Wir stellen vor: 

Prezi AI.

Ihr neuer Präsentationsassistent.

Verfeinern, verbessern und passen Sie Ihre Inhalte an, finden Sie relevante Bilder und bearbeiten Sie Bildmaterial schneller als je zuvor.

Wird geladen...
Transkript

บัญชีเบื่องต้น 2

สินค้า

สินค้า (Goods or Merchandise)

สิ่งที่กิจการมีไว้จำหน่ายเพื่อแสวงหากำไรจากการดำเนินงานตามปกติในกิจการซื้อขายสินค้าหรือธุรกิจพาณิชยกรรม เรียกว่า “สินค้าสำเร็จรูป”จัดอยู่ในประเภทสินทรัพย์หมุนเวียน ในการดำเนินธุรกิจสามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะของผลิตภัณฑ์เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการ และธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า ซึ่งธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าประกอบด้วย ธุรกิจพาณิชยกรรมและธุรกิจผลิตสินค้า ที่จะกล่าวถึงในวิชาการบัญชีเบื้องต้น 2 ได้แก่ธุรกิจพาณิชยกรรมหรือธุรกิจซื้อมาขายไป ธุรกิจประเภทนี้มิได้ท าการผลิตสินค้าเอง แต่จะซื้อมาจากบุคคลภายนอกและนำมาขาย ซึ่งอาจจะขายปลีกหรือขายส่งก็ได้ เช่น ห้างสรรพสินค้าแม็คโครห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส ร้านขายเสื้อผ้าสำเร็จรูป ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ร้านขายเฟอร์นิเจอร

แนวคิด

แนวคิดเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า

1.1 ประเภทของธุรกิจการค้าและความหมายของสินค้า

1.1.1 ประเภทของธุรกิจการค้า

ประเภทของธุรกิจการค้า หมายถึง หน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด แบ่งออกตามกิจกรรมในการประกอบธุรกิจได้ 3 ประเภท

1. ธุรกิจให้บริการ (Service Business) ธุรกิจประเภทนี้เน้นการให้บริการหรือขายบริการไม่ได้จำหน่ายสินค้า เช่น กิจการธนาคาร กิจการประกันภัย ธุรกิรโรงแรม ร้านเสริมสวย โรงภาพยนตร์ ร้านซักรีด สำนักงานจัดหางาน กิจการรับทำบัญชี เป็นต้น ธุรกิจบริการมีหน้าที่ให้บริการแก่ลูกค้า ส่วนลูกค้าได้ใช้ประโยชน์จากบริการแล้วต้องจ่ายชำระเงินค่าบริการหรือหากยังไม่ชำระเงินอาจจะขอสินเชื่อจากผู้ให้บริการ ลูกค้าจะมีฐานะเป็นลูกหนี้ของกิจการ รายได้ของกิจการคือรายได้จากการให้บริการ ส่วนค่าใช้จ่ายคือต้นทุนในการให้บริการและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

2. ธุรกิจพาณิชยกรรม หรือธุรกิจซื้อมาขายไป (Merchandising Business) ธุรกิจประเภทนี้มิได้ผลิตสินค้าเองแต่จะซื้อสินค้าสำเร็จรูปจากผู้ผลิตหรือโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อจัดจำหน่าย โดยทั่วไปเรียกว่า ธุรกิจซื้อมาขายไป ได้แก่ ร้านขายของชำ ร้านขายเสื้อผ้าสำเร็จรูป ห้างสรรพสินค้า ร้านขายเฟอร์นิเจอร์ ร้านขายหนังสือ เป็นต้น

กระบวนการซื้อขายสินค้า จะเริ่มจากธุรกิจซื้อมาขายไปซื้อสินค้าจากผู้ผลิตมาขายอาจจะเป็นการซื้อสินค้าเป็นเงินสดหรือซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ หากซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อจะมีเจ้าหนี้การค้าเกิดขึ้นซึ่งต้องจ่ายชำระหนี้ในอนาคต หากชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดก็จะได้รับส่วนลดจากการซื้อ และในการซื้อสินค้า หากภายหลังสินค้าชำรุดหรือคุณภาพไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ ผู้ซื้อสามารถส่งคืนสินค้าให้ผู้ผลิตได้ สำหรับการขายสินค้าให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าเป็นเงินสดหรือขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อจะมีลูกหนี้การค้าเกิดขึ้น และต้องชำระหนี้ในภายหลัง ผู้ขายมักจะกำหนดเงื่อนไขในการชำระหนี้โดยการให้ส่วนลดจากการขาย และหากสินค้าชำรุดหรือคุณภาพไม่ตรงกับที่ซื้อ ลูกค้าจะส่งคืนสินค้าให้ผู้ขาย ผู้ขายเรียกว่าการรับคืนสินค้า รายได้ของกิจการ คือ รายได้จากการขายสินค้าและค่าใช้จ่ายคือต้นทุนสินค้าที่ขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

ธุรกิจ

ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing Business)

เป็นกิจการที่ทำการผลิตสินค้าสำเร็จรูปเพื่อจำหน่าย ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป โรงงานสิ่งทอ โรงงานผลิตน้ำตาล โรงงานผลิตรถยนต์ เป็นต้น กระบวนการธุรกิจอุตสาหกรรม เริ่มต้นจากผู้ผลิตซื้อวัตถุดิบจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบนำมาผ่านกระบวนการผลิต มีการจ้างแรงงานเข้ามาในกระบวนการผลิต และใช้วัสดุ/ค่าใช้จ่ายในการผลิตป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตจนเป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้วนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าต่อไป หลังจากนั้นก็ปฏิบัติตามกระบวนการในการซื้อขาย สินค้าตามที่กล่าวมาแล้ว รายได้ของธุรกิจอุตสาหกรรม คือ รายได้จากการขายสินค้าและค่าใช้จ่าย คือ ต้นทุนขาย ซึ่งมาจากต้นทุนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป

สินค้า (Merchandise) หมายถึง สิ่งของที่กิจการมีไว้จำหน่ายเพื่อหากำไร ในทางบัญชีเรียกว่า " สินค้าคงเหลือ (Inventory) " เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการ

ระบบการบันทึก

การบันทึก

ระบบบัญชี

การบันทึกระบบบัญชี

ระบบการบันทึกบัญชีสินค้าเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory System) กิจการจะไม่มีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าในแต่ละครั้ง ฉะนั้นระบบการลงบัญชีแบบ Periodic ยอดคงเหลือยกมาในบัญชีสินค้าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนกว่าจะสิ้นงวดบัญชีเพราะเมื่อมีการซื้อสินค้าเพิ่มเติมในระหว่างงวดจะลงรายการไว้ในบัญชีซื้อสินค้าและเมื่อขายสินค้าจะลงบัญชีขายสินค้า ดังนั้นกิจการ จึงจำเป็นต้องทำการตรวจนับสินค้าในวันสิ้นงวดบัญชี เพื่อนำไปคำนวณต้นทุนขาย ระบบบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวดเหมาะสำหรับสินค้าคงเหลือที่มีปริมาณมากและต้นทุนต่อหน่วยต่ำ ในปัจจุบันกิจการที่เลือกการบันทึกบัญชีสินค้าแบบตรวจนับสินค้าสิ้นงวดนั้น อาจหาเครื่องมือหรือเทคโนโลยีมาช่วยในการบันทึกรายการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เครื่องอ่านแถบรหัส (Bar Code) เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ ทำให้การบันทึกบัญชีสินค้าเข้าออกนั้นทำได้กับสินค้าหน่วยย่อยเหมือนกับใช้วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง นอกจากนี้ตามหลักเกณฑ์กฎหมายภาษีอากรต้องมีการจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ สำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยังบังคับให้บันทึกรายการบัญชีให้เป็นปัจจุบัน (Up to date) ภายใน 3 วันทำการ จึงทำให้ระบบการบันทึกบัญชีสินค้าแบบ Periodic ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดดังกล่าว จึงอาจต้องบันทึกโดยใช้วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่องควบคู่กันไปด้วย

สินค้าแบบ

ต่อเนื่อง

ระบบการบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง

เป็นการบันทึกบัญชีซื้อขายสินค้าหรือการรับจ่ายสินค้าอย่างต่อเนื่องและบันทึกบัญชีต้นทุนขายทุกครั้งที่เกิดรายการขายสินค้า จะมีการจัดทำบัญชีสต๊อกการ์ดแสดงปริมาณ ราคาต่อหน่วย และราคารวมของสินค้าที่ซื้อขายถ้าต้องการทราบสินค้าคงเหลือในวันใดวันหนึ่งก็สามารถคำนวณได้โดยรวมยอดคงเหลือครั้งหลังสุดในสต๊อกการ์ดทุกสินค้าเข้าด้วยกันแต่วิธีนี้มีข้อจำกัดคือการบันทึกบัญชีสต๊อกการ์ดจะทำให้เป็นการเพิ่มภาระในการบันทึกบัญชีอย่างมากจึงเหมาะสำหรับธุรกิจที่จำหน่ายสินค้าราคาค่อนข้างสูงและมีปริมาณไม่มากเกินไป อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการนำระบบการลงบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์มาช่วยให้การทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

ส่วนลด

การค้า

ส่วนลดการค้า (Trade Discounts)

ในการซื้อขายสินค้าเป็นเงินสดหรือเป็นเงินเชื่อ ราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายกันจะมีการใช้กลยุทธ์ทางการตลาด โดยการให้ส่วนลดปริมาณในการซื้อสินค้าด้วยเงินสดจำนวนมาก เช่น ลดราคาให้ 10% จากการซื้อสินค้า 10,000 บาท และลดให้อีก 5% สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท หรือในกรณีซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ 30,000 บาทขึ้นไปจะให้ส่วนลดการค้า 10%

ส่วนลดเงินสด

ส่วนลดเงินสด

ส่วนลดเงินสด (Cash Discount)

ส่วนสดที่เกิดจากการซื้อขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ ซึ่งผู้ขายจะมีการกำหนดเงื่อนไขการชำระเงิน (Credit Term หรือ Term of Payment) ไว้ในเอกสารการซื้อขายสินค้า โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 30 - 60 วัน และเพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้าเร็วขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ด้วยการให้ส่วนลด ซึ่งเรียกว่า ส่วนลดเงินสด (Cash Discount) เงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้า (Credit Terms) ที่นิยมใช้กันมีดังนี้

2/10,n/30 หมายความว่า ผู้ซื้อสามารถชำระหนี้ได้ภายใน 30 วัน หากมาชำระภายใน 10 วัน นับจากวันที่ในใบกำกับภาษี จะได้รับส่วนลด 2%

1/15,n/45 หมายความว่า ผู้ซื้อสามารถชำระหนี้ได้ภายใน 45 วัน หากมาชำระภายใน 15 วัน นับจากวันที่ในใบกำกับภาษี จะได้รับส่วนลด 1%

2/10,EOM. (End month) หมายความว่า ให้ผู้ซื้อชำระหนี้ภายในสิ้นเดือนของเดือนถัดไป แต่ถ้าผู้ซื้อชำระหนี้ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป จะได้รับส่วนลด 2%

2/10 EOM,n/60 หมายความว่า ให้ผู้ซื้อชำระหนี้ภายใน 60 วันนับจากวันที่ปรากฏในใบกำกับภาษี แต่ถ้าชำระหนี้ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดจากเดือนที่ซื้อสินค้าจะได้ส่วนลด 2%

การนับวันครบกำหนด

ชำระหนี้

การนับวันครบกำหนดชำระหนี้

วันครบกำหนดชำระหนี้เป็นเงื่อนไขที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันไว้ล่วงหน้า เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการบริหารการเงินของกิจการ สำหรับผู้ซื้อสามารถใช้ในการวางแผนการจัดหาเงินมาชำระหนี้ให้ทันเวลาและเพื่อรักษาผลประโยชน์

ของกิจการที่จะขอรับส่วนลดเงินสดถ้ามีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ ทางด้านผู้ขายจะเป็นประโยชน์ที่สามารถประมาณการเงินสดรับล่วงหน้าในอนาคตได้ และสามารถเตรียมการทวงถามหรือติดตามทวงหนี้ได้อย่างถูกต้อง

การนับวันครบกำหนดชำระหนี้ให้เริ่มนับถัดจากวันที่มีการซื้อขายสินค้าเป็นวันที่ 1 จนครบกำหนดเวลาหรืออาจใช้ขั้นตอนดังนี้คือ

1นำวันสุดท้ายของเดือนที่มีการซื้อขายสินค้าเป็นตัวตั้ง

2นำวันที่มีการซื้อขายสินค้ามาหักออก

3นำวันที่ขาดอยู่ของเดือนมาบวกเข้าไปเรื่อยๆ จนครบกำหนดตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน

คำนวน

ส่วนลดเงินสด

การคำนวณส่วนลดเงินสด

การคำนวณส่วนลดเงินสดมีผลต่อการบันทึกบัญชี เนื่องจากกิจการได้บันทึกบัญชีเจ้าหนี้ไปแล้วจำนวนหนึ่ง แต่เมื่อมีการจ่ายชำระหนี้จริงๆ ทำให้จ่ายชำระหนี้น้อยกว่าที่ซื้อ ส่วนลดนี้ผู้ขายจะเรียกว่า "ส่วนลดจ่าย" หรือ "ส่วนลดขาย" เป็นบัญชีประเภทค่าใช้จ่ายของกิจการ ส่วนทางด้านผู้ซื้อเรียกว่า "ส่วนลดรับ"หรือ "ส่วนลดซื้อ" เป็นบัญชีประเภทรายได้ของกิจการ การคำนวณส่วนลดเงินสด กรณีที่กิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะไม่นำภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมในการคำนวณส่วนลด จะคืดเฉพาะราคาสินค้าเท่านั้น

ค่าขนส่งสินค้า

ค่าขนส่งสินค้า

การจำหน่ายสินค้าระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายนั้น จะมีภาระเรื่องของค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้องค่าขนส่งที่จ่ายนี้ หากผู้ซื้อเป็นผู้รับผิดชอบ ผู้ซื้อจะถือเป็นต้นทุนของสินค้าที่ซื้อ หากผู้ขายรับผิดชอบ ผู้ขายจะถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ ค่าขนส่งสินค้าแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. ค่าขนส่งเข้า (Freight in) คือ ค่าขนส่งที่ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระการจ่าย เพื่อซื้อสินค้ามาขาย ซึ่งถือเป็นต้นทุนขายของกิจการ จะบัญทึกบัญชีดังนี้

เดบิต ค่าขนส่งเข้า..............................................XX

เครดิต เงินสด................................................XX

เงื่อนไขการจ่ายค่าขนส่งสินค้า F.O.B Shipping Point (Free on board at the shipping point) หมายถึง ค่าขนส่งที่กำหนดเงื่อนไขส่งมอบต้นทางให้ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายค่าขนส่ง นับจากที่ผู้ขายได้ขนสินค้าึ้นรถบรรทุก ขนสินค้าขึ้นบนเรือ หรือบนเครื่องบินเรียบร้อยแล้วถือว่ากรรมสิทธิ์ในสินค้าเป็นของผู้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบค่าขนส่งทั้งหมด เรียกว่า "ค่าขนส่งเข้า" จะบันทึกบัญชีดังนี้

รูปแบบของกิจการซื้อขายสินค้า

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

กิจการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นผู้อยู่นอกระบบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อขายสินค้าหรือให้บริการไปจึงไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ในการซื้อสินค้ามาขายหรือซื้อสินทรัพย์มาใช้ในการประกอบการ จะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนกิจการที่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่

1ผู้ประกอบการที่มีรายรับ จากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

2ผู้ประกอบการที่ขายสินค้า หรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

3ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร

4ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 43) ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2536

5ผู้ประกอบการอื่น ตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร

กิจการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะไม่สามารถเรียกเก็บภาษีขายจากผู้ซื้อสินค้าได้ จะขายสินค้าตามมูลค่าที่ปรากฏตามราคาขายปกติ หากซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดภาษีซื้อไม่สามารถนำมาขอคืนจากกรมสรรพากรได้ เช่น กิจการขายสินค้า 10,000 บาท สามารถเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจำนวน 10,000 บาท แต่หากกิจการไปซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 10,000 บาท ต้องจ่ายเงินทั้งสิ้น 10,700 บาท จะถูกเรียกเก็บภาษีซื้ออีก 7% คือ จำนวน 700 บาท ภาษีซื้อนี้ไม่สามารถไปขอคืนจากกรมสรรพากรได้

กิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กิจการค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง กิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้า หรือให้บริการเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี ผู้ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในแต่ละขั้นตอนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อเมื่อได้ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพซึ่งเรียกว่า "ผู้ประกอบการจดทะเบียน" ผู้อยู่ในข่ายมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มประกอบด้วย ผู้ผลิต ผู้ขายส่ง ผู้ขายปลีก ผู้ส่งออก ผู้ให้บริการ และผู้นำเข้า ทั้งนี้ไม่ว่าจะประกอบการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท องค์กรของรัฐบาล หรือนิติบุคคลใดๆก็ตามที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1,800,000 ล้านบาทต่อปี สำหรับประเทศไทยได้นำระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้า เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535 การบัญชีที่เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม มีดังนี้

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ ส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่การผลิต การขายส่ง และการขายปลีก ในอัตราร้อยละ 7

ภาษีขาย (Sale Tax) หมายความว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการเมื่อขายสินค้าหรือชำระค่าบริการ หากภาษีขายเกิดขึ้นในเดือนใด ก็ถือเป็นภาษ๊ขายในเดือนนั้น ไม่คำนึงว่าสินค้าที่ขายหรือบริการที่ให้นั้นจะซื้อมาเมื่อใด

ภาษีซื้อ (Purchase Tax) หมายความว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เมื่อซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการ เพื่อใช้ในการประกอบกิจการ หากภาษีซื้อเกิดขึ้นในเดือนใดก็เป็นภาษีซื้อของเดือนนั้น ไม่คำนึงถึงว่าสินค้าที่ซื้อมานั้นจะขายในเดือนใด

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย - ภาษีซื้อ

กิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในวันสิ้นเดือนให้คำนวณภาษีขายและภาษีซื้อในเดือนที่เกิดรายการค้าขึ้น แล้วนำภาษีซื้อหักจากภาษีขายของแต่ละเดือน ถ้าภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ กิจการจะต้องนำผลต่างที่ได้เป็นเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องไปจ่ายชำระให้แก่กรมสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แต่ถ้าภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ผู้ประกอบการสามารถที่จะขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากรได้ จะกล่าวถึงในการปิดบัญชีภาษีซื้อและภาษีขายในหน่วยที่ 2

จดทะเบียนภาษี

มูลค่าเพิ่ม

การบันทึกบัญชีซื้อขายสินค้าสำหรับกิจการที่มิได้

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กิจการซื้อขายสินค้า (Merchandising Business) ธุรกิจซื้อมาขายไปหรือที่เรียกกันว่า Trading นั้นเอง เป็นธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อมาขายไป (Trading Business) เป็นธุรกิจประเภทที่รับสินค้ามาแล้วเอามาเพิ่มราคาและขายต่อเพื่อกินส่วนต่างของราคาสินค้าที่นำมาขาย ราคาของสินค้าขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค สำหรับธุรกิจ ประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก สามารถเริ่มต้นทำได้ง่ายเหมาะสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือแหล่งที่มาของสินค้าของสินค้าว่าสามารถสั่งซื้อมาขายได้จากที่ไหนบ้าง ปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องนำมาพิจารณาในการหาแหล่งสั่งซื้อได้แก่

2.2.1 การซื้อสินค้าเป็นเงินสด เป็นการซื้อสินค้ามาเพื่อขายโดยจ่ายเป็นเงินสดหรือเช็คธนาคารให้แก่ผู้ขายสินค้า จะบันทึกบัญชีสินค้าที่ได้รับมาไว้ใน“บัญชีซื้อสินค้า”ซึ่งเป็นบัญชีรายจ่ายและนำไปคำนวณต้นทุนขายในภายหลัง การบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปจะเป็นดังนี้

เดบิต ซื้อสินค้า..............................................XX

เครดิต เงินสดหรือธนาคาร..............................XX

2.2.2 การซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ เป็นการซื้อสินค้ามาเพื่อขายเป็นเงินเชื่อ จะบันทึกบัญชีซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อไว้เป็นหนี้สินใน "บัญชีเจ้าหนี้การค้า"และบันทึกบัญชีสินค้าที่ได้รับมาไว้ใน "บัญชีซื้อสินค้า" ซึ่งเป็นบัญชีรายจ่ายและนำไปคำนวณตุ้นขายในภายหลัง การบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปจะเป็นดังนี้

เดบิต ซื้อสินค้า..............................................XX

เครดิต เจ้าหนี้การค้า..............................XX

การผ่านรายการ (Posting) ไปบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger)เมื่อบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งเป็นสมุดจดบันทึกรายการขั้นต้น หลังจากนั้นต้องผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทซึ่งถือว่าเป็นสมุดบัญชีขั้นปลาย

(Book of Final Entry) โดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการดังที่ศึกษาแล้วในวิชาการบัญชีเบื้องต้น 1

การผ่านรายการ (Posting) ไปบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger)

เมื่อบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งเป็นสมุดจดบันทึกรายการขั้นต้น หลังจากนั้นต้องผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทซึ่งถือว่าเป็นสมุดบัญชีขั้นปลาย (Book of Final Entry) โดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการดังที่ศึกษาแล้วในวิชาการบัญชีเบื้องต้น 1

การส่งคืนสินค้าที่ซื้อเป็นเงินสด ในกรณีซื้อสินค้ามาแล้วมีปัญหาเกี่ยวกับสินค้า เช่น สินค้ามีคุณลักษณะไม่ตรงตามคำสั่งซื้อ หรือมีปัญหาด้านคุณภาพของสินค้า หรือสินค้าชำรุด ผู้ซื้อจะส่งสินค้าคืนโดยผู้ขายยอมคืนเงินให้ในกรณีซื้อเป็นเงินสด จะบันทึกลดยอดซื้อสินค้าตั้งเป็นบัญชีใหม่ คือ"บัญชีส่งคืนสินค้า" การบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปจะเป็นดังนี้

เดบิต เงินสด..............................................XX

เครดิต ส่งคืนสินค้า..............................XX

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการขายสินค้า

การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ การจำหน่ายสินค้าเป็นเงินเชื่อเพื่อจูงใจให้ผู้ซื้อซื้อสินค้าจากกิจการ ผู้ขายมักจะให้สินเชื่อ

ในการขายโดยการกำหนดเงื่อนไขการชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และหากมาชำระหนี้เร็วก็จะให้ส่วนลด

การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อทำให้สินทรัพย์เพิ่มจะบันทึกใน บัญชีลูกหนี้การค้า และบันทึกการขายสินค้าเป็นรายได้

การบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปจะเป็นดังนี้

การผ่านรายการ (Posting) ไปบัญชีแยกประเภททั่วไป(General Ledger)

การบันทึกบัญชีซื้อขายสินค้าสำหรับ

กิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

การจดทะเบียน

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ประเทศไทยมีการนำระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT) มาใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535 การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้เป็นผลมาจาก

ปัญหาทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ จากการที่เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ฐานะทางเศรษฐกิจการเงินการคลังของประเทศมั่นคงขึ้นมา

ในขณะที่โครงสร้างภาษีการค้าเดิมของประเทศไทยมีความซ้ำซ้อน ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตนอกจากนี้ในภาครัฐ

ต้องการหารายได้ของรัฐผ่านเครื่องมือทางภาษีการค้าและภาษีศุลกากรอีกด้วยด้วยเหตุผลดังกล่าว กระทรวงการคลัง จึงได้เสนอพิจารณายกเลิก

ภาษีการค้า และนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจะมีอัตราเดียวที่ใช้กับสินค้าและบริการทุกชนิดสำหรับสินค้าใดที่มีเหตุผล

ทางเศรษฐกิจที่จะเก็บสูงกว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มเติมจากภาษีมูลค่าเพิ่มการนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้นี้นับเป็นการเปลี่ยน

แปลงครั้งสำคัญต่อระบบภาษีอากรของประเทศไทยเป็นการปฏิรูปภาษีการค้าครั้งใหญ่ทำ

ให้ระบบภาษีอากรของประเทศมีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเอื้ออำนวยต่อการลงทุนการส่งออก

และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีความซ้ำซ้อนของภาระภาษีดังเช่นภาษีการค้า

นอกจากนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้เกิดความเป็นธรรมและความสะดวกซ้ำซ้อนของภาระภาษีดังเช่นภาษีการค้า

ผู้ประกอบการที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็น

ปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใดๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยคำนวณภาษี

ที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ

ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1) ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8ล้านต่อปี

2) ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

3) ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร

4) ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว

ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

(ฉบับที่ 43) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม 2536

5) ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้

1) ผู้ประกอบกิจการ ขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์

ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยาสาร หรือตำราเรียน ฯลฯ

2) ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน

1.8 ล้านบาทต่อปี

3) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร โดยอากาศยาน

4) การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

5) การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

ภาษี

ภาษี

ภาษีขาย (Output Tax)

หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บ

จากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือรับค่าบริการรวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษี

มูลค่าเพิ่มมีหน้าที่เสียภาษีในกรณีที่เป็นการขายสินค้า ทั้งนี้ให้รวมถึง

- การนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใดๆ เว้นแต่นำไปใช้ในการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง

- มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

- มีสินค้าคงเหลือ หรือสินทรัพย์ที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ณ

วันเลิกประกอบกิจการ หรือวันที่ได้รับแจ้งคำสั่งถอนหรือวันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีซื้อ (Input Tax)

หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถูกผู้ประกอบการจดทะเบียน

ภาษีมูลค่าเพิ่มอื่นเรียกเก็บจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเอง และให้หมาย

ความรวมถึง

-ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เสียเมื่อนำเข้าสินค้า

- ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เสียเมื่อรับโอนสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ใน

ภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

กิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) คือผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน

1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 เมื่อขายสินค้า จะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อ

เรียกว่า “ภาษีขาย” (Sale Tax หรือ Output Tax ) เป็นบัญชีประเภทหนี้สินของกิจการเพราะจะต้องนำภาษีขายส่งกรม

สรรพากร และเมื่อซื้อสินค้าจากผู้ขายที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องนำจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ขาย เรียกว่า “ภาษีซื้อ”

(Purchase Tax หรือ Input Tax ) เป็นบัญชีประเภทสินทรัพย์ของกิจการ ภาษีซื้อสามารถขอคืนจากกรมสรรพากรได้ การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน

โดยนำภาษีขาย – ภาษีซื้อ

เดือนใดภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อต้องชำระเพิ่มให้กรมสรรพากร หากเดือนใดภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายสามารถขอคืน

ได้จากกรมสรรพากรได้

1. ใบสั่งซื้อ (Purchase Order) พิจารณาตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าจากผู้เสนอราคาที่คุณภาพดีและราคาถูก จึงออกใบสั่ง

ซื้อซึ่งผู้ซื้อจะทำขึ้นอย่างน้อย 2 ฉบับ (ต้นฉบับและสำเนา) โดยระบุประเภทชนิด ปริมาณของสินค้า ต้นฉบับส่ง

ให้ผู้ขายเพื่อเป็นหลักฐานการสั่งซื้อ สำเนาเก็บไส้เพื่อเป็นหลักฐานของผู้ซื้อ ใบสั่งซื้อเป็นเอกสารที่ไม่ได้นำมา

บันทึกรายการทางบัญชี เพราะยังไม่ได้มีการตกลงซื้อขายกันจริง ผู้ซื้อยังไม่ได้รับสินค้าตามใบสั่งซื้อ ถือว่าการ

ซื้อยังไม่ได้เกิดขึ้น

2. ใบกำกับภาษี/ใบส่งของ/ใบกำกับสินค้า (Tax Invoice/Delivery Invoice/Invoice)เป็นเอกสารที่ผู้ขายสินค้าจัดทำขึ้น

เพื่อส่งไปให้ผู้ซื้อพร้อมกับการส่งสินค้าไปให้เพื่อทำการตรวจนับ โดยปกติจะต้องทำขึ้นอย่างน้อย 2 ฉบับ (ต้นฉบับ

และสำเนา) ในกรณีขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ ผู้ประกอบการอาจใช้ใบส่งของและใบกำกับภาษีให้อยู่ในฉบับเดียวกันได้

หรือในกรณีขายสินค้าเป็นเงินสด ผู้ประกอบการอาจปรับปรุงใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีเพื่อใช้เป็นฉบับเดียวกันได้

การบันทึกบัญชีเกี่ยว

กับการซื้อสินค้า

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อสินค้า

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อสินค้า

รายการเกี่ยวกับการซื้อสินค้าและรายงานภาษีซื้อ มีรายการดังนี้

3.3.1 การซื้อสินค้าเป็นเงินสด กิจการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดหรือเป็นเช็คธนาคาร

ต้องบันทึกการจ่ายเงินสดหรือเงินฝากธนาคาร และบันทึกใน “บัญชีซื้อสินค้า” และ “บัญชีภาษีซื้อ” สามารถแสดงการบัน

ทึกในสมุดรายวันทั่วไปได้ดังนี้

เดบิต ซื้อสินค้า..............................................XX

ภาษีซื้อ................................................XX

เครดิต เงินสดหรือธนาคาร..............................XX

3.3.2 การซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ กิจการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินเชื่อ

ต้องบันทึกการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ“บัญชีเจ้าหนี้การค้า” และบันทึกใน “บัญชีซื้อสินค้า” และ “บัญชีภาษีซื้อ”

สามารถแสดงการบันทึกในสมุดรายวันทั่วไปได้ดังนี้

เดบิต ซื้อสินค้า..............................................XX

ภาษีซื้อ................................................XX

เครดิต เจ้าหนี้การค้า.........................................XX

3.3.3 การส่งคืนสินค้าที่ซื้อเป็นเงินสด กรณีซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด

หากมีสินค้าชำรุด หรือคุณภาพไม่ตรงตามคำสั่งซื้อ ผู้ซื้อจะส่งสินค้าคืนให้ผู้ขายและมีการคืนเงินให้กับผู้ซื้อสินค้าในส่วนที่

ส่งคืน โดยถือเป็นการลดยอดซื้อจะบันทึกใน “บัญชีส่งคืนสินค้า” และลดยอด

“บัญชีภาษีซื้อ” การบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปดังนี้

เดบิต ซื้อสินค้า..............................................XX

เครดิต ส่งคืนสินค้า...........................................XX

ภาษีซื้อ..................................................XX

3.5.3 ภาษีซื้อต้องห้าม ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินทรัพย์ หรือการจ่ายค่าใช้จ่ายตามที่กล่าวมาแล้ว กฎหมายประมวลรัษฎากรได้กำหนดเกี่ยวกับภาษีซื้อที่ต้อง

ห้าม (Unclaimed Vat) ไว้หลายรายการ ดวงสมร อรพินท์ และคณะ (2552 : 188-189) ได้ให้ความหมายของภาษีซื้อต้องห้าม (Unclaimed Vat) หมายถึงภาษีที่ผู้ประ

กอบการไม่สามารถขอคืนเงินหรือนำไปเครดิตภาษีขายได้ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของค่าใช้จ่ายในแม่บทการ

บัญชีด้วย ได้แก่

1. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการ ได้แก่ ภาษีซื้อที่ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อ

กำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ เช่น ซื้อคอมพิวเตอร์บริจาคให้กรมตำรวจ เป็นต้น

2. ใบกำกับภาษีไม่สมบูรณ์ ใบกำกับภาษีอย่างย่อ โดยขาดส่วนประกอบที่สำคัญของใบกำกับภาษี

3. ภาษีซื้อจากค่ารับรอง

4. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน รวมทั้งภาษีซื้อ

ในสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าน้ำมัน ค่าซ่อมแซมรถยนต์ที่นั่ง (ไม่รวมรถยนต์ที่มีไว้ขายหรือให้เช่า)

5. ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารอสังหาริมทรัพย์อื่น ที่นำไปเครดิต/ขอคืนแล้วและต่อมาได้ขาย/ให้เช่า/นำไป

ใช้ในกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้กระทำภายใน 3 ปี นับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จ

6. ภาษีซื้อจากใบกำกับภาษี ที่ไม่ได้จัดทำขึ้นตามวิธีการตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากร

3.5 การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับซื้อสินทรัพย์และค่าใช้จ่ายในกรณีอื่นๆ

3.5.1 การซื้อสินทรัพย์จากกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การซื้อสินทรัพย์ เช่น เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สำนักงาน วัสดุสำนักงาน ฯลฯ จากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ซื้อจะต้องจ่ายชำระภาษีซื้อเพิ่มขึ้นอีก 7% ของราคาสินทรัพย์เช่นเดียวกับการซื้อสินค้ามาเพื่อขาย การบันทึกบัญชีจะ

แสดงได้ดังนี้

เดบิต สินทรัพย์...........................XX

ภาษีซื้อ..............................XX

เครดิต เงินสด.....................................XX

3.5.2 การจ่ายค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การจ่ายค่าใช้จ่ายบางรายการ เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ การจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่กิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตาม

กฎหมายนั้น ผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยถือเป็นภาษีซื้อของกิจการค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้อง

บันทึกบัญชีสแดงเป็นภาษีซื้อ ดังนี้

เดบิต ค่าใช้จ่าย...........................XX

ภาษีซื้อ..............................XX

เครดิต เงินสด.....................................XX

การปิดบัญชีภาษี

ซื้อและภาษีขาย

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 จะต้องนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากรายได้และค่าใช้จ่ายมาคำนวณ

หาจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเพิ่มเติม หรือการใช้สิทธิในการขอคืนภาษีที่กิจการได้จ่ายไปเป็นรายเดือนตามปี

ปฏิทินเดือนละ 1 ครั้ง ทุก ๆ สิ้นเดือนผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องจัดทำรายงานภาษีและรายงานภาษีขายที่เกิดขึ้น

ในแต่ละเดือน และจะต้องยื่นแบบแสดงรายการ (แบบภ.พ. 30) ส่งกรมสรรพากรเป็นรายเดือนไม่ว่าการขายสินค้าหรือ

บริการจะเกิดขึ้นในเดือนภาษีหรือไม่ เพื่อนำภาษีส่งหรือขอคืน โดยยื่นกรมสรรพากรภายในวันที 15 ของเดือนถัดไป

การขอคืนภาษีจะขอคืนเป็นเงินสดหรือเครดิตยกจำนวนไปหักออกจากภาษีที่ต้องชำระในเดือนถัดไปก็ได้ ในวันสิ้น

เดือนผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม0 จะบันทึกรายการปิดบัญชีภาษีซื้อและภาษีขายแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้

3.6.1 กรณีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ในเดือนที่ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากร ดังตัวอย่างต่อไปนี้

เดือนมีนาคม 25X6 กิจการค้าขายสินค้าไปทั้งสิ้น 120,000 บาท และซื้อสินค้ามาเพื่อขายจำนวน 80,000 บาท การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

จะเป็นดังนี้

ภาษีขาย = 120,000 x 7% = 8,400 บาท

ภาษีซื้อ = 80,000 x 7% = 5,600 บาท

ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ

ดังนั้นเดือน มี.ค. กิจการจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากร = 8,400 - 5,600 = 2,800 บาท

และภายในวันที่ 15 เม.ย. 25X6 จะต้องนำเงินภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 2,800 บาท ไปยื่นชำระที่กรมสรรพากร

การบันทึกรายการปิดบัญชีภาษีซื้อและภาษีขาย

1. โอนปิดบัญชีภาษีซื้อ ภาษีขายไปบัญชีเจ้าหนี้-กรมสรรพากร

เดบิต ภาษีขาย..............................................8,400

เครดิต ภาษีซื้อ.....................................................5,600

เจ้าหนี้-กรมสรรพากร................................2,800

2. ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป จะต้องนำเงินภาษีมูลค่าเพิ่มไปชำระให้กรมสรรพากร

เดบิต เจ้าหนี้-กรมสรรพากร...........................2,800

เครดิต เงินสด.....................................................2,800

3.6.2 กรณีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย

ในเดือนที่ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร

ดังตัวอย่างต่อไปนี้

เดือนพฤษภาคม 25X6 กิจการค้าขายสินค้าไปทั้งสิ้น 120,000 บาท และซื้อสินค้ามาเพื่อขายจำนวน 180,000 บาท

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นดังนี้

ภาษีขาย = 120,000 x 7% = 8,400 บาท

ภาษีซื้อ = 180,000 x 7% = 12,600 บาท

ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ

ดังนั้นเดือนพ.ค. กิจการมีสิทธิ์ที่จะยื่นขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร = 8,400 - 12,600= 4,200 บาท

และภายในวันที่15มิ.ย.25X6สามรถไปยื่นขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 4,2บาท ดังนั้นภายในวันที่ 15 มิ.ย. 25X6 สามารถไปยื่นขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 4,200 บาท

การบันทึกรายการปิดบัญชีภาษีซื้อและภาษีขาย

1. โอนปิดบัญชีภาษีซื้อ ภาษีขายไปบัญชีลูกหนี้-กรมสรรพากร

เดบิต ภาษีขาย..............................................8,400

ลูกหนี้-กรมสรรพากร...........................2,800

เครดิต ภาษีซื้อ.....................................................12,600

2. ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป สามารถขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร

เดบิต เงินสด...................................................2,800

เครดิต ลูกหนี้-กรมสรรพากร...................................2,800

3.7 งบทดลอง

งบทดลอง (Taial Balance) คือ งบที่ทำขึ้นเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของการบันทึกบัญชีตั้งแต่การบันทึกรายการค้าในสมุด

รายวันทั่วไปการผ่านรายการจากสมุดรายวันทั่วไปไปบัญชีแยกประเภทและการหายอดคงเหลือด้วยดินสอในบัญชีแยกประเภททุกบัญชีนำผลต่างในบัญชีแยกประเภททุกบัยชีที่มียอดดุลด้านแดบิตและยอดดุลด้านเครดิตมาจัดทำงบทดลองผลรวมด้วนเดบิตของทุกบัญชี จะต้องเท่ากับผลรวมด้านเครดิตในงบทดลอง

Follow

Aummee Buttakul

https://prezi.comview/8CPJe9CePECBSzLcuPJd/

การปรับปรุงบัญชี

ปรับปรุงบัญชี

รายการปรับปรุงบัญชี (Adjusting Entries)

ขั้นตอนในการบันทึกรายการทางบัญชี ที่เริ่มจากการบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไปหรือสมุดรายวันเฉพาะ

ผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภททั่วไป และบัญชีแยกประเภทย่อยรายตัวลูกหนี้ รายตัวเจ้าหนี้ หายอดคงเหลือในบัญชี

ต่างๆ แล้วนำมาจัดทำงบทดลอง เพื่อเตรียมที่จะจัดทำงบแสดงฐานะการเงินต่อไปนั้น ในวันสิ้นงวดบัญชีมักจะมีบัญชี

รายได้ ค่าใช้จ่าย สินทรัพย์ หรือหนี้สินบางรายการที่ตัวเลขยังไม่เป็นปัจจุบันเนื่องจากการคาบเกี่ยวในการทำดำเนินงาน

ระหว่างปีก่อน ปีปัจจุบันและปีหน้า เพราะฉะนั้นก่อนจัดทำงบแสดงฐานะการเงินต้องจัดทำรายการปรับปรุงบัญชี

เพื่อให้ได้ตัวเลขที่ถูกต้องเป็นของงวดปัจจุบันจริงเท่านั้น

รายการปรับปรุงบัญชี (Adjusting Entries) หมายถึง การปรับรายการที่บันทึกในวันสิ้นงวดบัญชี เพื่อแก้ไข

เปลี่ยนแปลงรายได้และค่าใช้จ่ายที่ได้บันทึกไว้ในระหว่างงวดบัญชีให้ถูกต้อง ก่อนที่จะนำยอดคงเหลือไปสรุปผลใน

งบกำไรขาดทุน ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายได้และค่าใช้จ่ายบางรายการมีผลกระทบต่อสินทรัพย์ และหนี้สินของ

กิจการด้วย

รายการปรับปรุงบัญชีจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ การปรับปรุงบัญชีประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย และการปรับปรุง

บัญชีประเภทสินทรัพย์ ดังนี้

1. การปรับปรุงบัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย ได้แก่

1.1 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses)

1.2 ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses)

1.3 รายได้ค้างรับ (Accrued Income)

1.4 รายได้รับลวงหน้า (Deferred Income)

2. การปรับปรุงบัญชีประเภทสินทรัพย์ ได้แก่

2.1 ค่าเสื่อมราคา (Depreciation)

2.2 หนี้สงสัยจะสูญและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful Accounts and Allowance for Doubtful Account)

2.3 วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป (Supplies Used)

4.1.2 การปรับปรุงประเภทค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายของกิจการเมื่อถึงกำหนดการจ่ายค่าใช้จ่ายแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้ไปจ่ายงินอาจจะเนื่องมาจากมีความ

ไม่ลงตัวของเงื่อนไขการจ่ายเงิน เช่น ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ถึงกำหนดจ่าย ณ วันที่กิจการปิดบัญชีปกติคือ

วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปีจึงถือเป็นดอกเบี้ยค้างจ่าย หรือค่าสาธารณูปโภคซึ่งกิจการใช้ประโยชน์แล้ว แต่ยังไม่

ได้เรียกเก็บเงินถือเป็นค่าสาธารณูปโภคค้างจ่าย ในวันสิ้นปีจึงต้องทำรายการปรับปรุงบัญชีโดยใช้หลักเกณฑ์พึงรับ

พึงจ่ายในการบันทึกบัญชี

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses)

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วในงวดบัญชีปัจจุบันแต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน กิจการจะจ่าย

เงินในงวดบัญชีต่อไป ถือเป็นหนี้สินของกิจการในงวดบัญชีปัจจุบัน จะต้องบันทึกบัญชีโดยเดบิตค่าใช้จ่าย และเครดิต

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

เดบิต ค่าใช้จ่าย..............................................XX

เครดิต ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย...................................XX

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses)

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses) คือ ค่าใช้จ่ายที่จ่ายในงวดบัญชีปัจจุบันแต่ได้รวมค่าใช้จ่ายของงวดบัญชี

ปีหน้าส่วนหนึ่งไว้ด้วยจำนวนที่ใช้ประโยชน์ในปีปัจจุบันถือเป็นค่าใช้จ่าย อีกจำนวนหนึ่งจะใช้ประโยชน์ในงวดบัญชี

ปีหน้าถือเป็นสินทรัพย์เรียกว่า ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า การบันทึกบัญชีสามารถบันทึกได้ 2 กรณี ดังนี้

หลักการปรับปรุงบัญชี วิธีนี้ต้องปรับปรุงเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (สินทรัพย์) และการนับระยะเวลาต้องเป็นของปีหน้า

(1 ม.ค. ของปีหน้า - วันครบสัญญา)

4.1.2 การปรับปรุงประเภทค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายของกิจการเมื่อถึงกำหนดการจ่ายค่าใช้จ่ายแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้ไปจ่ายงินอาจจะเนื่องมาจากมีความ

ไม่ลงตัวของเงื่อนไขการจ่ายเงิน เช่น ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ถึงกำหนดจ่าย ณ วันที่กิจการปิดบัญชีปกติคือ

วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปีจึงถือเป็นดอกเบี้ยค้างจ่าย หรือค่าสาธารณูปโภคซึ่งกิจการใช้ประโยชน์แล้ว แต่ยังไม่

ได้เรียกเก็บเงินถือเป็นค่าสาธารณูปโภคค้างจ่าย ในวันสิ้นปีจึงต้องทำรายการปรับปรุงบัญชีโดยใช้หลักเกณฑ์พึงรับ

พึงจ่ายในการบันทึกบัญชี

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses)

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วในงวดบัญชีปัจจุบันแต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน กิจการจะจ่าย

เงินในงวดบัญชีต่อไป ถือเป็นหนี้สินของกิจการในงวดบัญชีปัจจุบัน จะต้องบันทึกบัญชีโดยเดบิตค่าใช้จ่าย และเครดิต

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

เดบิต ค่าใช้จ่าย..............................................XX

เครดิต ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย...................................XX

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses)

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses) คือ ค่าใช้จ่ายที่จ่ายในงวดบัญชีปัจจุบันแต่ได้รวมค่าใช้จ่ายของงวดบัญชี

ปีหน้าส่วนหนึ่งไว้ด้วยจำนวนที่ใช้ประโยชน์ในปีปัจจุบันถือเป็นค่าใช้จ่าย อีกจำนวนหนึ่งจะใช้ประโยชน์ในงวดบัญชี

ปีหน้าถือเป็นสินทรัพย์เรียกว่า ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า การบันทึกบัญชีสามารถบันทึกได้ 2 กรณี ดังนี้

หลักการปรับปรุงบัญชี วิธีนี้ต้องปรับปรุงเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (สินทรัพย์) และการนับระยะเวลาต้องเป็นของปีหน้า

(1 ม.ค. ของปีหน้า - วันครบสัญญา)

หลักการบันทึกบัญชี

เดบิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า....................................XX

เครดิต ค่าใช้จ่าย.................................................XX

4.1.3 การปรับปรุงบัญชีประเภทรายได้

เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ และคณะ (2550 : 130) ได้ให้ความหมายของรายได้ค้างรับ คือ รายได้ที่เกิดขึ้นแล้วในระหว่าง

งวดบัญชี แต่ยังไม่ได้รับเงิน

อดิศร เลาหวณิช และชนงกรณ์ กุณฑลบุตร (2552 : 86) ได้ให้ความหมายของรายได้ค้างรับ คือ รายการที่เกิดจากการ

ที่กิจการให้บริการแก่ลูกค้าไปแล้ว แต่ลูกค้ายังไม่ได้จ่ายเงินจนถึงวันสิ้นงวดบัญชี

สรุป รายได้ค้างรับ (Accrued Income) คือ รายได้ของกิจการที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันแต่ยังไม่ได้รับเงิน จึงต้อง

ปรับปรุงเป็นรายได้ค้างรับ ถือเป็นสินทรัพย์ในงวดบัญชีปัจจุบัน จะบันทึกบัญชีโดย

เดบิต รายได้ค้างรับ.........................................XX

เครดิต รายได้...................................................XX

รายได้รับล่วงหน้า (Deferred Income)

รายได้รับล่วงหน้า (Deferred Income) คือ รายได้ที่ได้รับมาแล้วทั้งหมดในปีปัจจุบัน แต่ได้รวมรายได้ของปีหน้าไว้ด้วย

จำนวนที่เกิดขึ้นตามส่วนในปีปัจจุบันถือเป็นรายได้ ส่วนอีกจำนวนหนึ่งจะเกิดขึ้นในปีหน้าถือเป็นหนี้สินของกิจการ

เรียกว่า รายได้รับล่วงหน้า การบันทึกบัญชีสามารถบันทึกได้ 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 บันทึกบัญชีเป็นรายได้

หลักการปรับปรุงบัญชี วิธีนี้ต้องปรับปรุงรายได้รับล่วงหน้านับระยะเวลาของปีหน้า ( 1 ม.ค. 25X7 - วันครบสัญญา )

เดบิต รายได้.....................................................XX

เครดิต รายได้รับล่วงหน้า.......................................XX

กรณีที่ 2 บันทึกบัญชีเป็นหนี้สิน

หลักการปรับปรุงบัญชี วิธีนี้ต้องปรับปรุงรายได้ที่เป็นของระยะเวลานับปีปัจจุบัน (ตั้งแต่วันที่ทำสัญญา - วันสิ้นงวดบัญชี)

เดบิต รายได้รับล่วงหน้า............................XX

เครดิต รายได้.......................................XX

4.1.4 การกลับรายการบัญชี (Reversing Entries)

นิตยา งามแดน (2552 : 118) ได้ให้ความหมายของการกลับรายการ หมายถึง การบันทึกรายการที่ได้เคยบันทึกไว้ในด้านตรงกันข้าม

ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยกเลิกการบันทึกบัญชีที่เคยทำไว้ให้เกิดความสะดวกในการบันทึกรายการ

การกลับรายการบัญชี หมายถึง การโอนกลับรายการทางบัญชีที่ได้ปรับปรุงไว้แล้วในวันสิ้นงวดบัญชีกลับคืนไปเป็นรายได้และค่าใช้

จ่ายของประเภทนั้นๆ เพื่อให้การบันทึกบัญชีของงวดบัญชีใหม่มีความสะดวก โดยไม่ต้องคำนึงว่ารายได้หรือค่าใช้จ่ายใดเป็นของงวดบัญชี

ใหม่ หรือส่วนใดเป็นของงวดบัญชีก่อน รายการที่ต้องมีการกลับบัญชี ได้แก่

1.ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย บันทึกกลับรายการเพื่อให้การบันทึกบัญชีในงวดบัญชีใหม่สะดวก เมื่อกิจการมีการจ่ายเงินเพื่อค่าใช้จ่ายจะบันทึก

เป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน โดยไม่ต้องคำนึงว่าการจ่ายในนั้นส่วนใดเป็นค่าใช้จ่ายปีก่อนและส่วนใดเป็นค่าใช้จ่ายปีปัจจุบัน

2. ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (กรณีก่อนการปรับปรุงบันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่าย) บันทึกกลับรายการโอนไปเป็นค่าใช้จ่ายตั้้งแต่ต้นงวดบัญชีปัจจุบัน

เพื่อป้องกันการหลงลืมการบันทึกค่าใช้จ่าย

3. รายได้ค้างรับ บันทึกกลับรายการเพื่อให้การบันทึกบัญชีในงวดบัญชีใหม่สะดวกเมื่อกิจการมีการรับเงินรายได้ จะบันทึกเป็นรายได้ทั้ง

จำนวนโดยไม่ต้องคำนึงว่าการรัับเงินนั้นส่วนใดเป็นรายได้ปีก่อนและส่วนใดเป็นรายได้ปีปัจจุบัน

4. รายได้รับล่วงหน้า (กรณีก่อนการปรับปรุงบันทึกไว้เป็นรายได้) บันทึกกลับรายการโอนไปเป็นรายได้ตั้งแต่ต้นงวดบัญชีปัจจุบัน

เพื่อป้องกันการหลงลืมการบันทึกรายได้

ปรับปรุงบัญชี

ประเภทสินทรัพย์

4.2.1 การปรับปรุงค่าเสื่อมราคา (Depreciation) สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนของกิจการ ได้แก่ อาคาร ที่ดิน และอุปกรณ์ที่กิจการใช้ในการดำเนินงานจะเป็นสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 ปี ดังนั้นมูลค่าหรือ

ประโยชน์ในการใช้งานของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนจะลดลงไปทุกปียกเว้นที่ดินเพราะถือว่าที่ดินให้ประโยชน์

แก่กิจการโดยไม่สามารถจำกัดอายุได้โดยปกติเมื่อกิจการซื้อสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนจะบันทึกในบัญชีด้วย

ลาราคาทุนรวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จำเป็นในการที่จะทำให้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนนั้นอยู่ในสภาพที่จะใช้งานได้

ค่าเสื่อมราคา (Depreciation)

มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2552) ได้นิยามความหมายของค่าเสื่อมราคา (Depreciation) หมายถึง การปันส่วนจำนวนที่คิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์อย่างมีระบบตลอดอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์นั้น

ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) หมายถึง การกระจายต้นทุนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีตัวตน (Tangible Fixed Assets)

ยกเว้นที่ดิน หลังจากหักราคาซาก (Salvage Value) (ถ้ามี) ออกไปตามอายุการใช้สินทรัพย์นั้นถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการจะไปปรากฏ

ในงบกำไรขาดทุน ส่วนมูลค่าสินทรัพย์ถาวรที่ลดลงจะเข้าบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม (Accumulated Depreciation) ซึ่งเป็นบัญชีปรับมูลค่า(Valuation Account) ของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนให้เป็นราคาตามบัญชี (Book Value) จะนำไปแสดงการหักจากสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในงบแสดงฐานะการเงิน

การคิดค่าเสื่อมราคา ตามหลักการบัญชีที่รับรองกันโยทั่วไปมีหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมกันโดยทั่วไป คือวิธีเส้นตรง

(Straight Line Method) ซึ่งมีวิธีการคำนวณโดยพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 3 ประการ ดังนี้

1ราคาทุนของสินทรัพย์ (Cost) หมายถึง ราคาสินทรัพย์ที่ซื้อมาบวกด้วยค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ทำให้สินทรัพย์อยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้

2. ราคาเศษซาก (Salvage) หมายถึง ราคาสุทธิของสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจำหน่ายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เมื่อหมดอายุการ

ใช้งานหลังจากหักค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการจำหน่ายสินทรัพย์นั้o

3. อายุการใช้งานโดยประมาณ (Estimated Useful Life) หมายถึง ระยะเวลาที่คาดว่าจะใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

นั้น ซึ่งอาจจะกำหนดเป็นปีที่ใช้งาน ชั่วโมงการทำงาน หรือวิธีอื่นใดตามความเหมาะสมตามหลักการบัญชีที่รับรองกันโดยทั่ว

ไป หรือตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร

4.2.2 การปรับปรุงหนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful debts)

โดยทั่วไปธุรกิจส่วนใหญ่จะมีนโยบายการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อเพื่อเพิ่มยอดขายให้มากที่สุด แต่การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อหรือการให้

เครดิตแก่ลูกค้ามากเกินไป มักจะมีความเสี่ยงในเรื่องการเรียกเก็บเงินไม่ได้ตามนโยบายที่กำหนดไว้ ส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดของ

กิจการ หากมีลูกหนี้การค้าจำนวนมากและหลังจากติดตามทวง ถามหลายครั้งแล้วไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ได้กิจการสามารถตัดลูกหนี้ออก

จากบัญชีเป็นหนี้สูญ ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้

นอกจากนั้นกิจการบางแห่งจะประมาณหนี้สงสัยจะสูญไว้ในบัญชีก่อนที่จะมีหนี้สูญจริงเกิดขึ้นก็สามารถทำได้ ในการศึกษาเรื่องนี้มีบัญชี

ที่ควรทราบเกี่ยวกับการปรับ ปรุงหนี้สงสัยจะสูญ ดังนี้

1. หนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful debts)

วรรณา วงศ์วิวัฒน์ (2549 : 159) ได้กล่าวไว้ว่า หนี้สงสัยจะสูญ หมายถึง ลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ และถือเป็นบัญชี

ปรับมูลค่าที่ตั้งขึ้นเพื่อแสดงเป็นรายการหักจากบัญชีลูกหนี้การค้าในงบแสดงฐานะการเงิน เพื่อให้ยอดคงเหลือเป็นมูลค่าสุทธิของลูกหนี้

การค้าที่คาดหมายว่าจะเก็บเงินได้

2. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance for Doubtful Account)

นิตยา งามแดน (2552 : 112) ได้กล่าวไว้ว่า ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หมายถึง จำนวนที่กันไว้สำหรับลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บเงิน

ไม่ได้

จันทนา สาขากร และศิลปะพร ศรีจั่นเพชร ได้กล่าวไว้ว่า ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หมายถึง บัญชีปรับมูลค่าที่ตั้งขึ้นเพื่อหักจำนวนลูก

หนี้การค้าสำหรับจำนวนที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ ซึ่งทำให้ยอดลูกหนี้ในบัญชีใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

สรุป ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance for Doubtful Account) หมายถึง จำนวนเงินที่กันไว้สำหรับลูกหนี้ที่คาดว่า

จะเรียกเก็บไม่ได้ ถือเป็นบัญชีปรับมูลค่าสินทรัพย์ จะแสดงหักจากบัญชีลูกหนี้ในงบแสดงฐานะการเงิน

3. หนี้สูญ (Bad debt)

หนี้สูญ (Bad debt) หมายถึง ลูกหนี้การค้าของกิจการที่ได้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้วแต่ไม่ได้รับชำระหนี้ จึงตัด

จำหน่ายออกจากบัญชีถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ

การประมาณหนี้สงสัยจะสูญ กิจการค้าที่มีการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อจำนวนมากๆในแต่ละปี หรือสถาบันการเงินที่ให้เครดิต

เงินกู้แก่ลูกค้าเป็นจำนวนมาก จะนิยมทำการประมาณการหนี้สงสัยจะสูญเอาไว้ในบัญชีทุกๆปี ทั้งที่ยังไม่มีหนี้สูญเกิดขึ้นจริง เป็นการ

ยึดหลักความไม่ประมาทในการบริหารจัดการ และทั้งนี้ควรปฏิบัติตามกฎหมายทางภาษีอากรว่าด้วยเรื่องของการตัดลูกหนี้เป็นหนี้สูญ

ตามประมวลรัษฎากรด้วย การประมาณการหนี้สงสัยจะสูญอาจทำได้โดย การประมาณหนี้สงสัยจะสูญจากยอดขายเชื่อ หรือยอดขาย

รวมของกิจการการประมาณหนี้สงสัยจะสูญจากยอดลูกหนี้คงเหลือ ณ วันสิ้นปี

1. การประมาณหนี้สงสัยจะสูญจากยอดขายเชื่อ เป็นวิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญ โดยคำนวณจากอัตราร้อยละของยอดขายเชื่อประ

จำปี โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าในปีก่อนหน้านั้นกิจการจะมีประมาณหนี้สงสัยจะสูญไว้แล้วหรือไม่ การใช้วิธีประมาณจากยอดขายเชื่อ

ถือว่าลูกหนี้การค้าเกิดขึ้นจากการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ จึงใช้เป็นฐานในการประมาณหนี้สงสัยจะสูญเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับงวด

2. การประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดลูกหนี้ ณ วันสิ้นปี เป็นวิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญ โดยคำนวณจากยอดลูกหนี้

ณ วันสิ้นงวด ดังนั้นยอดบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ณ วันสิ้นปีจึงจะต้องมีจำนวนเท่ากับอัตราร้อยละของลูกหนี้ ณ วันสิ้นปี ดังนั้นการประมาณ

หนี้สงสัยจะสูญตามวิธีนี้จึงต้องคำนึงถึงบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่มียอดยกมายกมาจากปีก่อนๆด้วย

4.3 งบทดลองหลังรายการปรับปรุงบัญชี

งบทดลองหลังรายการปรับปรุงบัญชี (Adjusted Trial Balance) เป็นงบทดลองที่จัดทำขึ้นหลังจากการบันทึกรายการปรับปรุง

ต่างๆ เสร็จสิ้นแล้ว และจะต้องทำเมื่อวันสิ้นงวดบัญชีเพื่อพิสูจน์ว่ากืจการค้าได้ลงบัญชีตามหลักบัญชีคู่ถูกต้องหรือไม่ เป็นงบทดลองหลังจาก

ทำรายการปรับปรุงบัญชีต่างๆ แล้ว จะมีผลทำให้ยอดในบัญชีต่างๆของงบทดลองเดิมเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น หลังจากที่ได้รับการปรับปรุง

แล้ว จึงจำเป็นต้องทำงบทดลองอีกครั้งหนึ่งเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของการลงบัญชี ซึ่งเรียกว่า "งบทดลองหลังรายการปรับปรุง"

การปิดบัญชีเกี่ยว

กับสินค้าและงบแสดง

ฐานะการเงิน

6.1 การปฏิบัติการทางบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด

6.1.1 วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ

สินค้าคงเหลือในที่นี้ หมายถึง สินค้าคงเหลือของกิจการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อสินค้ามาเพื่อขายหรือธุรกิจที่ซื้อมาขายไป หากธุร

กิจประสบปัญหาสินค้าคงเหลือมากในปีใดก็ตาม จะไปมีผลกระทบต่อการคำนวณต้นทุนขายและกำไรสุทธิของกิจการด้วย ถ้าการตีราคาสินค้าคง

เหลือผิดพลาดรายงานทางการเงินก็จะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงทั้งหมด สินค้าคงเหลือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีสภาพคล่องในการเปลี่ยน

เป็นเงินสดได้เร็ว กิจการต้องวางระบบควบคุมดูแล ป้องกันการทุจริต การสูญหายทั้งจากบุคคลภายในและลูกค้าภายนอก ตลอดจนการเลือกใช้

วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าให้เหมาะสมกับลักษณะและประเภทของสินค้าสำหรับวิธีการทางบัญชีที่นิยมกันโดยทั่วไปมี 2 วิธีคือ

1. วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด (Periodic Inventory System) วิธีนี้นิยมใช้กับกิจการที่ทำการซื้อขายสินค้าที่มีจำนวน

มากและมีราคาหรือมูลค่าไม่สูงนักเพราะการบันทึกบัญชีแบบนี้จะไม่มีการบันทึกบัญชีสินค้าเมื่อมีการซื้อขายในระหว่างงวด

แต่จะให้ความสำคัญกับการตรวจนับสินค้าคงเหลือในวันสิ้นงวดเท่านั้น กิจการที่นิยมบันทึกบัญชีแบบนี้ เช่น ห้างสรรพสินค้า

ร้านขายเสื้อผ้า

2. วิธีการบันทึกบัญชีแบบตรวจนับสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory System) วิธีนี้จะมีการบันทึกบัญชีทุกครั้งที่

ทำการซื้อและขายสินค้า โดยจะมีทะเบียนคุมสินค้าทุกประเภทที่จำหน่าย ทำให้สามารถทราบยอดคงเหลือของสินค้าจากบัญชีเหล่านั้น กิจการที่

นิยมใช้การบันทึกบัญชีแบบนี้เป็นกิจการที่มีสินค้าจำหน่ายไม่ และสินค้าที่ต้นทุนต่อหน่วยราคาค่องข้างสูง มีความจำเป็นต้องควบคุมและตรวจ

สอบอย่างละเอียด เช่น กิจการจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจักร รถยนต์ เป็นต้น

3. วิธีถัวเฉลี่ยของราคาทั้งสิ้นหรือถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก(Weighted Average Method) แนวคิดวิธีนี้จะลดปัญหาความบกพร่องของวิธีถัวเฉลี่ยต่อหน่วยเนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงปริมาณของสินค้าคง

เหลือ จึงนำราคาและปริมาณของสินค้าคงเหลือทั้งหมดมาคูณกันก่อนแล้วนำมาบวกกัน และหารด้วยจำนวนหน่วยทั้งหมดที่ซื้อจะได้ราคาถัวเฉลี่ยของราคาทั้งสิ้น

4. วิธีตีราคาที่ซื้อจริงหรือวิธีเฉพาะเจาะจง (Specific Identification) แนวคิดวิธีนี้จะระบุราคาของสินค้าที่ซื้อมาจริงและที่ขายไปจริงทั้งหมด เหมาะกับสินค้าที่มีลักษณะแตกต่างกันมาก ราคาต่อหน่วยสูง กิจการค้าต้องทราบราคาสินค้าคงเหลือที่แท้จริงจึงเรียกว่าวิธี

“ราคาเจาะจง” เช่น ถ้าสินค้าคงเหลือจากการซื้อครั้งที่ 1 จำนวน 200 หน่วย คงเหลือจากการซื้อครั้งที่ 2 จำนวน 200 หน่วย และคงเหลือจากการซื้อครั้งที่ 3 จำนวน 80 หน่วย จะคำนวณ

6.2 การจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน

6.2.1 งบกำไรขาดทุน (Income Statement)

เมื่อกิจการค้าได้บันทึกรายการปรับปรุงบัญชี รายการปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว กิจการค้าต้องนำมาจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน

(Financial Statement) เพราะตามวัตถุประสงค์ของกิจการคือต้องการทราบผลการดำเนินงาน และฐานะการเงินของกิจการ งบแสดงฐานะ

การเงินตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 นั้นประกอบด้วย งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วน

ของเจ้าของ งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบแสดงฐานะการเงิน สำหรับงบแสดงฐานะการเงินของธุรกิจพาณิชยกรรมประเภทกิจการ

เจ้าของคนเดียว

งบกำไรขาดทุนหรือบัญชีกำไรขาดทุน (Income Statement หรือ Profit and Loss Statement) เป็นรายการที่แสดงผลการดำเนินงาน

ของกิจการสำหรับช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปี ก็แล้วแต่ เป็นงบที่จะทำให้ทราบว่ากิจการมีกำไรหรือ

ขาดทุนเท่าใด สามารถจัดทำได้ 2 รูปแบบ คือ แบบรายงาน (Report from) และแบบบัญชี (Account from) ตามมาตรฐานบัญชีอาจจะจัดทำ

แบบแสดงยอดขั้นเดียว (Single Step) และแบบแสดงยอดหลายขั้น (Multiple Step)

งบแสดง

ฐานะการเงิน

6.2.2 งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position)

งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position) เป็นงบที่แสดงฐานะการเงินของกิจการ ส่วนประกอบของงบแสดงฐานะการเงิน ได้แก่ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ(ทุน) จัดทำได้ 2 รูปแบบ คือ แบบรายงาน (Report form) และแบบบัญชี(Account form) ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างรูปแบบงบแสดงฐานะการเงินการเงินตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543

ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ กำหนดรายการย่อในงบแสดงฐานะการเงิน พ.ศ.2552 ไว้ แต่กิจการเจ้าของคนเดียวนั้นไม่ได้กำหนดไว้

จึงสามารถจัดทำรูปแบบอย่างง่ายได้

6.2.3 วงจรบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า

วงจรบัญชี (Accounting Cycle) หมายถึง วงจรหรือแผนผังที่แสดงถึงขั้นตอนในการบันทึกบัญชีของกิจการตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสามารถทำออกมาเป็นงบแสดงฐานะการเงินแสดงผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของกิจการได้ในหน่วยนี้จะกล่าวถึงวงจรบัญชีของกิจการประเภทซื้อสินค้ามาเพื่อขายหรือกิจการพาณิชยกรรม

1. รายการค้า (Business Transactions) เมื่อเกิดรายการค้าขึ้น นักบัญชีจะวิเคราะห์รายการค้าโดยพิจารณาจากเอกสารทางการ

ค้าหลายๆชนิด แล้วแต่ประเภทของธุรกรรมที่ทำกับบุคคลภายนอกกิจการ ใช้เอกสารต่างๆ เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี แล้วจัดเก็บเอกสารไว้อย่าง

เป็นระบบเพื่อสะดวกในการตรวจสอบภายหลัง

2. บันทึกรายการค้าในสมุดบันทึกรายการขั้นต้น ซึ่งได้แก่

2.1 สมุดรายวันทั่วไป (General Journal) ใช้บันทึกรายการค้าได้ทุกรายการที่เกิดขึ้น แต่ถ้ากิจการใช้สมุดรายวันเฉพาะ

รายการที่จะบันทึกลงในสมุดรายวันทั่วไปนั้น จะบันทึกเฉพาะรายการที่ไม่สามารถบันทึกลงในสมุดรายวันเฉพาะเล่มใดเล่มหนึ่งได้เท่านั้น

2.2 สมุดรายวันเฉพาะ (Special Journal) เป็นสมุดเฉพาะไว้บันทึกรายการค้าเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น ประกอบด้วย

สมุดรายวันเฉพาะ 6 เล่ม ดังนี้

2.2.1 สมุดรายวันซื้อสินค้า (Purchase Journal) ใช้บันทึกรายการที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ

2.2.2 สมุดรายวันส่งคืนสินค้าและจำนวนที่ได้ลด (Purchases Return and Allowance Journal) ใช้บันทึกรายการที่ส่งคืนสินค้าที่ซื้อเป็นเงินเชื่อ

2.2.3 สมุรายวันขายสินค้า (Sale Journal) ใช้บันทึกรายการที่ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ

2.2.4 สมุดรายวันรับคืนสินค้าและจำนวนที่ลดให้ (Sales Return and Allowance Journal) ใช้บันทึกรายการที่รับคืนสินค้าที่ขายเป็นเงินเชื่อ

2.2.5 สมุดรายวันรับเงิน (Cash Receipts Journal) ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการรับเงินสดและเงินฝากธนาคาร

2.2.6 สมุดรายวันจ่ายเงิน (Cash Payments Journal) ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินสดและเงินฝากธนาคาร

3. บัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger) เป็นสมุดบันทึกรายการขั้นปลาย เพื่อนำตัวเลขในบัญชีต่างๆจากสมุดบันทึกรายการขั้นต้น

มาจัดหมวดหมู่และหายอดคงเหลือทุกวันสิ้นเดือน

4. งบทดลอง (Trial Balance) เป็นงบที่จัดทำขึ้นเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของการผ่านรายการจากสมุดบันทึกรายการขั้นต้นมายังสมุดขั้นปลาย

5. รายการปรับปรุงบัญชี (Adjusting Entries) คือ รายการทางบัญชีที่จัดทำขึ้นในวันสิ้นงวดเพื่อปรับปรุงสินทรัพย์ หนี้สิน

รายได้ และค่าใช้จ่ายของกิจการให้ถูกต้องตามเงื่อนไขของเวลาในรอบระยะเวลาบัญชีจะมีผลทำให้นำไปจัดทำงบแสงดฐานะการเงินได้อย่างถูกต้องมากขึ้น

6. งบแสดงฐานะการเงิน (Financial Statement) เป็นงบที่ต้องจัดทำตามกฎหมายเพื่อแสดงผลการดำเนินงานและฐานะทาง

การเงินของกิจการค้าในรอบระยะเวลา 1 ปี ในการจัดทำบัญชีก่อนการทำงบแสดงฐานะการเงินมักจะจัดทำกระดาษทำการ (Working Sheets)

เพื่อนำรายการปรับปรุงบัญชีมาบันทึกไว้ในกระดาษทำการ ซึ่งจะทำให้การจัดทำงบแสดงฐานะการเงินได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น งบแสดงฐานะ

การเงินประกอบด้วย

6.1 งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement) เป็นงบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการ แสดงให้ทราบถึงผลต่างระหว่างรายได้

และค่าใช้จ่ายของกิจการในรูปของกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ

6.2 งบแสดงฐานะการเงิน (Balance Sheet) เป็นงบที่แสดงฐานะการเงินของกิจการแสงดให้ทราบถึงสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ(ทุน)

ณ วันใดวันหนึ่ง

7. รายการปิดบัญชี (Closing Entries) หมายถึง การปิดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายในบัญชีแยกประเภท เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน

ของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ การปิดบัญชีของกิจการซื้อขายสินค้าทำได้โดยปิดบัญชีรายได้และบัญชีค่าใช้จ่าย (บัญชีค่าใช้จ่ายรวม

ถึงบัญชีที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนขาย ได้แก่ สินค้าต้นปี ซื้อสินค้า ค่าขนส่งเข้า สินค้าปลายปี ส่งคืนสินค้าและส่วนลดรับ) ให้ปิดบัญชีโดยผ่านสมุด

รายวันทั่วไป และผ่านไปบัญชีแยกประเภท ส่วนบัญชีประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน หายอดคงเหลือยกไปยกมาในบัญชีแยกประเภท

Erfahren Sie mehr über das Erstellen von dynamischen und fesselnden Präsentationen mit Prezi