1.นาย ภูริพล แซ่ท่อง เลขที่ 2
2.นางสาว พัชรศรี จันทร์บุญพิทักษ์ เลขที่4
3.นาย ภูมินทร์ ใจสุข เลขที่11
4.นางสาว กรกนก แซ่เลื่อง เลขที่ 15
5.นางสาว กัลยรัตน์ แซ่ว่อง เลขที่16
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1
ฟรานช์ ชูเบิร์ท (Franz Schubert,1797-1828)
Symphony No.5 in B flat:First movement 1816, Great C Major Symphony, Unfinished Symphony (ชูเบิร์ทยังประพันธ์ไม่เสร็จเพราะถึงแก่กรรมก่อน), String Quartet No. 13 in A minor : Second movement 1823, Rosam under : incidentat Music(ใช้ประกอบการแสดงบัลเลย์)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวออสเตรีย เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ1797
พ่อเป็นคนแรกี่เป็นผู้ปลูกฝังนิสัยทางดนตรีให้แก่ชูเบิร์ทขณะที่ชูเบิร์ทมีอายุได้
5 ขวบ พ่อก็เริ่มสอนวิชาเบื้องต้นให้ พออายุได้ 6 ขวบ ก็เข้าโรงเรียน
และก็ได้เริ่มฝึกหัดเปียโนบ้างเมื่ออายุ 8 ขวบพ่อก็สอนไวโอลิน และทำการฝึกซ้อมให้อย่างสม่ำเสมอ ในไม่ช้าเขาก็สามารถเล่นเพลงดูเอท (Duet) อย่างง่าย ๆ ได้อย่างดี ตลอดช่วงชีวิตสั้น ๆ ของชูเบิร์ทเพียง 31 ปี แทบไม่เคยได้รับการยกย่องในฐานะผู้ประพันธ์เพลงแต่อย่างใดเขาได้ทิ้งผลงาน ซิมโฟนี 8 เพลง สตริงควอเตท 19 เพลงเปียโนโซนาต้า 21 เพลง และอื่น ๆ อีกกว่า 600
จิอะซิโน รอสชินี (Gioacchino Rossini,1792-1868)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวอิตาเลียน เกิดเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1792 ที่เมืองเปซาโร (Pesaro) เรียนดนตรีครั้งแรกกับพ่อและแม่ซึ่งพ่อเป็นผู้เล่นฮอร์น และทรัมเปต ส่วนแม่เป็นนักร้องที่มีเสียงใสต่อมาจึงได้เรียนการประพันธ์ดนตรีแบบเคาน์เตอร์พอยท์ อย่างจริงจังกับTesei และ Mattei ที่เมืองโบโลญา (Bolongna) รอสชินีมีชื่อเสียงจากการประพันธ์โอเปร่า และโอเปร่าชวนหัวมีแนวการแต่งเพลงแบบค่อย ๆ พัฒนาความ
สำคัญของเนื้อหาดนตรีทีละน้อยไปจนถึงจุดสุดยอดในที่สุด
ผลงานโอเปร่าของรอสชินีได้แก่ La Scala di Seta, La Gazza Ladra
La Cenerentola, Semiramide,
The Baber of Seville และ William Tell
ประกอบด้วย
กลุ่มเครื่องสาย (String Instruments) ได้แก่ ไวโอลินที่หนึ่ง ไวโอลินที่สอง วิโอลาเชลโลและดับเบิลเบส
กลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments) ได้แก่ ฟลูต โอโบ คลาริเนตและบาสซูน
กลุ่มเครื่องทองเหลือง (Brass Instruments) ได้แก่ ทรัมเปต ทรอมโบน ทูบาและเฟรนช์ฮอร์น
กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ (Percussion Instruments) ได้แก่ กลองทิมปานี
ดนตรียุคโรเเมนติก
ผลงานที่สำคัญของยุคโรเเมนติก
วงออร์เคสตราสมัยโรแมนติก ( Romantic Orchestra)
จากต้นสมัยบาโรกจนกระทั่งถึงปลายสมัยคลาสสิกผู้ประพันธ์เพลงต่าง ก็มีอิสระหลุดพ้นจากการครอบงำในด้านความคิดจึงส่งผลให้ผลงานที่แต่งขึ้น ในสมัยนี้มีความสวยสดงดงามทำให้พัฒนาการของวงออร์เคสตรามาถึงจุดที่ เป็นมาตรฐานเนื่องจากมีการใช้สีสันของเครื่องดนตรีที่แตกต่างกันมาใช้ในการ แต่งเพลงจึงมีความหลากหลาย นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มจำนวนเครื่องดนตรีเข้า ไปเพื่อรองรับความคิดดังกล่าวเพื่อคุณภาพของเสียงที่แสดงพลังอำนาจของวงออร์เคสตราอย่าง แท้จริงจึงทำให้วงออร์เคสตราในสมัยนี้มีขนาดใหญ่
ลักษณะทั่วๆไปของการดนตรีในสมัยโรแมนติก
1. คีตกวีสมัยนี้มีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด
2. ใช้อารมณ์ และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน
3. ลักษณะที่เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธิชาตินิยม” (Nationalism)
4. ลักษณะภายในองค์ประกอบของดนตรีโดยตรง
4.1 ทำนอง ลีลาและบรรยากาศของทำนองเน้นความรู้สึก
4.2 การประสานเสียง โครงสร้างของคอร์ดและลำดับการใช้คอร์ด มีเสรีภาพมากขึ้นใน
การใช้คอร์ด 7 คอร์ด 9 อย่างมีอิสระ
4.3 ความสำคัญของเสียงหลัก (Tonality) หรือในคีย์ยังคงมีอยู่
4.4 พื้นผิว ในสมัยนี้โฮโมโฟนียังคงมีความสำคัญมากกว่าเคาน์เตอร์พอยท์
4.5 ความดังเบาของเสียง (Dynamics) ในสมัยนี้ได้รับการเน้นให้ชัดเจนทั้งความ
ดัง และความเบาจนเป็นจุดเด่นจุดหนึ่ง
ลักษณะของดนตรียุคโรเเมนติก
ดนตรียุคโรแมนติกมีลักษณะของแนวทำนองที่เต็มไปด้วยการบรรยาย ความรู้สึก มีแนวทำนองเด่นชัด ลักษณะการแบ่งวรรคตอนเพลงไม่ตายตัว การประสานเสียงได้พัฒนาต่อจากยุคคลาสสิกทำให้เกิดการคิดคอร์ดใหม่ๆ
ในยุคนี้ดนตรีบรรเลงและบทเพลงสำหรับเปียโนเป็นที่นิยมประพันธ์กันมากขึ้น ลักษณะของวงออร์เคสตราจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามแต่ผู้ประพันธ์เพลงจะกำหนด เพลงคฤหัสถ์หรือเพลงสำหรับชาวบ้านเป็นที่นิยมประพันธ์กัน แต่เพลงโบสถ์ก็ยังคงมีการประพันธ์อยู่เช่นกัน ในลักษณะของเพลงแมส ที่ใช้เพื่อประกอบศาสนพิธี และเพลงเรเควียม ที่ใช้ในพิธีศพ สำหรับบทเพลงอุปรากร และเพลงร้องก็มีพัฒนาการควบคู่ไป เนื้อร้องมีตั้งแต่การล้อการเมือง ความรัก ไปจนถึงเรื่องโศกนาฏกรรม
ความเป็นมาของดนตรียุคโรเเมนติก
ยุคโรแมนติก (ค.ศ.1810-1910)
เป็นยุคของดนตรีคลาสสิกในช่วงศตวรรษที่19
ซึ่งเน้นอารมณ์ของดนตรีมากกว่าความสมดุลของบทตอน และเน้นความเป็นตัวตนของคีตกวีมากกว่ากฎเกณฑ์ทางดนตรีที่มีมา
แต่เดิมคำว่า "โรแมนติก" ถูกประยุกต์ใช้ในวงการดนตรีปี ค.ศ. 1810
ซึ่งเอามาจากวงการวรรณกรรม มีความหมายว่า อารมณ์ที่รุนแรงมนุษย์ โดยลักษณะดนตรีแบบโรแมนติกนี้เริ่มขึ้นในงานของนักประพันธ์เพลง
และนัก ดนตรีชื่อ ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven) ดนตรียุคโรแมนติกนั้นเริ่มต้นด้วยเพลงขับร้องและเพลงเปียโนสั้นๆ ต่อมาเป็นเพลงสำหรับวงออร์เคสตรา