Introducing 

Prezi AI.

Your new presentation assistant.

Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.

Loading…
Transcript

ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันดิบและการใช้ประโยชน์

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว

(Liquefied Petroleum Gas ; LPG)

ก๊าซ

ปิโตรเลียม

เหลว

หรือก๊าซหุงต้ม หรือ แอลพีจี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากส่วนบนสุดของหอกลั่น

ในกระบวนการกลั่นน้ำมัน

ก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีจุดเดือดต่ำมาก

จะมีสภาพเป็นก๊าซในอุณหภูมิและความดัน

บรรยากาศ

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว

(Liquefied Petroleum Gas ; LPG) (ต่อ)

ดังนั้นในการเก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวจะต้อง

เพิ่มความดันหรือลดอุณหภูมิ เพื่อให้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเปลี่ยนสภาพ

จากก๊าซเป็นของเหลว เพื่อความสะดวก

และประหยัดในการเก็บรักษา

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว

(Liquefied Petroleum Gas ; LPG) (ต่อ)

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว

(Liquefied Petroleum Gas ; LPG) (ต่อ)

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว

(Liquefied Petroleum Gas ; LPG) (ต่อ)

ก๊าซปิโตรเลียมเหลวใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ดี และเวลาลุกไหม้ให้ความร้อนสูง และมีเปลวสะอาดซึ่งโดยปกติจะไม่มีสีและกลิ่น แต่ผู้ผลิตได้ใส่กลิ่นเพื่อให้สังเกตได้ง่ายในกรณีที่

เกิดมีก๊าซรั่วอันอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ การใช้ประโยชน์ ก็คือ การใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้ม เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์และรถยนต์ รวมทั้งเตาเผาและเตาอบต่าง ๆ

น้ำมันเบนซิน (Gassoline)

น้ำมัน

เบนซิน

น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิงยานยนต์ ๑ ในจำนวน ๒ ชนิด ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้ น้ำมันเบนซินเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการ

กลั่นน้ำมันดิบซึ่งสัดส่วนของน้ำมันเบนซินที่ได้

จากการกลั่นน้ำมันดิบอยู่ในช่วงร้อยละ ๒ – ๒๕ ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของน้ำมันดิบ น้ำมันเบนซินเป็นสารผสมที่ประกอบด้วย

สารไฮโดรคาร์บอนมากถึงประมาณ ๔๐๐ ชนิดการที่จะทำให้น้ำมันเบนซินมีคุณสมบัติตอบสนองการ

ใช้งานได้ดีในทุก สภาพการทำงานของยานยนต์ พร้อมทั้งไม่ก่อให้เกิดสารมลพิษมากด้วยนั้น จำเป็นที่จะต้องระบุข้อกำหนดในการผลิตน้ำมันเบนซินไว้

หลายประการ อย่างไรก็ตาม

คุณสมบัติที่สำคัญมาก ๒ ประการของ

น้ำมันเบนซิน คือ ความสามารถในการระเหย

และค่าเลขออกเทนสูง

* สาร MTBE หรือ Methyl Tertiary Butyl Ether เป็นสารเคมีที่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ผลิตขึ้นได้จากปฏิกิริยาทางเคมีระหว่าง Methanol และ Isobutane ที่ผ่านมาในอุตสาหกรรมโรงกลั่น

น้ำมันปิโตรเลียมได้มีการนำสารดังกล่าวมาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเติมลงในน้ำมันเบนซิน เพื่อช่วยลดปริมาณก๊าชคาร์บอนมอน-

นอกไซด์ที่ออกมาจากไอเสียของรถยนต์ และช่วยเพิ่มค่าออกเทนของน้ำมันแทนสารตะกั่ว

น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน

ใบพัด

(Aviation Gasoline)

น้ำมันเชื้อ

เพลิง

เครื่องบิน

ใบพัด

ใช้สำหรับเครื่องบินใบพัด มีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำมันเบนซิน

ในรถยนต์ แต่ปรุงแต่งคุณภาพให้มีค่าออกเทนสูงขึ้น ให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ของเครื่องบิน

ซึ่งต้องใช้กำลังขับดันมาก

น้ำมันก๊าด

(Kerosene)

คุณสมบัติของน้ำมันก๊าด

ต้องสะอาด

ไม่มีตะกอนหรือสิ่งไม่บริสุทธิ์ อันจะเป็นสาเหตุให้เกิดการอุดตัน

แก่วาล์วและหัวฉีดน้ำมัน หรือรูสำหรับให้น้ำมันระเหยตัวขึ้นไป

เผาไหม้ได้ และต้องมีความคงตัวสูง

เพื่อให้เก็บไว้ในถังได้นาน การเปลี่ยนสีของน้ำมันในระหว่างการ

เก็บ หมายถึง น้ำมันมีความคงตัวไม่ดี นอกจากนี้ ถ้ามีพวกน้ำมันหนักๆ เช่น น้ำมันดีเซล เจือปนอยู่เพียง 0.5% ก็สามารถทำให้หัวฉีดมีคราบคาร์บอน

เกาะติดและอุดตันมากเกินไป

น้ำมันก๊าด

เป็นของผสมของไฮโดรคาร์บอนที่มีจุดเดือดตั้งแต่ 150-300 องศาเซลเซียส ซึ่งมีทั้งพาราฟิน,

แนฟธา และอะโรมาติกส์ผสมในอัตราส่วนต่างๆกัน แล้วแต่ที่มาของน้ำมันดิบ ในภูมิประเทศเมืองหนาว น้ำมันก๊าดถูกใช้เป็นเชื้อเพลิง ทำความร้อน ให้ความอุ่นในอาคารบ้านเรือน ต้มน้ำ ส่วนในเขตเมืองร้อน เช่น ประเทศไทยน้ำมันก๊าดยังใช้จุดตะเกียงตามชนบท

ที่อยู่ห่างไกลและไฟฟ้ายังไปไม่ถึง นอกจากนี้ยังนิยมใช้งานอุตสาหกรรมบางชนิด ที่ต้องการการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่สะอาด

เช่น อุตสาหกรรมกระเบื้องเคลือบเซรามิค

และอื่นๆ

น้ำมันเชื้อเพลิง

เครื่องบิน

(JET A-1)

น้ำมันเชื้อ

เพลิง

เครื่องบิน

ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวน

อะตอมของคาร์บอนในช่วง 12-16 อะตอม และมีจุดเดือดอยู่ในช่วง 150-300 องศาเซลเซียส เช่นเดียวกับน้ำมันก๊าด แต่น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินต้องสะอาด บริสุทธิ์ และมีสมบัติดีกว่าน้ำมันก๊าด โดยมีการควบคุมคุณภาพเพิ่มเติมให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น จุดเยือกแข็ง (Freezing Point) ต้องไม่สูงกว่า –47 องศาเซลเซียส

น้ำมันดีเซล

(Diesel Oil)

เครื่องยนต์ดีเซลเป็น

เครื่องยนต์ที่มีแรงอัดสูง

(High Compression) และสามารถจุดระเบิดได้เอง การจุดระเบิดของเชื้อเพลิงชนิด

นี้เกิดขึ้นมาจากความร้อนของ

แรงอัดสูงของอากาศในกระบอกสูบ โดยไม่มีความจำเป็นที่

จะต้องใช้หัวเทียนน้ำมันดีเซลได้

จากการกลั่นลำดับส่วน

การปรับปรุงคุณภาพและ

การผสมในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ

ตามมาตรฐานกำหนด

น้ำมัน

ดีเซล

เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวน

อะตอมของคาร์บอนในช่วง 16-20 อะตอม เป็นส่วนหนึ่งของน้ำมันดิบที่ได้จากโรงกลั่น

น้ำมัน (เช่นเดียวกับน้ำมันเบนซิน) ซึ่งเป็น

น้ำมันที่เรียกว่า น้ำมันใส มีจุดเดือดอยู่ในช่วง

150-400 องศาเซลเซียส

น้ำมันดีเซลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือดีเซลหมุนเร็ว ใช้กับเครื่องยนต์

รถขนส่งต่างๆ และดีเซลหมุนช้า

ใช้กับเครื่องยนต์ของเรือสมุทร

เรือประมง

น้ำมันเตา (Fuel Oil)

น้ำมันเตา

น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากถาดชั้นล่างสุดของหอกลั่น เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน มีน้ำหนักโมเลกุลสูง เป็นของเหลวข้นหนืด สีเข้ม มีช่วงจุดเดือดสูงประมาณ 371-482 องศาเซลเซียส แบ่งออกเป็นหลายเกรดและเรียกชื่อต่าง ๆ กัน เช่น บังเกอร์บี (bunker B) บังเกอร์ซี (bunker C) น้ำมันเตาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหม้อไอน้ำ เตาเผาหรือเตาหลอมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ และเรือเดินสมุทร เป็นต้น

น้ำมันหล่อลื่น

(Lube Oil)

น้ำมัน

หล่อลื่น

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ

มีช่วงจุดเดือดระหว่าง 380-500 องศาเซลเซียส และเติมสารเพิ่มคุณภาพต่างๆในปริมาณเล็กน้อย

เพื่อปรับปรุงสมบัติให้เหมาะสมสำหรับใช้งานหล่อลื่น

แต่ละอย่าง เช่น ความหนืดโดยเยื่อบางๆ หรือเนื้อครีม ของน้ำมันหล่อลื่นจะเคลือบอยู่ระหว่าง

ผิวของชิ้นส่วน 2 อย่าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนโลหะที่มีการเคลื่อนไหว

ผ่านไปมา ทำหน้าที่ป้องกันการเสียดสีกันโดยตรง ขณะเดียวกันจะช่วยทำความสะอาด

และระบายความร้อนโดยช่วยระบายความร้อน

จากเครื่องยนต์ได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ แอดดิทีฟอื่นๆ ที่มักผสมลงไปด้วย ได้แก่ สารป้องกันสนิม และการกัดกร่อน

ยางมะตอย

(Asphalt)

ยาง

มะตอย

เป็นวัสดุธรรมชาติ ที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม โดยยางมะตอย เป็นส่วนที่มีน้ำหนักสูงที่สุดในหมู่น้ำมันดิบ เพราะมีสารประกอบหลากหลายชนิด รวมถึงสารอินทรีย์ อื่นๆ รวมตัวกันเป็นทั้งของแข็งกึ่งเหลว ที่มีความยืดหยุ่น สีน้ำตาลเข้ม ถึง สีดำ

ส่วนประกอบสำคัญของยางมะตอยจะมีแอสฟัลทีนส์ , แอสฟัลติกเรซิน และ ส่วนประกอบของน้ำมันซึ่งทำให้ยางมะตอย

มีคุณสมบัติยืดหยุ่น เหนียวแน่น และป้องกันการซึมผ่านของของเหลว

ได้ดีอีกด้วย

สารตั้งต้นใน

อุสาหกรรมปิโตรเคมี

สารตั้งต้นในอุสาหกรรม

ปิโตรเคมี

ปัจจุบันอุตสาหกรรมปีโตรเคมีเป็นอุตสาหกรรม

ที่มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นมากมาย และเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่ามหาศาล มีการแข่งขันสูงทั้งในประเทศและนานาชาติ ประเทศไทยได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมต้นนํ้ามาเป็นระยะเวลานาน และได้เริ่มก้าวเช้าสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม

ปิโตรเคมีซึ่งผลผลิตชองอุตสาหกรรม

ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ

ชีวิตประจำวันได้แก่ สารเคมี ตัวทำละลาย ไฮโดรคาร์บอน ผงซักฟอก พลาสติก

เรซิน ยางสังเคราะห์

และเส้นใยสังเคราะห์

เป็นต้น

Learn more about creating dynamic, engaging presentations with Prezi