Introducing
Your new presentation assistant.
Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.
Trending searches
สมุดภาพหมุน
เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
นางสาวพิมพ์วิภา ระวังทรัพย์
นวัตกรรมการเรียนการสอน
ผู้พัฒนานวัตกรรมสร้างสมุดภาพหมุน เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา เพื่อนำมาประกอบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา โดยมีขั้นตอนการสร้างดังนี้
6.1 ศึกษาสภาพปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเวียงผาวิทยา
6.2 ศึกษาหลักสูตร ค้นคว้าข้อมูล คู่มือการจัดการเรียนรู้ หลักสูตรโรงเรียนเวียงผาวิทยาเกี่ยวกับการจัดทำหน่วยการเรียนรู้
6.3 ศึกษาการสร้างนวัตกรรม สมุดภาพหมุน เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จากเอกสารต่าง ๆ
6.4 ดำเนินการสร้างนวัตกรรม สมุดภาพหมุน เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2
6.5 สร้างแบบประเมินนวัตกรรม สมุดภาพหมุน เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โดยถามครอบคลุมองค์ประกอบของแบบฝึกทักษะ 5 ด้านคือ
1) จุดประสงค์
2) เนื้อหา
3) รูปแบบ
4) การใช้ภาษา
5) การวัดและประเมินผล
6.6 นำสมุดภาพหมุน เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา นำไปใช้จริงกับกลุ่มประชากร
11.1. เพื่อพัฒนาการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้สมุดภาพหมุน เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเวียงผาวิทยา
11.2. เพื่อเพื่อพัฒนานวัตกรรม สมุดภาพหมุน เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเวียงผาวิทยา ปีการศึกษา 2562
1.ก่อนจะนำนวัตกรรมสมุดภาพหมุน เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา มาใช้ประกอบการเรียน ครูผู้สอนควรทำการศึกษาขั้นตอนการใช้ คำชี้แจง ทำการวางแผนการจัดการเรียนรู้ กำหนดกิจกรรมอย่างแน่นอน
2.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนของครู และส่งเสริมการเรียนของนักเรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมจากนวัตกรรมด้วยตนเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
1. เพื่อพัฒนาการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้สมุดภาพหมุน เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเวียงผาวิทยา
2. เพื่อเพื่อพัฒนานวัตกรรมสมุดภาพหมุน เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเวียงผาวิทยา
ปีการศึกษา 2562
การเขียนเป็นทักษะทางภาษาที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกความต้องการและความเข้าใจออกมาเป็นตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ การเขียนจึงมีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ปัจจัยที่สำคัญในการเขียนที่จะทำให้ผู้เขียนสื่อความหมายได้ตรงตามที่ต้องการ
การเขียนสะกดคำให้ถูกต้องนั้นนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียน ฝึกเขียน จะใช้ความสามารถการสะกดคำจดบันทึกคำอธิบายของครู ทำแบบฝึกหัด และเขียนตอบข้อสอบในวิชาต่างๆ การฝึกฝนทักษะการเขียนจะต้องอาศัยการจดจำหลักเกณฑ์ทางหลักภาษามาช่วยให้การเขียนสะกดคำได้ถูกต้อง
ผู้ศึกษาได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยพร้อมทั้งวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการสอบการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเวียงผาวิทยา พบว่าในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 พบว่า นักเรียนมีปัญหาทางด้านการเขียนสะกดคำไม่ถูกต้องโดยเฉพาะคำที่อยู่ในตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา เมื่อนักเรียนเขียนสะกดคำไม่ได้ย่อมส่งผลให้อ่านไม่ออกตามมาด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำและการที่นักเรียนอ่านไม่ออกเขียนสะกดคำไม่ถูกต้องยังมีผลกระทบต่อไปในการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นอีกด้วย
จากการศึกษาค้นพบว่า นวัตกรรมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ สมุดภาพหมุน เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ซึ่งจะทำให้นักเรียนเขียนคำที่อยู่ในตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราได้ถูกต้องมากขึ้นและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น เนื่องจากนวัตกรรม มีความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถเขียนคำได้ถูกต้องมากขึ้นจากการฝึกเขียนบ่อยๆ
งบประมาณทั้งสิ้น 150 บาท
1. กระดาษการ์ดแข็ง A4 จำนวน 1 ห่อ
2. กระดาษเทาขาว จำนวน 2 แผ่น
3. กระดาษสีสองหน้า จำนวน 5 แผ่น
4. กาวสองหน้า จำนวน 1 ม้วน
5. กรรไกร จำนวน 1 ด้าม
6. กล่องกระดาษ จำนวน 1 กล่อง
7. กาวลาเท็กซ์ จำนวน 1 กระปุก
8. ดินสอ จำนวน 1 ด้าม
9. มีดคัตเตอร์ จำนวน 1 ด้าม
เดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน