Introducing 

Prezi AI.

Your new presentation assistant.

Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.

Loading…
Transcript

โจทย์สถานการณ์ที่ 9 นางดวงจำปี

โจทย์สถานการณ์

โจทย์สถานการณ์ที่ 9

นางดวงจำปี

นางดวงจำปี G1P1 หลังคลอดปกติ 2 วัน สามารถอาบน้ำและให้นมมารดาได้ดี แพทย์จำหน่ายให้กลับบ้านพร้อมทารก ตั้งใจให้ทารกดูดนมมารดา 3 เดือน หลังจากนั้นจะให้นมผสมร่วมด้วยเพราะต้อง

กลับไปทำงาน นางดวงจำปีมีสีหน้าวิตกกังวล ต้องการให้พยาบาลแนะนำการดูแลทารก

เมื่อกลับบ้าน

วิเคราะห์กรณีศึกษา

จากกรณีศึกษา นางดวงจำปี G1P1 คือ

แพทย์วางแผนจำหน่ายกลับบ้านพร้อมทารก

G = Gravida การตั้งครรภ์

P = Para การคลอด

แสดงว่ามารดาและทารกไม่มีภาวะแทรกซ้อน

G1P1 หมายถึง ตั้งครรภ์ครั้งที่ 1 คลอดครั้งที่ 1

หลังคลอดปกติ 2 วัน มารดาสามารถอาบน้ำและให้นมมารดาได้ดี

คลอดทางช่องคลอดที่ผู้คลอดเบ่งคลอดด้วยตนเอง

มีส่วนนำเป็นยอดศีรษะ (vertex presentation)

การคลอดปกติ

ทารกมีลักษณะนอนคว่ำหน้า คางชิดอก (normal flexion)

ท้ายทอยอยู่ทางด้านหน้าของช่องเชิงกราน (occiput anterior)

ไม่มีการช่วยเหลือโดยการใช้สูติศาสตร์ หัตถการ

ไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆในระยะคลอด

นางดวงจำปีมีสีหน้าวิตกกังวล ต้องการให้พยาบาลแนะนำการดูแลทารกเมื่อกลับบ้าน

เนื่องจากเป็นครรภ์แรกยังขาดประสบการณ์ในการเลี้ยงดูบุตรพยาบาลควรให้คำแนะนำในการเลี้ยงดูทารก ได้แก่

การพักผ่อน การดูแลความสะอาดทารก การขับถ่าย การได้รับการฉีดวัคซีน

อาการผิดปกติของทารกที่ควร

มาพบแพทย์ก่อนถึงวันนัด

มารดาวางแผนจะให้ทารกดูดนมมารดา 3 เดือน

หลังจากนั้นจะให้นมผสมร่วมด้วยเนื่องจากจะต้องกลับไปทำงาน

แสดงว่ามารดาอาจจะยังไม่ทราบถึงทางเลือกในการเก็บน้ำนมมารดา และพร่องความรู้เกี่ยวกับการให้นมทารก

พยาบาลจึงควรให้คำแนะนำมารดาได้ทราบและตระหนักถึง

ประโยชน์ของน้ำนมมารดา และให้คำแนะนำในการเก็บรักษาน้ำนม

เพื่อให้มารดาสามารถให้นมทารกได้อย่างต่อเนื่อง

ข้อวินิจฉัยข้อที่ 1

วิตกกังวลเกี่ยวเนื่องจากพร่องความรู้

ในการดูแลทารกเมื่อแพทย์จำหน่ายกลับบ้าน

ข้อมูลสนับสนุน

Subjective data

มารดาบอกว่า“ต้องการให้พยาบาลแนะนำการดูแลทารกเมื่อกลับบ้าน”

Objective data

: สีหน้าวิตกกังวล

: ตั้งครรภ์ครั้งแรก และขาดประสบการณ์ในการเลี้ยงดูทารก

วัตถุประสงค์+เกณฑ์

วัตถุประสงค์

ความวิตกกังวลลดลงหรือหมดไปหลังได้รับคำแนะนำจากพยาบาล

เกณฑ์การประเมินผล

- สีหน้าคลายกังวล

- บอกวิธีดูแลทารกหลังกลับบ้านได้ถูกต้อง

- มารดาสามารถบอกอาการผิดปกติของทารก

ที่ควรมาพบแพทย์ก่อนนัดได้ถูกต้อง

- มารดาสามารถบอกวัคซีนที่ทารกควรได้รับ

และสามารถนำบุตรมารับวัคซีนตามนัดได้ครบ

อภิปราย

อภิปรายกรณีศึกษา ประเด็นที่ 1

จากกรณีศึกษา

เมื่อแพทย์จะจำหน่ายให้มารดาและทารกออกจากโรงพยาบาล

มารดามีความวิตกกังวลในการดูแลทารก

เนื่องจากเป็นครรภ์แรกยังขาดประสบการณ์ในการเลี้ยงดูบุตร

อาจส่งผลให้ทารกได้รับการดูแลจากมารดาที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นพยาบาลควรให้คำแนะนำในการเลี้ยงดูทารก เกี่ยวกับการดูแลกิจวัตรประจำวัน และการดูแลความสะอาด เพื่อให้ทารกสุขสบายและไม่เกิดอันตรายจากการดูแลที่ไม่ถูกต้อง

อภิปราย

ดังนี้

การพักผ่อน

- จัดท่านอนควรเป็นท่านอนหงายหรือท่านอนตะแคง เพราะการนอนคว่ำกับที่นอนนิ่มอาจกดทับจมูกและปากทำให้หายใจไม่ได้

- ห้องนอนควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก แสงแดดส่องถึง ไม่ควรมีลมโกรกแรงจนเกินไป

- อุณหภูมิห้องมีควรร้อนหรือเย็นจนเกินไป ประมาณ 26-28 องศาเซลเซียส

ความสะอาด

การอาบน้ำ

วันละ 2 ครั้งเช้าและเย็น

สระผมทุกวันตอนเช้า

ขณะอาบน้ำควรปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ อย่าให้มีลมโกรกเพื่อไม่ให้ทารกสูญเสียความร้อน

เช็ดตาด้วยสำลีสะอาดชุบน้ำต้มสุก

การเช็ดสะดือ

เช็ดสะดือด้วยสำลีสะอาดชุบแอลกอฮอล์ 70% ทุกครั้งหลังอาบน้ำจนกว่าสะดือแห้ง

สะดือหลุดประมาณ 7-10 วัน ไม่ควรโรยผงหรือทายาใดๆบริเวณสะดือ เพราะจะทำให้หมักหมมและติดเชื้อได้

เสื้อผ้าและผ้าอ้อม

ควรเลือกเสื้อผ้าเนื้อนุ่มเหมาะสมกับสภาพอากาศ

ผ้าอ้อมควรเป็นผ้าที่นุ่มซึมซับน้ำได้ดี

ไม่ควรใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เพราะอาจเกิดการอับชื้น ทำให้ผิวหนังทารกเกิดผดผื่นหรือแพ้ได้ง่าย

ถุงมือควรเป็นผ้านุ่ม และเย็บซ่อนตะเข็บ ป้องกันไม่ให้ด้ายพันนิ้วทารก

การทำความสะอาดเสื้อผ้า

ควรแยกซักจากเสื้อผ้าผู้ใหญ่

ใช้น้ำยาสำหรับซักผ้าเด็ก ไม่ควรใช้ผงซักฟอก เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวทารก

เมื่อซักแล้วควรนำไปตากแดดแล้วรีดให้เรียบก่อนใช้

ความร้อนจากแสงแดดและการรีดจะช่วยฆ่าเชื้อโรค

การขับถ่าย

ได้รับนมมารดา

วันที่ 1-2 หลังคลอด

เขียวปนดำ เหนียว

ไม่มีกลิ่น เรียกว่า ขี้เทา

อุจจาระจะเป็นที่เหลืองทอง เนื้อละเอียด ไม่เป็นก้อนถ่ายบ่อย ไม่มีมูกหรือเลือดปน

วันที่ 3-4

ได้รับนมผสม

อุจจาระเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนสีเขียวของขี้เทา

ลักษณะเหลว มีกากน้อย ถ่ายบ่อยอาจมีมูกปน

จากนั้นอุจจาระจะเปลี่ยน

เป็นสีเหลือง

อุจจาระจะมีลักษณะ

สีเหลืองซีดเนื้อหยาบ ขับถ่ายปัสสาวะค่อยข้างบ่อย วันละ 6-8 ครั้ง

อภิปราย

นอกจากนี้พยาบาลจะต้องแนะนำให้มารดารู้จักสังเกตอาการที่ผิดปกติของทารกที่จะต้องมาพบแพทย์ก่อนถึงวันนัดเพื่อรักษาอาการผิดและปกติป้องกันความรุนแรงของโรคที่อาจส่งผลให้ทารกมีความพิการหรือเสียชีวิตได้ ได้แก่

เปลือกตาบวมแดงอักเสบ มีขี้ตามากเช็ดแล้วไม่ดีขึ้น

ลิ้นเป็นฝ้าขาว ดูดน้ำ และเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำสะอาดแล้วไม่ดีขึ้น

สะดือมีกลิ่นเหม็น รอบสะดือบวมแดง

มีไข้สูง เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นแล้วรีบมาพบแพทย์

อาการซึม ไม่ดูดนม หรืออาเจียนทุกครั้งหลังดูดนม

ถ่ายอุจจาระบ่อย เหลว มีมูกเลือดปน มีกลิ่นเหม็นเน่า

ตัวเหลืองมากขึ้น ซึม ไม่ดูดนม

ให้ความรู้มารดาเรื่องวัคซีนที่ทารกควรได้รับ และการนำทารกมารับวัคซีนตามนัดทุกครั้ง

เพื่อส่งเสริมให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันที่ควรจะได้รับ ดังนี้

1. วัคซีน BCG (Bacillus Calmettle Guerin vaccine)

ฉีดเข้าใต้ผิวหนังบริเวณหัวไหล่ซ้ายหรือสะโพกซ้าย ขนาด 0.1 มล.

เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันวัณโรค บางรายอาจมีตุ่มแดงเกิดขึ้นบริเวณรอยฉีด กลายเป็นฝีเม็ดเล็กๆ เมื่อฝีแตกจะเกิดเป็นแผล แผลนี้จะมีอยู่ประมาณ 3-4 สัปดาห์ และแห้งหายไป

ให้การดูแลรักษาบริเวณแผลให้สะอาด ห้ามแกะหรือบ่งหนองออก ให้ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุขเช็ดให้สะอาด ไม่จำเป็นต้องใส่ยาใดๆ ปล่อยให้แห้งและจะหลุดไปเอง

2. วัคซีนตับอักเสบบี (Hepatitis B vaccine)

ฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณหน้าขาขนาด 0.5 มก. ต้องฉีดให้ครบ 3 เข็ม

ครั้งแรก เมื่อแรกเกิดก่อนกลับบ้าน

ครั้งที่ 2 เมื่อทารกอายุ 1-2 เดือน

ครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน

จึงจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสชนิดบี อย่างสมบูรณ์

กรณีที่มารดาเป็นพาหะของโรคตับอักเสบชนิดบีจะต้องฉีด Hepatitis B immunoglobulin(HBIG) หรือ HBV vaccine ให้ทารกแรกเกิดภายใน 12 ชม.

และฉีด HBV vaccine ครั้งต่อไปเมื่ออายุ 1,2,4และ6เดือน ตามลำดับ

แผนการพยาบาล

แผนการพยาบาล

1) ประเมินความรู้ ความสามารถ และความวิตกกังวลในการดูแลทารกที่บ้าน เพื่อวางแผนให้คำแนะในการดูแลทารกได้อย่างถูกต้อง

2) ให้ความรู้ในการดูแลทารกเรื่องการพักผ่อน การดูแลรักษาความสะอาด การขับถ่าย และทวนสอบ เพื่อให้มารดาสามารถดูแลทารกได้อย่างถูกวิธี

3) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนนัด

เพื่อให้ทารกได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที

4) ให้ความรู้มารดาเรื่องวัคซีนที่ทารกควรได้รับและการนำทารก

มารับวัคซีนตามนัดทุกครั้ง เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคของทารก

ข้อวินิจฉัยข้อที่2

พร่องความรู้เกี่ยวกับการให้นมทารกเกี่ยวเนื่องจาก

เป็นครรภ์แรกและขาดประสบการณ์การเลี้ยงบุตร

ข้อมูลสนับสนุน

Subjective data

มารดาบอกว่า “ต้องการให้พยาบาลแนะนำการดูแลทารกเมื่อกลับบ้าน”

Objective data

: มารดาวางแผนให้ทารกดูดนมแม่ 3 เดือน หลังจากนั้น

จะให้นมผสมร่วมด้วย เพราะต้องกลับไปทำงาน

: ตั้งครรภ์ครั้งแรก และขาดประสบการณ์ในการเลี้ยงดูทารก

วัตถุประสงค์+เกณฑ์

วัตถุประสงค์

มีความรู้ในการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา และสามารถเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาได้อย่างต่อเนื่อง

เกณฑ์การประเมินผล

- มารดาสามารถอธิบายถึงประโยชน์ของนมมารดา วิธีการเก็บน้ำนม ระยะเวลาการเก็บน้ำนม

และการนำนมแม่ที่แช่เย็นมาใช้ได้

- มารดาสามารบอกการเลือกนมผสม การเตรียมนมผสมและวิธีการให้นมผสมได้

อภิปราย

อภิปรายกรณีศึกษา ประเด็นที่ 2

จากกรณีศึกษา

มารดาวางแผนจะให้ทารกดูดนมมารดา 3 เดือน

หลังจากนั้นจะให้นมผสมร่วมด้วยเนื่องจากจะต้องกลับไปทำงาน

นางดวงจำปีมีสีหน้าวิตกกังวลต้องการให้พยาบาลแนะนำการดูแลทารกเมื่อกลับบ้าน

แสดงว่ามารดาอาจจะยังไม่ทราบถึงทางเลือกในการเก็บน้ำนมมารดา และพร่องความรู้เกี่ยวกับการให้นมทารก

ดังนั้น พยาบาลควรให้คำแนะนำมารดาได้ทราบและตระหนักถึงประโยชน์ของน้ำนมมารดา

และให้คำแนะนำวิธีการบีบน้ำนม วิธีการเก็บน้ำนม ระยะเวลาการเก็บรักษาน้ำนมรวมถึงชนิดของนม

ที่ควรให้ทารกในแต่ละวัย เพื่อให้มารดาสามารถให้นมทารกได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม ดังนี้

ประโยชน์ของนมมารดา

1. ส่งเสริมสายสัมพันธ์แม่ลูก

2. ได้รับสารอาหารที่สะอาด อุณหภูมิพอเหมาะ

และพร้อมที่ร่างกายทารกจะย่อยนำไปใช้ได้เลย

3. ได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่จัดเป็น First immunization

4. ช่วยในการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันให้เข้มแข็ง

5. กระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยอาหาร

ของทางเดินอาหาร

ประโยชน์ของนมมารดา(ต่อ)

6. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการท้องผูก

7. มีความฉลาดทางสติปัญญา

8. ทารกไม่เป็นโรคอ้วนจากการได้นมมากเกินไป

9. ช่วยให้พัฒนาการของฟันและคางดีกว่า

ซึ่งเป็นผลมาจากการดูดที่แรงกว่า

10. จากผลการวิจัยมากมายที่พบว่าทารกที่กินนมแม่มีอัตราเสี่ยง

ต่อการเป็นโรคไหลตายในเด็ก (Sudden Infant Death Syndrome

หรือ SIDS) และโรคอื่นๆต่อไปนี้ได้น้อยกว่า เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคไทรอยด์ เป็นต้น

การบีบเก็บน้ำนมมารดา (breast pump)

วิธีการนำน้ำนมแม่ออกจากเต้าเพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อลดการคัดตึงเต้านม

2. เพื่อลดการซึมไหลของเต้านม

3. เพื่อคงปริมาณของการสร้างน้ำนมไว้เมื่อแม่ป่วย

4. เมื่อแม่ต้องออกไปนอกบ้านหรือไปทำงาน

การเตรียมภาชนะสำหรับใส่น้ำนม

การบีบน้ำนมออกด้วยมือ (Manual breast pump)

1. เลือกถ้วยน้ำ แก้วน้ำ เหยือกน้ำชนิดปากกว้างและภาชนะแก้วจะดีกว่าถุงพลาสติก

2. ล้างภาชนะที่จะเก็บน้ำนมให้สะอาด ผึ่งแดดให้แห้งหรืออาจเตรียมไว้ล่วงหน้าได้

3. เทน้ำเดือดลงในภาชนะที่จะเก็บน้ำนมทิ้งไว้ 2-3 นาที เพื่อให้น้ำร้อนฆ่าเชื้อโรคก่อน

4. เมื่อมารดาพร้อมที่จะบีบน้ำนมจึงค่อยเทน้ำทิ้ง

เทคนิคการบีบน้ำนมออกด้วยมือ

วิธีการเก็บน้ำนมมารดา

นมมารดา มารดาสามารถให้นมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนและต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 1 ปี หรือนานกว่านั้น สามารถบีบน้ำนมเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน

ควรแบ่งใส่ภาชนะแต่ละใบในปริมาณที่พอดีกับที่จะให้ทารกในแต่ละมื้อ เขียนป้ายบอกวัน เวลา ติดไว้ที่ขวดหรือถุง

• ระยะเวลาการเก็บรักษาน้ำนมมารดา

เก็บที่อุณหภูมิห้อง (>25 องศาเซลเซียส) เก็บได้ 1 ชั่วโมง

เก็บที่อุณหภูมิห้อง (<25 องศาเซลเซียส) เก็บได้ 4 ชั่วโมง

เก็บในกระติกน้ำแข็ง เก็บได้ 1 วัน

เก็บที่ตู้เย็นช่องธรรมดาชั้นบนสุด (4 องศาเซลเซียส) เก็บได้ 2-3 วัน ไม่เกิน 5วัน

เก็บที่ตู้เย็นช่องแช่แข็ง (แบบประตูเดียว) เก็บได้ 2 สัปดาห์

เก็บที่ตู้เย็นช่องแช่แข็ง (แบบประตูแยก) เก็บได้ 3 เดือน

เก็บในตู้เย็นพิเศษช่องแช่แข็งเย็นจัด อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส เก็บได้ 6 เดือน

การนำน้ำนมมารดาที่แช่เย็นมาใช้

นำขวดที่บีบเก็บแรกสุดมาใช้ก่อน ให้นำนมแช่ในน้ำจากก๊อกหรือน้ำอุ่น

ห้ามนำไปอุ่นโดยการต้มหรือใช้เตาไมโครเวฟ

กรณีที่ทารกดูดนมไม่หมดขวด ถ้าวางทิ้งไว้เกิน 1 ชั่วโมง ให้เททิ้งไม่ควรนำมาให้ทารกรับประทาน

หลังจากที่ให้คำแนะนำมารดา หากมารดายังยืนยันจะให้นมผสมร่วมด้วย

ดังนั้น พยาบาลต้องให้คำแนะนำมารดาเกี่ยวกับการเลือกนมผสม การเตรียมนมผสม และวิธีการให้นมผสมเพื่อให้มารดาเข้าใจและให้นมผสมแก่ทารกได้อย่างถูกต้อง

นมผสมแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

นมผสมแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

นมสูตรดัดแปลงสำหรับทารก (infant formula) : ใช้ในทารกแรกเกิดจนถึงอายุ 1 ปี

นมสูตรต่อเนื่อง (follow-up หรือ follow-on formula) : ใช้เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 3 ปี

นมวัวครบส่วน (whole milk ) : สำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 1 ปี ขึ้นไป

จากกรณีศึกษา

นางดวงจำปีตั้งใจให้ทารกดูดนมแม่ 3 เดือน หลังจากนั้นจะให้นมผสมร่วมด้วยเพราะต้องกลับไปทำงาน

ดังนั้นนมผสมที่นางดวงจำปีควรเลือกใช้ คือ นมสูตรดัดแปลงสำหรับทารก (infant formula)

เนื่องจาก ใช้ในทารกแรกเกิดจนถึงอายุ 1 ปี

วิธีการให้นมผสม

1. ล้างมือให้สะอาด หยดนมลงบนหลังมือ เพื่อทดสอบอุณหภูมิ

และตรวจสอบว่าไหลเร็วเกินไปหรือไม่เพราะอาจทำให้ทารกสำลักได้

2. อุ้มทารกประคองศีรษะทารกให้สูงเล็กน้อย เอาจุกนมเขี่ยปากทารก

เมื่อทารกอ้าปากดูดนม ควรให้น้ำนมอยู่เต็มคอขวด

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดท้องอืด

3. อุ้มทารกเรอเป็นระยะๆในขณะให้ทารกดูดนม เมื่อทารกดูดนมอิ่มแล้ว

ให้จับเรออีกครั้งเพื่อป้องกันอาการท้องอืดหรือสำรอกนม

แผนการพยาบาล

แผนการพยาบาล

1) ประเมินความรู้ความเข้าใจของมารดาในการให้นมทารก สังเกตการให้นมว่าถูกต้องตามหลักหรือไม่ เพื่อวางแผนการพยาบาลที่เหมาะสม

2) อธิบายให้มารดาเล็งเห็นความสำคัญ และประโยชน์ของการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา เพื่อให้มารดาตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา

3) อธิบายวิธีการเก็บน้ำนมมารดา ระยะเวลาการเก็บรักษาน้ำนมมารดา การนำน้ำนมแม่ที่แช่เย็นมาใช้ และคำแนะนำแก่มารดาในการบีบน้ำนม

เพื่อให้มารดาเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม

4) ให้ความรู้มารดาเกี่ยวกับการเลือกนมผสม การเตรียมนมผสม และวิธีการให้นมผสมเพื่อให้มารดาเข้าใจและให้นมผสมแก่ทารกได้อย่างถูกต้อง

บรรณานุกรม

กนกวรรณ ฉันธนะมงคล. (2554). การพยาบาลทารกแรกเกิด (พิมพ์ครั้งที่ 5). สมุทรปราการ:

โครงการสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ชไมพร โนนศรีชัย. 2561. กระบวนการสร้างและการหลั่งของน้ำนม การดูและและการส่งเสริม

การเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา. เอกสารประกอบการสอนวิชาการพยาบาลมารดา-ทารกและ การผดุงครรภ์2(หน้า270-287). โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

พรศรี ดิสรเตติวัฒน์. 2561. การประเมินสุขภาพและการพยาบาลสตรีในระยะหลังคลอด. เอกสาร

ประกอบการสอนวิชาการพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์ 2 (หน้า294-309). โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

ยุวดี วัฒนานนท์ และ ศิริวรรณ์ สันทัด. (2557). ปฏิบัติการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา.

กรุงเทพมหานครฯ: หจก.เอ็นพีเพรส.

สายฝน บ่อชน. 2561. สาเหตุของการเจ็บครรภ์และการคลอดปกติ. เอกสารประกอบการสอน

วิชาการพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์2(หน้า128-133). โรงเรียนพยาบาล

รามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

MinuteVideos Thailand (นามแฝง). (5 กันยายน 2560). เทคนิคการบีบเก็บน้ำนมมารดา. [Video

file]. ค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=APiWW86UB1M

Learn more about creating dynamic, engaging presentations with Prezi