Introducing 

Prezi AI.

Your new presentation assistant.

Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.

Loading…
Transcript

World War II

Presented by Kru P'Amp

สาเหตุของการเกิดสงคราม

สาเหตุ

1.ความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาแวร์ซายส์และสัญญาสันติภาพฉบับอื่นๆ ซึ่งทำภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมันและชาติผู้แพ้สงคราม ถูกบังคับให้ลงนามในสัญญาที่ตนเสียเปรียบ

2.การเติบโตของลัทธิทางทหาร หรือระบบเผด็จการ มีผู้นำหลายประเทศสร้างความเข้มแข็งทางทหาร และสะสมอาวุธร้ายแรงต่างๆ

3.ความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตชาติ การทำหน้าที่รักษาสันติภาพไม่ประสบผลสำเร็จ

4.ความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางการเมือง แนวความคิดของผู้นำประเทศที่นิยมลัทธิทางทหาร ได้แก่ ฮิตเลอร์ ผู้นำลัทธินาซีของเยอรมนี และเบนนิโต มุสโสลินี ผู้นำลัทธิฟาสซีสม์ ของอิตาลี ทั้งสองต่อต้านแนวความคิดเสรีนิยมและระบบการเมืองแบบรัฐสภาของชาติยุโรป แต่ให้ความสำคัญกับพลังของลัทธิชาตินิยม ความเข้มแข็งทางทหาร และอำนาจผู้นำมากกว่า

เยอรมนีโจมตีโปแลนด์

เกิดจากเยอรมนีโจมตีโปแลนด์ และเรียกร้องขอดินแดนฉนวน ดานซิก คืนทำให้อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งสนับสนุนโปแลนด์ ประกาศสงครามกับเยอรมนีทันที ต่อมาเมื่อการรบขยายตัว ทำให้นานาประเทศที่เกี่ยวข้องถูกดึงเข้าร่วมสงครามเพิ่มขึ้น ( 1 กันยายน ค.ศ.1339)

นาซีเยอรมันบุกโปแลนด์

Nazi germany

Pictures

ญี่ปุ่นบุกอ่าวเพิร์ล

ญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตรของเยอรมนีเปิดฉากสงคราม

โดยโจมตีอ่าวเพิร์ล ฐานทัพของสหรัฐอเมริกา ในหมู่เกาะฮาวายเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 ทำให้สหรัฐอเมริกาประกาศเข้าร่วมสงครามฝ่ายเดียวกับชาติพันธมิตรอย่างเป็นทางการ

สหรัฐฯเข้าร่วม

kamikaze

11 ธันวาคม ค.ศ. 1941

เยอรมนีและอิตาลีประกาศสงครามต่อสหรัฐ

7 ธันวาคม ค.ศ. 1941

ญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์

timeline

1941

11 ธันวาคม ค.ศ. 1941

สหรัฐประกาศสงครามตอบในวัน

เดียวกัน

8 ธันวาคม ค.ศ. 1941

สหรัฐประกาศสงครามต่อญี่ปุ่น

MAP

๋ฟกหฟJapan

Map

United States

Pearl Harbor

pictures

ประเทศคู่สงครามใน

World War II

โลกเกิดการแบ่งฝ่าย

แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้

(1) กลุ่มประเทศฝ่ายพันธมิตร ชาติผู้นำที่สำคัญ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต รวมทั้งยังมีประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ เข้าร่วมสมทบด้วยอีกจำนวนมาก

(2) กลุ่มประเทศฝ่ายอักษะ ชาติผู้นำที่สำคัญได้แก่ เยอรมนี ญี่ปุ่น และอิตาลี

ฝ่ายอักษะ

ฝ่ายอักษะ หรือชื่อ อักษะ โรม-เบอร์ลิน-โตเกียว เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางการทหารซึ่งสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ประกอบด้วยสามประเทศหลัก คือ นาซีเยอรมนี อิตาลีและจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสามร่วมลงนามกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 ฝ่ายอักษะขยายอิทธิพลของตนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบคลุมพื้นที่หลายส่วนของทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิก ทว่า สงครามโลกครั้งที่สองยุติลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายอักษะ ทำให้ฝ่ายอักษะต้องสูญเสียอำนาจและพื้นที่จำนวนมากที่ยึดครองมาได้ เช่นเดียวกับฝ่ายสัมพันธมิตร สมาชิกภาพของกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดช่วงสงคราม

ฝ่ายอักษะ

ธงชาติเยอรมนี, ญี่ปุ่น และอิตาลี ประดับอยู่หน้าสถานทูตญี่ปุ่นในกรุงเบอร์ลิน

pictures

ทหารฝ่ายอักษะ

มุสโสลินีและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

ฝ่ายสัมพันธมิตร

เป็นกลุ่มประเทศที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งที่สองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน ถูกคุกคามโดยตรงจากการรุกรานของฝ่ายอักษะ สหราชอาณาจักรและเครือจักรภพอังกฤษ, สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "สามผู้ยิ่งใหญ่" ถือความเป็นผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตร

ฝ่ายพันธมิตร

"สามผู้ยิ่งใหญ่":

(ซ้าย) โจเซฟ สตาลิน แห่งโซเวียต

(กลาง) แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐ

(ขวา) วินสตัน เชอร์ชิล แห่งสหราชอาณาจักร

pictures

"เครือจักรภพอังกฤษพร้อมด้วยพันธมิตร จะทำลายล้างทรราชนาซี" โปสเตอร์ของอังกฤษในปี 1941

โปสเตอร์ช่วงสงครามของสหประชาชาติ ซึ่งได้ตีพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1943

เทคโนโลยีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

เทคโนโลยีระหว่างสง

ครามโลก

ครั้งที่สอง

รถถัง

รถถัง

รถถัง เป็นยานพาหนะต่อสู้หุ้มเกราะติดตีนตะขาบที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการรบที่แนวหน้าซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างความคล่องตัว การรุก และการป้องกัน อำนาจการยิงของมันมาจากปืนหลักขนาดใหญ่ของมันที่ติดตั้งอยู่บนป้อมส่วนบนที่หมุนได้พรัอมกับมีปืนกลติดตั้งอยู่เพื่อเป็นอาวุธรอง ในขณะที่เกราะขนาดหนักและความสามารถในการเคลื่อนที่ของมันเป็นสิ่งที่คอยปกป้องชีวิตของพลประจำรถ นั่นทำให้มันสามารถทำงานหลักของทหารราบยานเกราะได้ทั้งหมดในสมรภูมิ

T-34

ที-34 (T-34) เป็นรถถังขนาดกลางของโซเวียต ที่ผลิตช่วง ค.ศ. 1940 - ค.ศ. 1958 ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดในโลกช่วงที่สหภาพโซเวียตเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ต่อมาเกราะและอาวุธของมันจะสู้รถถังรุ่นหลังๆไม่ได้ แต่มันก็ยังได้ชื่อว่าเป็นรถถังที่มีอิทธิพลอย่างมาก ทำการรบได้ดี มีประสิทธิภาพเยี่ยมที่สุดในสงคราม จากความสมดุลของทั้งอำนาจการยิง ความเร็ว และการป้องกันตัว มันเป็นแกนหลักของกองกำลังยานเกราะโซเวียตตลอดสงคราม

T-34

Su-85

พัฒนาขึ้นโดยใช้ตัวถังของรถถัก ลางT-34 และปืนอัตตาจรบุกทะลวงSU-122 เป็นพื้นฐาน ผลิตออกมาในช่วงตั้งแต่สิงหาคม 1943 ถึงกรกฏาคม 1944 ปืน D-5S ขนาด 85มม. ทำให้ SU-85 สามารถยิงรถถังกลางข้าศึกได้จากระยะมากกว่า 1,000 เมตรและเจาะเกราะด้านหน้าของรถถังหนักในระยะที่ใกล้เข้ามา

Su-85

m4 sherman

m4 sherman

เอ็ม4 เชอร์แมน (อังกฤษ: M4 Sherman) เป็นรถถังหลักที่ใช้โดยสหรัฐอเมริกาในสงครามโลกครั้งที่ 2 มันยังได้ทำหน้าที่ในกองกำลังของสัมพันธมิตรในอีกหลายประเทศเช่นกัน มันพัฒนามาจากรถถังขนาดกลางและเบาที่เกิดขึ้นก่อนหน้าโดยเป็นรถถังคันแรกของอเมริกาที่มีป้อมปืนซึ่งสามารถหมุนได้รอบทิศทาง เชอร์แมนคันแรกก็มากเกินที่จะเอาชนะยานเกราะของเยอรมนีในแอฟริกาเหนือ

tiger i

tiger i

ไทเกอร์ I เป็นยานเกราะขนาดหนักที่ถูกใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยถูกสร้างในช่วงปลายปี ค.ศ. 1942 เพื่อที่จะใช้ตอบโต้ความแข็งแกร่งยานเกราะT-34 และKV-1 ของ สหภาพโซเวียต ในช่วงเริ่มต้นของ ปฏิบัติการบาร์บารอซซ่า ลักษณะการออกแบบของไทเกอร์ I ทำให้ไทเกอร์Iเป็นยานเกราะของ Wermarcht คันแรกที่ติดปากกระบอกปืนขนาด 88 มิลลิเมตร โดยปากกระบอกปืนนี้ได้ถูกทดสอบมาก่อนว่ามีประสิทธิภาพสูงในการยิงต่อต้าน รถถัง และ เครื่องบิน ในช่วงระหว่างสงคราม ไทเกอร์ 1 ได้ถูกนำไปใช้ในในการรบแนวหน้าของเยอรมัน โดยปกติแล้วไทเกอร์ I ถูกนำมาแยกเป็นหน่วยยานเกราะอิสระ ซึ่งทำให้หน่วยไทเกอร์ I สามารถปฏิบัติการได้อย่างค่อนข้างมีประสิทธิภาพ

tiger ii

ไทเกอร์ 2 เป็นรุ่นต่อจากไทเกอร์ 1 เนื่องจากการคาดการณ์ของเสนาธิการเยอรมันว่า โซเวียตกำลังผลิตรถถังที่ทรงอานุภาพมากยิ่งขึ้น รถถังรุ่นนี้ก็ถูกผลิตโดยสองบริษัทเฮนเซลและปอร์เช่ แต่สองบริษัทนั้นได้ออกแบบรถถังที่มีความแตกต่างกันโดยเฉพาะป้อมปืน ป้อมปืนของปอร์เช่มีข้อด้อยกว่าของเฮนเซลเพราะส่วนโค้งด้านหน้าป้อมของปอร์เช่นั้นมีความหนา 110 มิลลิเมตร บางกว่าป้อมของเฮนเซลถึง 70 มิลลิเมตร และป้อมผ.บ.รถของปอร์เช่ที่ยื่นออกมานั้นมีเกราะที่บางมากซึ่งอันตรายมากหากถูกยิง กองทัพเยอรมันเลิกใช้ป้อมปืนของปอร์เช่และหันมาใช้ป้อนปืนของเฮนเซลแทน (ในตอนแรกป้อมปืนของปอร์เช่ถูกผลิตออกมาเพียง 50 ป้อมเท่านั้น) นอกจากเกราะที่หนาแล้ว ไทเกอร์ 2 ยังติดปืนขนาด 88 มม. L71 ซึ่งมีอานุภาพสูงกว่าปืนต่อสู้รถถังทุกชนิดในยุคนั้น แต่จุดอ่อนก็คือ เครื่องยนต์ที่คิงไทเกอร์ใช้เป็นเครื่องยนต์แบบเดียวกันกับไทเกอร์ 1 เครื่องรุ่นเดียวกัน แต่รับน้ำหนักมากกว่า จึงมีปัญหากินน้ำมันอย่างมากและปัญหาขัดข้องด้วย อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์รุ่นนี้ก็ถือว่าทรงอานุภาพที่สุด

tiger ii

เรือรบ

เรือรบ

เรือรบถือว่าเป็นอาวุธสำคัญมากทั้งในสมรภูมิทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทร

แอตแลนติก โดยด้านแปซิฟิกนั้นสิ่งที่สำคัญนั่นคือเรือบรรทุกเครื่องบินและเรือพิฆาต ส่วนด้านมหาสมุทรแอตแลนติก ก็มีเรืออู ซึ่งเป็นเรือดำน้ำของกองทัพเยอรมันที่คุกคามกองทัพเรือของฝ่ายพันธมิตรอย่างหนักหลังการปราบฝรั่งเศสได้แล้ว พอหลังปี 1943 ภัยคุกคามจากเรืออูเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากการเข้าร่วมของสหรัฐอเมริกา ทางแปซิฟิคนั้น กองเรือผิวน้ำของญี่ปุ่นเป็นต่อกองเรือผิวน้ำฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างมาก เนื่องด้วยเทคโนโลยีของกองเรือญี่ปุ่นที่ทันสมัยเทียบเท่ากองเรือของสัมพันธมิตรและเทคโนโลยีการต่อเรือที่ทำให้เรือมีขนาดใหญ่แต่มีประสิทธิภาพมากคือไม่อุ้ยอ้ายเชื่องช้า ถ้าเทียบขนาดความใหญ่ของเรือในขนาดที่เท่ากันแล้ว เรือของญี่ปุ่นมีประสิทธิภาพในเรื่องของความคล่องตัวที่มากกว่า ปืนประจำเรือที่เน้นความใหญ่ของกระบอกปืนมากกว่าทำให้ยิงได้ไกลกว่าอนุภาพก็แรงกว่าและเรือญี่ปุ่นยังมีการปืนปืนใหญ่ตามลำเรือมากกว่าเพราะเรือที่มีขนาดกว้างกว่านั่นเอง

เครื่องบินรบ

เครื่องบินรบ

มีความสำคัญอย่างมากในทุกสมรภูมิทั้งในยุโรป แอฟริกาหรือแม้กระทั่งแปซิฟิกก็ตาม เพราะถ้าจะทำให้กองทัพบกเข้มแข็งก็ต้องมีกองบินที่แข็งแกร่งก่อน เครื่องบินรบที่สำคัญก็มี สปิตไฟท์ของ อังกฤษ แมสเซอร์สมิตซ์ 109 ของเยอรมัน เครื่องบินซีโร่ของญี่ปุ่น พี-51 มัสแตง ของสหรัฐ โดยในแปซิฟิคเครื่องบินรบจะมีบทบาทมากว่าเรือรบอย่างเห็นได้ชัด ในสมรภูมิยุโรปเครื่องบินก็เป็นส่วนสำคัญในปฏิบัติการสายฟ้าแลบของเยอรมันในช่วงต้นของสงคราม อาจพูดได้ว่าเครื่องบินรบนั้นสำคัญที่สุด เป็นตัวแปรที่สำคัญในสงครามอย่างยิ่ง นอกจากนี้ นาซีเยอรมันได้คิดค้นเครื่องบินรบไอพ่นเป็นครั้งแรก ทำให้กลายเป็นที่หวาดกลัวของกองทัพอากาศสัมพันธมิตรแต่ทว่า

หลังสงคราม สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียตได้นำมันมาพัฒนาและสร้างได้หลายชนิด

ผลของสงครามโลกครั้งที่สอง

ผลของสงคราม

1. มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ(UN : United Nations)เพื่อดำเนินงานแทนองค์การสันนิบาตชาติ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสันติภาพของโลกและให้กลุ่มสมาชิกร่วมมือช่วยเหลือกัน

2. ทำให้เกิดสงครามเย็น(Cold War)

3. ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ มีการนำอาวุธที่ทันสมัยและระเบิดปรมาณูมาใช้ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1

4. การเกิดประเทศเอกราชใหม่ๆ (ประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกต่างประกาศเอกราชของตนเอง ทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชีย และ แอฟริกา และบางประเทศถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่น เยอรมนี เกาหลี เวียดนาม

5. สภาพเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก

6. ความสูญเสียทางด้านสังคมและทางจิตวิทยา

7. เกิดมหาอำนาจของโลกใหม่ คือ สหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียต

Learn more about creating dynamic, engaging presentations with Prezi