Introducing 

Prezi AI.

Your new presentation assistant.

Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.

Loading content…
Loading…
Transcript

6. สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้

1) ใบความรู้ เรื่อง ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

2) ใบงาน เรื่อง ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

3) Application Solar system

4) Application Plickers

6. สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้

7. แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

1) ศึกษาค้นคว้าจากใบความรู้ หนังสือเรียน ตำรา เอกสาร วารสารต่างๆ ในห้องสมุดโรงเรียน

2) ศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต

7

การวัดและการประเมินผล

แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ระบบสุริยะและพลังงานแสง เวลา 40 นาที

เรื่อง ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ว 7.1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแล็กซี่ ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ และผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัด

ว 7.1 ม.1 /1 สืบค้นและอธิบายระบบสุริยะ กาแล็กซี และเอกภพ

1. สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ระบบสุริยะประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางและมีบริวารโคจรอยู่โดยรอบ คือ ดาว เคราะห์ 8 ดวง ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ ส่วนดาวตกหรือ ผีพุ่งไต้ อุกกาบาต อาจเกิดมาจากดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย หรือวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

2.1 ด้านความรู้ (K)

1) อธิบายลักษณะของดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง

2.2 ด้านทักษะกระบวนการ (P)

1) ออกแบบแผนผังความคิดสรุปองค์ความรู้ เรื่อง ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

2.3 ด้านคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)

1) นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำงาน

2) มีความสนใจใฝ่เรียนรู้

3) มีความรับผิดชอบ

3. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1.ความสามารถในการสื่อสาร

2. ความสามารถในการคิด

1.1 ทักษะการตั้งสมมุติฐาน

1.2 ทักษะการตรวจสอบสมมุติฐาน

1.3 ทักษะการเชื่อมโยง

3. ความสามารถในการแก้ไขปัญหา

4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

1) มีวินัย

2 ) ใฝ่เรียนรู้

3) มุ่งมั่นในการทำงาน

4. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

5. กิจกรรมการเรียนรู้ : กิจกรรมการเรียนรู้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

โดยใช้เทคนิคการสืบสอบเป็นกลุ่ม (Group Investigation :GI)

5

5.1

5.1 ขั้นการทบทวนและชี้แจง (10 นาที)

1) ครูทบทวนความรู้เดิมโดยการนำรูปภาพเกี่ยวกับระบบสุริยะมาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากการดูรูปภาพในประเด็น ดังนี้

ครูถามนักเรียน : นักเรียนรู้หรือไม่ว่าระบบสุริยะคืออะไร และประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

นักเรียนตอบ : (ระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ)

2) ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ โดยใช้แอปพลิเคชัน Plickers

3) ครูอธิบายขั้นตอนของการปฏิบัติงานและวิธีการต่างๆ ของการเรียนแบบ GI

5.2 ขั้นการมอบหมายงานปฏิบัติงาน

1) ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คนโดยให้คละความสามารถ เก่ง กลาง อ่อน

2) ครูจัดเตรียมใบงาน โดยแยกออกเป็น 4 ส่วน หรือ 4 วิธีตามความเหมาะสม (จัดแบ่งงานง่าย-ยาก) มอบให้แต่ละกลุ่มเหมือนกัน

3) แต่ละคนทำตามใบงานที่ได้รับมอบหมายโดยศึกษาข้อมูล เรื่อง ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ด้วย Application Solar system อินเตอร์เน็ตและใบความรู้ ให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด

5.2

5.3 ขั้นสรุปผลงาน

1) แต่ละคนนำผลงานของตนเสนอต่อเพื่อนๆ ในกลุ่มตามลำดับ 1-4

2) อธิบายลักษณะงานที่ได้รับ การดำเนินงาน จนถึงสรุปที่ได้ (หรือผลงานที่ แล้วเสร็จ)

3) เพื่อนๆ สามารถร่วมอภิปรายหรือซักถาม แนวความคิด แนวการแก้ปัญหาหรือ เสนอความคิดเห็นอื่นๆ ได้ จนทุกคนเข้าใจแจ่มชัดในทุกงานครบถ้วน

4) จัดทำเป็นแผนผังมโนทัศน์ (Mind mapping) หรือผลงานร่วมกัน

5.4 ขั้นการประเมินผล

1) ให้นักเรียนนำผลงานมาเสนอหน้าชั้นเรียน แล้วครูผู้สอนประเมิน หรือตั้งกรรมการนักเรียนมาช่วยประเมินผลงานของกลุ่มต่างๆ (นอกเวลาเรียน)

2) ครูเลือกนักเรียนคนใดก็ได้ในแต่ละกลุ่มมารายงานผลการทำงานทั้งหมด ทุกคนต้องพร้อมที่จะรายงานทั้งหมดได้

3) ครูสรุปความรู้เพิ่มเติมจากแผนผังมโนทัศน์

4) จากคะแนนที่ได้ ครูชมเชย หรือให้รางวัล หรือเก็บสะสมคะแนนไว้ สำหรับการจัดหา Super Team ประจำสัปดาห์ต่อไป

5) ครูประเมินผลความรู้เรื่องระบบสุริยะโดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน 10 ข้อ โดยใช้แอปพลิเคชัน Plickers

5.3

1ขั้นการทบทวนและชี้แจง

ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้

1) ครูทบทวนความรู้เดิมโดยการนำรูปภาพเกี่ยวกับระบบสุริยะมาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากการดูรูปภาพในประเด็น ดังนี้

ครูถามนักเรียน : นักเรียนรู้หรือไม่ว่าระบบสุริยะคืออะไร และประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

นักเรียนตอบ : (ระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ)

2) ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ โดยใช้แอปพลิเคชัน Plickers

3) ครูอธิบายขั้นตอนของการปฏิบัติงานและวิธีการต่างๆ ของการเรียนแบบ GI

2

2 ขั้นการมอบหมายงานปฏิบัติงาน

1) ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คนโดยให้คละความสามารถ เก่ง กลาง อ่อน

2) ครูจัดเตรียมใบงาน โดยแยกออกเป็น 4 ส่วน หรือ 4 วิธีตามความเหมาะสม (จัดแบ่งงานง่าย-ยาก) มอบให้แต่ละกลุ่มเหมือนกัน

3) แต่ละคนทำตามใบงานที่ได้รับมอบหมายโดยศึกษาข้อมูล เรื่อง ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ด้วย Application Solar system อินเตอร์เน็ตและใบความรู้ ให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด

3

3 ขั้นสรุปผลงาน

1) แต่ละคนนำผลงานของตนเสนอต่อเพื่อนๆ ในกลุ่มตามลำดับ 1-4

2) อธิบายลักษณะงานที่ได้รับ การดำเนินงาน จนถึงสรุปที่ได้ (หรือผลงานที่ แล้วเสร็จ)

3) เพื่อนๆ สามารถร่วมอภิปรายหรือซักถาม แนวความคิด แนวการแก้ปัญหาหรือ เสนอความคิดเห็นอื่นๆ ได้ จนทุกคนเข้าใจแจ่มชัดในทุกงานครบถ้วน

4) จัดทำเป็นแผนผังมโนทัศน์ (Mind mapping) หรือผลงานร่วมกัน

4

4 ขั้นการประเมินผล

1) ให้นักเรียนนำผลงานมาเสนอหน้าชั้นเรียน แล้วครูผู้สอนประเมิน หรือตั้งกรรมการนักเรียนมาช่วยประเมินผลงานของกลุ่มต่างๆ (นอกเวลาเรียน)

2) ครูเลือกนักเรียนคนใดก็ได้ในแต่ละกลุ่มมารายงานผลการทำงานทั้งหมด ทุกคนต้องพร้อมที่จะรายงานทั้งหมดได้

3) ครูสรุปความรู้เพิ่มเติมจากแผนผังมโนทัศน์

4) จากคะแนนที่ได้ ครูชมเชย หรือให้รางวัล หรือเก็บสะสมคะแนนไว้ สำหรับการจัดหา Super Team ประจำสัปดาห์ต่อไป

5) ครูประเมินผลความรู้เรื่องระบบสุริยะโดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน 10 ข้อ โดยใช้แอปพลิเคชัน Plickers

GIมีองค์ประกอบอยู่ด้วยกัน 6 ประการ คือ

GI

4

5

1

1. การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา (Topic Selection) นักเรียนเลือกหัวข้อที่ เฉพาะเจาะจงของปัญหาที่เลือก แล้วกลุ่มจะแบ่งภาระงานออกเป็นงานย่อย ๆ ที่มีสมาชิก 2 – 5 คน ร่วมกันทำงาน

2

2. การวางแผนร่วมมือกันในการทำงาน (Cooperative Planning) ครูและ นักเรียนวางแผนร่วมกันในวิธีดำเนินการ ภาระงานที่ทำ และเป้าหมายของงานในแต่ละหัวข้อย่อยตามปัญหาที่เลือก

3

3. การดำเนินงานตามแผนการที่วางไว้ (Implementation) นักเรียนดำเนินงาน ตามแผนการที่วางไว้ในขั้นที่ 2 กิจกรรมและทักษะต่าง ๆ ที่นักเรียนจะต้องศึกษาควรมาจากแหล่งข้อมูลทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ครูจะให้คำปรึกษากับกลุ่มพร้อมกับติดตามความก้าวหน้าในการทำงานของนักเรียนและช่วยเหลือนักเรียนเมื่อเขาต้องการความช่วยเหลือ

4. การวิเคราะห์และสังเคราะห์งานที่ทำ (Analysis and Synthesis) นักเรียน วิเคราะห์และประเมินข้อมูลที่เขารวบรวมได้ในขั้นที่ 3 และวางแผนหรือลงข้อสรุปในรูปแบบที่น่าสนใจเพื่อนำเสนอต่อชั้นเรียน

5. การนำเสนอผลงาน (Presentation of Final Report) กลุ่มนำเสนอผลงาน ตามหัวข้อเรื่องที่เลือก ครูต้องพยายามให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมขณะที่มีการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน เพื่อเป็นการขยายความคิดของตัวนักเรียนเองให้กว้างไกล โดยเฉพาะในหัวข้อเรื่องที่กลุ่มไม่ได้ศึกษาครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานในระหว่างการเสนผลงาน

6. การประเมินผล (Evaluation) ครูและนักเรียนจะร่วมกันประเมินผลงานที่ถูกนำ เสนอ พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นที่มีต่อผลงานทุกชิ้น การประเมินผลอาจรวมทั้งการประเมินเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม GI เป็นการเรียนแบบร่วมมือที่มอบหมายความรับผิดชอบอย่างสูงให้กับนักเรียน ในการที่จะบ่งชี้ว่าเรียนอะไรและเรียนอย่างไร ในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และตีความหมายของสิ่งที่ศึกษา โดยเน้นการสื่อความหมายและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของกันและกันในการทำงาน

6

รูปแบบ GI

(Group Investigation) GI (Group Investigation)

พัฒนาโดย Sharan และคณะ เป็นรูปแบบการเรียน แบบร่วมมือที่มีความซับซ้อนและกว้างมาก ปรัชญาของรูปแบบ GI ก็คือ ต้องการปลูกฝังการร่วมมือกันอย่างมีประชาธิปไตย มีการกระจายภาระงานและสิทธิในการแสดงความคิดเห็นที่เท่าเทียมกันของสมาชิกในกลุ่ม GI มีการกระตุ้นบทบาท

ที่แตกต่างกันทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน

1. นักเรียนแต่ละคนจะได้แสดงความสามารถของตน ในการแสวงหาความรู้

2.นักเรียนแต่ละคนต้องถ่ายทอดความรู้หรือวิธีการทำงานให้เพื่อนนักเรียนเข้าใจด้วย

3.ทุกคนต้องร่วมแสดงความคิดเห็นอภิปรายซักถามจนเข้าใจในทุกเรื่อง (หรือทุกงาน)

4. ทุกคนต้องร่วมมือกันสรุปความเข้าใจที่ได้ (สูตรหรือความสัมพันธ์หรือผลงาน) นำส่งอาจารย์เพียง 1 ฉบับเท่านั้น

5. เหมาะกับการสอนความรู้ที่สามารถแยกเป็นอิสระได้เป็นส่วน ๆ หรือแยกทำได้ หลายวิธี หรือการทบทวนเรื่องใดที่แบ่งเป็นเรื่องย่อย ๆ ได้ หรือการทำงานที่แยกออกเป็นชิ้น ๆ ได้

อาภรณ์ ใจเที่ยง (2550 : 121) ได้กล่าวว่า ดังนี้

1.เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกทักษะกระบวนการ

กลุ่มได้ฝึกบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม

2. เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดค้นคว้า ทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทักษะการคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การตั้งคำถาม ตอบคำถาม การใช้ภาษา การพูด ฯลฯ

3. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะทางสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น การเสียสละ การยอมรับกันและกัน การไว้วางใจ การเป็นผู้นำ ผู้ตาม ฯลฯ

วัตถุประสงค์ สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือนับว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้กระบวนการกลุ่มให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำงานร่วมกันเพื่อผลประโยชน์และเกิด

ความสำเร็จร่วมกันของกลุ่ม ซึ่งการเรียนแบบร่วมมือมิใช่เป็นเพียงจัดให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม เช่น ทำรายงาน ทำกิจกรรมประดิษฐ์หรือสร้างชิ้นงาน อภิปราย ตลอดจนปฏิบัติการทดลองแล้ว ผู้สอนทำหน้าที่สรุปความรู้ด้วยตนเองเท่านั้น แต่ผู้สอนจะต้องพยายามใช้กลยุทธ์วิธีให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการประมวลสิ่งที่มาจาก

การทำกิจกรรมต่างๆ จัดระบบความรู้สรุปเป็นองค์ความรู้ด้วยตนเองเป็นหลักการสำคัญ (พิมพันธ์ เดชะคุปต์, 2544 :15 ) ดังนั้น การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือผู้สอนจะต้องเลือกเทคนิคการจัดการเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียน และผู้เรียนจะต้องมีความพร้อมที่จะร่วมกันทำกิจกรรม รับผิดชอบงานของกลุ่มร่วมกัน โดยที่กลุ่มจะประสบความสำเร็จได้ เมื่อสมาชิกทุกคนได้เรียนรู้บรรลุตามจุดมุ่งหมายเดียวกัน นั่นคือ การเรียนเป็นกลุ่มหรือเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)

Separated

Design Elements:

Customize and add your content

Learn more about creating dynamic, engaging presentations with Prezi