Introducing 

Prezi AI.

Your new presentation assistant.

Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.

Loading…
Transcript

การนำทฤษฎีนี้มาใช้ในการเรียนการสอน

กฎการเรียนรู้

หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี กลุ่มเกสตัลท์เน้นการเรียนรู้ที่ส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย ซึ่งจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์และการเรียนรู้เกิดขึ้นจาก 2 ลักษณะคือ

2. การหยั่งเห็น (Insight)

1. การรับรู้ (Perception)

ความเข้าใจสาระสำคัญขององค์ประกอบในปัญหานั้นว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างไร และเราควรแก้ตรงจุดใดก่อนหลัง หรือการหยั่งเห็นเป็นความเข้าใจที่เกิดขึ้น หลังจากที่มีการลองผิดลองถูกอยู่ระยะหนึ่งแล้วจะเกิดความคิดแวบหนึ่ง มองเห็นช่องทางที่จะแก้ปัญหานั้นๆ ซึ่งแสดงว่าเราเข้าใจ หรือมองเห็นแนวทางแก้ปัญหานั้นอย่างกระจ่างแจ้งนั่นเอง

เป็นการแปรความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัสทั้ง 5 ส่วน

คือ หู ตา จมูก ลิ้นและผิวหนัง การรับรู้ทางสายตาจะประมาณร้อยละ 75 ของการรับรู้ทั้งหมด

กฏการจดระเรียบหมวดหมู่ หรือรูปร่างของสิ่งที่รับรู้มีมากมาย แต่กฏที่สำคัญซึ่งจะกล่าวถึงกันอยู่เสมอ มีดังต่อไปนี้

ในการสอนครูควรจะให้ผู้เรียนมองเห็นโครงสร้าง ทั้งหมดของเรื่องที่จะสอนก่อน เพื่อให้เด็กเกิดการรับรู้เป็นส่วนรวมแล้วจึงแยกส่วนออกมาสอนเป็นตอนๆเน้นให้ผู้เรียนเรียนด้วยความเข้าใจมากกว่าเน้นการเรียนแบบท่องจำ

การเรียนด้วยความเข้าใจต้องอาศัยสื่อที่ชัดเจนประกอบการเรียน

และต้องเรียนด้วยการปฏิบัติจริงหรือผู้เรียนลงมือกระทำเอง(LearningbyDoing) ฝึกให้ผู้เรียนสามารถโยงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ที่เรียนไปแล้วกับความรู้ใหม่ว่ามีความแตกต่างและคล้ายคลึงกันอย่างไร

เพื่อช่วยให้จำได้นาน

1.3 กฎต่อเนื่อง

(Principle of Continuity)

1.2 กฎความคล้ายกัน

(Principle of Simmilarity)

1.1 กฎความใกล้ชิด

(Principle of proximity)

สิ่งเร้าที่มีทิศทางในแนวเดียวกันซึ่งผู้เรียนจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน

สิ่งเร้าใดๆ ที่อยู่ใกล้กัน เรามักจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน

สิ่งเร้าใดๆ ก็ตามที่มีลักษณะรูปร่าง ขนาด หรือสีคล้ายๆกัน เรามักจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน

1.6กฎการปิด

Principle of Closure

1.4 กฎอินคลูซิฟ

(Principle of Inclusiveness)

1.5กฎการเคลื่อนไหวไปใน

ทิศทางร่วมกัน

(Principle of Commonfate)

เรามักจะมองภาพที่ขาดความสมบูรณ์ให้เป็นภาพที่สมบูรณ์ หรือมองเส้นที่ขาดตอน ให้ปิดหรือต่อกันเป็นรูปร่าง

ภาพที่เรามองเห็นเป็นรูปร่างนั้น มักจะเป็นองค์ ประกอบที่มากที่สุดหรือใหญ่ที่สุดเสมอ

สิ่งใดๆที่เคลื่อนไหวในทิศทางร่วมกันหรือมีจุดหมายร่วมกันเราก็มีแนวโน้มที่จะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน

ทฤษฎีเกสตัลท์

(Gestalt Theory)

ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt Theory)

นำแนวคิดของทฤษฏีนี้ไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ว่าควรทำความเข้าใจโดยมองปัญหาทุกแง่ทุกมุม ไม่ควรมองปัญหาโดยมีอคติ และใช้ความคิดอย่างมีเหตุมีผลในการแก้ปัญหา

นำไปใช้ในการทำความเข้าใจบุคคลว่า ควรมองเขาในภาพรวม ( The Whole Person ) คือ การศึกษาคุณลักษณะต่างๆ ของบุคคลกับความมีเหตุผล ไม่ตัดสินความดีความชั่ว ของบุคคล โดยมองด้านใดด้านหนึ่งของเขาเท่านั้น

แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้ คือ

การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางการคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์

บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย

หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้จะเน้นกระบวนการคิด การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย

ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียน

สามารถคิดแก้ปัญหา คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้

การนำหลักการทฤษฎีกลุ่มความรู้ ความเข้าใจ ไปประยุกต์ใช้พลศึกษา

คำถาม

1. ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง และมีอิสระที่จะให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ทั้งที่ถูกและผิด เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล และเกิดการหยั่งเห็น

1.แนวความคิดของทฤษฎีเกสตัลต์คืออะไร

2. เปิดโอกาสให้มีการออกมาปฏิบัติหน้าชั้นเรียน โดยใช้แนวทางต่อไปนี้

--เน้นความแตกต่าง

--กระตุ้นให้มีความกล้าแสดงออก

--กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม

--ให้นักเรียนได้ลองผิด ลองถูก

--ครูค่อยบอกวิธีที่ถูกให้กับนักเรียน

สมาชิกในกลุ่มที่ 7

1.นายเธียรวิชญ์ พลายทับทิม 242

2.น.ส.ภัทราพร บุญมี 259

3.นายรุจชานนท์ ตั้งกมลวัฒนา 263

4.น.ส.ศิริยา จามิกรณ์ 273

คณะพลศึกษา เอกพลศึกษา

5.บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด

จะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนมีความศรัทธาและ

ครูจะสามารถเข้าไปอยู่ใน Life space ของผู้เรียนได้

2.กฎการเรียนรู้ของเกสตัล์ เกิดขึ้นจากกี่ลักษณะ อะไรบ้าง

3.ให้นิสิตยกตัวอย่างกฎ*การรับรู้ *มาหนึ่งข้อ

4.ให้นิสิตอธิบายการหยั่งเห็น

5.นิสิตสามารถนำทฤษฎีนี้มาใช้ในการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาได้อย่างไร

3. การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน เนื้อหามีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน

4.คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียนพยายามจัดกิจกรรมที่กระตุ้นความสนใจ

ของผู้เรียนมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์ได้และควรจัดโอกาสให้

ผู้เรียนรู้สึกประสบความสำเร็จด้วย

Learn more about creating dynamic, engaging presentations with Prezi