 ให้สิทธิ์แก่ผู้ต้องหา จะให้การรับหรือปฏิเสธอย่างใดก็ได้ เมื่อกฎหมายให้สิทธิ์เจ้านายแดงในฐานะผู้ต้องหาไว้เช่นนี้ แม้ข้อความที่นายแดง ให้การจัดเป็นเพชร ในแดงก็ไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ (ฎีกาที่ 4048 / 2528 น. 2168) แม้จะให้การซัดทอดว่าแน่เหลืองเป็นผู้กระทำความผิดก็ไม่เป็นการแจ้งความเท็จ เช่นกัน (ฎีกาที่ 225 /2508)
ข้อสังเกต * หากเป็นการแจ้งความเท็จก่อนตกเป็นผู้ต้องหาก็ผิดฐานแจ้งความเท็จได้ ฎีกาที่ 1222 / 2498
ตอบ เมื่อข้อความที่แจ้งไปถึงเจ้าพนักงาน และเจ้าพนักงานได้ทราบข้อความแล้วก็เป็น ความผิดสำเร็จทันทีแม้เจ้าพนักงานไม่เชื่อ ความเท็จนั้นเลยเพราะรู้อยู่แล้วว่า
หากข้อความที่แจ้งยังไปไม่ถึงเจ้าพนักงานก็เป็นเพียงพยายามแจ้งความเท็จเช่นส่ง จดหมายแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานแต่ จดหมายหายกลางทางแมข้อความที่แจ้ง ไปถึงตัวเจ้าพนักงานแล้วแต่เจ้าพนักงานยัง ไม่ได้ยินยังไม่ได้ทราบหรือยังไม่ได้เข้าใจก็เป็น เพียงพยายามแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงาน เท่านั้น
หมวด ๑ ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม
มาตรา 172
มาตรา 172 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดีพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือ ประชาชนเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
องค์ประกอบภายนอก
1. ผู้ใด
2. แจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา
3.แก่พนักงานอัยการผู้ว่าคดีพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา
4. ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย
องค์ประกอบภายใน
*เจตนาธรรมดา
ข้อความที่แจ้งต้องเกี่ยวกับความผิดอาญา ซึ่งหมายความว่าความผิดอาญาได้เกิดขึ้นแล้วจึงแจ้ง ข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญานั้น เช่น ให้การเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนในคดีฆ่าคนตาย ว่าตนไม่เห็นการฆ่ากัน แต่ความจริงต้นเหตุการณ์ตลอด จึงผิดมาตรา 172 นี้ ที่ว่าเกี่ยวกับความผิดอาญานั้น ต้องเกี่ยวกับความผิดอาญาเท่านั้นไม่ใช่เรื่องอื่น เช่น เป็นเรื่องทางแพ่งแม้จะเป็นความเท็จก็ไม่ผิดมาตรา 172 นี้ แต่อาจผิดมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไป เช่น การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่งไม่เป็น ความผิดตามมาตรา 172 , 173 และ 174 (ฎีกาที่ 1176/ 2520)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2 ในประมวลกฎหมายนี้
(5) “พนักงานอัยการ” หมายความถึงเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการในกรมอัยการหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอัยการ
๑. ดำเนินคดีอาญาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
๒. ในคดีแพ่งมีอำนาจดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาล
๓.แก้ต่างคดีแพ่งหรือคดีอาญาในกรณีที่เจ้าพนักงานถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่หรือราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้อง เนื่องจากการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมายหรือเข้าร่วมกับเจ้าพนักงานกระทำการใน หน้าที่ราชการ
๔.ว่าต่างหรือแก้ต่างคดีแพ่งให้เทศบาลหรือสุขาภิบาล แต่ต้องมิใช่เป็นคดีที่พิพาทกับรัฐบาล
๕. ว่าต่างหรือแก้ต่างคดีแพ่งให้นิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาได้ตั้งขึ้นแต่ต้องมิใช่คดีที่พิพาทกับรัฐบาล
๖. เป็นโจทก์ในคดีที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องเองไม่ได้เพราะมีกฎหมายห้ามไว้เช่น ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาไม่ได้ แต่เมื่อผู้นั้นร้องขอพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องแทนได้
๗. ในคดีที่บุคคลใดถูกลงโทษเนื่องจากการกระทำอันละเมิดต่ออำนาจศาลถ้าศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้นั้นไป เมื่ออัยการเห็นสมควรจะฎีกาก็ได้
๘. ในกรณีที่บุคคลใดผิดสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาลอัยการมีหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2 ในประมวลกฎหมายน
(6) “พนักงานสอบสวน” หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน
(10) “การสืบสวน” หมายความถึงการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครอง
หรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่จะทราบราย ละเอียดแห่งความผิด
(11) “การสอบสวน” หมายความถึงการรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่น
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบ
ข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 17 พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 594 / 2521
วินิจฉัยว่าการแจ้งความเท็จต่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งในขณะนั้นเป็นรองอธิบดี
กรมตำรวจมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาด้วยแต่แจ้งความในฐานะรัฐมนตรีจึงไม่เป็นความผิดตาม
มาตรา 172 และมาตรา 173
"ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย" หมายความว่าการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตามมาตรา 172 นี้ ต้อง อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายด้วย จึงจะเป็นความผิด ถ้าไม่อาจทำให้เสียหายย่อมเป็นความผิด ฉะนั้นข้อความ ที่ว่า ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายจึงเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 112 ถ้าไม่ได้ระบุไว้ในคำฟ้องด้วยก็เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์
องค์ประกอบความผิดอีกประการ คือผู้แจ้งข้อความต้องมี เจตนาในการแจ้งตามมาตรา59วรรคสองและต้องรู้ว่าข้อความ
ที่นำไปแจ้งนั้นเป็นเท็จด้วย จึงจะถือว่ามีเจตนาแจ้ง
จำเลยไปแจ้งความต่อตำรวจว่า
รถจักรยานยนต์ถูกลักไปไม่รู้ว่าใครเป็น
คนร้ายต่อมาจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์เป็นคนร้ายโดยตนเห็นและได้ ไล่ติดตามโจทก์ในคืนเกิดเหตุด้วยซึ่งความจริง จำเลยไม่ได้รู้ว่าใครเป็นคนร้าย ดังนี้จำเลยย่อมมีความผิดฐานแจ้ง
ความเท็จ
ความผิดฐานแจ้งความเท็จจำเลยต้องรู้อยู่ว่า
ข้อความที่ตนไปแจ้งแก่เจ้าพนักงานนั้นเป็นความเท็จ ถ้าจำเลยเชื่อโดยมีเหตุผลอันสมควรเชื่อว่าเป็นความ จริงเช่นนั้น จำเลยก็ยังไม่มีความผิดฐานนี้
มาตรา 173 ผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาว่า ได้มีการกระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
องค์ประกอบภายนอก
1.ผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น
2.แจ้งข้อความว่าได้ว่า ได้มีการกระทำความผิด
3.แก่พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา
องค์ประกอบภายใน
*เจตนาธรรมดา
มาตรา 173 นี้แม้ว่าเรื่องที่แจ้งจะเกี่ยวกับความผิดอาญา เช่นเดียวกับมาตรา 172 แต่มาตรา 173 นี้ จำกัดเฉพาะการแจ้งว่าได้มีการกระทำความผิดซึ่งความจริงรู้ว่ามิได้มีกระทำความผิด
คือว่ามาตรา173ซึ่งเป็นบทเฉพาะ ส่วนมาตรา 172 เป็นบททั่วไป ไม่ใช่เรื่องกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
ก. ถูกคนร้ายฆ่าตาย จำเลยเห็น ส.กับฮ. ร่วมกันฆ่า ก. ตาย โดยมิได้เห็นท.ร่วมกระทำความผิดด้วยแต่จำเลยได้แจ้งแก่เจ้า พนักงานตำรวจผู้ออกไปสืบสวนและให้การต่อพนักงานสอบสวน ว่าเห็น ท.ร่วมกับส.และฮ.ฆ่าก.จึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
เกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนและเจ้าพนักงาน
ผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาตามมาตรา172เมื่อการกระทำของ จำเลยต้องด้วยมาตรา 172 ที่บัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137ซึ่งเป็นบทบัญญัติโดยทั่วไปอีก
กรณีที่จำเลยแจ้งความกล่าวหาเป็นเรื่องมีคนร้ายฆ่านายกวงตาย ซึ่งได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริง มิใช่แจ้งความกล่าวหาโดยมิ
ได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม
มาตรา 173
การแจ้งความตามมาตรา 173 นี้ แม้ว่าไม่ได้บัญญัติไว้ว่า แจ้งข้อความอันเป็นเท็จก็ตาม ก็เป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จนั่นเอง เพราะข้อความที่ว่า " ผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น"
ต่อกับข้อความว่า "แจ้งข้อความว่าได้มีการกระทำความผิด" นั้นแสดงชัดอยู่ในตัวว่าเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
เจ้าพนักงาน
เจ้าพนักงานผู้รับแจ้งตวามตามมาตรา 173 นี้จำกัดเฉพาะ 2 ตำแหน่งเท่านั้นคือพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญาไม่รวมถึงพนักงานอัยการ หรือผู้ว่าคดีตามมาตรา 172 ด้วย
องค์ประกอบภายในด้านจิตใจนั้น ต้องมีเจตนาในการแจ้งความ รวมทั้งรู้ข้อเท็จจริงว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นด้วยถ้าแจ้งโดย มีเหตุผลอันสมควรเชื่อว่าเป็นความจริง ก็ยังไม่มี ความผิดตามมาตรานี้
ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยแจ้งหรือร้องเรียนเท็จ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า คดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้องศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยวินิจฉัยว่า คำร้องเรียนที่โจทก์กล่าวหา ไม่ใช่ความเท็จดังโจทก์ฟ้อง โจทก์ฎีกาว่าข้อความที่จำเลยร้องเรียนเป็นเท็จ
ดังนี้เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงคำร้องเรียนที่มีข้อความว่า'อนึ่ง'ได้ทราบจากคำเล่าลือและคำบอกเล่า ว่าพระภิกษุ สุวรรณ์จารุโภมีอาวุธปืนเถื่อนและลูกระเบิดมือไว้ในความครอบครองเมื่อเจ้าหน้าที่จะไปดำเนินการ ตามหน้าที่ขอได้โปรดระวังอันตรายในสิ่งเหล่านี้ด้วย'คำกล่าวเช่นนี้มิได้กล่าวยืนยันว่าโจทก์กระทำผิดมีอาวุธปืน เถื่อน หรือลูกระเบิดมือ เพียงแต่กล่าวอ้างว่าได้ทราบมาเช่นนั้นขอให้เจ้าหน้าที่ระมัดระวังอันตราย จึงไม่ใช่คำแจ้งความเท็จ
มาตรา 174 ถ้าการแจ้งข้อความตามมาตรา172หรือมาตรา173เป็นการเพื่อจะแกล้งให้
บุคคลใดต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัยผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
ถ้าการแจ้งตามความในวรรคแรกเป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องรับโทษ หรือรับโทษหนักขึ้น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
องค์ประกอบภายนอก : วรรคแรก
มีการแจ้งข้อความตามมาตรา 172 หรือ 173
องค์ประกอบภายใน
1. เจตนาธรรมดา
2.เจตนาพิเศษ "เพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย"
โทษใช้สำหรับผู้กระทำความผิดโดยตรง
เป็นวิธีการที่บัญญัติขึ้นโดยมุ่งที่จะให้สังคมปลอดภัยในอนาคต กำหนดไว้ 5 สถานตามมาตรา 39
(1) กักกัน
(2) ห้ามเข้าเขตกำหนด
(3) เรียกประกันทัณฑ์บน
(4) คุมตัวไว้สถานพยาบาล
(5) ห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง
มีบัญญัติไว้ไว้ 5 สถาน ตามมาตรา18 คือ
(1) ประหารชีวิต
(2) จำคุก
(3) กักขัง
(4) ปรับ
(5) ริบทรัพย์สิน
จำเลยและผู้เสียหายมีอาชีพขายเนื้อโคกระบือ วันเกิดเหตุผู้เสียหายไม่ได้รับอนุญาตให้ฆ่ากระบือ จำเลยแจ้งตำรวจว่าเนื้อบนเขียงผู้เสียหายเป็นเนื้อกระบือ ให้จับผู้เสียหายถ้าไม่จับจะไปเอาตำรวจที่อื่นมาจับเพื่อให้ผู้เสียหายต้องรับโทษ โดยจำเลยรู้ว่าเนื้อดังกล่าวเป็นเนื้อโคซึ่งผู้เสียหายได้รับอนุญาตให้จำหน่าย เช่นนี้ เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยประสงค์จะให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีกับผู้เสียหายฐานฆ่ากระบือและจำหน่ายเนื้อกระบือโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 ซึ่งเป็นบทเฉพาะ ประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์ตามมาตรา 174 แต่มิได้เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งจะต้องลงโทษตามบทหนัก
องค์ประกอบภายนอก : วรรคสอง
มีการแจ้งข้อความตามมาตรา 172หรือ มาตรา 173
องค์ประกอบภายใน
1. เจตนาธรรมดา
2.เจตนาพิเศษ "เพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องรับโทษ หรือรับโทษหนักขึ้น"
(ก) เพื่อจะกลั่นแกล้งให้บุคคลใดต้องรับโทษ เช่น แจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าเห็นเขาเป็นผู้กระทำ
ความผิด โดยที่ความจริงตนไม่ได้เห็นเลย ( ฎีกาที่ 1734 / 2503 )
ความสำคัญของคดีแจ้งความเท็จอยู่ที่ว่าจำเลยเห็นเหตุการณ์การกระทำความผิดของผู้อื่นตามที่ให้การ ต่อ พนักงานสอบสวนหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ว่าผู้อื่นกระทำผิดหรือไม่ เพราะแม้ผู้อื่นกระทำความผิดจริง แต่ถ้าจำเลยไม่
เห็นการกระทำความผิดแล้วบังอาจให้การว่าเห็น ก็มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
การที่จำเลยให้การเท็จว่าเห็นเหตุการ แล้วขอถอนคำให้การอ้างว่าที่ให้การไว้เพราะได้รับการเสี้ยมสอน
จำเลยก็ยังมีความผิดฐานแจ้งความเท็จตามมาตรา 172และ 174 (ฎีกาที่ 3702 /2526 )
(ข) เพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องรับโทษหนักขึ้น เช่น
จำเลยเกิดปากเสียงกับนายชิงชองแล้วถูกนายชิงชองชกต่อยเอาแต่จำเลยกลับนำความ
ไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า มีนักเลง 3 คนกลุ้มรุมทำร้ายจำเลย โดยคนหนึ่งใช้ไม้ตีคนหนึ่งล๊อกคอ อีกคนหนึ่งล้วงเอาเงินในกระเป๋าเสื้อไป 300 บาท ซึ่งเป็นความเท็จการกระทำของจำเลยเช่นนี้ย่อม
เป็นการแกล้งจะให้นายชิงชองต้องรับโทษหนักขึ้นและเป็นการกล่าวหาว่านายชิงชองกระทำผิดฐาน
ปล้นทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 10 ปี การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 174 ประกอบด้วยมาตรา 181(1)
มาตรา 175 ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
องค์ประกอบภายนอก
1. ผู้ใด
2. เอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาล
2.1 ว่ากระทำความผิดอาญาหรือ
2.2 ว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นความจริง
องค์ประกอบภายใน
*เจตนาธรรมดา
ฟ้องเท็จตามมาตรานี้เป็นการกระทำค่อศาล คือฟ้องต่อศาล ศาล หมายถึง ศาลยุติธรรมตามพระธรรมนุญศาลยุติธรรม หรือศาลตามกฎหมายอื่้น เช่น ศาลคดีเด็กและเยาวชน ตามพระราชบัญญัติจัดตั่งศาลคดีเด็กและเยาวชน ซึ่งมีอำนาจในการพิจารณา พิพากษาคดีอาญา
คำว่า ฟ้อง หมายความรวมถึงกระบวนพิจาณา
ที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลตามกฎหมายวิธีพิจาณา
ความอาญา ว่าจำเลยกระทำความผิดอาญา ขอให้ลงโทษ
จำเลย เช่น ต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญา มาตรา 158 หรือเสนอด้วยวาจา
ตามกำหมายอื่น
คำพิพากษาฎีกาที่ 1274 / 2513
การเอาความเท็จมาฟ้องในคดีแพ่งหรือการที่จำเลยในคดีแพ่งยื่นคำให้การเป็นเท็จ ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 เพราะมิได้เป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานและการที่โจทก์หรือจำเลยในคดีแพ่งแถลงให้ศาลจดข้อความ อันเป็นเท็จลงในสำนวนคดีแพ่งโดยมิได้มีวัตถุประสงค์จะใช้ข้อความนั้นเป็นพยานหลักฐาน ก็หาเป็นความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 ไม่
หมายถึง เขากระทำความผิดอาญาจริง แต่ฟ้องเขาว่ากระทำความผิดแรงกว่าที่เป็นจริง ฟ้องในการนี้เป็นการเอาความเท็จบวกเข้ากับความจริง
การฟ้องทั้งสองประการดังที่กล่าวมา ต้องการทำโดยเจตนาและต้องรู้ข้อเท็จจริงว่า
ข้อความที่ฟ้องเป็นเท็จด้วย จึงจะมีความผิด ฉะนั้นถ้าฟ้องโดยไม่รู้ว่าความนั้นเป็นเท็จ
ย่อมไม่เป็นความผิด (ฎีกาที่ 243/ 2511 , 426 / 2512)
มาตรา 176 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 175 แล้วลุแก่โทษต่อศาล และขอถอนฟ้องหรือแก้ฟ้องก่อนมีคำพิพากษาให้ศาลลงโทษน้อยกว่าที่
กฎหมายกำหนดไว้หรือศาลจะไม่ลงโทษเลยก็ได้
องค์ประกอบภายนอก
1. กระทำความผิดตามมาตรา 175
2. แล้วลุแก่โทษต่อศาล ด้วยการถอนฟ้อง หรือแก้ฟ้อง ก่อนมีคำพิพากษา
องค์ประกอบภายใน
*เจตนาธรรมดา
มาตรานี้เป็นบทที่ให้อำนาจแก่ศาลในการใช้ดุลพินิจลง
โทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือจะไม่ลงโทษก็ได้ในเมื่อ
ผู้กระทำความผิดตามมาตรา175และลุแก่โทษต่อศาลและ ขอถอนฟ้องต่อศาลมีคำพิพากษา
คำว่าลุแก่โทษต่อศาลก็คือการยอมรับผิดโดยแจ้งความจริงต่อศาลว่าฟ้องที่ยื่นต่อศาล
นั้นเป็นความเท็จเพียงแต่ยอมรับผิดต่อศาลเท่านี้ยังไม่ได้เป็นประโยชน์ตามมาตรานี้จะต้อง
ขอถอนฟ้องหรือแก้ฟ้องก่อนมีคำพิพากษาด้วย
การขอถอนฟ้องหรือแก้ฟ้องต้องกระทำก่อนมีคำพิพากษาคำว่าคำพิพากษาในที่นี้หมายถึง
คำพิพากษาของศาลชั้นต้นถ้าศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีที่ฟ้องเท็จแล้วคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ฎีกา
แม้จะเป็นความผิดอันยอมความได้ก็ตาม หากมีการถอนฟ้องระหว่างอุทธรณ์ฎีกาผู้ฟ้องเท็จ
ยอมไม่ได้ประโยชน์ตามมาตรานี้
มาตรา 177 ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญ
ในคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ได้กระทำในการพิจารณาคดีอาญาผู้กระทำต้องระวางโทษ
จำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
องค์ประกอบภายนอก
1 . ผู้ใด
2.เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลถ้าความเท็จนั้น
เป็นข้อสำคัญในคดี
องค์ประกอบภายใน
*เจตนาธรรมดา
เหตุฉกรรจ์ วรรค 2กรณีเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลโดย
ที่ความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี
เหตุยกเว้นโทษ มาตรา 182 คือ ลุแก่โทษ และกลับแจ้งความจริงต่อศาลก่อนจบคำเบิกความ
เหตุยกเว้นโทษ มาตรา 182คือลุแก่โทษและกลับแจ้งความ
จริงต่อศาลก่อนจบคำเบิกความ
การกระทำตามมาตรานี้เบิกความเท็จในข้อสำคัญในการพิจารณาคดีต่อศาลการ
เบิกความก็คือ การให้ถ้อยคำต่อศาลในฐานะบุคคลโจทก์ฟ้องต่อศาลก็ดีจำเลยให้การต่อศาลก็ดี
หรือคู่ความแถลงต่อศาลก็ดีเหล่านี้ไม่ใช่การเบิกความ การเบิกความและการแจ้งความเป็น
คนละเรื่องกัน การเบิกความเท็จต่อศาลจึงไม่ใช่เรื่องแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานเพราะ
ศาลทำหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมในการพิจารณาคดีซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะ
ตามมาตรา177จึงไม่ได้ปฏิบัติการในฐานะเจ้าพนักงานอย่างเจ้าพนักงานทั่วไป การเบิกความเท็จจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ฎีกาที่ 205 4/2557
ความเท็จก็คือข้อความที่ตรงข้ามกับ
ความจริง
เบิกความเท็จ ก็คือ บอกว่าไม่เป็น
ความจริงข้อความอันเป็นเท็จนั้นอาจมีได้ ประการความเท็จอาจตรงกันข้ามกับความจริงทั้งหมด เช่น พยานไม่เห็นติดตามบอก
ความว่าเห็นหรืออาจเป็นเรื่องปกปิดไว้บาง ส่วนจริงบ้างเท็จบ้าง
ถาม หากนายม่วง เบิกความจากคำบอกเล่าของนายเหลือง ข้อความที่นายเหลืองเล่าให้นายม่วงฟังนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ ในเมื่อไม่ได้ยืนยัน นายม่วงจะมีความผิดตามมาตรา 177 หรือไม่
ฎีกาที่272 /2541วินิจฉัยว่าข้อความที่นายเหลืองเล่าให้นายม่งฟังนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ นายม่วง ไม่ได้ยืนยัน ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่านายม่วง ได้กระทำความผิดฐานเบิกความเท็จ ตามมาตรา 177
ความผิดเกิดตั้งแต่จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ในคดีนั้น ไม่จำต้องรอให้ศาลพิพากษาคดี ที่มีการเบิกความเท็จก่อน คำพิพากษาฎีกาที่ 3091 / 2531
และ เป็นความผิดสำเร็จเมื่อศาลจดคำเบิกความลงเป็นลายลักษณ์อักษร
แล้ว ผู้เบิกความจะลงลายมือชื่อเท็จหรือไม่ยอมอะไรมือชื่อในคำเบิกความ
นั้นเลยก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว คำพิพากษาฎีกาที่ 561 / 2508 น. 777
การเบิกความเท็จ มีความผิดทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ถ้าเบิกความเท็จในคดีอาญา มี ระวางโทษหนักกว่าคดีแพ่ง โดยบัญญัติไว้ในวรรคสองไม่เหมือนกับการฟ้องเท็จ การฟ้องเท็จตามมาตรา 175เป็นความผิดเฉพาะในคดีอาญา
เท่านั้น ฟ้องเท็จคดีแพ่งไม่เป็นความผิด
คำพิพากฎีกาที่ 582-583/2553 พยานรู้เห็นขณะทำสัญญากู้ และเห็นผู้กู้รับเงินไปจากผู้ให้กู้ ร้านผู้ให้กู้ฟ้องเรียกเงินกู้ พยานกลับเบิกความบิดเบือนว่าไม่มีการส่งมอบเงิน เป็นเหตุให้ผู้ ให้กูแพ้คดี ดังนี้ ถือว่าพยานเบิกความเท็จในข้อสำคัญ
ในคดีอาญาเรื่องปล้นทรัพย์คำเบิกความของพยาน
ในข้อที่ว่าจำคนร้ายได้หรือไม่นั้นย่อมเป็นข้อสำคัญ
ในคดี
คำพิพากษาฎีกาที่563-565/2558จำเลยเบิกความในคดีที่พ.
ถูกฟ้องคดีอาญาฐานขับรถประมาทชนคนบาดเจ็บว่าพ.ให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนเพราะถูกโจทก์ขู่เข็ญนั้น หากคดีดังกล่าวศาลยกฟ้อง เพราะเห็นว่า พยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่า พ.กระทำผิดแม้ข้อความที่
จำเลยเบิกความเป็นเท็จ ก็ไม่ใช่ เท็จ ในข้อสาระสำคัญแห่งคดี
ในคดีอาญาฐานวางเพลิง ข้อสำคัญในคดีก็คือจำเลยวางเพลิงหรือไม่ พยานเบิกความโดยนำข้อความที่ตนได้ยินจากคำพูดของบุตรสาวจำเลยที่พูดว่าจำเลย ซึ่งข้อความที่ปรึกษาจำเลยพูดนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ พยานไม่ได้ยืนยัน คือไม่ได้ว่าพยายามมีความผิดฐานเบิกความเท็จ
มาตรา 179 ผู้ใดทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จเพื่อให้พนักงาน
สอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาเชื่อว่าได้มีความผิดอาญาอย่างใดเกิดขึ้น หรือเชื่อว่าความผิดอาญาที่เกิดขึ้นร้ายแรงกว่า ที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน
สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
องค์ประกอบภายนอก
1. ผู้ใด
2. ทำพยานหลักฐานอันเป็จเท็จ
องค์ประกอบภายใน
1. เจตนาธรรมดา
2. เจตนาพิเศษ"เพื่อให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา"
(ก) เชื่อว่าได้มีความผิดอาญาอย่างใดเกิดขึ้น หรือ
(ข) เชื่อว่าความผิดอาญาที่เกิดขึ้นร้ายแรงกว่าที่เป็นจริง
การกระทำความผิดตามมาตรานี้ได้แก่ทำพยานหลักฐาน
อันเป็นเท็จ ซึ่งอาจเป็นพยานบุคคล พยานเอกสารพยานวัตถุก็ได้ เช่น ตนไม่ได้ถูกปล้นแต่ทำพยานหลักฐานว่าตนถูกปล้นโดยยิงปืน
ขึ้นเองให้กระสุนตกอยู่พื้นเกลือนกลาดและร้องให้ชาวบ้านมาช่วย
ว่าถูกผู้ร้ายปล้นบ้าน
การให้การในฐานะผู้ต้องหา แม้จะเป็นความเท็จ เช่นการซักทอด คนอื่นต่อไปด้วยข้อความเท็จ ก็ไม่เป็นความผิด ฐานแจ้งความเท็จแต่ไม่ได้
หมายความว่า กฎหมายยอมให้ผู้นั้นทำพยานหลักฐานเท็จ ฉะนั้นแม้ตนเป็น
ผู้ต้องหาถ้าได้ทำพยานหลักฐานเท็จก็ยังมีความผิดตามมาตรานี้
การทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต้องกระทำโดยเจตนาและต้อง ประกอบด้วยเจตนาพิเศษด้วย คือ เพื่อให้พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาเชื่อว่าได้มีความผิด
อาญาอย่างใดเกิดขึ้นเชื่อว่าความผิดอาญาที่เกิดขึ้นและแรงกว่าที่เป็นจริง ความผิดตามมาตรานี้จึงเป็นความผิดสำเร็จเมื่อได้ทำ
พยานหลักฐานอันเป็นเท็จเสร็จแล้ว ส่วนการนำไปใช้หรือแสดงกับ
พนักงานสอบสวน แล้วหรือไม่ ก็ไม่สำคัญ
มาตรา 180 ผู้ใดนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี ถ้าเป็นพยานหลักฐานในข้อสำคัญในคดีนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือ
ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ได้กระทำในการพิจารณาคดีอาญาผู้กระทำ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
องค์ประกอบภายนอก
1 . ผู้ใด
2. นำสืบหรือแสดง
3 .พยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี ถ้าเป็นพยานหลักฐานใน
ข้อสำคัญในคดีนั้น
องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา
เหตุฉกรรจ ์ตามความในวรรคสองเป็นการนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐาน
อันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญา
นำสืบพยานหลักฐาน หมายความว่าอ้างพยานนำ
หลักฐานเข้าสืบเป็นพยานของตน ผู้อ้างพยานก็คือความในคดีนั้น ซึ่งได้แก่ โจทก์และจำเลย การนำสืบนั้นเป็นการพิสูจน์ต่อศาล เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงอย่างไร เพื่อสนับสนุนคำฟ้อง คำขอ คำให้การในคดีของตน
แสดงพยานหลักฐาน หมายความว่าส่งเอกสาร
หรือพยานวัตถุที่นำสืบต่อศาล ผู้ที่แสดงพยานหลักฐาน
นี้ก็คือ โจทก์และจำเลยเท่านั้น
ผู้ที่นำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานในการพิจารณา
คดีของศาล ก็คือ โจทก์และจำเลยเท่านั้น
พยานหลักฐานอันเป็นเท็จหมายถึง พยากรณ์อากาศที่ไม่จริง การนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานแต่บางส่วน ปกปิดไปบางส่วน ทำให้เข้าใจว่าพยานหลักฐานมีแต่เพียงเท่าที่ นำสืบ หรือแสดง ก็ถือว่าเป็นไปได้
จำเลยได้แสดงพยานหลักฐานเท็จต่อศาลโดยส่งหลักฐาน
เอกสารซึ่งเดิมมีอยู่ สองหลักฐานจำเลยส่งแสดงว่า มีหลักฐานเดียว ย่อมเป็นการแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ ต่อศาล ตามมาตรา 180 แล้ว
คำว่าพิจารณาคดี และข้อสำคัญในคดี มีความหมายเหมือนกันกับมาตรา 177 ที่กล่าวมาแล้ว พยานหลักฐานในข้อสำคัญในคดีก็ คือพยานหลักฐาน ที่อาจมีน้ำหนักในการวินิจฉัยของศาล หรือจะมีผลให้แพ้ชนะคดีกันไม่ใช่เรื่องพลความ
การกระทำตามมาตรานี้ ต้องมีการกระทำโดยเจตนา จึงจะมีความผิด ถ้าหากนำสืบ ลักษณะพยานหลักฐาน โดยไม่รู้ว่าเพื่อหลักฐานอันเป็นเท็จ ก็ถือว่ากระทำโดยไม่มีเจตนา
มาตรา 181 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 174 มาตรา 175 มาตรา 177 มาตรา 178 หรือมาตรา 180
(1) เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
(2) เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่มีระวางโทษถึงประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
องค์ประกอบของมาตรา 181
การกระทำความผิดตามมาตรา 174,มาตรา175,มาตรา177,มาตรา178 หรือมาตรา 180
(1)เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป
(2)เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิดที่มีระวางโทษถึงประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
เหตุฉกรรจ์ คือ เหตุที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษซึ่งอาจจะมาจากวัตถุแห่งการกระทำที่กฎหมายประสงค์ จะให้ความคุ้มครองมากเป็นพิเศษเช่นเจ้าพนักงานผู้ใดที่ฆ่าเจ้าพนักงานก็ย่อมต้องรับโทษหนักกว่าการ
คนธรรมดาตาย หรือเหตุฉกรรจ์อันเนื่องมาจากพฤติการณ์ในการกระทำความผิด
เช่น การฆ่าคนตายโดยทารุณโหดร้ายหรือทรมาน ซึ่งกฎหมายลงโทษหนักกว่าการคนตายธรรมดา หรือในกรณีความผิดฐานลักทรัพย์ หากเป็นการลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 ถือเป็นการลักทรัพย์โดยมีเหตุฉกรรจ์ เช่น ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ลักทรัพย์ของนายจ้าง
นายแดงเห็นเหตุการณ์ขณะที่นายดำยิงนายขาวตาย พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกนายแดง
มาให้ถ้อยคำเป็นพยาน นายแดงมาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกแต่ต้องการช่วยนายดำ
ซึ่งเป้นเพื่อนกันจึงให้ถ้อยคำว่าไม่เห็นเหตุการณ์นายแดงมีความผิดอย่างใด
ผิดมาตรา 137,มาตรา172 การ"เเจ้งความ"ตามมาตรา172 นั้นก็เช่นเดียวกันกับ
มาตรา137 ไม่ว่าไปแจ้งความเองหรือตอบคำถามที่เจ้าหน้าที่พนักงานเรียกไปสวบสวน
เป็นพยาน ก็เป็นการแจ้งต่อเจ้าพนักงาน (ฎีกาที่ 492/2549 น.2133) ถ้อยคำในมาตรา172ที่ว่า"ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย"ตรงกับที่บัญญัติไว้ใน
มาตรา137 ซึ่งถือว่าเป็น"องค์ประกอบภายนอกที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง"หรือ"พฤติการณ์ประกอบ
การกระทำ" ผู้กระทำไม่จำเป็นต้องรู้ แต่ใช้ความรู้ความเข้าใจของคนทั่วไปหรือวิญญูชน
Question
คำถาม
กรณีตามปัญหา มีหลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา ที่จะต้องนำมาประกอบการวินิจฉัยดังนี้
มาตรา 172 วางหลักไว้ว่า ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับ
ความผิดอาญาแก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดีพนักงานสอบสวนหรือ
เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชน
เสียหาย ต้องระวางโทษ
มาตรา 175 วางหลักไว้ว่า ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาล
ว่ากระทำความผิดอาญาหรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็น
ความจริง ต้องระวางโทษ
การที่นายเก้าฟ้องนางสาวสำลีฐานลักทรัพย์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เป็นการนำความเท็จมาฟ้องและนายเก้าเบิกความเท็จว่า นางสาวสำลีลักแหวนเพชร
ของนายเก้าไป อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ โดยรู้อยู่แล้วว่าข้อความตามฟ้อง และที่เบิกความเป็นเท็จ ซึ่งความเท็จที่เบิกความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีแม้ศาลได้
พิพากษายกฟ้องชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โดยนางสาวสำลียังไม่อยู่ในฐานะจำเลยก็ตาม นายก็มีความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 175 และมาตรา 177 วรรคสอง
สรุป (1)นายเก้าไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 172 เพราะให้การในฐานะผู้ต้องหาซึ่งได้รับการยกเว้นตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา เนื่องจากเป็นสิทธิของผู้ต้องหาที่จะให้การอย่างไรก็ได้
(2) นายเก้า มีความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จตามประมวล
กฎหมายอาญามาตรา 175 และมาตรา 177วรรคสอง
นาย มนตรี คล้ายสุบรรณ
รหัส 62025572 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
นาย สุริยา มัฏฐาพันธ์
รหัส 62009156 นักศึกษาชั้นปีที่ 2
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
นาย กฤษฎา อุ่นยวง
รหัส 62009365 นักศึกษาชั้นปีที่ 2
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
นาย พงศธร ขันทีท้าว
รหัส 62019458 นักศึกษาชั้นปีที่ 2
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
นาย พรภวิษย์ วงค์เกตุใจ
รหัส 62013078 นักศึกษาชั้นปีที่ 2
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม