“อุปชาติฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “อุปชาติคาถา” มีสูตรว่า
อนนฺตโรทีริตลกฺขณา เจ
ปาทา วิมิสฺสา อุปชาติโย ตา
เอวํ กิรญฺญาสุปิ มิสฺสิตาสุ
วทนฺติ ชาติสฺวิทเมว นามํ.
ความว่า “หากบาทคาถามีลักษณะดังกล่าว แล้วต่อเนื่องกันคือเป็นบาทที่ผสมกันในคาถาใด คาถานั้นชื่อว่า “อุปชาติคาถา”
โดยหลักเกณฑ์ฉันท์นี้เป็นคาถาผสม ระหว่างอุเปนทรวิเชียรคาถากับอินทรวิเชียรคาถา
หนึ่งบทมี ๔ บาท บาทละ ๑๑ พยางค์ แบ่งเป็น ๒ วรรค วรรคแรก ๕ พยางค์
วรรคหลัง ๖ พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกาพย์จึงเป็นองค์ประกอบสมบูรณ์ บาทแรกขึ้นด้วยอุเปนทรวิเชียร
บาทที่ ๒ เป็นอินทรวิเชียร
บาทที่ ๓ เป็นอินทรวิเชียร
บาทที่ ๔ เป็นอุเปนทรวิเชียร บทต่อไปก็สลับกันอย่างนี้
ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์
บาทที่ ๑ และบาทที่ ๔ เป็นอุเปนทรวิเชียรฉันท์ คือ
ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ
บาทที่ ๒ และบาทที่ ๓ เป็นอินทรวิเชียรฉันท์ คือ
ครุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ
ฉากทางเดินในดง
บทประพันธ์
‘อโหระลึกขึ้น ละก็สุดจะเสียดาย!
ได้เคยประสพหลาย มิคะแล้วบ่เคยเห็น
กวางงามอร่ามทั่ว วรกายะดังเช่น
ดนูละเลิงเล่น จรไล่ ณ วันนี้.
บทประพันธ์
บทประพันธ์
คำถาม
๑. อุปชาติคำฉันท์ ๑๑ มีชื่อเรียกในคัมภีร์วุตโตทัยว่าอะไร ?
๒. อุปชาติคำฉันท์นำเอาหลักเกณฑ์อะไรมาเป็นหลัก ?
๓. อุปชาติคำฉันท์มีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง ?
๔. อุปชาติคำฉันท์ ๑๑ มีอุปชาติคาถา โดยมีความว่าอะไร ?
๕. อุปชาติคำฉันท์ ๑๑ ปรากฏอยู่ในเหตุการณ์ใดของวรรณคดีมัทนะพาธา?
๑
อุปชาติคาถา
๒
หลักเกณฑ์ฉันท์นี้เป็นคาถาผสม ระหว่าง
อุเปนทรวิเชียรคาถากับอินทรวิเชียรคาถา
๓
หนึ่งบทมี ๔ บาท บาทละ ๑๑ พยางค์
แบ่งเป็น ๒ วรรค วรรคแรก ๕ พยางค์ วรรคหลัง ๖ พยางค์
๔
“หากบาทคาถามีลักษณะดังกล่าว แล้วต่อเนื่องกันคือเป็นบาทที่ผสมกันในคาถาใด คาถานั้นชื่อว่า “อุปชาติคาถา”
๕
เหตุการณ์ทางเดินในดง