Introducing 

Prezi AI.

Your new presentation assistant.

Refine, enhance, and tailor your content, source relevant images, and edit visuals quicker than ever before.

Loading content…
Loading…
Transcript

เฉลย

1. ก 2. ง 3. ค 4. ก 5. ง

6. ง 7. ก 8. ข 9. ก 10. ง

11. ก 12. ก 13. ข 14. ง 15. ค

16. ง 17. ง 18. ข 19. ค 20. ก

กระบวนการของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

1. การวางแผนกลยุทธ์ขององค์การ

การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์จะประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ ๆ 4 ขั้นตอน

ซึ่งองค์การจะต้องทำการกำหนดทิศทางโดยรวมว่า ต้องการที่จะทำอะไรอย่างไร

ซึ่งเป็นเรื่องของการวางยุทธศาสตร์หรือวางแผนกลยุทธ์ เพื่อทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอก

และภายในองค์การ (SWOT Analysis) และให้ได้มาซึ่งเป้าประสงค์สุดท้ายที่ต้องการ

ขององค์การหรือวิสัยทัศน์ (Vision) อันจะนำไปสู่การกำหนดพันธกิจ (Mission)

วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Target) และกลยุทธ์การดำเนินงาน (Strategy) รวมทั้งพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จขององค์การ (Critical Success Factors)

และสร้างตัวบ่งชี้วัดผลการดำเนินงาน(Key Performance Indicators)ในด้านต่าง ๆ

2. การกำหนดรายละเอียดของตัวบ่งชี้วัดผลการดำเนินงาน

4. การให้รางวัลตอบแทน

หลังจากที่ได้พิจารณาผลการดำเนินงานแล้ว ผู้บริหารจะต้องมีการให้รางวัลตอบแทน ตามระดับของผลงานที่ได้ตกลงกันไว้ นอกจากนี้อาจจะมีการให้ข้อเสนอแนะ หรือกำหนดมาตรการบางประการเพื่อให้มีการปรับปรุงผลงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

เมื่อผู้บริหารขององค์การได้ทำการตกลงร่วมเกี่ยวกับตัวบ่งชี้วัดผลการดำเนินงานแล้ว จะเริ่มดำเนินการสำรวจเพื่อหาข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับสภาพในปัจจุบัน (Baseline Data) เพื่อนำมาช่วยในการกำหนดความชัดเจนของตัวบ่งชี้ดังกล่าว ทั้งในเชิงปริมาณ (Quantity) คุณภาพ (Quality) เวลา (Time) และสถานที่หรือความครอบคลุม (Place) อันเป็นเป้าหมายที่ต้องการของแต่ละตัวบ่งชี้

สรุป

การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

3. การวัดและการตรวจสอบผลการดำเนินงาน

ผู้บริหารจะต้องจัดให้มีการตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงานของแต่ละตัวบ่งชี้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้

เช่น รายเดือน รายไตรมาส รายปี เป็นต้น เพื่อแสดงความก้าวหน้าและสัมฤทธิ์ผลของการดำเนินงาน ว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ อย่างไร นอกจากนี้ในบางกรณีอาจจะจัดให้มีคณะบุคคล เพื่อทำการตรวจสอบผลการดำเนินงานเป็นเรื่อง ๆ ไปก็ได้

การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Besed Management : RBM) เป็นนวัตกรรม

ทางการบริหารที่ประเทศต่าง ๆ ที่พัฒนาแล้ว นำมาใช้ในการปฏิรูประบบราชการให้เกิดประสิทธิภาพ

ประสิทธิผล โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรม การข้าราชการพลเรือนก็

กำลังจะใช้วิธีการบริหารรูปแบบใหม่นี้ ผสานกับเปลี่ยนแปลงระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งเน้นผลงาน

(Performance Based Budgeting Sustem : PBBS) ทำการปฏิรูปองค์การภาครัฐ ให้สามารถจัดบริการ

สาธารณะให้เป็นที่พึงพอใจของประชาชนมากขึ้น หัวใจสำคัญของความสำเร็จในการใช้วิธีการบริหารแบบมุ่ง

ผลสัมฤทธิ์นั้นอยู่ที่การสร้างตัวบ่งชี้ผลการปฏิบัติงาน (Key Performance Indicators) ที่มีความตรง

เป็นที่ยอมรับ และสะดวกในการนำไปใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศสำหรับการกำกับ ติดตามและ รายงานผลการดำเนินงานขององค์การ

การเชื่อมโยงกลยุทธ์

สู่การวัดผลการปฏิบัติงาน

กรอบการประเมินผลสัมฤทธิ์

ของส่วนราชการ

การให้ความร่วมมือจากผู้บริหาร

ในการกำหนดเป้าหมายที่เหมาะสม

ของผลการปฏิบัติงาน

ปัจจัยที่จำเป็นเบื้องต้นสำหรับส่วนราชการไทยที่จะนำ

ระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้ ได้แก่

4. ด้านการเงิน

การมอบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ

การปฏิบัติงานในระบบการบริหารมุ่ง ผลสัมฤทธิ์ให้ชัดเจน

ให้ความสำคัญกับการประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร ความคุ้มค่าของเงินงบประมาณที่ใช้ความสามารถของการให้บริการ เทียบกับผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา รวมถึงการป้องกันการทุจริต

และประพฤติมิชอบที่ปรากฏ

องค์กรมีการจัดทำแผนกลยุทธิ์

ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ

วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์การปฏิบัติงาน

2. ด้านองค์ประกอบภายในองค์กร

เป็นการพิจารณาย้อนกลับไปที่โครงสร้างองค์กร กระบวนการทำงาน ทรัพยากรมนุษย์

ความสามารถหลักขององค์กร วัฒนธรรม และค่านิยม ความรู้ความสามารถของบุคลากร

ทักษะ จริยธรรม ขวัญกำลังใจ

1. ด้านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอกองค์กร

เป็นการพิจารณาองค์กรในมุมมองของประชาชนผู้รับบริการ สาธารณชนทั่วไป

ที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมภายนอกองค์กร ผู้มีส่วนได้เสียประโยชน์ต่าง ๆ รัฐบาล หน่วยงานราชการอื่น ๆ รัฐวิสาหกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ฯลฯ

การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ เกี่ยวข้องกับทุกกระบวนการของการบริหาร (PDCA)

3. ด้านนวัตกรรม

Plan

มีวัตถุประสงค์ หรือ เป้าหมายที่ชัดเจน (ต้องการทราบว่าผลสัมฤทธิ์คืออะไร)

เป็นการพิจารณาความสามารถขององค์กรต่อความเปลี่ยนแปลงเป็นการมองไปในอนาคต

ว่าองค์กรควรริเริ่มสร้างสรรค์อย่างไร เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน ได้ดียิ่งกว่าเดิม เช่น งานวิจัยที่นำสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง การพัฒนาระบบงาน การสร้างเครือข่าย ระบบการตรวจค้นข้อมูล ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น

Act

ปรับปรุงแก้ไขให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตามแผน

ที่วางไว้

Do

วัตถุประสงค์ของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์

มีการปฏิบัติงานที่มุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์

ตามแผนที่วางไว้หรือไม่

Check

มีการตรวจสอบว่าปฏิบัติได้ผลสัมฤทธิ์

ตามที่วางแผนไว้หรือไม่

ระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารเชิงกลยุทธ์

การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานขององค์กร ช่วยให้การบริหารการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม มีทิศทางในการปฏิบัติงาน มีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นระยะๆ ทำให้ทราบผลการปฏิบัติงาน เมื่อเทียบกับแผนหรือเป้าหมายสามารถรายงานความก้าวหน้า ผลการปฏิบัติงาน ต่อผู้บริหาร และทำให้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที หากผลการปฏิบัติงานไม่น่าพึงพอใจ ผู้บริหารมีโอกาสปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ทันที

การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ องค์กรใช้วิสัยทัศน์

พันธกิจ วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ ซึ่งอยู่ในแผนกลยุทธ์ขององค์กรเป็นกรอบในการกำหนดปัจจัยหลัก

แห่งความสำเร็จ (CSF) และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก (KPI) ของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์

การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ เป็นเครื่องมือช่วยประเมินความสำเร็จของการดำเนินการตามกลยุทธ์ องค์กรที่มีการบริหารเชิงกลยุทธ์สามารถใช้ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ(CSF)

และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก (KPI) ของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ เป็นกรอบวัดผลการปฏิบัติงานขององค์กรเทียบกับเป้าหมาย เพื่อให้รู้ถึงความก้าวหน้า

ของการบรรลุวิสัยทัศน์ หากผลงานยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ผู้บริหารองค์กรควรปรับเปลี่ยน

กลยุทธ์ให้เหมาะสม

หลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล (2544) ได้นําเสนอหลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ จากการ ปฏิบัติตามแนวทาง RBM ของ Canadian International Development Agency (CIDA) ได้กําหนดหลักการของ RBM ไว้ 5 ประการดังนี้

1. การมีส่วนร่วม (Partnership)

5. การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Learning by doing)

การประสบความสําเร็จของ RBM นั้นจะต้องยอมรับว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง จะต้องตระหนัก และยอมรับความสําคัญของ RBM เสียก่อนว่า ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังและทุก ๆ ขั้นตอน ของการดําเนินงาน RBM จะต้องถูกกําหนดให้ชัดเจน และได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การติดตามกระบวนการ ผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการต่าง ๆ ของ RBM

ควรดําเนินการอย่างสม่ำเสมอ จะทําให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์

ในระหว่างการปฏิบัติงานนั้น และถ้าจําเป็นต้องปรับเปลี่ยน ต้องกระทําเพื่อให้ประโยชน์ต่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น

2. ความรับผิดชอบ (Accountability)

4. ความเรียบง่าย (Simplicity)

ทุกหน่วยงานทุกคนที่อยู่ในองค์กรต่างต้อง รับผิดชอบในการดําเนินงาน

ให้บรรลุตามผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง

แนวทางการดําเนินงานตาม RBM ไม่ควรวางระบบ ให้ซับซ้อน ตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ และกระบวนการต่าง ๆ ควรจะถูกกําหนดอย่างเหมาะสม ง่ายต่อการเข้าใจ และวัดผลได้อย่างเหมาะสม และถูกต้องภายในกรอบเวลาที่จํากัด

3. ความโปร่งใส (Transparency)

ผลสัมฤทธิ์และตัวชี้วัดที่สําคัญตลอดจนข้อมูล ต่าง ๆ ในการดําเนินงานตาม RBM จะต้องได้รับการเฝ้าติดตามอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การจัดทํารายงานยังต้องเป็นสิ่งจําเป็น เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการติดตามตรวจสอบอย่างโปร่งใสในภายหลัง

ความหมายการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

(Result-Based Management: RBM)

สรุปได้ว่า การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management : RBM) หมายถึงการ บริหารที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ (ผลการผลิตและผลลัพธ์) ในการทํางานขององค์การโดยใช้การวัดผลการ ปฏิบัติงานที่มีตัวชี้วัด (Indicators) ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมเป็นตัวสะท้อนความสําเร็จการดําเนินงาน

ทิพาวดี เมฆสวรรค์ (2539) ได้ให้ความหมายของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

หมายถึง เป็นการบริหารโดยมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ คือ ความสัมฤทธิ์ผลเป็นหลัก โดยใช้ระบบ การประเมินผลงานที่อาศัยตัวชี้วัด (Indicators) เป็นตัวสะท้อนผลงาน ให้ออกมาเป็น รูปธรรม ซึ่งผลการประเมินนี้จะ นํามาใช้ในการตอบคําถามถึงความคุ้มค่า ในการทํางาน ใช้แสดงผลงานต่อสาธารณะและเพื่อปรับปรุงกระบวนการทํางานให้ดียิ่งขึ้น

ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล (2554) ได้สรุปจาก Canadian International Development (CIDA) ที่นิยามการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ว่าเป็นแนวคิดการบริหารจัดการเชิงวัฏจักรชีวิต โดย บูรณาการผสมผสาน ระหว่างกลยุทธ์ ประชาคม กระบวนการและการวัดผลที่จะปรับปรุงการตัดสินใจ ความโปร่งใส ความสามารถตรวจสอบได้ แนวคิดดังกล่าวเน้นที่ความสําเร็จของผลลัพธ์การปฏิบัติงาน การวัดผล การเรียนรู้ การปรับตัว และการรายงานผลการดําเนินงาน

แนวคิดการบริหาร

แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

ผลสัมฤทธิ์ (Results) คือ อะไร

การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management : RBM)

เป็นการ บริหารงานที่ใช้ทรัพยากรการบริหารอย่างประหยัด (Economy)

เกิดประสิทธิภาพ ในการทํางาน (Efficiency) และผลการดําเนินงานบรรลุเป้าหมาย ขององค์การ (Effectiveness) ดังแผนภาพ

ผลสัมฤทธิ์ (Results) หมายถึง การปฏิบัติตามกิจกรรมที่กําหนดไว้จนเกิดผลผลิต (Outputs) ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย และนอกจากนั้นยังเกิดผลลัพธ์ (Outcomes) ที่เกิดจากผลผลิต (Outputs) ในการทํากิจกรรมด้วย ซึ่งสามารถเขียนแสดงดังแผนภาพ

ผลผลิต (Outputs)

ผลลัพธ์ (Outcomes)

ผลสัมฤทธิ์ (Results)

ผลผลิต (Outputs) หมายถึง งานบริการ หรือกิจกรรมที่เจ้าหน้าที่

ทำเสร็จสมบูรณ์พร้อมส่งมอบให้ประชาชนผู้รับบริการ ผลผลิตเป็นผลงานที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมโดยตรง

ผลลัพธ์ (Outcomes) หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นตามมา ผลกระทบ หรือเงื่อนไขที่เกิดจากผลผลิต ผลลัพธ์มีความสัมพันธ์โดยตรง กับประชาชนผู้รับบริการและสาธารณชน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ

ของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

ผลสัมฤทธิ์

ดังนั้น ผลสัมฤทธิ์ คือ งาน บริการ หรือกิจกรรมที่เกิดจากการทำงานได้ผลผลิต (Outputs)

ตามเป้าหมาย และเกิดผลลัพธ์ (Outcomes) ตรงตามวัตถุประสงค์ กล่าวคือ ผลผลิตสามารถนำไปใช้

ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง หรือเป็นที่พึงพอใจ

ปัจจัยนำเข้า

กิจกรรม

ผลผลิต

ผลลัพธ์

วัตถุประสงค 

ตัวอย่าง ตัวชี้วัดผลผลิตและผลลัพธ์

ตัวอย่างตัวชี้วัดผลลัพธ์

ตัวอย่างตัวชี้วัดผลผลิต

1. จํานวนผู้รับการอบรมที่ได้ใช้ประโยชน์ จากการอบรมจริง

1. จํานวนโครงการอบรมที่จัดขึ้นหรือ จํานวนผู้เข้ารับการอบรม

2. จํานวนนักเรียนที่สําเร็จการศึกษา

2.จํานวนนักเรียนที่นําความรู้ไปใช้ใน ชีวิตประจําวัน

ความประหยัด

ความมีประสิทธิภาพ

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ประสบความสำเร็จอยู่ที่ความเข้าใจแนวคิด

วิธีการและประโยชน์ของวิธีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงความรู้ความสามารถ

ของเจ้าหน้าที่ทุกระดับที่จะสามารถปรับตัวและสามารถทำงานภายใต้ระบบงานที่จะต้องรับผิดชอบต่อการ

ปฏิบัติงาน ทั้งนี้เงื่อนไขความสำเร็จที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

1. ผู้บริหารระดับสูงมีความเข้าใจและสนับสนุน การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์จะประสบความสำเร็จ ก็ต่อเมื่อ ผู้บริหารระดับสูงมีความเข้าใจและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ คือสนับสนุนในการจัดทำระบบวัดผลการปฏิบัติงาน การใช้ข้อมูลผลการวัดผลการปฏิบัติงาน การจัดสรรงบประมาณ การสร้างสิ่งจูงใจเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ รวมถึงการมอบอำนาจในการตัดสินใจเพื่อแลกเปลี่ยนกับความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงาน

1.1 การกำหนดพันธกิจและแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน ผู้บริหารขององค์การจะต้องให้

ความสำคัญและเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดพันธกิจและแผนกลยุทธ์ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการเพื่อให้เกิดผล

2. การจัดระบบข้อมูลผลการปฏิบัติงาน การจัดทำระบบข้อมูลผลการปฏิบัติงานจะต้องคำนึงเสมอว่า ระบบข้อมูลนั้นสามารถที่จะแสดงถึงระดับการเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์สู่เป้าหมายขององค์การได้

ซึ่งจะต้องจัดทำเพิ่มเติมขึ้นจากระบบข้อมูลเดิม ที่เน้นปัจจัยนำเข้าและกิจกรรม

เพื่อให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการตัดสินใจได้ดีขึ้น

2.2 การวางระบบสารสนเทศเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและประมวลผลข้อมูลผู้พัฒนาระบบ

จะต้องมีความเข้าใจเนื้อหาสาระ ของโครงการหรืองานที่จะวัดผลการปฏิบัติงาน

โดยต้องคำนึงถึงการจัดทำรายงานผลซึ่งจะแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่จะรายงานเป็นช่วงเวลาตามกำหนดทุกครึ่งปี

หรือหนึ่งปี เพื่อประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย และวางแผนหรือการจัดทำงบประมาณประจำปี และส่วนที่เป็นการรายงานเฉพาะกิจที่สามารถเรียกดูข้อมูล ตัวบ่งชี้ได้ทันในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งความสำเร็จในการจัดทำระบบข้อมูลผลการปฏิบัติงานที่ใช้ประโยชน์ได้ จึงอยู่ที่การจัดทำข้อมูลที่สะท้อนผลงานจริง

ทันเวลา และมีปริมาณข้อมูลที่เหมาะสม โดยมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัด

1.2 การใช้ข้อมูลผลการปฏิบัติงานในการบริหาร ผู้บริหารจะต้องระลึกเสมอว่าการวัดผลไม่ได้ ทำให้ผลการปฏิบัติงานดีขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่ข้อมูลจากการวัดผลการปฏิบัติงานจะเป็นข้อมูลที่จะช่วยให้

ผู้บริหารสามารถปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น แก้ปัญหาได้ถูกต้องมากขึ้น ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องเอาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์อย่างรอบคอบเพื่อกำหนดมาตรการที่จะปรับปรุง

ผลการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นต่อไป

2.1 การพัฒนาตัวบ่งชี้ การเลือกตัวบ่งชี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการและการตัดสินใจนั้น

จะต้องเลือกตัวบ่งชี้ให้ครอบคลุมความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องพัฒนา

โดยผู้ที่มีประสบการณ์ในงานด้านนั้นๆ กับผู้มีส่วนได้เสียกับงานนั้นๆ ด้วย โดยตัวบ่งชี้จะมีทั้งส่วนของปัจจัยนำเข้า

กิจกรรม ผลผลิต และผลลัพธ์ รวมถึงตัวบ่งชี้ที่แสดงความพึงพอใจของผู้รับบริการ แต่ควรจะให้มีตัวบ่งชี้

ในจำนวนเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าของการจัดทำและรักษาระบบข้อมูลนี้ด้วย

3. การพัฒนาบุคลากรและองค์การ ผู้บริหารทุกระดับถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญในการดำเนินงาน

โครงการต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมายภายใต้ระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ดังนั้นจึงจำเป็น ที่จะต้องการพัฒนาผู้บริหารไว้ล่วงหน้าให้สามารถปฏิบัติงานที่ต้องรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ของงาน ภายใต้สภาวะที่มีความคล่องตัวและมีอำนาจในการบริหารเพิ่มขึ้น ผู้บริหารทุกคนจะต้องมีความรู้ ในการวางแผนกลยุทธ์ การวัดผลการปฏิบัติงาน รวมถึงการใช้ข้อมูลผลการปฏิบัติงาน เพื่อการตัดสินใจในการทำงานประจำวัน ในขณะเดียวกันจะต้องมีระบบการพัฒนา และฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้มีความชำนาญที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้มีศักยภาพที่จะสับเปลี่ยน บทบาทหน้าที่ได้ในยุคที่มีความเปลี่ยนเปลงอย่างรวดเร็ว และเข้าใจเรื่องการวัด และการใช้ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานประจำวันด้วย

การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ คือ

วิธีการบริหารที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์หรือผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก โดยมีการวัดผล การปฏิบัติงานด้วยตัวชี้วัดอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ทำให้ผู้บริหาร ทราบผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที เป็นการควบคุมทิศทางการดำเนินงานให้มุ่งสู่วิสัยทัศน์ฯ ของหน่วยงาน

Learn more about creating dynamic, engaging presentations with Prezi