Introducing 

Prezi AI.

Your new presentation assistant.

Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.

Loading…
Transcript

การเขียนรายงานการพัฒนาและการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

Presented by Poppy & Jaja

การเขียนรายงานผลการพัฒนาสื่อ/

นวัตกรรม มีลักษณะไม่แตกต่างจากการ เขียนรายงานการวิจัยแต่จะลดความเข้มข้นของการค้นคว้าผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และความเข้มข้นทางสถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล

1

การเขียนรายงาน

ควรมีลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ

1. มีความตรง

2. มีความชัดเจน

3. มีความสมบูรณ์

4. มีความถูกต้องตามความเป็นจริง

2

ส่วนประกอบ

ของการเขียนรายงาน

1. ชื่อเรื่อง

3

2. ส่วนที่เป็นเนื้อหา

แบ่งออกเป็น 5 บทดังนี้

• บทที่ 1 บทนำ

• บทที่ 2 การพัฒนานวัตกรรม

• บทที่ 3 การทดลองใช้นวัตกรรม

• บทที่ 4 ผลการทดลองใช้นวัตกรรม

• บทที่ 5 สรุปผลอภิปรายผลและ

ข้อเสนอแนะ

3. ส่วนอ้างอิง

• บรรณานุกรม

• ภาคผนวก

1. ชื่อเรื่อง

4

เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้อ่าน

เกิดความเข้าใจในปัญหา และวิธี

การพัฒนาได้ตรงกับผู้พัฒนา ชื่อ

เรื่องที่ดีควรจะดึงดูด ความสนใจ

ของผู้อื่นและสามารถวิเคราะห์หา คุณลักษณะของตัวแปรที่ประสงค์

จะศึกษา

งานที่พัฒนา :

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการออก เสียงคำควบกล้ำ

ชื่อรายงาน :

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยสอน เรื่อง การออกเสียงคำควบ กล้ำ เพื่อสร้างทักษะการอ่านออก เสียง สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4

บทที่ 1 บทนำ

5

การนำเข้าสู่เนื้อหาของรายงาน

1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

1.1.1 ลักษณะที่ปรากฏของปัญหา เช่น

นักเรียนมีผลการเรียนรู้เป็นอย่างไร การเขียนอาจจะมีหลักฐานประกอบ เช่น กราฟ แผนภูมิ ฯลฯ

1.1.2 สาเหตุของปัญหา

ควรกล่าวถึงสิ่งที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิด

ปัญหาโดยสาเหตุอาจมาจากองค์ประกอบต่างๆ

1.1.3 แนวทางที่จะนำมาแก้ปัญหา

กล่าวถึง แนวทางต่างๆ ที่จะสามารถใช้ แก้ปัญหาได้ แต่ละแนวทางอาจอ้างอิงทฤษฎี หลักการหรือผลการวิจัยต่างๆ หรืออาจใช้ความ คิดสร้างสรรค์หรือประสบการณ์ส่วนตัว

1.1

1.2

1.2 วัตถุประสงค์

การเขียนควรกล่าวถึงผลที่ต้องการ ได้รับหลังจากใช้นวัตกรรมนั้นแล้ว เช่น กล่าวถึงตัวนักเรียนว่า จะเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถ ทักษะ เจตคติ ค่านิยม และศึกษานิสัยในแง่ใดบ้าง

ปัญหา : นักเรียนไม่สามารถออกเสียงคำควบกล้ำได้

แนวทางการแก้ปัญหา : จัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เช่น การออกเสียงคำควบกล้ำ

วัตถุประสงค์ :

1. เพื่อประเมินสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

เรื่องการออกเสียงคำควบกล้ำ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์

80/80

2. เพื่อศึกษาความสามารถของนักเรียนในการออกเสียง

คำควบกล้ำ

3. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนที่ฝึกโดย

ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับที่เรียนปกติ

1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

การเขียนอาจกล่าวถึงผลที่คาดว่า จะได้รับหลังจากใช้นวัตกรรมไปแล้ว ทั้ง ทางตรงทางอ้อม ระยะสั้น และระยะยาว โดยจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

1.4 ขอบเขตของการศึกษา

ควรระบุให้ชัดว่านวัตกรรมที่พัฒนา ขึ้นมานี้ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเมื่อใด เวลาใด

1.5 คำนิยามศัพท์เฉพาะ

การกำหนดคำนิยามศัพท์เฉพาะ เขียนขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจตรงกับที่ผู้เขียนต้องการสื่อความหมายและไม่ควร เขียนยาวมากนัก

1.3-1.5

6

บทที่ 2 การพัฒนานวัตกรรม

2.1

2.1 แนวคิดทฤษฎีที่ใช้

การเขียนหัวข้อนี้ควรกล่าวถึงกรอบ ความคิดหรือแนวคิดทฤษฎีที่นำมาใช้ ในการสร้างนวัตกรรมเพื่อชี้นำให้เห็น ว่านวัตกรรมที่สร้างมีความสำคัญ มีเหตุ ผล และมีความเป็นไปได้สูง และมีผู้ที่ เคยทำไว้แล้วหรือยังถ้ามีผู้เคยทำไว้แล้วผลการใช้เป็นอย่างไร

2.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน

เป็นการกล่าวถึงขั้นตอนในการ ผลิตนวัตกรรมตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนกระทั่งได้นวัตกรรม เช่น การวิเคราะห์ หลักสูตร การออกแบบการจัดการ เรียนรู้

การเขียนในหัวข้อนี้ ควรเขียน ให้เห็นถึงความเพียรพยายามอุตสาหะของการคิดค้น พัฒนา สร้างนวัตกรรม ถ้ามีแหล่งอ้างอิงหรือแหล่งต้นแบบ หรือแหล่งช่วยเหลือแนะนำใดๆ ที่ได้ นำมาใช้จริงก็ควรกล่าวไว้ให้ครบถ้วน

2.2

2.3-2.4

2.3 ผลงานหรือนวัตกรรมที่ได้

กล่าวถึงนวัตกรรมที่ได้หลังจากทำ

ตามขั้นตอนต่างๆ

2.4 แนวทางการนำนวัตกรรมไปใช้

เป็นส่วนที่กล่าวถึงเทคนิควิธีการใช้

นวัตกรรมในสถานการณ์จริง เช่น การนำ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

บทที่ 3 การทดลองใช้นวัตกรรม

7

บทนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ ของนวัตกรรม ที่สามารถนำไปใช้ได้ ในสถานการณ์จริงว่า สามารถใช้ได้ เพียงใด

3.1 รูปแบบการทดลอง

3.1

• กรณีที่ใช้กับนักเรียนกลุ่มเดียว รูปแบบการทดลองมีดังนี้

01 X 02

01 หมายถึงการวัดตัวแปรตามก่อนการทดลอง

X หมายถึงการใช้นวัตกรรม

02 หมายถึงการวัดตัวแปรตามหลังการทดลอง

01 และ 02 เป็นการวัดด้วยเครื่องมือเดียวกัน มีมาตรวัดอันเดียวกัน

การวิเคราะห์เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง 01 กับ 02

• กรณีกลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม

รูปแบบการทดลองมีดังนี้

(R) E X 0E

(R) C 0c

(R) หมายถึงการสุ่ม (Random)

E หมายถึงกลุ่มทดลอง

C หมายถึงกลุ่มควบคุม

X หมายถึงการใช้นวัตกรรม

0E หมายถึงการวัดตัวแปรตามของกลุ่มทดลอง

ภายหลังการทดลอง

0c หมายถึงการวัดตัวแปรตามของกลุ่มควบคุม

ภายหลังการทดลอง

การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการเปรียบเทียบผลระหว่าง

0E กับ 0c ซึ่งได้มาจากการวัดด้วยเครื่องมือวัดชุด เดียวกัน

3.2 วิธีการทดลอง

เป็นการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกระบวน

การทดลองทั้งหมด ได้แก่

• ประชากร ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

• การสุ่มตัวอย่าง

• เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินและการ สร้างเครื่องมือ (รวมถึงการหาคุณภาพของเครื่องมือ)

• การใช้นวัตกรรม

• การเก็บรวบรวมข้อมูล

• สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

3.2

บทที่ 4 ผลการทดลองใช้นวัตกรรม

8

การนำเสนอผลการทดลอง ใช้อาจเสนอในรูปของการบรรยาย ตาราง แผนภูมิ หรือกราฟ ประกอบ การบรรยาย และสาระ ที่นำเสนอจะ ต้องตอบวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ในบทที่ 1 ทุกข้อ

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล

และข้อเสนอแนะ

การเขียนบทนี้ จะเป็นการสรุปผลจาก บทที่ 1 – 4 มาเขียนย่อๆ ให้เห็นภาพรวม ทั้งหมด

9

5.1 สรุปผล

เป็นการสรุปผลในเรื่อง การ พัฒนานวัตกรรม ลักษณะของ นวัตกรรมที่พัฒนา การทดลอง ใช้และผลการทดลอง

5.1

5.2 อภิปรายผล

เป็นการอภิปรายผลการใช้นวัตกรรมที่ได้ นำเสนอในบทที่ 4 โดยชี้ให้เห็นว่านวัตกรรม ที่พัฒนาตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้เพียง ใด มีอะไรที่เป็นจุดเด่น หรือมีข้อจำกัดอะไร บ้าง ที่ทำให้ผลการ ใช้นวัตกรรมไม่บรรลุตาม วัตถุประสงค์ที่วางไว้

5.2

5.3

5.3 ข้อเสนอแนะ

เป็นการเสนอทั้งจุดเด่นและจุดด้อย ของนวัตกรรมที่พัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการ สร้าง การวิจัยพัฒนาขั้นต่อไป ตลอดจน ข้อเสนอแนะ ในการนำนวัตกรรมไปใช้ ให้เกิดผลในการเรียนการสอนต่อไป

3. ส่วนอ้างอิง

10

• บรรณานุกรม

การเขียนบรรณานุกรมต้องมี จำนวนหนังสือมากกว่าหรือเท่ากับ จำนวนหนังสือที่กล่าวถึงในเล่มและการเขียนให้ได้ตามหลักของวิชา บรรณารักษ์

• ภาคผนวก

อาจจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ ประเมินนวัตกรรม

Learn more about creating dynamic, engaging presentations with Prezi