การศึกษาพฤติกรรมการลวกช้อนส้อมของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หลักการและเหตุผล
ขอบเขตและข้อจำกัดการวิจัย
ศึกษาพฤติกรรมการลวกช้อนส้อม
ของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาลัยขอนแก่น
จำนวน 206 คน
ใช้ระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 – กุมภาพันธ์ 2557
สถานที่ทำการวิจัย
โรงอาหารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
1.สามารถบอกพฤติกรรมของผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้ว่าจะลวกช้อนส้อมก่อนรับประทานอาหารหรือไม่
2.ได้ทราบถึงทัศนคติด้านความสะอาดของผู้บริโภคในการลวกช้อนส้อมก่อนและหลังรับประทานอาหาร
วิธีดำเนินโครงการ
1. ประชากร
นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 446 กำหนดความเชื่อมั่น 95% กรณีทราบขนาดของประชากร
2. กลุ่มตัวอย่าง ใช้สูตรการคำนวณคือ
n = (446)(1.96)2(0.5)(1-0.5) / (446)(0.05)2 + (1.96)2 (0.5)(1-0.5)
n = 428.3384 / 2.0754
n = 206.388359
เพราะฉะนั้น ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 206 คน
แบบสอบถาม จำนวน 206 ชุด
ส่วนที่ 1 ใช้เพศและอายุ
ส่วนที่ 2 ข้อมูลวัดความเข้าใจของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 3 พฤติกรรมและทัศนคติการลวกช้อนส้อม
ส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะ
1. เก็บข้อมูลเชิงข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) จากแบบสอบถาม เป็นข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 206 คน
2. เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ผู้วิจัยมีความเชื่อว่า น้ำ เป็นตัวแปรสำคัญที่จะมีผลต่อความสะอาด ของช้อนส้อม จึงได้มีมีขั้นตอนการสุ่มดังนี้
1. กำหนดประชากรเป้าหมาย :
นักศึกษาและบุคลากรคณะสถาปัยกรมมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. ผู้วิจัยพบว่า ในกลุ่มประชากรนี้มีนักศึกษา 5 ชั้นปี ดังนี้
ชั้นปีที่ 1 มี 100 คน (คิดเป็น 22.5% ของประชากรทั้งหมด)
ชั้นปีที่ 2 มี 99 คน (คิดเป็น 22.1% ของประชากรทั้งหมด)
ชั้นปีที่ 3 มี 95 คน (คิดเป็น 21.3% ของประชากรทั้งหมด)
ชั้นปีที่ 4 มี 90 คน (คิดเป็น 20.1% ของประชากรทั้งหมด)
ชั้นปีที่ 5 มี 62 คน (คิดเป็น 14.% ของประชากรทั้งหมด)
รวมทั้งหมด 446 คน
3. สุ่มกลุ่มตัวอย่างจากประชากรในแต่ละกลุ่มชั้นปี
จะได้ชั้นปีที่ 1 51 คน จาก 100 คน
ชั้นปีที่ 2 45 คน จาก 99 คน
ชั้นปีที่ 3 45 คน จาก 95 คน
ชั้นปีที่ 4 45 คน จาก 90 คน
ชั้นปีที่ 5 20 คน จาก 62 คน
รวมทั้งหมด 206 คน
ผลการดำเนินโครงการ
ส่วนที่ 1 ข้อมูลวัดความเข้าใจของผู้ตอบแบบสอบถาม
1. การลวกช้อนส้อมนาน 4 นาทีสามารถฆ่าเชื้อโรคได้
2. ก่อนลวกน้ำร้อนช้อนส้อมมีความสะอาดน้อยกว่าหลังลวก
3. การลวกช้อนส้อมตามในช่วงเวลาต่างๆ มีผลต่อความสะอาดของช้อนส้อม
4.การใช้หม้อหุงข้าวเป็นอุปกรณ์ใส่น้ำร้อนทำให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อลดลง
5. น้ำร้อน 98 องศา สามารถฆ่าเชื้อไวรัสตับอับเสบเอได้
6. การลวกช้อนส้อมเป็นค่านิยม
แผนภูมิแท่งแสดงทัศนคติของผู้ใช้บริการ
โดยชั้นปีที่
เห็นด้วยมากที่สุดคือชั้นปีที่ 2 คือ 67.57 %
รองลงมาคือ ชั้นที่ 4 คือ 67.07 % ,
ชั้นปีที่ 1 คือ 63.07 % ,
ชั้นปีที่ 3 คือ 57.78 %
และชั้นปีที่ 5 คือ 55% ตามลำดับ
ส่วนที่ 2 พฤติกรรมการลวกช้อนส้อม
การอภิปรายผลการดำเนินโครงงาน
จากวัตถุประสงค์
ข้อที่ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการลวกช้อนและส้อมของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ส่วนใหญ่ใช้บริการการลวกช้อนส้อมก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง คิดเป็น 45.91 % ใช้เวลาลวกช้อนส้อมน้อยกว่า 1 นาที คิดเป็น 38.56 %
ใช้บริการการลวกช้อนส้อมด้วยเหตุผล ต้องการให้ช้อนส้อมสะอาด คิดเป็น 35.34 % และเหตุผลของคนที่ไม่ลวกช้อนส้อมซึ่งมี 13.44 %
มากที่สุดคือ ขี้เกียจลวกช้อนส้อม
ทัศนคติเรื่องการลวกช้อนและส้อมของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นแบ่งตามชั้นปี
โดยทุกชั้นปีเห็นด้วยกับการใช้บริการการลวกช้อนส้อมก่อนรับประทานอาหาร 62.30 %ซึ่งมีเหตุผลแตกต่างกันดังนี้
ชั้นปีที่ 1 เห็นด้วยมากที่สุดกับเหตุผล การลวกช้อนส้อมนาน 4 นาทีสามารถฆ่าเชื้อโรคได้
คิดเป็น 76.47 %
ชั้นปีที่ 2 เห็นด้วยมากที่สุดกับเหตุผล ก่อนลวกน้ำร้อนช้อนส้อมมีความสะอาดน้อยกว่าหลังลวก
คิดเป็น 68.89 %
ชั้นปีที่ 3 เห็นด้วยมากที่สุดกับเหตุผล การลวกช้อนส้อมตามในช่วงเวลาต่างๆ มีผลต่อความสะอาดของช้อนส้อม 68.89 %
ชั้นปีที่ 4 เห็นด้วยมากที่สุดกับเหตุผล การลวกช้อนส้อมเป็นค่านิยมและการลวกช้อนส้อมนาน 4 นาทีสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ คิดเป็น 77.78 %
ชั้นปีที่ 5 เห็นด้วยมากที่สุดกับเหตุผล การใช้หม้อหุงข้าวเป็นอุปกรณ์ใส่น้ำร้อนทำให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อลดลงและการลวกช้อนส้อมนาน 4 นาทีสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ คิดเป็น 65.00 %
สรุปผลและข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการ
1. พบว่านักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลือกที่จะลวกช้อนส้อมก่อนรับประทานอาหารเป็นส่วนใหญ่
2. ข้อสรุปที่ได้จากการศึกษาทัศนคติของผู้ใช้บริการ โดยแบ่งเป็นชั้นปี
ชั้นปีที่1 เห็นด้วยมากที่สุดกับเหตุผล การลวกช้อนส้อมนาน 4 นาทีสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ไม่เห็นด้วยมากที่สุดกับการใช้หม้อหุงข้าวเป็นอุปกรณ์ใส่น้ำร้อนทำให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อลดลง
ชั้นปีที่ 2 เห็นด้วยมากที่สุดกับเหตุผล ก่อนลวกน้ำร้อนช้อนส้อมมีความสะอาดน้อยกว่าหลังลวก ไม่เห็นด้วยมากที่สุดกับการใช้หม้อหุงข้าวเป็นอุปกรณ์ใส่น้ำร้อนทำให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อลดลง
ชั้นปีที่ 3 เห็นด้วยมากที่สุดกับเหตุผล การลวกช้อนส้อมตามในช่วงเวลาต่างๆ มีผลต่อความสะอาดของช้อนส้อม ไม่เห็นด้วยมากที่สุดที่น้ำร้อน 98 องศา สามารถฆ่าเชื้อไวรัสตับอับเสบเอได้ และ ก่อนลวกน้ำร้อนช้อนส้อมมีความสะอาดน้อยกว่าหลังลวก
ชั้นปีที่ 4 เห็นด้วยมากที่สุดกับเหตุผล การลวกช้อนส้อมเป็นค่านิยมและการลวกช้อนส้อมนาน 4 นาทีสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ไม่เห็นด้วยมากที่สุดกับการลวกช้อนส้อมตามในช่วงเวลาต่างๆ มีผลต่อความสะอาดของช้อนส้อม
ชั้นปีที่ 5 เห็นด้วยมากที่สุดกับเหตุผล การใช้หม้อหุงข้าวเป็นอุปกรณ์ใส่น้ำร้อนทำให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อลดลงและการลวกช้อนส้อมนาน 4 นาทีสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ไม่เห็นด้วยมากที่สุดกับการลวกช้อนส้อมเป็นค่านิยม
ข้อที่ 1 คุณลวกช้อนส้อมบ่อยแค่ไหน
คำถามที่ใช้ในการทดสอบความเข้าใจของผู้ตอบแบบสอบถาม
ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่คือ 45.91 % ใช้บริการการลวกช้อนส้อมทุกครั้ง รองลงมาคือ บางครั้ง 40.65 % และ ไม่เคยเลย 13.44 % ตามลำดับ
ข้อที่ 2 คุณใช้เวลาลวกช้อนส้อมนานแค่ไหน
ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ใช้บริการการลวกช้อนส้อมน้อยกว่า 1 นาที คิดเป็น 38.56 % รองลงมาคือ ประมาณ 1-3 นาที 27.64 % และ มากกว่า 3 นาที 20.36 % ตามลำดับ ในส่วนของคนที่ไม่ตอบมี 13.44 % เป็นคนที่ไม่เคยลวกช้อนส้อมเลย
ข้อที่ 3 ทำไมคุณถึงลวกช้อนส้อม
ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ใช้บริการการลวกช้อนส้อมด้วยเหตุผล ต้องการให้ช้อนส้อมสะอาด คิดเป็น 35.34 % รองลงมาคือ ทำตามความเคยชิน 24.40%, ทำตามเพื่อน 14.02 % และ ไม่มีเหตุผล 12.80 % ตามลำดับ ในส่วนของคนที่ไม่ตอบมี 13.44 % เป็นคนที่ไม่เคยลวกช้อนส้อมเลย
ข้อที่ 4 ทำไมคุณถึงไม่ลวกช้อนส้อม
ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ไม่ใช้บริการการลวกช้อนส้อมด้วยเหตุผล ขี้เกียจ 31.38 % รองลงมาคือ เห็นว่าช้อนสะอาดแล้ว 30.21 % และ น้ำร้อนสกปรก 28.84 % ตามลำดับในส่วนของคนที่ไม่ตอบมี 9.57 % เป็นคนที่ลวกช้อนส้อมเป็นประจำ
ความนิยมอย่างแพร่หลายในการลวกช้อนส้อมกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติก่อนประรับทานอาหารเสมอแต่เรากลับไม่ทราบแน่ชัดว่าเมื่อจุ่มช้อนส้อมลงไปลวกในน้ำร้อน จะทำให้เชื้อโรคที่มากับช้อนส้อมหายไปได้จริงหรือไม่?
ทางคณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นความสำคัญของพฤติกรรมผู้บริโภคในการลวกช้อนส้อม จึงได้จัดทำโครงงาน การศึกษาพฤติกรรมการลวกช้อนส้อมโดยศึกษาจาก
ประชากรนักศึกษาและบุคลากรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นจำนวน 446 คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการทำแบบสอบถาม ณ โรงอาหารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมและทัศนคติด้านความสะอาด
ซึ่งส่งผลต่อสุขอนามัยที่ดีของผู้บริโภค
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ข้อที่ 2. เพื่อศึกษาทัศนคติเรื่องความสะอาดของช้อนส้อม หลังลวกด้วยน้ำร้อนของผู้ใช้บริโภค
1.เพื่อศึกษาพฤติกรรมการลวกช้อนและส้อมของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. เพื่อศึกษาทัศนคติเรื่องความสะอาดของช้อนส้อมหลังลวกด้วยน้ำร้อนของผู้ใช้
บริโภค