Loading…
Transcript

ภาษาเหนือ

ลักษณะเด่นของภาษาเหนือ คือจะเนิบช้า มีการลากเสียงในบางคำ

ภาษาเหนือจะมีการแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ

คือ คำเมือง จะใช้ในภาคเหนือตอนบนบริเวณอาณาจักรล้านนา

เดิม ซึ่งจะมีการแบ่งย่อยเป็น ภาษาล้านนาตะวันตกและภาษาล้านนาตะวันออก

ซึ่งแต่ละจังหวัดก็จะมีคำศัพท์หรือสำเนียงในบางคำต่างกัน

และยังมีภาษาผสมในจังหวัดอื่นๆ ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง

เช่น อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เป็นต้น

ภาษาอีสาน

ลักษณะเด่นของภาษาอีสานคือ จะมีเสียงที่ห้วน พูดเร็ว

มีความหลากหลายค่อนข้างมาก ในบางจังหวัดจะมีสำเนียงคล้ายภาษาลาว เพราะอยู่ใกล้กับประเทศลาว ในขณะที่บางจังหวัดจะมีการผสมภาษาเขมร เนื่องจากใกล้ประเทศกัมพูชา

บางครั้งในหมู่บ้านติดกันก็อาจจะใช้คนละสำเนียง

ภาษาถิ่น

ภาษาใต้

ภาษา๔ภาค

ภาษาใต้ มีลักษณะเด่น คือจะเร็ว อักขระ

ร เรือชัดเจน มีการรวบคำในบางคำ

ภาษาใต้จะมีการแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ

ฝั่งตะวันออก ฝั่งตะวันตก และ 3 ชายแดนใต้ ซึ่งจะมีสำเนียงที่ต่างกันค่อนข้างชัดเจน

และจะมีสำเนียงเฉพาะย่อยไปในแต่ละจังหวัด

ภาษากลางและภาษาตะวันตก

ในส่วนของกรุงเทพและปริณฑลบางจังหวัด

จะใช้ภาษาไทยมาตรฐาน

แต่ในหลายๆจังหวัดจะมีคำศัพท์มีสำเนียง เหน่อ

เหน่อแต่ละจังหวัดจะต่างกัน ทำให้ เสียงเหน่อ กลายเป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัด