Introducing
Your new presentation assistant.
Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.
Trending searches
ผู้จัดทำ
พระณัฐทศักดิ์ สํวรธมฺโม
พระวุฒิพงษ์ อนาลโย
ความหมายของอปัณณกสูตร
ความหมายของอปัณณกสูตรที่เป็นหลักปฏิบัติกรรมฐานปรากฏในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต ในหลักธรรมของพระพุทธพจน์นี้ตรัสถึงข้อปฏิบัติที่ไม่
ผิด ๓ ประการ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อปัณณกปฏิปทา ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด ปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนําผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดําเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์
อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาดซึ่งมีข้อปฏิบัติ ๓ ประการ ได้แก่
(๑) อินทรีย์สังวร อินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ ดังที่ปรากฏอยู่ที่อินทรีย์ ๒๒ ในวิปัสสนาภูมิว่า
๑.) จักขุนทรีย์ (๒. โสตินทรีย์
๓.) ฆานินทรีย์ (๔. ชิวหินทรีย์
๕.) กายินทรีย์ (๖. อิตินทรีย์
๗.) ปริสินทรีย์ (๘. ชีวิตินทรีย์
๙.) มนินทรีย์ (๑๐. สุขินทรีย์
๑๑.) ทุกอินทรีย์ (๑๒. โสมนัสสินทรีย์
๑๓.) โทมนัสสินทรีย ์ (๑๔. อุเบกขินทรีย์
๑๕.) สัทธินทรีย์ (๑๖. วิริยินทรีย์
๑๗.) สตินทรีย ์ (๑๘. สมาธินทรีย์
(๑๙.) ปัญญินทรีย ์
(๒๐.) อนัญญาตัญญัสสามิตินทรีย์
(๒๑.) อัญญินทรีย์ (๒๒.) อัญญาตาวินทรีย
ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงการสํารวมอินทรีย์ทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เพื่อปิดกั้นไม่ให้เกิด อกุศลทางทวาร
๒) โภชเน มัตตัญญตา โภชเนมัตตัญญตา คือ การรู้จักประมาณในการบริโภค
การรู้จักประมาณในการฉันอาหาร คือ การมีสติในขณะฉันอาหาร ผู้บําเพ็ญเพียร ไม่ควรฉัน อาหารมากเกินไป หรือน้อยเกินไป เพราะทําให้เกิดโทษได้
อานิสงส์ต่อการปฏิบัติดังนี้ คือ
๑. )ทําให้มีโรคน้อยการรู้จักประมาณในการบริโภค ย่อมทําให้เกิดความเบาสบายแห่งกาย กายไม่มีโรคมาก
อาหาร
๒. )ทําให้คล่องตัวต่อการปฏิบัติธรรม
๓.๑) ชาคริยานุโยคตามทัศนอาจารย์
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปญโญ) ได้ให้คําจํากัดความของชาคริยานุโยค เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมว่า “การเรียนรู้กับการทําจริง ย่อมต่างกันมาก การตรัสรู้เกิดจากการกระทํา จริง ๆ ไม่ได้เกิดจากความรู้ในกระดาษ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เพราะการกระทําความเพียรด้วยใจจริง ๆ
หลักการและวิธีการปฏิบัติในอปัณณกสูตร
ในอปัณณกสูตร พระองค์ตรัสหลักการและวิธีการในการ
ปฏิบัติด้วยการ เริ่มการประกอบ ความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ
ชําระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอด
วัน ชําระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นตัวขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์ โดย
ข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นในมัชฌิมยาม
แห่งราตรี ลุกขึ้นชําระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม ที่เป็น
ตัวขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิมยาม
แห่งราตรี ภิกษุชื่อว่า ประกอบความเพียร เครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างนี้แล
ในการทําความเพียร มีหลักการว่า ภิกษุไม่พึงนอนมาก ควรนอนในมัชฌิมยาม (ยามกลาง) ของกลางคืนเท่านั้น ส่วนในปฐมยามและปัจฉิมยาม ควรทําความเพียรด้วยการเดินจงกรมและนั่งสมาธิ ภิกษุไม่พึงหลับมาก หมายถึง การแบ่งกลางคืนและกลางวัน ออกเป็น ๕ ส่วน ตื่นเสีย ๕ ส่วน นอนหลับเสีย ๑ ส่วน
ท่านได้แบ่งกลางวัน ออกเป็น ๓ ส่วน มี ๑๒ ชั่วโมง กลางคืน ๓ ส่วน มี ๑๒ ชั่วโมง รวมทั้งกลาง วันและกลางคืน เป็น ๒๔ ชั่วโมง โดยแบ่งช่วงละ ๔ ชั่วโมงเท่ากันหมด คือ
ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม แบ่งเวลาได้ดังนี้
ในปฐมยาม หมายถึง เวลาตั้งแต่ ๑๘.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. ในเวลา ๔ ชั่วโมงนี้ให้ทําความเพียรด้วย การเดินจงกรม สลับกับนั่งไปจนหมดเวลา
ในมัชฌิมยาม หมายถึง เวลาตั้งแต่ ๒๒.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ในเวลา ๔ ชั่วโมงนี้ ให้นอนแบบ สีหไสยาสน์ ด้วยการตะแคงข้างขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติกําหนดลุกขึ้นตลอดเวลา
ในปัจฉิมยาม หมายถึง เวลาตั้งแต่ ๐๒.๐๐ – ๐๖.๐๐ น. ในเวลา ๔ ชั่วโมงนี้ ให้ลุกขึ้นทํา ความเพียร ด้วยการเดินจงกรม สลับกับนั่งไปจนอรุณขึ้น
สรุปท้ายบท
อปัณณกสูตร พระพุทธเจ้าตรัสถึง ๓ เรื่อง คือ การสํารวมอินทรีย์ ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรม ครอบงําใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง 5 โภชเนมัตตัญญตา คือ ความรู้จักประมาณในการบริโภค รู้จักพิจารณารับประทานอาหาร เพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทํากิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนาน มัวเมา ชาคริยานุโยค คือ การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน ขยันหมั่นเพียร ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชําระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับ มหาสติปัฏฐานสูตรโดยที่ การสํารวมอินทรีย์ไปเชื่อมโยงกับสติสัมปชัญญะในสติปัฏฐาน ๔ คือ สติควบคุม
รักษา สํารวม ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ในขณะปฏิบัติกรรมฐาน กายบริหารโดยการบริโภค อาหารพอประมาณต่อความต้องการเพื่อสะดวกต่อการ ยืน เดิน นั่ง และนอน และต้องนําเอาความเพียร มาเป็นแรงขับเคลื่อนเรียกว่า ชาคริยานุโยค คือ ความเป็นผู้ตื่นอยู่เสมอต่อการปฏิบัติธรรม
ขอจบการนำเสนอไว้แต่เพียงเท่านี้