การกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 3 พัฒนาการทารกในครรภ์
เดือนที่ 7 (สัปดาห์ที่ 25-28)
เดือนที่ 7 (สัปดาห์ที่ 25-28)
- ทารกจะเริ่มสะสมไขมันใต้ผิวหนัง เพื่อรักษาความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย
- ขยับนิ้ว กำมือ และมีการพัฒนาลายนิ้วมือ เป็นลักษณะเฉพาะตัวของตัวเองขึ้นมา
- ระบบนัยน์ตาพัฒนาขึ้นเกือบสมบูรณ์
- สมองโตเต็มกะโหลกศีรษะ และมีร่องหยัก ส่วนเซลล์ประสาทเชื่อมสมบูรณ์ มีไขมันหุ้มเส้นประสาท
- ขยับตัวเมื่อได้ยินเสียงดัง
- ขนอ่อนหลุดร่วง เหลือเฉพาะที่ไหล่และหลัง
- ทารกจะปัสสาวะลงในน้ำคร่ำประมาณวันละครึ่งลิตร
- ตอนนี้ทารกมีความยาว 35 เซนติเมตร และหนักประมาณ 1,000-1,200 กรัม
- ถ้าคลอดในตอนนี้ อัตราการรอดชีวิตจะค่อนข้างสูง
เดือนที่ 8 (สัปดาห์ที่ 29-32) : เตรียมคลอด
เดือนที่ 8 (สัปดาห์ที่ 29-32) : เตรียมคลอด
- ร่างกายเหมือนทารกแรกเกิด
- คุณแม่มีการเจ็บท้องเตือนจากมดลูกบีบตัว
- ทารกอยู่ในท่าศีรษะลง เตรียมพร้อมที่จะคลอด
- ทารกรับรู้แสงสว่างผ่านทางผนังหน้าท้องของคุณแม่
- ทารกเริ่มที่จะเปิดปิดเปลือกตา กะพริบตาถี่ ๆ รูม่านตาเริ่มขยายและหรี่ได้
- ทารกมีความยาวประมาณ 40-45 เซนติเมตร และหนักประมาณ 2,000-2,500 กรัม
เดือนที่ 9 (สัปดาห์ที่ 34 เป็นต้นไป)
เดือนที่ 9 (สัปดาห์ที่ 34 เป็นต้นไป)
- ทารกอยู่ในตำแหน่งพร้อมคลอด
- ต่อมหมวกไตเร่งสร้างฮอร์โมนเพิ่มความสมบูรณ์ของปอด เตรียมการหายใจครั้งแรกในชีวิตที่
- ในลำไส้ของทารกเต็มไปด้วยขี้เทา เกิดจากสารที่หลั่งในระบบทางเดินอาหาร ปะปนกับขนอ่อนและเซลล์ต่าง ๆ
- ผิวหนังของทารกมีไขสีขาว ช่วยหล่อลื่นให้ทารกคลอดได้ง่ายขึ้น
- ทารกมักมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร และหนักประมาณ 2,800-3,000 กรัม
การกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
การกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ
การพัฒนาระบบประสาทการเคลื่อนไหว
การพัฒนาระบบประสาทการเคลื่อนไหว
เพื่อเป็นการสร้างเซลล์ประสาททรงตัว และพัฒนาการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้ทารกเกิดการเรียนรู้มีไหวพริบและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมีรอบๆตัวเองได้
เมื่ออายุ 7 เดือน(28สัปดาห์)ใช้วิธีนั่งเก้าอี้หมุนซ้าย-ขวา
เพื่อการพัฒนาการการทรงตัวและการเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของทารกให้มากยิ่งขึ้น
การพัฒนาระบบประสาทการรับความรู้สึก(Tactile stimulation)
โดยการสัมผัสโดยการลูบหน้าทิ้งจากมารดา
หรือบิดาก็ได้เพื่อให้ทารกได้รับความอบอุ่น ความรัก
และต่อมาก็ใช้น้ำอุ่นและน้ำเย็นเป็นการพัฒนาเซลล์ประสาทรับความรู้สึกร้อนหนาวซึ่งจะช่วยปรับสภาพทารกให้เคยชินกับอุณหภูมิภายนอกมดลูกซึ่งเย็นกว่าภายในมดลูกไม่เกิดภาวะหนาวสั่นในระยะแรกเกิด และปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้เร็วยิ่งขึ้น
วิธีการปฏิบัติ
- เปิดหน้าท้องเอามือลูบสัมผัสวนไปรอบๆ โดยเริ่มจากหัว-หลัง-ก้น-ขาแขน-หัว แล้ววนไปตามลำตัวช้าๆ กระทำจนกว่าคุณแม่จะพอใจ
- ใช้มือตบเบาๆบนหน้าท้อง บริเวณก้นทารกจะช่วยให้ทารกเกิดความอบอุ่นมั่นคง เคยชินกับพฤติกรรมสัมผัสเป็นจังหวะ เมื่อหลังคลอดได้รับการสัมผัสเช่นนี้อีก จะทำให้ทารกหยุดร้องกวนและสงบเร็วขึ้น
การพัฒนาระบบประสาทการมองเห็น(Visualizing stimulation)
จะช่วยพัฒนาเซลล์ประสาทส่วนรับการมองเห็นของทารก
ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยส่งเสริมกล้ามเนื้อตาและกล้ามเนื้อบริเวณคอของทารกให้มีพัฒนาการและมีความแข็งแรงมากขึ้น สร้างความสนใจ สร้างความอยากรู้อยากเห็นให้กับทารก
ก็จะทำให้เกิดสติปัญญาสร้างสมาธิที่ดี
วิธีการปฏิบัติ
- การเคลื่อนไฟฉาย เมื่อเข้าช่วงไตรมาสที่3 ให้เปลี่ยนวิธีการใหม่เพื่อไม่ให้ทารกเบื่อและหมดความสนใจ เพราะทารกจะมีธรรมชาติของความสนใจช่วงสั้นเมื่อเปลี่ยนวิธีเป็นการเคลื่อนไฟฉายจากซ้ายไปขวาบ้างจะทำให้ทารกเกิดความสนใจมากขึ้น
วิธีการปฏิบัติ
ภูมิปัญญาไทยการกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
ภูมิปัญญาไทยการกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
แนะนำให้กินสมุนไพร ธัญพืช ข้าวเหนียวกัญชา เมล็ดผักกาด กระจับ เทียนดำ เทียนแดง และสมุนไพรอื่นๆ เช่น สะเดา ช้าพลู อบเชยเทศ ซึ่งเป็นยาตำรับที่มีรสสุขุม เผ็ดร้อน และรสขม ในช่วงนี้ไม่พบอาการมากนัก เพราะทารกในครรภ์เจริญเติบโต และใกล้คลอดแล้ว
ในช่วงนี้แนะนำให้ว่าที่คุณแม่กินอาหารที่ช่วยระบายร่วมด้วย เช่น เมล็ดในดอกคูน พร้อมทั้งอาหารที่ช่วยบำรุงเลือด และเพิ่มลม เพื่อเตรียมคลอด เช่น ฝาง ดอกคำฝอย
นอกจากนี้การแพทย์ไทยแบบดั้งเดิมยังแนะนำให้ใช้ประโยชน์จากข้าวและธัญพืชในรูปแบบอื่นด้วย ได้แก่ น้ำซาวข้าว (มีรสเย็นช่วยดับพิษร้อนใช้เป็นยากระสายนำไปผสมกับยาตัวอื่นเพื่อเสริมฤทธิ์ เช่น ละลายน้ำซาวข้าวกับยาเขียว เพื่อดับพิษไข้ออกผื่น) ข้าวตอก (บำรุงธาตุและบำรุงกำลัง)
อ้างอิง
- วรรณรัตน์ สุวรรณและคณะ (2556) . การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์.นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
- “กระตุ้นพัฒนาการทารก ทำได้ตั้งแต่อยู่ ในครรภ์” [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก :
http://www.ekrungthep.com/marketplace/Biz_ContentDetail.asp?ContentID=690&SP=20501190048
อ้างอิง