สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาเมื่อกลายเป็นคุณแม่วัยใส
บทที่ 3
หน่วยงานหรือองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือและบริการทางสังคม
สรุป
เนื่องจากในโลกยุคปัจจุบัน เริ่มมีการกล่าวถึงเสรีภาพทางเพศ ศาสนา หรือความเห็นต่างของมุมมองในเรื่องต่างๆ “คุณแม่วัยใส” ถือเป็นเรื่องที่บุคคลสนใจให้ความสำคัญและถือเป็นของใหม่สำหรับสังคมไทย
เมื่อเกิดกรณี “คุณแม่วัยใส” ขึ้นมาแล้วการศึกษาก็ไม่ควรเข้าไปตัดระบบการศึกษาของคุณแม่วัยใส เพราะนั้นก็ถือเป็นความจำเป็นที่เด็กที่เป็นคุณแม่ต้องอยู่ในระบบ การที่โรงเรียนตัดออกจากระบบการศึกษาภาคบังคับ ย่อมสร้างความไม่เท่าเทียบระหว่างชายหญิง เพราะเด็กผู้ชายที่เป็นพ่อ แทบจะไม่มีผลกระทบต่อระบบเลย นี่เองคือความต้องการจำเป็นประการสำคัญของกลุ่มผู้เปราะบางที่เรียกว่า “คุณแม่วัยใส”
สังคมและครอบครัวถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะให้ความดูแลและกำลังใจแก่ผู้เปราะบางอย่าง “คุณแม่วัยใส” เพราะหากสังคมกีดกัน ครอบครัวไม่ยอมรับ นั้นแปลว่าเขาย่อมไม่มีกำลังใจ อีกทั้งเกิดความเครียดและอาจส่งผลกระทบขึ้นกับเด็กในครรภ์ ครอบครัวต้องรู้ เข้าใจและให้อภัย เพื่อสร้างสุขภาพและกำลังใจไปพร้อมๆกัน
หน้าที่ของนักสังคมสงเคราะห์ในกรณีนี้ คือการจัดสวัสดิการให้กับ “คุณแม่วัยใส” ก่อนการให้คำแนะนำ การไปฝากครรภ์ จัดอบรมเชิญผู้มีความรู้มาให้ความรู้เรื่องการดูแลครรภ์ อีกทั้งลงเยี่ยมบ้านเพื่อดูสภาพความเป็นอยู่และในคำแนะนำเกี่ยวกับอาหารและสุขภาพอนามัย ท้ายที่สุดเมื่อคลอดบุตรนักสังคมสงเคราะห์ก็ต้องจัดสวัสดิการและพิทักษ์สิทธิ์ที่เด็กที่เกิดมาสมควรจะได้ และจัดของบประมาณ เช่น นม ผ้าอ้อม เงินช่วยเหลือ ตามสมควรแต่อัตภาพ หรือจัดหาสถานรับเลี้ยงหรือมูลนิธิ ในกรณีที่เป็นคุณแม่วัยใสที่ตั้งครรภ์โดยการไม่เต็มใจ เช่นถูกข่มขึ้น หรือไม่ต้องการเลี้ยงแต่ไม่ทำแท้ง
บทที่ 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ค่านิยมทางเพศเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและมีอยู่ในทุกๆสังคม รวมถึงสังคมและวัฒนธรรมไทยก็มีเช่นเดียวกัน แต่ถ้าเปรียบเทียบค่านิยมทางเพศในอดีตกับปัจจุบันนั้นจะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อวัฒนธรรมตะวันตกและสื่อเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ขนบธรรม เนียมจารีตประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงานของสังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลง ได้ วัยรุ่นมีอิสระในการแสดงออกมากขึ้น เช่น เสรีภาพในการคบเพื่อนต่างเพศ การแสดงออกทางความรักอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และด้วยวัยที่อ่อนเดียงสา เมื่อพลาดพลั้งมีเพศสัมพันธ์ก็อาจเกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้
คุณแม่วัยใส คือ เด็กผู้หญิงที่อายุยังไม่ถึง18ปีแล้วตั้งครรภ์ มีบุตร เด็กไทย 1แสนคน มีคุณแม่วัยใส 54คน รวมถึงเด็กอายุไม่ถึง 18 ปี ที่ไปทำคลอดตามโรงพยาบาลต่างๆ ในปัจจุบันพบว่ามีอัตราส่วนสูงถึง 54 คน ต่อ 1 แสนประชากรวัยรุ่น
ข้อเสนอแนะในการจัดสวัสดิการให้กับคุณแม่วัยใส
การจัดสวัสดิการให้กับคุณแม่วัยใสจะต้องเป็นการให้การคุ้มครองพวกเขาและให้การส่งเสริมสนับสนุนในทางที่ดี เพื่อให้เขาสามารถพัฒนาทักษะ แนวคิดและมุมมองในการดำเนินชีวิตและการป้องกันไม่ให้คุณแม่วัยใสกลับไปเดินทางเก่าอีก
โดยในการให้ความคุ้มครองทางสังคมนั้น จะต้องอยู่ภายใต้ตาข่ายความปลอดภัยทางสังคมด้วย โดยมีโปรแกรมต่างๆดังนี้
1.เมื่อคุณแม่วัยใสต้องการความช่วยเหลือ ในขั้นแรกนั้นจะต้องจัดส่งนักสังคมสงเคราะห์ลงไปเยี่ยมบ้านของคุณแม่วัยใสก่อน เพื่อที่จะสำรวจปัญหาและความต้องการสำคัญของคุณแม่วัยใส เพื่อที่จะได้สรรหาปัจจัย 4 ให้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ
2.การเทียบโอนหน่อยกิตทางการศึกษาผ่านการศึกษานอกระบบ : เมื่อคุณแม่วัยใสพักการเรียนที่โรงเรียนหรือไม่กล้าไปโรงเรียน ก็อาจจะให้ไปเรียนการศึกษานอกระบบแทนซึ่งจะต้องเรียนในวิชาตามที่โรงเรียนเดิมมีสอน จึงจะให้มีการเทียบโอนหน่วยกิตได้ ซึ่งสวัสดิการนี้จะช่วยให้คุณแม่วัยใสสามารถร่ำเรียนได้ทันตามระยะเวลาปกติ ไม่ต้องมาเรียนซ้ำชั้นกับรุ่นน้องให้เสียเวลาอีก
3.การร่วมด้วยช่วยกันดูแล เป็นการให้ความรู้กับชุมชนและโรงเรียนของคุณแม่วัยใสเพื่อให้พวกเขาเกิดความเข้าใจในตัวของคุณแม่วัยใสว่า คุณแม่วัยใสหรือนักเรียนหญิงที่ตั้งครรภ์นั้นไม่ใช่คนไม่ดีหรือคนเลว แต่เป็นเพียงแค่คนที่ก้าวพลาดเท่านั้น เพื่อให้ได้มีที่ยืนในสังคมและเป็นการเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับคุณแม่วัยใส
4.การยกเว้นค่าธรรมเนียม(Fee Waivers)ในการตรวจสุขภาพของคุณแม่วัยใสและพัฒนาการของเด็กในครรภ์ ซึ่งจัดว่าเป็นสวัสดิการทางด้านสุขภาวะสุขภาพ เนื่องจากคุณแม่วัยใสนั้นด้วยวัยที่น้อยเกินไปที่จะมีบุตรได้จึงมีความเสี่ยงในการเป็นโรคโลหิตจางได้ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อบุตรในครรภ์ จึงจะต้องมีการตรวจสุขภาพคุณแม่วัยใสอยู่สม่ำเสมอ อีกทั้งยังจะได้ตรวจพัฒนาการของเด็กในครรภ์อีกด้วย
คุณแม่วัยใส
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อปี 2556 ที่สำรวจจากจำนวนผู้หญิงที่ไปทำคลอดตามโรงพยาบาลต่างๆ พบว่า ประเทศไทยมีคุณแม่อายุต่ำกว่า 18 ปี หรือคุณแม่วัยใสในอัตราส่วนที่สูงถึง 54 คนต่อ 1 แสนประชากรวัยรุ่น ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้มาก โดยที่กำหนดไว้จะต้องไม่เกิน 15 คนต่อ 1 แสนประชากรวัยรุ่น นอกจากนี้ เมื่อนำไปเทียบกับในกลุ่มประเทศอาเซียนพบว่า ประเทศไทยมีอัตราส่วนคุณแม่วัยใสสูงเป็นอันดับ 2 ของกลุ่มรองจากประเทศลาว
จากข้อมูลของสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย เมื่อปี 2555 ยังพบด้วยว่า อัตราส่วนการคลอดในหญิงอายุ 15-19 ปี ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คนเท่ากับ 53.8 และกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปี ทำแท้งร้อยละ 46.5 ขณะที่มีการทำคลอดในหญิงอายุต่ำกว่า 15 ปี เท่ากับ 3,725 ราย ตั้งครรภ์ซ้ำ และคลอดอายุในกลุ่มผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี เท่ากับ 15,443 ราย และยังมีการสำรวจสถิติเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์ในกลุ่มวัยรุ่นดังต่อไปนี้
สถิติอายุเฉลี่ยของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกในช่วงปีพ.ศ.2539-2554
- สถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข พ.ศ.2539 อายุเฉลี่ย18-19 ปี
- สำนักส่งเสริมสุขภาพอนามัย กรมอนามัย พ.ศ.2545 อายุเฉลี่ย 15-16 ปี
- เอแบคโพลล์ พ.ศ.2547 อายุเฉลี่ย 15-16 ปี
- อนามัยโพลล์ พ.ศ.2552 อายุเฉลี่ย 15-16 ปี
- กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2550 อายุเฉลี่ย 13.25 ปี
- กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2554 อายุเฉลี่ย 12.25 ปี
บทที่ 2
คุณแม่วัยใส
ประเภทคุณแม่วัยใส แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
• 1.คุณแม่วัยใสที่ครอบครัวรับได้และรับไม่ได้
• 2.คือเกิดจากการที่คุณแม่วัยใสเต็มใจและไม่เต็มใจ
1. ประเภทแรก คือ คุณแม่วัยใสที่ครอบครัวรับได้ : จัดเป็นคุณแม่วัยใสที่อยู่ในกลุ่มที่เป็นคนเปราะบางที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ คุณแม่วัยใสไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และเนื่องจากครอบครัวสามารถยอมรับผลของความผิดพลาดที่เกิดจากการกระทำของแม่วัยใสที่เป็นสมาชิกในครอบครัว จึงได้มีการร่วมกันหาแนวทางในการหาทางออกและแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทำให้คุณแม่วัยใสผ่านพ้นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะเปราะบางมาได้ แล้วสามารถช่วยเหลือตัวเองได้
2. คุณแม่วัยใสที่ครอบครัวไม่สามารถรับได้ : จัดเป็นคุณแม่วัยใสที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ครอบครัวของคุณแม่วัยใสก็ไม่สามารถยอมรับผลของความผิดพลาดที่เกิดจากการกระทำของแม่วัยใสที่เป็นสมาชิกในครอบครัวได้ จึงยิ่งทำให้คุณแม่วัยใสไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวที่ไม่ดี ส่งผลให้ไม่สามารถร่วมกันหาแนวทางในการหาทางออกและแก้ไขปัญหาร่วมกัน
คุณแม่วัยใสที่เต็มใจ : เกิดได้จากปัจจัยในด้านต่างๆ เช่น
- รักในวัยเรียน
- สื่อต่างๆ เช่น สื่ออินเทอร์เน็ท สื่อจากโทรทัศน์ สื่อจากนิตยสาร สื่อลามก เป็นต้น
- ฐานะยากจน
การอบรมเรื่องศีลธรรมและการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาในปัจจุบัน
การเป็นคุณแม่วัยใสไม่เต็มใจ เนื่องมาจากปัจจัยในด้านต่างๆ เช่น
- ถูกข่มขืน
สาเหตุของการถูกข่มขืนมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆดังนี้
1. สาเหตุทางสังคม คือ การที่สังคมให้ฝ่ายชายมีอำนาจเหนือกว่า ความต้องการทุกอย่างได้มาซึ่งอำนาจสามารถจะทำอะไรกับทุกๆอย่างได้
2. การกระตุ้นจากสื่อต่างๆ
3. ตัวผู้กระทำผิด เช่น ความผิดปกติทางจิตของผู้กระทำความผิด เป็นต้น
4. สิ่งเสพติด
5. ความอ่อนแอของผู้ถูกกระทำ
ผลกระทบเมื่อถูกทารุณกรรมทางเพศ/ถูกข่มขืน
1. กรณีผู้ถูกข่มขืนเป็นหญิงสาว : ผู้ถูกข่มขืนจะมีความวิตกกังวลสูงและกลัวคนจะรู้ เกิดความอับอายมาก กลัวคนไม่ยอมรับ กลัวถูกทอดทิ้งและที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ถูกข่มขืนจะรู้สึกว่าตนเองไม่ดี มีมลทินติดตัว สูญเสียความเป็นลูกผู้หญิง อันเนื่องมาจากค่านิยมเรื่องพรหมจรรย์ที่ถูกสั่งสอนว่าเป็นคุณค่าของผู้หญิง
ความรู้สึกต่างๆดังกล่าวนั้น อาจส่งผลให้ผู้หญิงเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆ ได้ ในระยะยาว เช่น ก้าวร้าว แยกตัว พยายามฆ่าตัวตายหรือประชดชีวิตด้วยการขายบริการทางเพศ เป็นต้น
2. กรณีที่ผู้ถูกข่มขืนเป็นเด็ก : พัฒนาการทางด้านจิตใจของเด็กอาจจะหยุดชะงัก เด็กอาจจะตกอยู่ในภาวะที่อารมณ์แปรปรวนง่าย ภาวะซึมเศร้า เหม่อลอย รู้สึกความอับอาย แต่จะน้อยกว่าในกรณีหญิงสาวเพราะเด็กยังไม่เข้าใจถึงผลกระทบทางสังคมมากนัก
1.การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
2. เสียการเรียนหรืออาจต้องลาออกจากสถานศึกษาก่อนวัยอันควร
3. การที่วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์เสรีมากขึ้นทำให้การมองเห็นคุณค่าตนเองเปลี่ยนไป
- เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม
เป้าหมายของเครือข่าย : สนับสนุนให้ผู้หญิงที่ประสบปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อม ให้ได้เข้าใจสิทธิ ได้ไตร่ตรองทางเลือกที่เหมาะสมกับชีวิตของตนเองและเข้าถึงบริการสุขภาพที่ปลอกภัย ได้รับความช่วยเหลือทางสังคมครอบคลุมทุกมิติของชีวิต เพื่อให้ตนเองและหรือเด็กที่เกิดมามีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
ตัวอย่างองค์กรภาครัฐ
บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดต่างๆ และศูนย์ช่วยเหลือสังคมหรือศูนย์พึ่งได้ (OSCC) มีหน้าที่ช่วยเหลือเด็กและผู้หญิงที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเพื่อให้ได้รับการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตภายใน 24 ชั่วโมง จากแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และทีมสหวิชาชีพรวมถึงการส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไปตามความเหมาะสม โดยเน้นให้ความช่วยเหลือสำหรับผู้ประสบปัญหา 4 ประเภท คือ
- ตั้งครรภ์ไม่พึ่งประสงค์ (คุณแม่วัยใส)
- ค้ามนุษย์
- แรงงานเด็ก
- การใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
ตัวอย่างหน่วยงานภาคเอกชน
มูลนิธิเพื่อนหญิง มีบทบาทในการส่งเสริมแนวคิดชายหญิงย่อมมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันตั้งแต่กำเนิด สังคมจึงควรใช้มาตรฐานเดียวกันในการส่งเสริมและคุ้มครอง พิทักษ์สิทธิ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชายและหญิงหญิงชายตามหลักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน โดยมูลนิธิใช้ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้หญิงเข้าใจบทบาท หน้าที่และสิทธิของสตรี นำไปสู่ความเข้มแข็งในอำนาจต่อรอง โดยเน้นการให้ความช่วยเหลือในกรณีการโดนล่วงละเมิดมาและสนับสนุนด้านการสร้างกำลังใจโดยการทำกระบวนการกลุ่ม
สาเหตุที่ก่อให้เกิดความยากจนนั้น สมบูรณ์ นิธินันท์ และศุภชัย (2547) สรุปเอาไว้ 4 ประการ ได้แก่
1.ปัจจัยทางเศรษฐกิจ หมายถึง การขาดแคลนทรัพย์สินที่จะก่อให้เกิดรายได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน ทุน ทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยทางเศรษฐกิจประกอบด้วย
1.1) ขนาดของที่ดินทํากิน
1.2) โอกาสการศึกษา
1.3) ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
2. ปัจจัยเชิงโครงสร้างประชากร : ครอบครัวที่มีขนาดใหญ่จะมีโอกาสตกอยู่ในภาวะความยากจนมากกว่าครอบครัวขนาดเล็ก นอกจากนี้ ถ้าครอบครัวมีขนาดเท่ากัน ครอบครัวที่มีสัดส่วนของผู้ใหญ่มากกว่าจะเสี่ยงต่อภาวะความยากจนน้อยกว่า
3. ปัจจัยเชิงภูมิศาสตร์ พบว่าการมีที่พักอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย จะมีความเสี่ยงต่อความยากจนเพิ่มขึ้นถึง 56% ในขณะที่ถ้าที่พักอาศัยตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โอกาสที่จะตกเป็นคนยากจนจะลดลงถึง 80%
4. เหตุปัจจัยเชิงสังคมและวัฒนธรรม
“ทำไมถึงจน?”
4. การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
5. คุณภาพชีวิตต่ำ
ผลกระทบต่อครอบครัว
1. สร้างความทุกข์ให้กับพ่อแม่
2. เสื่อมเสียชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล
3. เกิดความไม่เข้าใจกันของคนในครอบครัวและอาจเกิดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์ที่ไม่ตั้งใจ
4. เกิดปัญหาการหย่าร้างมากขึ้น
ผลกระทบต่อสังคม
1 เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ปัญหาการทำแท้ง และปัญหาเด็กถูกทอดทิ้งและเด็กเร่ร่อน
2 ปัญหาความเสื่อมของวัฒนธรรมอันดีของสังคมไทย
3 ปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
4 ปัญหายาเสพติด ปัญหาเรื่องบุหรี่ เหล้า การพนัน
5 ปัญหาแหล่งบันเทิง ผับ บาร์ ดิสโก้เธค สถานอาบอบนวด ซ่อง
6 ปัญหาเรื่องภาพยนตร์โป๊ หนังสือโป๊ หรือเรื่องโป๊เปลือยร่างกาย
7 ปัญหาการล่อลวง
8 ปัญหาคุณภาพของประชากรต่ำ
มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก : มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนหนึ่งที่ทำให้สังคมไทยได้ตระหนัก และรับรู้สภาพความเป็นจริงของปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กที่มีอยู่มากมาย มีหลายประเด็นที่จะต้องอาศัยการทำงานกับองค์กรอื่น ๆ เช่น ในการตรวจหาความเสียหายทางร่ายกายจิตใจ ที่จะต้องทำงานร่วมกับทางการแพทย์และโรงพยาบาลต่างๆ ประเด็นด้านสังคมสงเคราะห์หรือสวัสดิการสังคม จะต้องทำงานร่วมกับบ้านพักเด็กและครอบครัว กรมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
โครงการเพิ่มต้นทุนชีวิตวัยใส
โครงการเพิ่มต้นทุนชีวิตให้แม่วัยใส(อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ) เป็นโครงการที่เอื้อให้วัยรุ่นที่เป็นแม่วัยใสได้มีโอกาสที่จะกลับไปเรียนหนังสือต่อและเอื้อให้แม่วัยใสสามารถที่จะเลี้ยงลูกเองไปพร้อมกันโดยให้การสนับสนุนรอบด้านอย่างเต็มที่
• บ้านพักฉุกเฉิน
ทางเลือกหนึ่งของผู้หญิงที่ประสบปัญหาการท้องไม่พร้อมช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมที่มารับบริการจากบ้านพักฉุกเฉินปีละประมาณ 130 คนเท่าที่ผ่านมามีประมาณร้อยละ 25 - 30 ที่ต้องการจะส่งลูกเข้าสู่สถานสงเคราะห์ บ้านพักฉุกเฉินของสมาคมฯ จึงได้เริ่มโครงการที่จะเอื้อให้แม่วัยใส ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี มองเห็นโอกาสที่จะเลี้ยงลูกเองและสามารถที่จะเพิ่มต้นทุนชีวิตให้แก่ตนเองไปพร้อมๆกัน
โครงการเพิ่มต้นทุนชีวิตแม่วัยใส จึงได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2549 วัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ เพื่อลดจำนวนเด็กที่ถูกส่งไปยังสถานสงเคราะห์และเพื่อให้แม่วัยใสได้มีโอกาสกลับไปเรียนหนังสือต่อ
ตัวอย่างโครงการที่เกี่ยวข้อง
โครงการ “การพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับคุณแม่วัยใสให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข” ของ “นางสาวสุภาณี มะหมีน” หรือ “ครูไหม” ครูสอน กศน. ที่ตำบลเขานิเวศน์ จ.ระนอง เพื่อสร้างเครือข่ายขยายความร่วมมือในการดูแลช่วยเหลือพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพเพื่อให้กลุ่มคุณแม่วัยใสที่มีอายุตั้งแต่ 14-20 ปี สามารถดูแลตนเองและลูกให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
โครงการมหิดลโมเดลจุดประสงค์หลักของมหิดลโมเดล คือวัฒนธรรมของสังคมไทยส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับเด็กวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ ทำให้เด็กกลุ่มนี้ถูกสังคมตีตรา ถูกกันออกจากระบบการศึกษา ระบบสาธารณสุข และการช่วยเหลืออื่นๆ ทำให้แม่วัยใสและลูกขาดโอกาสการเข้าถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีจึงเกิดโครงการมหิดลโมเดล การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
Thank You....
Present Remotely
Send the link below via email or IM
Present to your audience
- Invited audience members will follow you as you navigate and present
- People invited to a presentation do not need a Prezi account
- This link expires 10 minutes after you close the presentation
- A maximum of 30 users can follow your presentation
- Learn more about this feature in our knowledge base article
Untitled Prezi
No description
by
Tweet