Introducing 

Prezi AI.

Your new presentation assistant.

Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.

Loading…
Transcript

งานสรุปความรู้

1. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้แต่ง

2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

รูป

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เป็นเรื่องราวของพระองศ์ ณ เวลานั้น การเข้ามาของฝรั่งเศสได้สร้างความกังวลพระหฤทัยเป็นอย่างมาก ประกอบกับอาการประชวนจึงทำให้บทพระราชนิพนธ์นี้ เปรียบเสมือนการบรรยายความทุกข์ ความสิ้นหวังและความกังวลของพระองค์ หลังจากจบบทพระราชนิพนธ์ก็ต่อด้วยบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งมีรูปแบบลักษณ์ของการถวายกำลังพระทัย ซึ่งอยู่ในส่วนแรก ถัดมาเป็นการให้ข้อคิดโดยการใช้อุปมา ต่อจากการให้ข้อคิด สมด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและทรงอาสาจะถวายชีวิตรับใช่และต่อสู้กับปัญหาที่ประเผชิญ สุดท้ายพระนิพนธ์จบลงด้วยการถวายพระพรและคำยืนยันถึงความจงรักภักดีที่ประชาชน ไทยมีต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เนื้อเรื่องย่อ

คุณค่าด้านเนื้อหา

เนื้อหาของขัตติยพันธกรณีไม่ซับซ้อนยุ่งยากเหมือนวรรณคดีเรื่องอื่นเนื่องจากเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง จึงสามารถเข้าใจได้ง่ายด้วยตัวเองเพราะฉะนั้นแล้วข้อคิดที่จากการอ่านนั้นสามารถนำประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวันได้ไม่ว่าจะเรื่องของปัญหาที่ต้องเผชิญหรือ ภาระหน้าที่ที่ต้องทำเพื่อจะได้นำไปใช้ปฏิบัติใช้ใน การดำเนินชีวิตต่อไป

ข้อคิดที่ได้รับ

ความขัดแย้งในอดีตระหว่างไทยและฝรั่งเศส และแสดงให้เห็นถึงความสามารถและความพยายามของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงรักษาแผ่นดินไว้ และยังเป็นวรรณคดีที่มีคุณค่าสูงและเป็นที่ประทับใจของผู้ได้อ่านได้ฟังเป็นอย่างยิ่ง และยังมีคำประพันธ์ที่สวยงามและคำศัพท์ ภาพพจน์เพื่อสร้างจินตภาพและอารมณ์สะเทือนใจเป็นอย่างมาก กวีนิพนธ์เรื่องนี้ยังช่วยยืนยันความเป็นจริงว่า วรรณคดีนั้นเป็นสิ่งที่กล่อมเกลามนุษย์ให้รู้จักความงาม ความดี และความเป็นจริงของชีวิต

ความรู้ที่ได้รับ

1.ได้ทราบความเป็นมาของปัญหาระหว่างไทยและ ฝรั่งเศสในอดีต

2.ได้ทราบลักษณะคำประพันธ์ของเรื่อง ขัตติยพันธกรณี

3.ได้ทราบถึงพระราชประวัติของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

5.ได้เรียนรู้และทำให้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจที่เกิดมาใน แผ่นดินไทย

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

ขัตติยพันธกรณีมีการใช้ฉันท์ลักษณ์ที่หลากหลายรูป แบบเช่นบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงใช้โคลงสี่สุภาพนำและตามด้วย อินทรวิเชียรฉันท์อีกทั้งมีการเล่นสัมผัสนอก-ใน

รวมถึงการเล่นสัมผัสสระและอักษรอีกทั้งยังมีการเล่นคำซ้ำ

ดังตัวอย่าง

“แม้หายก็พลันยากจะลำบากฤทัยพึง ตริแต่จะถูกรึงอุระรัดและอัตรา”

อีกทั้งยังมีการใช้โวหารภาพพจน์ดังเช่นการใช้อุปลักษณ์เปรียบเทียบ ภาระหน้าที่เหมือนตะปูที่ตรึงพระบาทไว้ขัตติยพันธกรณียังมีรูปแบบ คล้ายกับบทนิราศที่รำพันรำพันที่ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจซึ่งถือว่า เป็นความงามที่จับต้องได้ยากในปัจจุบัน

โวหารภาพพจน์ที่ปรกฏ

1. พรรณนาโวหาร

ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังสามารถรู้สึกถึงรสไพเราะของเนื้อความได้ โดยการสร้างภาพที่เด่นชัดและลึกซึ้งจนเกิดจินตภาพคล้อยตาม

2. อุปมาโวหาร

การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมต่างๆ เช่น “คล้ายกับผู้จวนม้วยชีพสิ้นสติสูญ” และ “เปรียบตัวเหมือนอย่างม้า ที่เป็นพาหยาน”

3. สัญลักษณ์

การใช้สัญลักษณ์เพื่อเรียกสิ่งๆหนึ่งแต่ใช้คำอื่นแทน คำที่ใช้มักเป็นคำที่เข้าใจง่ายและใช้กันทั่วไป ในวรรณคดีเรื่องขัตติยพันธกรณีนั้น มีการใช้สัญลักษณ์แทนความหมายหลายคำ เช่น “ตะปูดอกใหญ่ตรึง บาทา อยู่เฮย” คำว่า “ตะปู” สื่อถึงอุปสรรคและเรื่องทีี่กษัตริย์ทรงกลุ้มพระทัยอยู่ในขณะนั้น และ

“ดุจเหล่าพละนา- วะเหว่กะปิตัน” คำว่า “กะปิตัน” สื่อถึงกษัตริย์ที่ทรงเป็นผู้นำให้แก่ประเทศชาติ

กลวิธีการประพันธ์

กลวิธีการประพันธ์

ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพ เเละ อินทร์วิเชียรฉันท์

ตัวอย่างลักษณะคำประพนธ์

โคลงสี่สุภาพ

อินทร์วิเชียรฉันท์

คุณค่าทางด้านสังคม

สภาพสังคม ณ ขณะนั้นเป็นสังคมของการเอาตัวรอดเพราะปัญหาต่างๆที่รุมเล้าทำให้ราชวงศ์และประชาชนทั่วไป ต้องดูแลตัวเอง

เช่น

“ชีวิตมนุษย์นี้ เปลี่ยนแปลงจริงนอ

ทุกข์และสุขพลิกแพลง มากครั้ง

โบราณท่านจึงแสดงเป็นเยี่ยงอย่างนา ชั่วนับเจ็ดทีทั้งเจ็ดข้างฝ่ายดี”

คำประพันธ์นี้สอนว่าชีวิตคนเรานั้นเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเดี๋ยวทุกข์เดี๋ยวสุขสลับกันไปอย่างที่คนโบราณ กล่าวกันมาว่าชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหนจากบทความจะเห็นว่าความคิดและความเชื่อของคนไทยในอดีตนั้นจึงเป็นออกแนวไปทางความรักชาติส่วนใหญ่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันที่มีการปลุกจิตสำนึกให้คนรักชาติและตระหนักถึงคุณค่าของความเหนื่อยยากของบรรพบุรุษที่ยอมแลกชีวิตเพื่อปกป้องพื้นแผ่นดินนี้ไว้

Learn more about creating dynamic, engaging presentations with Prezi