Introducing 

Prezi AI.

Your new presentation assistant.

Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.

Loading…
Transcript

บทที่ 2

การคิดในศตวรรษที่ 21

วิชาทักษะทางสังคม

ทักษะการคิด

การคิดคือ?

“การคิดเป็นผลมาจากการทำงานของสมองในการก่อตัวรวมกันของ จินตภาพภายใน สัญลักษณ์ต่างๆ ผ่านการทำงานของการรับรู้ เกิดปัญหาขึ้นภายในจิต จนนำไปสู่พฤติกรรมการตอบสนองในสถานการณ์ต่างๆ โดยอาศัยทักษะปฏิบัติการทางปัญญาทั้งระดับพื้นฐานและ ขั้นสูงตามความสามารถของแต่ละบุคคล”

รูปแบบของการคิด

1. การคิดอย่างมีจุดหมาย (Directed Thinking) ซึ่งเป็นการคิดที่ต้องการผลอย่างใดอย่างหนึ่ง และมักจะมีบทสรุปหลังจากที่คิดเสร็จแล้วโดยทั่วไป มักจะใช้หลัก ตรรกวิทยา (Logical Thinking) ในการหาคำตอบ ซึ่งมีวิธีพื้นฐาน อยู่ 2 วิธี ได้แก่ วิธีนิรนัย และวิธีอุปนัย การคิดแบบนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  • การคิดวิเคราะห์หรือคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking)
  • การคิดโดยใช้เหตุผลหรือการคิดเพื่อแก้ปัญหา (Reasoning)
  • การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

2. การคิดอย่างไม่มีจุดหมาย (Associative Thinking)

เป็นการคิดที่ไม่ต้องการคำตอบหรือผลอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการคิดไป เรื่อยๆ ไม่มีเป้าหมายของการคิดหรือเรียกว่าคิดฟุ้งซ่าน การคิดประเภทนี้ แบ่งออกเป็น

  • การคิดเชื่อมโยงเสรี (Free-association) เป็นการคิดในเรื่องหนึ่งแล้ว คิดถึงเรื่องอื่นๆ ต่อไปได้อย่างอิสระ ไม่มีขอบเขต การคิดประเภทนี้ นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ได้นำมาใช้ในการบำบัดรักษาคนไข้ทาง จิตเวช
  • การฝันกลางวัน (Day dreaming) เป็นการคิดที่มีจุดประสงค์ป้องกัน ตนเอง เพื่อให้เกิดความภูมิใจในตนเองเป็นวิธีคิดที่ทำให้บุคคลสบายใจ เช่น คนจนแต่อยากรวยก็เพื่อฝันว่าถ้าถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1 จะทำให้ตัวเองเป็นเศรษฐี
  • การฝันกลางคืน (Night dreaming) เป็นการคิดของบุคคลในเวลาหลับ บางทีเป็นเรื่องราวติดต่อกับเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาตื่นอยู่ แต่บางครั้งก็ไม่มี เนื้อหาและไม่สมเหตุสมผล นักจิตวิทยาเชื่อว่าความฝันของบุคคล เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งของสิ่งที่อยู่ในจิตไร้สำนึกของคนนั้น การฝันกลางคืนยังเป็นสิ่งที่ทำให้รู้ว่ามนุษย์มีการคิดอยู่ตลอดเวลาแม้ ในเวลาหลับ

การคิดวิเคราะห์

การคิด

วิเคราะห์

ความหมาย/หน้าที่

ความหมาย

ความสามารถในการพิจารณาไตร่ตรองแก้ปัญหาที่แม่นยำ มีความละเอียดในการจำแนกแยกแยะ เปรียบเทียบข้อมูลเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ อย่างชำนาญ โดยการหาหลักฐานที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงหรือข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุนหรือยืนยันเพื่อพิจารณาอย่าง รอบคอบก่อนตัดสินใจเชื่อหรือสรุป

ทำไมต้องวิเคราะห์

  • เพื่อแจกแจงให้รู้ว่าสิ่งนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง

เป็นการค้นหาว่าสิ่งนั้นทำมาจากอะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง โดยการแตกสิ่งนั้นออก เป็นส่วนย่อยๆ และแจกแจงรายละเอียดของส่วนประกอบย่อยๆ ทั้งหมด โดยอาจจัดแยกเป็นหมวดหมู่หรือตามลำดับความสำคัญ เพื่อให้เห็นทุกองค์ประกอบ อย่างครบถ้วน และตรวจสอบโครงสร้างของสิ่งนั้นเพื่อทำความเข้าใจว่าส่วนต่างๆ ในแต่ละส่วนย่อยนั้นประกอบกันขึ้นมาได้อย่างไร เช่น การที่นักวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์สารประกอบของสิ่งต่างๆ หรือ การอ่านบทประพันธ์ ต่างๆ เชิงวิเคราะห์ เป็นต้น

  • เพื่อแยกแยะความแตกต่างระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งอื่นๆ

สิ่งต่างๆ ที่ดูภายนอกคล้ายคลึงกันหรือมีความคลุมเครือดูไม่ออกว่าเป็นอะไร จะต้องมีการวิเคราะห์เพื่อจำแนกความแตกต่างของสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งอื่นๆ โดยวินิจฉัย ให้เห็นถึงข้อแตกต่าง และทำให้ข้อแตกต่างนั้นโดดเด่นขึ้นมา

  • เพื่อค้นหาเหตุและผลของสิ่งที่เกิดขึ้น

เป็นการพิจารณาใคร่ครวญเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้งลงไปในรายละเอียดปลีกย่อย ต่างๆ อย่างรอบคอบ ระมัดระวังบนพื้นฐานความเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

  • เพื่อค้นหาว่าเรื่องนั้นสิ่งนั้นเกิดมาจากสาเหตุใด เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร สมเหตุ สมผลหรือไม่ อันจะเป็นประโยชน์ในการสืบค้นความจริง การตรวจสอบความถูกต้อง การคาดการณ์อนาคต และนำไปสู่การประเมินวินิจฉัยเรื่องนั้นอย่างมีเหตุผลน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ยังช่วยแก้ปัญหาและตัดสินใจดำเนินการในเรื่องนั้นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น แพทย์ที่ทำการวินิจฉัยโรคที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย หรือ การที่นักพิพากษาตัดสินโทษแก่คนร้ายที่กระทำผิดจริงหลังจากที่ได้พิจารณาหลักฐาน ต่างๆ แล้ว เป็นต้น

ใครวิเคราะห์ได้ดี

ลักษณะของคนที่คิดวิเคราะห์ได้ดี

  • ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์ ซึ่งผู้วิเคราะห์ควรจะมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องนั้นๆ เพราะจะช่วยให้กำหนดขอบเขตในการวิเคราะห์ จำแนกองค์ประกอบ จัดหมวดหมู่ ลำดับความสำคัญหรือหาสาเหตุของเรื่องราว เหตุการณ์ได้ชัดเจน

  • ช่างสังเกต ช่างสงสัย ช่างไต่ถาม โดยสามารถยึดหลัก 5W 1H คือ ใคร (Who)
  • อะไร (What)
  • ที่ไหน (Where)
  • เมื่อไหร่ (When)
  • เพราะเหตุใด (Why) และ
  • อย่างไร (How)
  • ความสามารถในการตีความ โดยสามารถวิเคราะห์เทียบเคียงข้อมูลที่ได้รับกับความทรงจำหรือ ความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ซึ่งเกณฑ์การตัดสินจะแตกต่างกันไปตามความรู้ ประสบการณ์ และค่านิยมของแต่ละบุคคล เช่น การที่เราเห็นคนกำลังยิ้ม อาจตีความได้ว่าเขา กำลังอารมณ์ดี เป็นต้น

  • ความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล นั่นคือเมื่อพบสิ่งที่มีความคลุมเครือ เกิดข้อสงสัย ตามมาด้วยคำถาม ต้องค้นหาคำตอบหรือความน่าจะเป็นว่ามีความเป็นมาอย่างไร เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น จะส่งผลกระทบอย่างไร ซึ่งสมองจะพยายามคิดเพื่อหาข้อสรุป ความรู้ความเข้าใจอย่างสมเหตุสมผล

ในทางพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ใช้วิธีการสอนที่อาจนับเป็นการคิดวิเคราะห์ที่เรียก ว่า "ปุจฉาวิสัชนา" ด้วยการให้พระสงฆ์ใช้ "วิจารณญาณ" ถามตอบซักไซ้ไล่เลียงค้าน กันไปมาจนได้คำตอบซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการคิดวิเคราะห์ โดยทรงให้หลักแห่ง ความเชื่อที่ไม่งมงายไว้ในพระสูตรชื่อ กาลามสูตร

ประโยชน์

ประโยชน์ของการคิดวิเคราะห์

  • ช่วยให้รู้เท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องหลังของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความเป็นมาเป็นไป ของเหตุการณ์ต่างๆ รู้ว่าเรื่องนั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ทำให้เราได้ข้อเท็จ จริงที่เป็นฐานความรู้ในการนำไปใช้ในการตัดสินใจ แก้ปัญหา การประเมิน และการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

  • ช่วยให้สำรวจความสมเหตุสมผลของข้อมูลที่ปรากฏ และไม่ด่วนสรุปตาม อารมณ์ ความรู้สึกหรืออคติ แต่สืบค้นตามหลักเหตุผล และข้อมูลที่เป็นจริง

  • ช่วยให้ไม่ด่วนสรุปสิ่งใดง่ายๆ แต่สื่อสารตามความเป็นจริง ขณะเดียวกันก็ ช่วยให้ไม่หลงเชื่อข้ออ้างที่เกิดจากตัวอย่างเพียงอย่างเดียว แต่พิจารณา เหตุผลและปัจจัยเฉพาะในแต่ละกรณีได้
  • ช่วยในการพิจารณาสาระสำคัญอื่นๆ ที่ถูกบิดเบือนไปจากความประทับใจ ในครั้งแรก ทำให้มองอย่างครบถ้วนในแง่มุมอื่นๆ ที่มีอยู่

  • ช่วยพัฒนาความเป็นคนช่างสังเกต การหาความแตกต่างของสิ่งที่ปรากฏ พิจารณาตามความสมเหตุสมผลของสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนที่จะตัดสินสรุปสิ่งใดลงไป

  • ช่วยให้หาเหตุผลที่สมเหตุสมผลให้กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ณ เวลานั้น โดยไม่พึ่งพิง อคติที่ก่อตัวอยู่ในความทรงจำ ทำให้สามารถประเมินสิ่งต่างๆ ได้อย่างสมจริงสมจัง

  • ช่วยประมาณการความน่าจะเป็น โดยสามารถใช้ข้อมูลพื้นฐานที่มีวิเคราะห์ร่วมกับ ปัจจัยอื่นๆ ของสถานการณ์ ณ เวลานั้น อันจะช่วยให้คาดการณ์ความน่าจะเป็นได้ สมเหตุสมผลมากกว่า

กระบวนการ

กระบวนการคิดวิเคราะห์

1. กำหนดปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ เป็นการกำหนดวัตถุสิ่งของ เรื่องราว เหตุการณ์ต่างๆ ว่ามีปัญหาอะไรที่น่าสนใจ มีขอบเขตที่จะศึกษาวิเคราะห์อย่างไร แค่ไหน เช่น กำหนดสิ่งที่สนใจศึกษา คือ ปัญหาขยะในชุมชนของตนเอง สาเหตุทำให้เกิด น้ำเน่าเสียในชุมชน เป็นต้น

2. กำหนดจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ เป็นการกำหนดประเด็น ข้อสงสัยจากปัญหาที่ต้องการวิเคราะห์ว่าต้องการวิเคราะห์เพื่ออะไร เช่น เพื่อหาสาเหตุ เพื่อหาข้อสรุป เพื่อหาแนวทางแก้ไข เป็นต้น

3. กำหนดแนวทางในการวิเคราะห์ โดยการศึกษาทฤษฎี หลักการ กฎเกณฑ์ที่จะใช้ใน การวิเคราะห์ เช่น เกณฑ์ในการจำแนกสิ่งที่มีความเหมือนหรือต่างกัน หลักเกณฑ์ในการหาลักษณะความสัมพันธ์เชิงเหตุผล เป็นต้น

4. ดำเนินการวิเคราะห์ เป็นการพินิจ พิเคราะห์ทำการแยกแยะสิ่งที่กำหนดให้ออกเป็น ส่วนย่อยๆ โดยอาจใช้เทคนิคคำถาม 5W 1H ประกอบด้วย ใคร (Who) อะไร (What) ที่ไหน (Where) เมื่อไหร่ (When) เพราะเหตุใด (Why) และ อย่างไร (How)

5. สรุปผลและนำเสนอผลการวิเคราะห์ เป็นการรวบรวมประเด็นที่สำคัญเพื่อหาข้อสรุปเป็นคำตอบหรือวิเคราะห์ให้เห็น ตามแนวทางที่กำหนดไว้

**กระบวนการคิดวิเคราะห์จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีทักษะที่สูงขึ้น และสามารถพัฒนาการวิเคราะห์ในเรื่องอื่นๆ ได้ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้วิเคราะห์มีกระบวนการคิดวิเคราะห์อยู่ตลอดเวลา เมื่อนำแนวทางไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันก็จะเป็นประโยชน์ ต่อผู้วิเคราะห์ต่อไป

ลักษณะ

ลักษณะของการคิดวิเคราะห์

ทฤษฎีของ Robert Marzano

1. การจำแนกแยกแยะส่วนประกอบ

2. การจัดหมวดหมู่

3. การสรุป เชื่อมโยงความสัมพันธ์

4. การประยุกต์ นำไปใช้

5. การคาดการณ์อย่างมีเหตุผล

ทฤษฎีของ Benjamin Bloom

1. การวิเคราะห์ส่วนประกอบ

  • ความสามารถในการแยกแยะ

2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์

  • การค้นหาความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง

3. การวิเคราะห์หลักการ

  • การค้นหาระบบ เรื่องราว การทำงานของสิ่งต่างๆ

1.ถามตัวเองว่าต้องการสิ่งนั้นไปทำไม

2.หาข้อมูลว่าสิ่งนั้นคืออะไร

3.เอาข้อมูลมาดูว่ามันจริงเท็จอย่างไร มีน้ำหนักแค่ไหน

4.พิจารณาว่าข้อมูลที่ได้มามันตอบโจทย์ของเราไหม มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

5.ดูว่าทำไมคนอื่นเลือกอย่างอื่น เขาเลือกเพราะอะไร

“การคิดวิเคราะห์เป็นกระบวนการสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่การรับข้อมูลข่าวสารเป็นได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วมากขึ้นซึ่งข้อมูลเหล่านั้นมีทั้งจริงและเท็จปะปนกันไป ทักษะการคิดวิเคราะห์จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบค้นข้อความจริง ผู้ที่มีความสามารถในการสังเกต แยกแยะ ตีความ และทำความเข้าใจองค์ประกอบต่างๆ ของข้อมูลหรือเรื่องราวต่างๆ ได้ ก็จะสามารถประเมิน ตัดสินใจ และมองเห็นความเป็นไปได้ของสิ่งนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การคิดวิเคราะห์ยังมีประโยชน์ในการช่วยพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างถี่ถ้วน รอบด้าน ป้องกันการด่วนสรุปที่รวดเร็วเกินไป ซึ่งจะลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ ทักษะการคิดวิเคราะห์จำเป็นต้องฝึกฝนและพัฒนาอยู่เสมอเพื่อให้เกิด ความคุ้นเคยในกระบวนการคิดวิเคราะห์ อันจะนำไปสู่ประโยชน์หลากหลายด้านในชีวิตประจำวันต่อไป”

การคิดแก้ปัญหา

การคิด

แก้ปัญหา

ปัญหาคือ?

ปัญหาคืออะไร

สภาพการณ์ที่ทำความยุ่งยากให้แก่มนุษย์

1. ปัญหาเฉพาะบุคคล ได้แก่ ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดเท่านั้น ส่วนสาเหตุที่มาของปัญหาอาจเชื่อมโยงไปถึงบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่นก็ได้ เช่น ไม่มีสมาธิในการเรียน ผิดหวังในความรัก สอบตก เป็นต้น

2. ปัญหาเฉพาะกลุ่ม ได้แก่ ปัญหาที่กลุ่มบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งประสบความยุ่งยากร่วมกัน เช่น ปัญหาฝนแล้งส่งผลให้ชาวนาขาดแคลนน้ำเพื่อปลูกข้าว เป็นต้น

3. ปัญหาสาธารณะหรือเรียกอีกอย่างว่า ปัญหาสังคม เป็นปัญหาที่มีผลกระทบถึงคนทุกคน หรือคนส่วนใหญ่ในสังคมไม่โดยตรงก็โดยอ้อม เช่น ปัญหาเกิดโรคระบาดในต่างประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวประเทศดังกล่าว ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหามลพิษทางอากาศ ปัญหาการจราจรติดขัด เป็นต้น

ทำไมต้องแก้ปัญหา?

การคิดแก้ปัญหาถือว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการคิด เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญ ต่อวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมของมนุษย์ ซึ่งจะต้องใช้การคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ เกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้น ทักษะการคิดแก้ปัญหาจึงเป็นทักษะที่สำคัญและมีประโยชน์ ต่อการดำรงชีวิตที่วุ่นวายสับสนได้เป็นอย่างดี

ผู้ที่มีทักษะการคิดแก้ปัญหาจะสามารถเผชิญกับภาวะสังคมที่เคร่งเครียดได้ อย่างเข้มแข็ง ทักษะการแก้ปัญหาจึงมิใช่เป็นเพียงการรู้จักคิดและรู้จักการใช้สมอง หรือเป็นทักษะที่มุ่งพัฒนาสติปัญญาแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นทักษะที่ สามารถพัฒนา ทัศนคติ วิธีคิด ค่านิยมความรู้ ความเข้าใจในสภาพการณ์ของสังคม ได้ดีอีกด้วย

วิธีการแก้ปัญหา

วิธีการ

1. การลองผิดลองถูก

1. การลองผิดลองถูก (Trial and error)

ถือว่าเป็นวิธีการพื้นฐานของการแก้ปัญหา แม้ว่าอาจจะแก้ปัญหาโดยวิธีการ นี้สำเร็จ ในบางครั้งเขาอาจจะเข้าใจเหตุผลคำตอบของการแก้ปัญหานั้น ๆ ได้และหากว่าเขาเผชิญกับปัญหาเช่นนั้นอีก เขาอาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ รวดเร็วเท่ากับปัญหาครั้งแรกหรืออาจจะเร็วกว่า ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อม ความสามารถของบุคคล ตลอดจนชนิดของปัญหา

2. การหยั่งรู้

2. การหยั่งรู้ (Insight)

ลักษณะการแก้ปัญหาแบบการหยั่งรู้นั้น บุคคลผู้พบปัญหาใดปัญหาหนึ่ง จะสามารถหาคำตอบของปัญหาได้ทันที และเข้าใจเหตุผลของคำตอบนั้น ภายหลังจากการคิดพิจารณา และวิเคราะห์แล้ว การแก้ปัญหาโดยวิธี การหยั่งรู้อาจจะสามารถทำซ้ำได้อีกอย่างฉับพลันและสามารถที่จะนำ หลักการอันเดียวกันนี้ไปใช้ในสถานการณ์ที่ คล้ายคลึงกันได้ ทั้งวิธีการแก้ปัญหาแบบหยั่งรู้นั้นผู้แก้ปัญหาจะต้องมีพื้นฐานความรู้เดิม ในการมองความสัมพันธ์ขององค์ประกอบรูปแบบของปัญหารวมกันเข้า เป็นสถานการณ์

3. การคิดแก้ปัญหา เชิงวิทยาศาสตร์

3. การคิดแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific method)

เป็นวิธีการคิดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

ขั้นที่ 1 ตั้งปัญหา การพิจารณาปัญหาเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องรู้และ กำหนดให้ชัดเจนว่า ปัญหานั้นคืออะไร

ขั้นที่ 2 รวบรวมหาข้อมูลเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

ขั้นที่ 3 ตั้งสมมุติฐาน คือการคาดคะเน เสนอแนะ แสวงหาวิธีการที่ใช้ ในการแก้ปัญหา

ขั้นที่ 4 การทดสอบสมมุติฐาน คือการนำแนวความคิดในขั้นที่ 3 มาปฏิบัติ

ขั้นที่ 5 สรุป ดูจากผลในขั้นตอนที่ 4 และนำมาสรุปเป็นแนวทางใน การแก้ปัญหา

ทำไมแก้ ปัญหาไม่ได้

ปัจจัยที่มีผลต่อการประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา

1. ประสบการณ์เดิม (Habitual set)

  • มนุษย์มีแนวโน้มจะใช้วิธีการเดิมที่เคยแก้ปัญหาได้สำเร็จมาใช้กับปัญหา ใหม่ ในบางครั้งก็ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการแก้ปัญหา
  • "มีแต่คนบ้าเท่านั้น ที่จะทำสิ่งเดิมซ้ำๆ แต่กลับหวังผลลัพธ์ที่แตกต่าง" Albert Einstein

2. การจดจ่อกับการใช้ประโยชน์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกินไป (Functional Fixedness)

  • ทำให้มองข้ามสิ่งต่าง ๆ ไปหมด

3. การรับรู้และความเชื่อ (Perception and believes)

  • ที่ไม่ตรงความจริงจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการแก้ปัญหา

โดยปกติมนุษย์มีกระบวนการในการแก้ปัญหา ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่

1. ระบุปัญหา

2. วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา

3. แสวงหาทางแก้ปัญหาหลาย ๆทาง

4. เลือกทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

5. ลงมือดำเนินการแก้ปัญหาตามวิธีที่เลือก

6. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการลงมือแก้ปัญหา

7. สรุปผลการแก้ปัญหา

การคิดเชิงบวก

การคิด

เชิงบวก

การคิด เชิงบวก

การคิดเชิงบวกคือ...

  • การคิดเชิงบวกเป็นกระบวนการทางความคิดของบุคคลที่ เกิดจากการรับรู้และแปลความหมายไปในทางที่ดี
  • เป็นการสร้างเจตคติและแนวโน้มจิตใต้สำนึกที่ดีต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและต่อสังคม หรือสถานการณ์ต่างๆ โดยการมอง โลกในแง่ดี
  • มองการเปลี่ยนแปลงและปัญหาว่าเป็นสิ่งดี เป็นวิธีการที่ทำ ให้ยอมรับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเข้มแข็ง ทำให้สามารถ ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

ความสำคัญ

ความสำคัญของการคิดเชิงบวก

1. การคิดเชิงบวกจะเพิ่มคุณค่าให้แก่ชีวิตและการงาน

1) เกิดมีสภาวะทางอารมณ์ (EQ) และมีสติปัญญาในการแก้ไข ปัญหาและตัดสินใจ

2) เกิดความคิดที่จะปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

3) สร้างความคิดที่จะปรับเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส

4) ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สามารถที่จะหาคุณประโยชน์ จากสิ่งของไร้ค่า

2. เพิ่มความสุขในชีวิตและสร้างให้มีสุขภาพจิตที่ดี

1) สามารถปรับตัวและเผชิญความจริงได้อย่างมีเหตุผล

2) มีความพึงพอใจในการดำรงชีวิต เกิดความพึงพอใจในตนเอง ครอบครัว หน้าที่การงาน และในสังคมที่ตนเองเกี่ยวข้อง

3) มีความสามารถในการเผชิญปัญหา และเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ซึ่งส่งผลทำให้บริหารจัดการกับปัญหาและอุปสรรคนั้นได้เป็นอย่างดี

4) ทำให้เกิดมีสภาวะทางอารมณ์ (EQ) ที่ดี สามารถที่จะแก้ไขปัญหา และตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

5) อารมณ์ผ่องใส ผ่อนคลาย สร้างบรรยากาศและความสุขให้ตนเอง และผู้อื่น

6) เกิดความสำเร็จในชีวิต

  • การคิดในเชิงบวกได้ สิ่งที่จะตามมาคือการพูดดีและการทำดี จึงทำให้ทั้ง ตนเองและผู้อื่นสบายใจ
  • การมองโลกในแง่ดีเป็นส่วนหนึ่งของการมีความคิดเชิงบวก และมีส่วนสำคัญ ในการจูงใจตนเอง คนที่มองโลกในแง่ดีจะเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้เลวร้าย จึงแสวงหาโอกาสที่จะพลิกสถานการณ์เลวร้ายให้กลับคืนดีให้ได้
  • การคิดเชิงบวก เป็นกระบวนการสร้างความคิดและใช้พลังความคิดบนพื้นฐาน ของความเป็นจริง ซึ่งพลังดังกล่าวจะผลักดันให้มองเห็นผลลัพธ์ว่าจะเกิดผลดี ต่อตนเองหรือผู้อื่นอย่างไร เรียนรู้ได้โดยอาศัยการฝึกฝนเท่านั้น
  • ช่วยสร้างสรรค์จิตใจให้เรามองโลกในแง่ดีอย่างแน่วแน่ สร้างให้เกิดเป็น พฤติกรรม ทำให้ได้พบกับสถานการณ์ในทางบวกทุก ๆ วัน
  • ช่วยปรับปรุงชีวิตและฟื้นฟูสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนเองไปในทางที่ดีขึ้น
  • มีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตทุกด้าน เช่น ด้านการเรียน ด้านการทำงาน เป็นต้น

ลักษณะของ คนคิดเชิงบวก

คุณลักษณะของความคิดเชิงบวก

1. การมองโลกในแง่ดี (Optimism) หมายถึง ความเชื่อและความคาดหวัง ว่าจะเกิดสิ่งที่ดี แม้ว่าจะตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบากหรือท้าทาย

2. ความเชื่อ (Belief) หมายถึง ความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเอง ต่อผู้อื่น และ/หรือต่อพลังอํานาจทางจิตวิญญาณที่สูงกว่า ซึ่งคอยชี้แนะแนวทาง เมื่อคน ๆ นั้นต้องการ

3. ความยึดมั่นในคุณธรรม (Integrity) หมายถึง การกระทําภายใต้คํามั่น สัญญาที่มีต่อความซื่อสัตย์ ความเปิดเผย และความยุติธรรม

4. การสํารวมความตั้งใจ (Focus) หมายถึง การเอาใจใส่จดจ่ออยู่กับการกระทําให้บรรลุเป้าหมายและสิ่งที่มีความ สําคัญตามลําดับก่อนหลัง มีความตั้งมั่นในสิ่งที่กระทํา และต้องการประสบ ความสําเร็จในชีวิต

5. ความกระตือรือร้น (Enthusiasm) หมายถึง การมีความสนใจ พลังใน แง่บวก แรงปรารถนา หรือแรงกระตุ้นส่วนตัวสูง ความรู้สึกตื่นเต้นที่ได้ กระทําสิ่งต่าง ๆ รักและสนุกสนานกับกิจกรรมที่กระทํา การยอมรับ ประสบการณ์และความท้าทายใหม่ๆ

6. ความมุ่งมั่น (Determination) หมายถึง การไล่ตามเป้าหมายหรือสิ่งที่ จําเป็นในชีวิตอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

7. ความกล้าหาญ (Courage) หมายถึง ความเต็มใจในการลองเสี่ยงและ เอาชนะความกลัว การกล้าที่จะทําสิ่งต่างๆ ควบคุมอารมณ์ได้อย่างสม่ำเสมอ ในยามที่เผชิญหน้ากับปัญหา

8. ความมั่นใจ (Confidence) หมายถึง การมีความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่ให้ความผิดพลาดหรือความล้มเหลวมาทําลายบุคลิกภาพของตัวเอง

9. ความอดทน (Patience) หมายถึง ความเต็มใจในการรอคอยโอกาส ความพร้อม หรือผลลัพธ์จากการกระทําของตนเองหรือของผู้อื่น

10. ความสุขุม (Calmness) หมายถึง การดํารงไว้ซึ่งความเยือกเย็นและ ใฝ่หาความพอเหมาะพอควรในการโต้ตอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หยุดคิดก่อนลงมือกระทํา

การฝึก คิดเชิงบวก

การฝึกความคิดเชิงบวก

บันไดขั้นที่ 1 : มองตัวเองว่าดี

บันไดขั้นที่ 2 : มองคนอื่นว่าดี

บันไดขั้นที่ 3 : มองสิ่งที่เหลืออยู่ ไม่ใช่สิ่งที่ขาดหาย

บันไดขั้นที่ 4 : หมั่นบอกตัวเอง

บันไดขั้นที่ 5 : ใช้ประโยชน์จากคําว่าขอบคุณ

“วิธีคิดเชิงบวกไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติ (นอกเสียจากว่าบุคคลนั้นได้รับการเลี้ยงดูและเติบโตขึ้นมาใน สภาพแวดล้อมที่ดีมาก ทําให้กลายเป็นคนที่มองสิ่งต่างๆ ด้วยมุมมองทางบวกได้ทันที) ดังนั้น ต้องอาศัยการฝึกฝนและพัฒนาอยู่เสมอ”

การคิดสร้างสรรค์

การคิด

สร้างสรรค์

ความหมาย/บ่อเกิด

ความคิดสร้างสรรค์คือ

คือความสามารถในการรับรู้สภาพของสังคม ความเชื่อ ค่านิยม แล้วนำสิ่งที่รับรู้มาทำให้เป็นสิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและ ผู้อื่น ซึ่งอาจแตกต่างจากเดิมบ้างเล็กน้อย หรือแตกต่างจนไม่ เหลือแนวคิดเดิมไว้เลย หรือเรียกความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็น ความสามารถในการทำให้เกิดความแปลกแตกต่างและมีประโยชน์

ความคิดสร้างสรรค์เกิดจาก...

1. เริ่มจากจินตนาการ แล้วย้อนกลับสู่สภาพความเป็นจริง

สมองมีความสามารถในการจินตนาการ สามารถคิดแหวกวงล้อมออกไปอย่าง ไม่จำกัด เรียกได้ว่า จินตนาการของเรานั้นไม่มีที่สิ้นสุด จะคิดจะสร้างสิ่ง มหัศจรรย์ลึกล้ำเพียงใดย่อมทำได้ และจินตนาการนี่เองที่เป็นส่วนประกอบ ที่สำคัญอย่างยิ่งในการคิดสร้างสรรค์ เพราะจะช่วยให้เราสร้างสรรค์ความคิด ใหม่ๆ ได้อย่างไม่จำกัด และช่วยให้เราค้นพบสิ่งแปลกใหม่ ซึ่งเมื่อนำมาใช้ ประกอบกับการคิดเชิงวิเคราะห์ และการคิดในมิติอื่นๆ เพื่อกลั่นกรองความ เป็นไปได้ จินตนาการหลายอย่างของมนุษย์จึงได้ถูกนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ในโลกความจริง

“ตรรกะจะพาคุณจากจุด A ไปจุด B

แต่จินตนาการจะพาคุณไปที่ไหนก็ได้”

อัลเบิร์ต ไอน์สไตล์

2. เริ่มจากความรู้ แล้วคิดต่อยอดสู่สิ่งใหม่

นำข้อมูลหรือความรู้ที่มีอยู่มาคิดต่อยอดหรือคิดเพิ่มฐานข้อมูลที่ มีอยู่ จะเป็นเหมือน “ตัวเขี่ยความคิด” ให้เราคิดในเรื่องใหม่ๆ ได้ เพิ่มขึ้นจากเดิม ทั้งนี้ในโลกแห่งความเป็นจริงความคิดใหม่ๆ ที่ ได้นั้นมักจะไม่ใช่ความคิดต้นแบบล้วนๆ แต่มักจะมาจากการ รวบรวมหรือปรับปรุงแนวคิดของผู้อื่นที่ได้นำ เสนอก่อนหน้านั้น

“ผมคิดว่าผมเป็นนักดูดซึมตัวยงมากกว่า ผมได้ดูดซึมความคิดจากทุกแหล่งเท่าที่จะทำได้ แล้วเอามาทดลองใช้ เอามาปรับปรุงจนกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ความคิดที่ผมเอามาใช้ส่วนใหญ่เป็นความคิดของคนอื่นที่ไม่เคยถูกพัฒนาขึ้นมาทั้งนั้นแหละครับ”

โธมัส อัลวา เอดิสัน

ความสำคัญ

ความสำคัญในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

1. ความสำคัญต่อมวลมนุษยชาติ

2. ความสำคัญต่อประเทศชาติ

3. ความสำคัญต่อองค์กร

4. ความสำคัญต่อปัจเจกบุคคล

กระบวนการ

กระบวนการของการคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการทำงานของสมองซีกขวา และสามารถแสดงหรือบอกให้ผู้อื่นได้รู้ได้ต้องอาศัยสมอง ซีกซ้ายที่อาศัยการรวบรวม วิเคราะห์ ดังนั้นถ้าสมองทั้ง 2 ซีก ได้รับการพัฒนาและทำงานประสานกันอย่างสมดุล ก็จะทำให้ เกิดประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

การคิดนอกกรอบ

การคิด

นอกกรอบ

ความหมาย

ความคิดนอกกรอบคือ...

"วิธีการพร้อมทั้งเทคนิคต่าง ๆ ที่ได้ระดมกันเพื่อที่จะค้นคว้า วิธีการใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปโดยสิ้นเชิง จากวิธีการเดิม ๆ ในการแก้ปัญหา” เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน

ความแตกต่างของความคิดแบบแนวตั้งกับความคิดนอกกรอบ

ความสำคัญ

ความสำคัญของความคิดนอกกรอบ

เป็นแนวทางเพื่อสร้างสรรค์พัฒนาผลงานชิ้นใหม่ๆ เกิดเทคโนโลยี ต่างๆ เพื่อประโยชน์ของมนุษย์

เรือล่ม

ในเรือลำหนึ่งซึ่งใกล้จะอับปาง มีผู้โดยสารทั้งหมด 14 คน ได้แก่

1. ตัวคุณเอง 2. พระสงฆ์

3. ชายฉกรรจ์ 4. หญิงสาว

5. เด็ก 6. ชายชรา

7. คนพิการ 8. ผู้หญิงท้อง

9. นักการเมือง 10. ครู

11. วิศวกร 12. แพทย์

13. คนขับเรือ 14. เด็กเก็บค่าโดยสารเรือ

เรือมีเรือยางที่จะบรรจุคนได้ 13 คน คุณจะไม่เลือกใครขึ้นเรือ... เพราะอะไร

Learn more about creating dynamic, engaging presentations with Prezi