Introducing
Your new presentation assistant.
Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.
Trending searches
O
C
C
การเตรียมการก่อนการวางแผน
-การจัดตั้งหน่วยงานหรือกลุ่มบุคคลขึ้นเพื่อรับผิดชอบ
-กำหนดวิธีการวางแผน
-การรวบรวมข้อมูลต่างๆ
การวิเคราะห์ข้อมูลและปัญหา
ศึกษางานที่ปฏิบัติมาแล้วว่ามีปัญหาอะไร ด้านใดที่จะต้องแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่พึงประสงค์
การกำหหนดแผนงานและโครงการต่างๆ
การเขียนเป็นแผนซึ่งประกอบด้วย
- แผนงาน คือการจัดรวมงานที่มีลักษณะเดียวกันหรือมีวัตถุประสงค์เหมือนกันเข้าไว้ด้วยกัน เช่น แผนการผลิต แผนงานการตลาด เป็นต้น
- โครงการ คือการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแผนงานที่กำหนดไว้ในโครงการหนึ่งๆจะระบุรายละเอียดของกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติมีอะไรบ้าง
- กิจกรรม ในแต่ละโครงการอาจจะมีกิจกรรมที่ต้องกระทำหนึ่งกิจกรรมหรือมากกว่าหนึ่งกิจกรรมก็ได้
การปฏิบัติตามแผน
การนำแผนออกปฏิบัติ ซึ่งต้องใช้กระบวนการบริหารต่างๆ ได้แก่ การจัดระบบงาน การจัดวางตัวบุคคล การอำนวยการสั่งการ การตรวจนิเทศ การตรวจคุมงาน เป็นต้น
หลักทั่วไปในการนำแผนออกปฏิบัติมีดังนี้
1. หัวหน้างานและผู้ปฏิบัติต้องศึกษาแผนให้เข้าใจ
2. หัวหน้างานต้องแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้ผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจน
3. จะต้องมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องให้งานสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไป
4. จัดให้มีการควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผน
5. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามแผน
การประเมินผล
การดำเนินการตามแผนไประยะหนึ่งควรมีการตรวจสอบประเมินผลงาน เพื่อให้รู้จุดอ่อน จุดแข็ง ข้อบกพร่อง อุปสรรต่างๆ จะได้แก้ไขปรับปรุงแผนให้ดีต่อไป
หลักการทั่วไปที่ใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลมีดังนี้
1. ศึกษาเป้าหมายของแผนให้เข้าใจ
2. เลือกวิธีการประเมินที่เหมาะสม
3. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามแผน
4. เปรียบเทียบผลที่ได้กับจุดประสงค์ เป้าหมาย
5. รายงานการประเมินผลต่อผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้อง
ลักษณะสำคัญ
1. เป็นสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
2. มีการลงทุนร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเงินสด ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ แรงงาน และอื่นๆ
3. ต้องกระทำกิจการร่วมกันให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยวัตถุประสงค์ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย
4.มีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ บัญญัติไว้ว่าหากไม่ได้มีความประสงค์จะแบ่งปันกำไร จะไม่ได้เรียกว่าเป็นห้างหุ้นส่วน
การก่อตั้ง
ขั้นตอนที่ 1 ทำความตกลงระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนในเรื่องสำคัญๆ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นรูปแบบการประกอบกิจการค้าที่มีคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นผู้เป็นหุ้นส่วนควรทำความตกลงกันในเรื่องสำคัญ ๆ
ขั้นตอนที่ 2 จองชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด การจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนขึ้นใหม่ต้องตรวจสอบชื่อที่ต้องการจองว่าชื่อต้องไม่เหมือนหรือมีเสียงเรียกขานตรงกันหรือคล้ายคลึงกันกับชื่อที่ได้จองหรือได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว
ขั้นตอนที่ 3 จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ เมื่อได้จองชื่อแล้วให้ผู้ขอจดทะเบียนต้องจัดทำตรายางของห้างหุ้นส่วนกรอกรายละเอียด(โดยวิธีการพิมพ์ด้วย
เครื่องพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์)ในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
ในแบบพิมพ์
คำขอจดทะเบียนเอกสารและหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียน
ขั้นตอนที่ 4 การยื่นขอจดทะเบียนทำได้ 2 วิธี คือ
1. ยื่นคำขอจดทะเบียนพร้อมเอกสารประกอบต่อนายทะเบียน
2. ยื่นขอจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตที่ www.dbd.go.th เพื่อให้นายทะเบียนตรวจพิจารณาคำขอจดทะเบียนก่อน
การยกเลิก
การเลิกห้างหุ้นส่วนนั้น นอกจากการที่ตกลงกันไว้แล้วนั้น จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แบ่งพิจารณาได้เป็น 3 กรณี
1.การเลิกห้างหุ้นส่วนโดยข้อสัญญา
ห้างหุ้นส่วน นั้นเป็นเรื่องของสัญญา จะเกิดขึ้นกับเจตนาของคู่สัญญาที่มีการตกลงกันไว้ในตอนแรก และหุ้นส่วนทุกคนจะต้องตกลงเลิกกัน แต่ถ้าหุ้นส่วนคนใดคัดค้านก็ไม่สามารถทำการเลิกได้ และการเลิกนั้นไม่ต้องมีแบบแผนหรือหลักฐานเป็นหนังสือ เพียงแค่ ตกลงด้วยวาจาก็ถือว่าสำเร็จแล้ว
2. การเลิกห้างหุ้นส่วนโดยบทบัญญัติของกฎหมาย
เป็นกรณีที่ไม่ได้เลิกกันโดยข้อตกลง แต่เป็นการเลิกตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เมื่อมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นให้ถือว่าห้างเลิกกันไปโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องอาศัยความยินยอมของห้างหุ้นส่วน และไม่จำเป็นต้องร้องขอให้ศาลสั่งเลิกด้วย ซึ่งมีอยู่ 2 กรณี คือ
1.ผู้เป็นหุ้นส่วนบอกเลิกในกรณีของห้างหุ้นส่วนไม่กำหนดเวลา
2.ผู้เป็นหุ้นส่วนตาย ล้มละลาย หรือตกเป็นบุคคลไร้ความสามารถ
3.การเลิกห้างหุ้นส่วนโดยคำสั่งศาล
มาตรา 1057 “ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดร้องขอเมื่อมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ศาลอาจสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันเสียก็ได้คือ
(1)เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งนอกจากผู้ร้องฟ้องนั้นล่วงละเมิดบทบังคับใดๆอันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตนโดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(2) เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นจะทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียวและไม่มีหวังจะกลับฟื้นตัวได้อีก
(3) เมื่อมีเหตุอื่นใดๆทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้”
นางสาว เปรมิกา เป็งใจ
รหัสนักศึกษา 62541206356-6
นางสาว โชติกา จิตนุ่ม
รหัสนักศึกษา 62541206351-7
นางสาว ศิริลักษณ์ คำป้อ
รหัสนักศึกษา 62541206087-7
สาขา การจัดการธรุกิจ