Introducing
Your new presentation assistant.
Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.
Trending searches
การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้น
อย่างมีระบบ ประกอบด้วยกิจกรรม
ย่อยหลายกิจกรรม ที่ต้องใช้
ทรัพยากรในการดำเนินงาน และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทน
อย่างคุ้มค่า
แต่ละโครงการจะมีเป้าหมาย
เพื่อการผลิต หรือการให้บริการ
เพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผน
งาน การเขียนโครงการจึงเป็น
ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการวาง
แผนที่จะทำให้องค์กรธุรกิจ
บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
ลักษณะของโครงการที่ดี
1. สามารถแก้ปัญหาขององค์การหรือหน่วยงาน
นั้น ๆ ได้
2.มีรายละเอียด วัตถุประสงค์เป้าหมายต่าง ๆ ชัดเจน สามารถดำเนินงานได้ มีความเป็นไปได้
3.รายละเอียดของโครงการต่อเนื่องสอดคล้องสัมพันธ์กัน
4.ตอบสนองความต้องการของกลุ่มชน สังคมและประเทศชาติ
5.ปฏิบัติแล้วสอดคล้องกับแผนงานหลักขององค์การ
6. กำหนดขึ้นอย่างมีข้อมูลความจริงและเป็นข้อมูลที่ได้
รับการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ
7. ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกด้านโดยเฉพาะด้าน
ทรัพยากรที่จำเป็น
8. มีระยะเวลาในการดำเนินงานแน่นอน ระบุวันเวลาเริ่ม
ต้นและสิ้นสุด
9. สามารถติดตามประเมินผลได้
วิธีในการเขียนโครงการ
ในการเขียนโครงการนั้นรูปแบบหรือแบบฟอร์ม
ในการเขียนโครงการ ซึ่งสามารถจําแนกออกได้
เป็น 2 ลักษณะคือ การเขียนโครงการแบบดั้งเดิม หรือการเขียนโครงการแบบประเพณีนิยม (Conventional Method)
1. ชื่อโครงการ
2. ผู้รับผิดชอบโครงการ
3. หลักการและเหตุผล
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. สถานที่ดำเนินงาน
7. ขั้นตอนการดําเนินงาน
8. ระยะเวลาในการดําเนินโครงการ
9. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้
10. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
11. การติดตามและประเมินผลโครงการ
1.ชื่อโครงการ ต้องมีความชัดเจน เหมาะสม
เฉพาะเจาะจงเป็นที่เข้าใจง่ายแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
2.ชื่อโครงการที่ดีต้องแสดงลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ
แสดงลักษณะเฉพาะของโครงการ บอกได้ว่าโครงการ
เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
โครงการกล้าใหม่ต้นอ้อ ต่อยอดภูมิปัญญา
โครงการชวนน้องอ่านหนังสือ
โครงการวัยรุ่นรักษ์วัฒนธรรม
โครงการขับขี่ปลอดภัย
การเขียนโครงการต้องระบุผู้รับผิดชอบว่าเป็นผู้ใดหรือ
หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบและจะต้องระบุผู้รับผิดชอบโครงการนั้นๆ ให้ชัดเจน ว่าเป็นใคร มีตําแหน่งใดใน
โครงการนั้น
ลําดับการเรียงชื่อผู้รับผิดชอบให้เรียงลําดับ
จากหัวหน้าโครงการเป็นลําดับแรกและ
ลําดับสุดท้ายควรเป็นเลขานุการของ
โครงการตัวอย่าง เช่น
“ นายประสงค์ ตันพิชัย หัวหน้าโครงการ
นายสันติศรีสวนแตง รองหัวหน้าโครงการ
นายอภิชาต ใจอารียน ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวปิยะนารถ จันทร์เล็ก ผู้ร่วมโครงการ
นายนิรันดร์ยิ่งยวด เลขานุการโครงการ…”
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล คือ ส่วนที่แสดงถึงปัญหาและความ
จำเป็นที่ต้องมีโครงการ ควรเขียนระบุปัญหาและเหตุผล โดยมีข้อสนับสนุนอย่างชัดเจน หยิบยกทฤษฎีต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุนให้สมเหตุสมผล อาจย้ำให้เห็นชัดเจนว่า โครงการสอดคล้องกับแผนและนโยบายของหน่วยงาน
หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริง
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
วัตถุประสงค์และเป้าหมายเป็นเครื่องชี้แนวทาง
การดำเนินงานของโครงการ
เป็นตัวกำหนดส่วนประกอบอื่น ๆ ของโครงการ วัตถุประสงค์ที่ดีต้องชัดเจนไม่คลุมเครือ และควรเขียน
เป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
การเขียนวัตถุประสงค์ควรจะต้องคํานึงถึง
ลักษณะที่ดี 5 ประการ (SMART)
S = Sensible (เป็นไปได้) หมายถึง วัตถุประสงค์จะต้องมีความเป็นไปได้ในการ
ดําเนินงานโครงการ
M = Measurable (วัดได้) หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีจะต้องสามารถวัดและประเมินผลได้
A = Attainable (ระบุสิ่งที่ต้องการ) หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องระบุสิ่งที่ต้องการ
ดําเนินงาน อย่างชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากที่สุด
R = Reasonable (เป็นเหตุเป็นผล) หมายถึงวัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีความเป็นเหตุเป็นผล
ในการปฏิบัติ
T = Time (เวลา) หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีจะต้องมีขอบเขตของเวลาที่แน่นอนในการ
ปฏิบัติงาน
ดังตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์
โครงการ เช่น
- เพื่อให้สามารถอธิบายถึงวิธีการเขียนโครงการได้
-เพื่อให้สามารถเลือกสรรวิธีการอันเหมาะสมในการพัฒนา
คุณภาพนิสิตฝึกสอน
- เพื่อให้สามารถระบุขั้นตอนในการเตรียมโครงการสอนเกษตร
ได้
- เพื่อให้สามารถจําแนกแยกแยะข้อดีและข้อเสียของการ
ฝึกงานกษตรภายในฟาร์ม
กลุ่มเป้าหมาย
ระบุกลุ่มเป้าหมายและจำนวนให้ชัดเจน
ใครคือผู้ที่จะได้รับผลดีผลประโยชน์จาก
โครงการนี้และจำนวนผู้ที่ได้รับผลดีผล
ประโยชน์จากโครงการนี้ เช่น
1.กลุ่มแม่บ้านทอเสื่อกก บ้านดอนจัน จำนวน 50 คน
2.ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านชามเฒ่า จำนวน 100 คน
สถานที่ดำเนินงาน
ระบุสถานที่ให้ชัดเจนและเจาะจง
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดําเนินงานหรือกิจกรรมที่กําหนด
ขึ้นเป็นขั้นตอนตามลําดับก่อนหลังเพื่อใช้ปฎิบัติให้บรรลุ
ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ วิธีการดําเนินการจึงนํา
วัตถุประสงค์มาจําแนกแจกแจงเป็นกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรม โดยจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นจนจบ
กระบวนการ ว่ามีกิจกรรมใดที่จะต้องทําเพื่อให้บรรลุ
วัตถุประสงค์
ระยะเวลาในการดําเนิน
โครงการ
ระยะเวลาในการดําเนินงานโครงการ เป็นการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ
จนกระทั่งถึงเวลาสิ้นสุดโครงการว่าใช้เวลาทั้งหมดเท่าใด โดยแสดงให้เห็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด
ของโครงการโดยระบุวันเดือน ปีที่เริ่มทําและสิ้นสุด
งบประมาณและ
ทรัพยากรที่ต้องใช้
งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้เป็นการระบุถึง
จํานวนเงิน จํานวนบุคคล จํานวนวัสดุครุภัณฑ์
และปัจจัยอื่น ๆ ที่จําเป็นต่อการดําเนินโครงการนั้น ๆ
ผู้ทำโครงการควรคํานึงถึงหลักสําคัญ 4E'S ประการในการจัดทําโครงการ
1. ความประหยัด (Economy)
2. ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
3. ความมีประสิทธิผล (Effectiveness)
4. ความยุติธรรม (Equity)
ผลประโยชน์
ที่คาดว่าจะได้รับ
เป็นการแสดงถึงผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากความสำเร็จของโครงการทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
ดังตัวอย่างการเขียน
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เช่น
- สามารถอธิบายถึงวิธีการเขียนโครงการได้
-สามารถเลือกสรรวิธีการอันเหมาะสมในการพัฒนา
คุณภาพนิสิตฝึกสอน
- สามารถระบุขั้นตอนในการเตรียมโครงการสอนเกษตร
ได้
- สามารถจําแนกแยกแยะข้อดีและข้อเสียของการ
ฝึกงานกษตรภายในฟาร์ม
การติดตามและประเมินผล
โครงการ
ผู้เสนอโครงการควรระบุวิธีการที่ใช้ในการควบคุม และประเมินผลโครงการไว้ให้ชัดเจน เช่น
ประเมินก่อนดําเนินการ ขณะดําเนินการ
หลังการดําเนินการ หรือจะระบุเวลาชัดเจนว่าจะประเมิน
ทุกระยะ 3 เดือน เป็นต้น