Introducing 

Prezi AI.

Your new presentation assistant.

Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.

Loading content…
Loading…
Transcript

การศึกษาในศตวรรษที่ 21

ความหมายการศึกษาในศตวรรษที่ 21

ความหมาย

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ทักษะความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิด

ขึ้นกับตัวผู้เรียนเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน

เป็นพื้นฐานของทั้ง 3 ทักษะ คือ ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และด้านชีวิตและอาชีพการทำงาน

โดยประกอบด้วย 3Rs คือ

Reading(การอ่านออก)

Writing(การเขียนได้) Arithmetic(การคิดเลขเป็น)

ทักษะชีวิตและอาชีพ

ทักษะด้านชีวิตและการทำงานในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จผู้เรียนจะต้อง พัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้

1. มีความยืดหยุ่น

2. รู้จักปรับตัว

3. ริเริ่มสิ่งใหม่

4. ใส่ใจ ดูแลและเป็นตัวของตัวเอง

5. รู้จักเข้าสังคมและเรียนรู้วัฒนธรรม

6.มีความเป็นผู้นำและรับผิดชอบต่อหน้าที่

7.พัฒนาอาชีพ

8.หมั่นหาความรู้รอบด้าน

ทักษะการเรียนรูู้และนวัตกรรม

โลกยุคศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว พลิกผัน รุนแรง และคาดไม่ถึงต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นคนในยุคศตวรรษที่ 21 จึงต้องมีทักษะสูงในการเรียนรู้และปรับตัว การสร้างทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม เกิดแรงบันดาลใจอยากพัฒนางาน สร้างผลงานที่เกี่ยวกับการการพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่เรียกว่า ความคิดเชิงสร้างสรรค์

นำทฤษฎีความรู้มาสร้างกระบวนการและวิธีการผลิตสร้างผลงานใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคล และสังคมที่เรียกว่าพัฒนา ได้แก่

1. ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม

2. การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา

3. การสื่อสาร

4. การร่วมมือ

ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี

เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยี ดังนั้นการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณจึงมีความสำคัญ จึงต้องอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้

1. ความรู้ด้านสารสนเทศ

2. ความรู้เกี่ยวกับสื่อ

3. ความรู้ด้านเทคโนโลยี

มาตราฐานและการวัดผล

มาตราฐาน

มาตราฐาน

  • เน้นทักษะ ความรู้และความเชี่ยวชาญ ที่เกิดกับผู้เรียน
  • สร้างความรู้และความเข้าใจในการเรียนในเชิงสหวิทยาการระหว่างวิชาหลักที่เป็นจุดเน้น
  • มุ่งเน้นการสร้างความรู้และความเข้าใจเชิงลึกมากกว่าการสร้างความรู้แบบผิวเผิน
  • ยกระดับความสามารถของผู้เรียนด้วยการให้ข้อมูลที่เป็นจริง การใช้สื่อหรือเครื่องมือที่มีคุณภาพจากการเรียนรู้ในสถานศึกษาการทำงาน

และในการดำรงชีวิตประจำวัน ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมายและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้

  • ใช้หลักการวัดประเมินผลที่มีคุณภาพระดับสูง

การวัดผล

การวัดผล

  • สร้างความสมดุลในการประเมินผลเชิงคุณภาพ โดยการใช้แบบทดสอบมาตรฐานสำหรับการทดสอบย่อยและทดสอบรวมสำหรับการประเมินผลในชั้นเรียน
  • เน้นการนำประโยชน์ของผลสะท้อนจากการปฏิบัติของผู้เรียนมาปรับปรุงแก้ไขงาน
  • ใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการทดสอบวัดและประเมินผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  • สร้างและพัฒนาระบบแฟ้มสะสมผลงานของผู้เรียนให้เป็นมาตรฐานและมีคุณภาพพอ

หลักสูตรและวิธีการสอน

  • การสอนให้เกิดทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นเชิงสหวิทยาการของวิชาแกนหลัก
  • สร้างโอกาสที่จะประยุกต์ทักษะเชิงบูรณาการข้ามสาระเนื้อหา และสร้างระบบการเรียนรู้ ที่เน้นสมรรถนะเป็นฐาน (Competency-based)
  • สร้างนวัตกรรมและวิธีการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวเกื้อหนุน การเรียนรู้แบบสืบค้น และวิธีการเรียนจากการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) เพื่อการสร้างทักษะขั้นสูงทางการคิด

การพัฒนาวิชาอาชีพ

ครูในศตวรรษที่ 21 จึงต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่สอนอย่างลึกซึ้ง มีความรู้และเชี่ยวชาญในการสอน สามารถพัฒนาหลักสูตรได้ วางแผนการสอนและแบบเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการคิดค้น ดำเนินการสอนที่ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ ให้นักเรียนเรียนรู้จากการสืบเสาะหาความรู้ ช่วยให้นักเรียนเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาเจตนคติ ทักษะต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ซึ่งต้องตระหนักและเน้นทักษะ และพัฒนาครู

บรรยากาศการเรียนรู้

  • สร้างสรรค์แนวปฏิบัติทางการเรียน การรับการสนับสนุนจากบุคลากรและสภาพ แวดล้อมทางกายภาพ ที่เกื้อหนุน เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนบรรลุผล
  • สนับสนุนทางวิชาชีพแก่ชุมชน ทั้งในด้านการให้การศึกษา การมีส่วนร่วม การแบ่งปันสิ่งปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างกัน รวมทั้ง การบูรณาการหลอมรวมทักษะหลากหลายสู่การปฏิบัติในชั้นเรียน
  • สร้างผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ จากสิ่งที่ปฏิบัติจริง ตามบริบท โดยเฉพาะการเรียนแบบโครงงาน
  • สร้างโอกาสในการเข้าถึงสื่อเทคโนโลยี เครื่องมือหรือแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
  • ออกแบบระบบการเรียนรู้ ที่เหมาะสมทั้งการเรียนเป็นกลุ่ม หรือการเรียนรายบุคคล
  • นำไปสู่การพัฒนาและขยายผล สู่ชุมชน ทั้งในรูปแบบการเผชิญหน้าหรือระบบออนไลน์

ประยุกต์

ประยุกต์

1. หลักสูตรและการเรียนการสอน

การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ความรู้และทักษะไปใช้ในรายวิชาต่าง ๆ การจัดการเรียนการสอนวิธีการและนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยการบูรณาการด้านเทคโนโลยีใช้ ซึ่งเน้นการวิเคราะห์และทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานกันเรียนรู้เพื่อกระตุ้นและสร้างการมีส่วนร่วม

2. การประเมินผลการจัดการเรียนรู้

มีการใช้แบบทดสอบตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสากลควบคู่กับการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงในห้องเรียน ควรมีการสะท้อนกลับให้แก่ผู้เรียน ซึ่งการใช้เทคโนโลยี มาช่วยในการวัดและการประเมินผล อีกทั้งควรให้ผู้เรียนมีการวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเองและสร้างผลงานผ่านการใช้แฟ้มผลงาน

3. บรรยากาศการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูผู้สอนต้องสร้างการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติในสถานการณ์จริงและการสร้างชุมชนการเรียนรู้ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเพื่อนครูเพื่อบูรณาการทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในบริบทห้องเรียน นำเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์การเรียนรู้เข้ามาช่วยในการเรียนรู้ของผู้เรียน การออกแบบการจัดการเรียนการสอนให้มีความหลากหลาย เช่น การเรียนรู้แบบรายบุคคล แบบกลุ่มและแบบทีม และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลายและจัดให้มีการเชื่อมต่อการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้อง เรียนรู้ในประเทศและระหว่างประเทศ เป็นต้น

Learn more about creating dynamic, engaging presentations with Prezi