Introducing 

Prezi AI.

Your new presentation assistant.

Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.

Loading…
Transcript

LA301

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

โครงสร้างภาษี

เงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี

1.บุคคลธรรมดา หมายถึง ในทางกฎหมาย บุคคลธรรมดา หมายถึงสิ่งที่มีชีวิตสามารถมีสิทธิ และหน้าที่ได้ตามกฎหมาย คือมนุษย์ทั้งปวงจะเป็นหญิง ชาย เด็ก คนชรา หรือเป็นผู้บกพร่องใน ความสามารถหรือเป็นคนวิกลจริตอย่างใดก็ตามคนวิกลจริตอย่างใดก็ตามถือเป็นบุคคลธรรมดาทั้งสิ้น บุคคลที่มีชีวิตโดยสภาพบุคคลเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อถึงแก่ความตาย หากบุคคลธรรมดาดังกล่าวมีรายได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ประมวลราษฎรกำหนดไว้

1

2.ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หมายถึง การที่บุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 บุคคลขึ้นไป ตกลงเข้าทุนกันไม่ว่าจะเป็น เงินแรงงาน หรือทรัพย์สินฯลฯเพื่อกระทำกิจการร่วมกันโดยมีวัตถุประสงค์ ที่จะแบ่งปันผลกำไรที่จะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น (ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนจะเป็นนิติบุคคล) คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มีลักษณะเหมือนกับห้างหุ้นส่วนสามัญ ต่างกันแต่เพียงวัตถุประสงค์ คือคณะบุคคล ไม่จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งปันผลกำไรที่จะพึงได้ เช่น การจัดการแสดงเพื่อ หารายได้นำไปบริจาคให้แก่ผู้ทุกข์ยาก บุคคลผู้มีหน้าที่เสียแทนคณะบุคคลได้แก่ ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ

2

3.ผู้ถึงแก่ความตาย หมายถึง การถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี คือระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม หรือถึงแก่ความตายก่อนยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีก็ได้ โดยที่ความตายทำให้ สภาพบุคคลสิ้นสุดลง ผู้จัดการมรดก หรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแต่แต่กรณี เป็นบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นรายการแทนผู้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี ที่มีเงินได้ขั้นต่ำถึงเกณฑ์ที่ ประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ โดยผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีคือ ผู้จัดการมรดก หรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ถึงแก่ความตาย

3

4.กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งคือ ในปีภาษีถัดจากปีที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย หากกองมรดกนั้นยังไม่แบ่ง ให้กับทายาทคนใดคนหนึ่งโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม และกองมรดกมีเงินได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ประมวลรัษฎากร

กำหนด โดยผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีคือ ผู้จัดการมรดก หรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ถึงแก่ความตาย

4

ฐานภาษี

ฐานภาษี

เงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีแบ่งออกเป็น 5 ประเภท

ตามกฎหมายเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า"เงินได้พึงประเมิน"

หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่

1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่

1.เงินสด หรือตราสารที่มีสภาพแทนเงินได้

2.ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริงที่ได้รับจริง

3.ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน (เกณฑ์เงินสด)

4.เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้

5.เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

ตัวอย่างเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้นการเสียภาษี

1. ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือ ค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน

หรือผู้รับทำงาน ให้ได้จ่ายไปโดยสุจริต ตามความจำเป็นเฉพาะ

2. ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดโดย

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตรา ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง

3. เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมด

โดยจำเป็น เพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก

4. ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญากันโดยสุจริตก่อนใช้พระราชบัญญัติ

ภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 มีข้อกำหนดว่า นายจ้างจะชำระเงินบำเหน็จ

เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัส ให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเ

เมื่อการงานที่จ้างได้สิ้นสุดแล้ว แม้เงินเต็มจำนวนนั้นจะได้ชำระภายหลังที่ใช้

เช่น การขายบ้านแล้วได้เงินมาไม่เสียภาษีเพราะไม่ได้หวังผลกำไรเป็นต้น

ตัวอย่าง

วิธีการคำนวณภาษี

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยทั่วไปหากผู้มีเงินได้ถึงเกณฏ์หมายบอกไว้

ส่วนประกอบสำคัญคือ เงินได้พึงประเมินหักเงินได้ที่ได้รับยกเว้น หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน

หักเงินบริจาค แล้วนำเงินได้สุทธินั้นไปคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

วิธีการคำนวณภาษี

เงินได้พึงประเมิน xxx

หัก เงินได้ที่ได้รับยกเว้น XX

หักค่าใช้จ่าย XX

หักค่าลดหย่อน XX

เงินได้สุทธิ XX

ภาษีที่ต้องชำระ ( ถ้ามี ) = เงินได้สุทธิ X อัตราภาษี (5%-35%) = XX

การคำนวณภาษีสิ้นปี

1.การคำนวณภาษีสิ้นปี วิธีที่ 1 จากเงินได้สุทธ

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน

ภาษีที่ต้องเสีย = เงินได้สุทธิ x อันตราภาษี

สิ้นปี

2 คำนวณจากเงินได้พึงประเมิน (วิธีนี้ต้องคำนวณหากมีเงินได้ฟฟังประเมินประเภท

ที่ 2 ถึง 8ตั้งแต่ 120000 บาทขึ้นไป)

ภาษีที่ต้องเสีย = เงินได้พึงประเมิน x ร้อยละ 0.5*วิธีนี้นั้นหากจำนวนภาษีที่คำนวณได้ไม่เกิน5000ให้

ยกเว้นทั้งจำนวน } **ถ้ามีการคำนวณทั้งสองแบบ ภาษีที่ต้องเสีย คือ จำนวนภาษีที่มากกว่าจากที่คิด

การคำนวณภาษีครึ่งปี

2.การคำนวณภาษีครึ่งปี **เฉพาะกรณีมีเงินได้ประเภทที่ 5 ถึง 8ไม่รวมกับเงินกินเปล่า

เงินช่วยก่อสร้าง*ที่ได้รับตั้งแต่เดือน ม.ค. ถึง มิ.ย. ***

2.1 วิธีการคำนวณ เช่นเดียวกับการคำนวณภาษีสินปี

2.2 วิธีการหักค่าใช้จ่าย เช่นเดียวกับการคำนวณภาษีสิ้นปี

2.3 การหักลดหย่อน *หักได้ครึ่งเดียว* ของอัตราค่าลดหย่อนที่กำหนดและที่จ่ายไปจริง ม.ค.-มิ.ย.

2.4 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่นำมาหักในการคิดต้องเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่ายระหว่าง ม.ค. - มิ.ย.

2.5 ภาษีที่เสียถือเป็นเครดิตภาษีตอนสิ้นปี

ครึ่งปี

แบบแสดงรายการที่ใช้ยื่นภาษี

สามารถยื่นแบบแสดง รายการภาษีได้แล้ว..ที่

• สำนักงานสรรพกรทุกแห่ง

• ไปรษณีย์ไทยเขตกรุงเทพ • www.rd.go.th

1.แบบ ภ.ง.ด.90 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี สำหรับผู้ที่มีเงิน

ได้ในกรณีทั่วๆไปตั้งแต่เงินได้ประเภท 1 - 8 ในระหว่างปีภาษีที่ล่วงลงมายึดมีนาอีกปี

2.แบบภ.ง.ด.91 แบบแวดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีสำหรับผู้มีเงินได้จาก

การจ้างแรงงานประเภทที่ 1 เพียงอย่างเดียว

3.แบบ ภ.ง.ด.93 เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาสำหรับใช้ยื่นก่อน

ถึงเวลาที่กำหนด การยื่นแบบให้ยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับ

4.แบบ ภ.ง.ด.94 แสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี สำหรับผู้ที่มีเงิน

ประเภทที่ 5 -8 ที่ได้รับมาตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน

5.แบบภ.ง.ด 95 เป็นแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับต่างด้าว ผู้มีเงิน

ได้จากกการจ้างแรงงานสำนักปฏิบัติการภูมิภาคยให้ยื่นเบาๆ ภายในมีนาคมของปีหน้า

แบบแสดงรายการที่

ใช้ยื่นภาษี

กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการ

1.การยื่นแบบครึ่งปี

กำหนดยื่น = ภายในเดือนกันยายนของปีภาษีนั้น ๆ

2.การยื่นแบบสิ้นปี

กำหนดยื่น = ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

*** ปีภาษี = ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ***

กำหนดเวลา

ยื่นแบบแสดงรายการ

ภ.ง.ด. 90 สำหรับกรณีมีเงินได้ทุกประเภท

ภ.ง.ด 91 สำหรับกรณีมีเงินได้เฉพาะประเภทที่ 1

ภ.ง.ด 93 สำหรับกรณีขอชำระภาษีก่อนถึงกำหนด

ภ.ง.ด 94 สำหรับกรณียื่นแบบครึ่งปี

• อัตราภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา •

Learn more about creating dynamic, engaging presentations with Prezi